August 17, 2013
ในทุกนาทีที่เคลื่อนไปนี้ เราชาวไทยต่างได้รับบทเรียนและประสบการณ์อันน่าสะเทือนใจจากเหตุการณ์สังหารหมู่ประชาชนอย่างโหดเหี้ยมในอียิปต์และซีเรีย ซึ่งล้วนเป็นผลกระทบโดยตรงจากการลุกฮือของประชาชนเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยที่สมบูรณ์... ซึ่งเรียกกันสั้นๆ ว่า Arab Spring ทั้งสิ้น หากจะเรียกว่านี่คือสถานการณ์สงคราม ก็คงเป็นสงครามที่สับสนและทารุณยิ่ง สับสนเพราะไม่รู้แน่ชัดว่าฝ่ายไหนเป็นผู้รักษาระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง อย่างในกรณีอียิปต์ เราก็เห็นอยู่ว่า ฝ่ายที่หนุนการรัฐประหารก็พร่ำพูดว่าประธานาธิบดีมอร์ซีผู้ถูกยึดอำนาจกำลังทำลายประชาธิปไตยในอียิปต์อยู่ในขณะนั้น ตนจึงต้องยึดอำนาจเพื่อรักษากระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย ในขณะที่ตัวการรัฐประหารเองก็คือเครื่องมือที่ต่ำทรามจนทั่วโลกเขาประณามลงโทษกันอย่างเป็นเอกฉันท์ จะเรียกว่าเป็นผู้ปกป้องประชาธิปไตยคงอายปากและถือได้ว่าเป็นอนันตริยกรรม (กรรมอันแสนหนัก) ในทางการเมือง ทารุณยิ่งนักก็เพราะฝ่ายประชาชนมิได้มีอาวุธใดๆ เว้นแต่อาวุธประจำการซึ่งเป็นเรื่องการป้องกันตัวของคนแต่ละคน ไม่ใช่การจัดตั้งอย่างกองทัพเลย และข้าวของเท่าที่หามาได้เดี๋ยวนั้น
การล้อมปราบในลักษณะนี้จึงทำให้ผู้คนทั่วโลกถ่ม
คนที่เรียกตนเองว่ากองทัพแห่งชาติ เพราะทำคนที่ไม่มีทางสู้ และลากสังคมลงสู่นรกขุมเดิมที่ทำให้การใช้กำลังมีประสิทธิภาพกว่าการใช้เหตุผล ส่วนในซีเรียนั้นเป็นอีกกรณีหนึ่ง ประชาคมสากลเกิดเสียงแตกกันว่าจะรับมือกับรัฐบาลของประธานาธิบอัสซาร์ดที่กำลังสังหารหมู่ประชาชนต่อเนื่องมาเป็นปีๆ แล้วอย่างไร เสียงด้านหนึ่งบอกว่าชาวซีเรียถูกกระหน่ำถึงขนาดนี้ โลกต้องกระโดดเข้าไปขวางโดยไม่ต้องถามไถ่อะไรกันแล้ว แต่เสียงอีกด้านหนึ่งกลับบอกว่าหากโลกแทรกแซงแล้วไม่ได้ผล เพราะมหาอำนาจจะเข้าไปหักกันเอง จนรัฐบาลอัสซาร์ดรอดตัวไปได้ การลุกฮือเพื่อประชาธิปไตยทั้งหมดในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนืออาจจะพังพินาศไปทั้งหมด หมายความว่ายุ่งเกี่ยวกับซีเรียเรื่องเดียว อาจทำให้ประชาธิปไตยเกิดใหม่หรือในบางรัฐที่กำลังก่อรูปอยู่ในขณะนี้ ล่มสลายลงได้ทุกแห่ง ไม่ว่าจะเป็นอียิปต์ ตูนิเซีย ลิเบีย จอร์แดน บาห์เรน เยเมน และรัฐอื่นๆ ที่ไม่โด่งดังหรือเป็นข่าวเท่า ยิ่งองค์การสหประชาชาติขณะนี้ อยู่ในภายใต้การบริหารจัดการของ นายบัน คี มูน เลขาธิการผู้แทบจะไม่มีบารมีส่วนตัวใดๆ ให้เห็นเลย ต่างจากครั้งที่ นายโคฟี่ อันนัน ทำหน้าที่เลขาธิการสหประชาชาติมากนัก ก็ยิ่งทำให้รัฐต่างๆ ต่องกระ
กระสนด้วยตนเอง แม้กระทั่งกรณีที่ขัดต่อกฎบัตรสหประชาชาติชัดๆ นายบัน คี มูน ก็ไม่อาจเร้ากระแสโลกมาร่วมต่อต้านและบังคับใช้อย่างได้ผล ความจริงเราต่างก็รู้และเข้าใจกันดีว่า องค์การสหประชาชาติขึ้นอยู่กับมหาอำนาจ ซึ่งเป็นสมาชิกที่มีอำนาจกว่าสมาชิกที่มีอำนาจทั้งหลาย (first among equals) แต่เลขาธิการฯ เก่งๆ ในอดีตสามารถสร้างระบบหรือกิจกรรมความร่วมมือระหว่างสมาชิกที่มีอำนาจเหล่านี้ เพื่อรองรับงานขององค์การสหประชาชาติได้ ความสามารถนี้ล่ะที่หาไม่ได้ในตัวของนายบัน คี มูน และเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่ทำให้พลโลกถูกฆ่าตายอย่างทารุณและเป็นจำนวนมากๆ อยู่ทุกวัน
ผมขออนุญาตท่านหันจากเรื่องอียิปต์มาเป็นเรื่องไทยสักหน่อยครับ เพราะประเด็นนี้เกี่ยวข้องกับความพยายามของฝ่ายประชาธิปไตยที่จะหาความเป็นธรรมจากองค์การสหประชาชาติอยู่ในขณะนี้ บุคคลที่ผมขอเอ่ยถึงในวันนี้คือ ผศ.ดร.จารุพรรณ กุลดิลก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทย ที่ได้เดินงานในระดับสากลในนามของมวลชนไทยอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดนี้คุณจารุพรรณฯ ได้ส่งหนังสือถึงข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติฉบับหนึ่ง เพื่อถ่วงดุลกับรายงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนไทย ภายใต้การนำของ นางอมรา พงศาพิศญ์ ที่ใช้เวลาถึงสามปีและปรากฎออกมาขัดสายตาและขัดความรู้สึกของพยานส่วนใหญ่ในเหตุการณ์สังหารประชาชนกลางกรุงเทพมหานครเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๓ เป็นอย่างยิ่ง รายงานของนางอมราฯ และพวกที่กล่าวหาประชาชนว่าเป็นฝ่ายผิดเพราะยั่วยุก่อน และรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ฯ เป็นฝ่ายถูกเพราะเจตนาจะรักษาความสงบของบ้านเมืองนั้น ขัดต่อหลักฐานเชิงประจักษ์แทบทุกอย่างที่มีการนำเสนอมาก่อนหน้านั้น คุณจารุพรรณ จึงกระทำการที่สมควรยิ่ง คือเขียนจดหมายจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยตรงถึงข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเพื่อเติมข้อมูลที่ขาดหายไปจากรายงานของนางอมราฯ โดยมีข้อความในช่วงหนึ่งว่า:
“...ในประเด็นแรก จากการศึกษาการทำงานของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) พบว่าการจัดทำรายงานมีพื้นฐานมาจากข้อมูลที่เขียนโดยฝ่ายตรงข้ามกับคนเสื้อแดงซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เป็นเหตุให้ข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้รับข้อมูลเพียงด้านเดียว และตัวคณะกรรมการของ คอป. ก็มาจากการเสนอชื่อของพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลในขณะนั้น ตัวกรรมการในอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงได้แสดงความลำเอียงตั้งแต่ต้น อนุกรรมการสองท่านเคยทำงานเป็นการ์ดให้กับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ซึ่งเป็นกลุ่มชาตินิยมสุดโต่ง ที่เรียกร้องให้มีการทำรัฐประหารเมื่อปี ๒๕๔๙ ได้แก่ นายเมธา มาสขาว และนายชัยวัฒน์ ตรีวิทยา โดยอนุกรรมการชุดนี้มีนายสมชาย หอมลออ เป็นประธาน เป็นเรื่องที่ทำให้คนทั้งประเทศตกใจ เมื่อทราบว่านายสมชายแต่งตั้งสมาชิกกลุ่มพธม.เข้ามาทำงานและเป็นผู้จัดทำรายงาน และบุคคลทั้งสองยังมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ พลตรีจำลอง ศรีเมือง แกนนำหลักของพธม. ถือได้ว่าการปฏิบัติหน้าที่ของ คอป. ขัดต่อหลักกระบวนการอันควรตามกฎหมายและหลักนิติธรรม เป็นการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับของประชาชนส่วนใหญ่ ผู้เขียนรายงานของ คอป.จงใจละทิ้งประเด็นสำคัญที่เป็นเนื้อหาสาระและยังเขียนรายงานอย่างขาดความเป็นกลาง....
และ
...ที่ผ่านมาสถาบันตุลาการในประเทศไทยไม่ให้ความใส่ใจ ที่จะพิจารณาเนื้อหาของกฎหมายระหว่างประเทศไม่มีการนำมาตรฐานระหว่างประเทศเหล่านี้มาใช้ในการตัดสินอรรถคดีต่างๆ ในขณะที่ระบบกฎหมายและระเบียบวิธีพิจารณาความของระบบกฎหมายไทยยังไม่ได้สะท้อนมาตรฐานการไต่สวนคดีอย่างเป็นธรรมซึ่งได้รับการรับรองจากกติกา ICCPR...”
รายงาน คอป. ซึ่งคณะกรรมสิทธิมนุษยชนแห่งชาติอ้างเป็นเอกสารหลักในการสรุปความของตนนั้น จึงเป็นหลักฐานอีกชิ้นหนึ่งที่แสดงว่าการทำงานของ คอป. และคณะกรรมการสิทธิฯ ไม่มีอะไรแตกต่างกันมากนัก ความเอนเอียงอันเนื่องมาจากความขัดแย้งฝังลึกในสังคมไทยตลอดมานี้ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสติปัญญาและการใช้เหตุผลของปัญญาชนไทย ความจริงเราก็ไม่ควรแปลกใจ เพราะอดีตคนของฝ่ายสังคมนิยมที่เคยคิดปฏิวัติชาติเพื่อสร้างความเป็นธรรมเป็นจำนวนไม่น้อย ปัจจุบันก็ได้ผันแปรไปสนับสนุนเหลือบฝูงหลักที่สูบเลือดคนในชาติที่ตนเคยลุกขึ้นประณามทั้งในเมืองและในป่า โดยทำท่าว่าจะแยกไม่ออกเสียแล้วว่า อะไรคือความชั่วร้ายต่อเนื่องและมีลักษณะถาวรในสังคมไทย และอะไรคือความบกพร่องของประชาธิปไตยใหม่ที่เราต้องช่วยกันปะผุและเดินรถกันต่อไป
ผมเคยนึกว่าผู้คนเหล่านี้ร่วมกันกระทำการประหนึ่ง “ข่มขืน” ประชาชนไทยผู้ลุกฮือขึ้นมาป้องกันระบอบประชาธิปไตยเพราะความเกลียดชังที่มีต่อตัวอดีตนายกรัฐมนตรีจากพรรคไทยรักไทยเท่านั้น แต่ขณะนี้ผมชักเริ่มสงสัยว่า ผู้กระทำการอันน่ารังเกียจมาทั้งหมดนี้เพราะเกลียดชัง คนไทย ผู้กำลังเรียกร้องสิทธิขั้นพื้นฐานของตนเอง มากกว่าความเกลียดชังต่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดหรือไม่ ถ้าความจริงเป็นไปอย่างที่ผมกำลังสงสัยอยู่นี้ เมืองไทยของเราอาจจะเดินสู่ถนนสายอียิปต์และยิ่งกว่านั้นก็เป็นได้ นี่ผมไม่ได้พูดกับคนในระดับปฏิบัติอย่างอมรา อภิสิทธิ์ สุเทพหรอกนะครับ ผมกำลังสื่อสารไปถึง “ผู้ใหญ่” ที่หนุนหลังคนเหล่านี้อยู่
จึงขอส่งกำลังใจมาให้ ดร.จารุพรรณ กุลดิลก และขอให้เดินหน้าเต็มตัวต่อไปครับ.
จาก face คุณจักรภพ เพ็ญแข
....................................................................................................................................................
ผู้ใหญ่ ที่หนุนหลังคนเหล่านั้น
จะยังมีแรงดิ้นและความพยายาม
ให้เหตุการณ์แบบอียิปต์เกิดขึ้นในไทยหรือไม่
เป็นสิ่งที่อะไรๆก็เกิดขึ้นได้ในประเทศนี้
ตราบใดที่สิ่งที่เรียกว่า อำนาจนอกระบบ
อำนาจเหนือรัฐธรรมนูญ ยังคงมีอยู่ให้เห็นตำตา ตำใจ
กำลังใจจากคุณจักรภพ เพ็ญแข ให้กับ ดร.จารุพรรณ กุลดิลก
ในทุกนาทีที่เคลื่อนไปนี้ เราชาวไทยต่างได้รับบทเรียนและประสบการณ์อันน่าสะเทือนใจจากเหตุการณ์สังหารหมู่ประชาชนอย่างโหดเหี้ยมในอียิปต์และซีเรีย ซึ่งล้วนเป็นผลกระทบโดยตรงจากการลุกฮือของประชาชนเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยที่สมบูรณ์... ซึ่งเรียกกันสั้นๆ ว่า Arab Spring ทั้งสิ้น หากจะเรียกว่านี่คือสถานการณ์สงคราม ก็คงเป็นสงครามที่สับสนและทารุณยิ่ง สับสนเพราะไม่รู้แน่ชัดว่าฝ่ายไหนเป็นผู้รักษาระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง อย่างในกรณีอียิปต์ เราก็เห็นอยู่ว่า ฝ่ายที่หนุนการรัฐประหารก็พร่ำพูดว่าประธานาธิบดีมอร์ซีผู้ถูกยึดอำนาจกำลังทำลายประชาธิปไตยในอียิปต์อยู่ในขณะนั้น ตนจึงต้องยึดอำนาจเพื่อรักษากระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย ในขณะที่ตัวการรัฐประหารเองก็คือเครื่องมือที่ต่ำทรามจนทั่วโลกเขาประณามลงโทษกันอย่างเป็นเอกฉันท์ จะเรียกว่าเป็นผู้ปกป้องประชาธิปไตยคงอายปากและถือได้ว่าเป็นอนันตริยกรรม (กรรมอันแสนหนัก) ในทางการเมือง ทารุณยิ่งนักก็เพราะฝ่ายประชาชนมิได้มีอาวุธใดๆ เว้นแต่อาวุธประจำการซึ่งเป็นเรื่องการป้องกันตัวของคนแต่ละคน ไม่ใช่การจัดตั้งอย่างกองทัพเลย และข้าวของเท่าที่หามาได้เดี๋ยวนั้น
การล้อมปราบในลักษณะนี้จึงทำให้ผู้คนทั่วโลกถ่มคนที่เรียกตนเองว่ากองทัพแห่งชาติ เพราะทำคนที่ไม่มีทางสู้ และลากสังคมลงสู่นรกขุมเดิมที่ทำให้การใช้กำลังมีประสิทธิภาพกว่าการใช้เหตุผล ส่วนในซีเรียนั้นเป็นอีกกรณีหนึ่ง ประชาคมสากลเกิดเสียงแตกกันว่าจะรับมือกับรัฐบาลของประธานาธิบอัสซาร์ดที่กำลังสังหารหมู่ประชาชนต่อเนื่องมาเป็นปีๆ แล้วอย่างไร เสียงด้านหนึ่งบอกว่าชาวซีเรียถูกกระหน่ำถึงขนาดนี้ โลกต้องกระโดดเข้าไปขวางโดยไม่ต้องถามไถ่อะไรกันแล้ว แต่เสียงอีกด้านหนึ่งกลับบอกว่าหากโลกแทรกแซงแล้วไม่ได้ผล เพราะมหาอำนาจจะเข้าไปหักกันเอง จนรัฐบาลอัสซาร์ดรอดตัวไปได้ การลุกฮือเพื่อประชาธิปไตยทั้งหมดในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนืออาจจะพังพินาศไปทั้งหมด หมายความว่ายุ่งเกี่ยวกับซีเรียเรื่องเดียว อาจทำให้ประชาธิปไตยเกิดใหม่หรือในบางรัฐที่กำลังก่อรูปอยู่ในขณะนี้ ล่มสลายลงได้ทุกแห่ง ไม่ว่าจะเป็นอียิปต์ ตูนิเซีย ลิเบีย จอร์แดน บาห์เรน เยเมน และรัฐอื่นๆ ที่ไม่โด่งดังหรือเป็นข่าวเท่า ยิ่งองค์การสหประชาชาติขณะนี้ อยู่ในภายใต้การบริหารจัดการของ นายบัน คี มูน เลขาธิการผู้แทบจะไม่มีบารมีส่วนตัวใดๆ ให้เห็นเลย ต่างจากครั้งที่ นายโคฟี่ อันนัน ทำหน้าที่เลขาธิการสหประชาชาติมากนัก ก็ยิ่งทำให้รัฐต่างๆ ต่องกระกระสนด้วยตนเอง แม้กระทั่งกรณีที่ขัดต่อกฎบัตรสหประชาชาติชัดๆ นายบัน คี มูน ก็ไม่อาจเร้ากระแสโลกมาร่วมต่อต้านและบังคับใช้อย่างได้ผล ความจริงเราต่างก็รู้และเข้าใจกันดีว่า องค์การสหประชาชาติขึ้นอยู่กับมหาอำนาจ ซึ่งเป็นสมาชิกที่มีอำนาจกว่าสมาชิกที่มีอำนาจทั้งหลาย (first among equals) แต่เลขาธิการฯ เก่งๆ ในอดีตสามารถสร้างระบบหรือกิจกรรมความร่วมมือระหว่างสมาชิกที่มีอำนาจเหล่านี้ เพื่อรองรับงานขององค์การสหประชาชาติได้ ความสามารถนี้ล่ะที่หาไม่ได้ในตัวของนายบัน คี มูน และเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่ทำให้พลโลกถูกฆ่าตายอย่างทารุณและเป็นจำนวนมากๆ อยู่ทุกวัน
ผมขออนุญาตท่านหันจากเรื่องอียิปต์มาเป็นเรื่องไทยสักหน่อยครับ เพราะประเด็นนี้เกี่ยวข้องกับความพยายามของฝ่ายประชาธิปไตยที่จะหาความเป็นธรรมจากองค์การสหประชาชาติอยู่ในขณะนี้ บุคคลที่ผมขอเอ่ยถึงในวันนี้คือ ผศ.ดร.จารุพรรณ กุลดิลก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทย ที่ได้เดินงานในระดับสากลในนามของมวลชนไทยอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดนี้คุณจารุพรรณฯ ได้ส่งหนังสือถึงข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติฉบับหนึ่ง เพื่อถ่วงดุลกับรายงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนไทย ภายใต้การนำของ นางอมรา พงศาพิศญ์ ที่ใช้เวลาถึงสามปีและปรากฎออกมาขัดสายตาและขัดความรู้สึกของพยานส่วนใหญ่ในเหตุการณ์สังหารประชาชนกลางกรุงเทพมหานครเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๓ เป็นอย่างยิ่ง รายงานของนางอมราฯ และพวกที่กล่าวหาประชาชนว่าเป็นฝ่ายผิดเพราะยั่วยุก่อน และรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ฯ เป็นฝ่ายถูกเพราะเจตนาจะรักษาความสงบของบ้านเมืองนั้น ขัดต่อหลักฐานเชิงประจักษ์แทบทุกอย่างที่มีการนำเสนอมาก่อนหน้านั้น คุณจารุพรรณ จึงกระทำการที่สมควรยิ่ง คือเขียนจดหมายจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยตรงถึงข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเพื่อเติมข้อมูลที่ขาดหายไปจากรายงานของนางอมราฯ โดยมีข้อความในช่วงหนึ่งว่า:
“...ในประเด็นแรก จากการศึกษาการทำงานของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) พบว่าการจัดทำรายงานมีพื้นฐานมาจากข้อมูลที่เขียนโดยฝ่ายตรงข้ามกับคนเสื้อแดงซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เป็นเหตุให้ข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้รับข้อมูลเพียงด้านเดียว และตัวคณะกรรมการของ คอป. ก็มาจากการเสนอชื่อของพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลในขณะนั้น ตัวกรรมการในอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงได้แสดงความลำเอียงตั้งแต่ต้น อนุกรรมการสองท่านเคยทำงานเป็นการ์ดให้กับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ซึ่งเป็นกลุ่มชาตินิยมสุดโต่ง ที่เรียกร้องให้มีการทำรัฐประหารเมื่อปี ๒๕๔๙ ได้แก่ นายเมธา มาสขาว และนายชัยวัฒน์ ตรีวิทยา โดยอนุกรรมการชุดนี้มีนายสมชาย หอมลออ เป็นประธาน เป็นเรื่องที่ทำให้คนทั้งประเทศตกใจ เมื่อทราบว่านายสมชายแต่งตั้งสมาชิกกลุ่มพธม.เข้ามาทำงานและเป็นผู้จัดทำรายงาน และบุคคลทั้งสองยังมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ พลตรีจำลอง ศรีเมือง แกนนำหลักของพธม. ถือได้ว่าการปฏิบัติหน้าที่ของ คอป. ขัดต่อหลักกระบวนการอันควรตามกฎหมายและหลักนิติธรรม เป็นการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับของประชาชนส่วนใหญ่ ผู้เขียนรายงานของ คอป.จงใจละทิ้งประเด็นสำคัญที่เป็นเนื้อหาสาระและยังเขียนรายงานอย่างขาดความเป็นกลาง....
และ
...ที่ผ่านมาสถาบันตุลาการในประเทศไทยไม่ให้ความใส่ใจ ที่จะพิจารณาเนื้อหาของกฎหมายระหว่างประเทศไม่มีการนำมาตรฐานระหว่างประเทศเหล่านี้มาใช้ในการตัดสินอรรถคดีต่างๆ ในขณะที่ระบบกฎหมายและระเบียบวิธีพิจารณาความของระบบกฎหมายไทยยังไม่ได้สะท้อนมาตรฐานการไต่สวนคดีอย่างเป็นธรรมซึ่งได้รับการรับรองจากกติกา ICCPR...”
รายงาน คอป. ซึ่งคณะกรรมสิทธิมนุษยชนแห่งชาติอ้างเป็นเอกสารหลักในการสรุปความของตนนั้น จึงเป็นหลักฐานอีกชิ้นหนึ่งที่แสดงว่าการทำงานของ คอป. และคณะกรรมการสิทธิฯ ไม่มีอะไรแตกต่างกันมากนัก ความเอนเอียงอันเนื่องมาจากความขัดแย้งฝังลึกในสังคมไทยตลอดมานี้ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสติปัญญาและการใช้เหตุผลของปัญญาชนไทย ความจริงเราก็ไม่ควรแปลกใจ เพราะอดีตคนของฝ่ายสังคมนิยมที่เคยคิดปฏิวัติชาติเพื่อสร้างความเป็นธรรมเป็นจำนวนไม่น้อย ปัจจุบันก็ได้ผันแปรไปสนับสนุนเหลือบฝูงหลักที่สูบเลือดคนในชาติที่ตนเคยลุกขึ้นประณามทั้งในเมืองและในป่า โดยทำท่าว่าจะแยกไม่ออกเสียแล้วว่า อะไรคือความชั่วร้ายต่อเนื่องและมีลักษณะถาวรในสังคมไทย และอะไรคือความบกพร่องของประชาธิปไตยใหม่ที่เราต้องช่วยกันปะผุและเดินรถกันต่อไป
ผมเคยนึกว่าผู้คนเหล่านี้ร่วมกันกระทำการประหนึ่ง “ข่มขืน” ประชาชนไทยผู้ลุกฮือขึ้นมาป้องกันระบอบประชาธิปไตยเพราะความเกลียดชังที่มีต่อตัวอดีตนายกรัฐมนตรีจากพรรคไทยรักไทยเท่านั้น แต่ขณะนี้ผมชักเริ่มสงสัยว่า ผู้กระทำการอันน่ารังเกียจมาทั้งหมดนี้เพราะเกลียดชัง คนไทย ผู้กำลังเรียกร้องสิทธิขั้นพื้นฐานของตนเอง มากกว่าความเกลียดชังต่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดหรือไม่ ถ้าความจริงเป็นไปอย่างที่ผมกำลังสงสัยอยู่นี้ เมืองไทยของเราอาจจะเดินสู่ถนนสายอียิปต์และยิ่งกว่านั้นก็เป็นได้ นี่ผมไม่ได้พูดกับคนในระดับปฏิบัติอย่างอมรา อภิสิทธิ์ สุเทพหรอกนะครับ ผมกำลังสื่อสารไปถึง “ผู้ใหญ่” ที่หนุนหลังคนเหล่านี้อยู่
จึงขอส่งกำลังใจมาให้ ดร.จารุพรรณ กุลดิลก และขอให้เดินหน้าเต็มตัวต่อไปครับ.
จาก face คุณจักรภพ เพ็ญแข
....................................................................................................................................................
ผู้ใหญ่ ที่หนุนหลังคนเหล่านั้น
จะยังมีแรงดิ้นและความพยายาม
ให้เหตุการณ์แบบอียิปต์เกิดขึ้นในไทยหรือไม่
เป็นสิ่งที่อะไรๆก็เกิดขึ้นได้ในประเทศนี้
ตราบใดที่สิ่งที่เรียกว่า อำนาจนอกระบบ
อำนาจเหนือรัฐธรรมนูญ ยังคงมีอยู่ให้เห็นตำตา ตำใจ