สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 6
ผมเขียนแนะนำไว้เองหลายครั้งแล้ว ลองเอาไปดำเนินการดูครับ
---------------------------------------------------------------------
การฟ้องคดีด้วยตนเอง (กรณีทุนทรัพย์ไม่เกิน ๓ แสนบาท) ด้วยวาจา
กรณีนี้จะยกตัวอย่างเรื่องการฟ้องตามสัญญากู้ยืม
ให้ดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
๑ เขตอำนาจศาล มีสองศาล คือ
- ตามที่อยู่ในทะเบียนบ้านของลูกหนี้
- ตามที่มูลคดีเรื่องกู้ยืมเกิดขึ้น หมายถึง กู้ยืมกันที่เขตไหน อำนาจศาลก็เกิดที่เขตนั้นด้วย
*** กรณีนี้เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวง ถ้าในเขตนั้นมีทั้งศาลจังหวัด และศาลแขวง
อำนาจของศาลในคดีแบบนี้ อยู่ในอำนาจของศาลแขวง..****
๒ นำสัญญากู้ไปติดอากรแสตมป์ โดยคำนวนการติดคือ ๒๐๐๐ บาท ติด ๑ บาท เศษของ ๒๐๐๐ ติดเพิ่มอีก ๑ บาท เช่น
- สัญญากู้เงินกัน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ติดอากรแสตมป์ คือ ๕๐ บาท (ติดแล้วขีดฆ่าอากรด้วยปากกาทับลงไปที่อากร เพื่อแสดงว่าใช้แล้วด้วย)
- หากกู้กัน ๑๐๑,๐๐๐ บาท คำนวนได้ ๕๐.๕ บาท ให้ติดเป็น ๕๑ บาท (มี ๑๐๐๐ บาท ที่ไม่ถึง ๒๐๐๐ บาท จึงติดเพิ่ม ๑ บาท)
๓ นำสัญญากู้นั้นไปถ่ายเอกสาร ๓ ชุด (เอาตัวจริงเก็บไว้กับตัว อย่าเอาไปส่งศาลตอนฟ้องเด็ดขาด)
๔ นำสำเนาสัญญากู้ที่จะฟ้องไปอำเภอหรือเขตใดก็ได้ เพื่อไปคัดสำเนาทะเบียนบ้านของลูกหนี้ เสียค่าคัด ๑๐ บาท
หากเจ้าหน้าที่ถามชื่อลูกหนี้ก็บอกไป หากถามว่าเอาไปทำอะไรก็บอกว่า เอาไปฟ้องคดีแพ่ง
หากเจ้าหน้าที่ถามหาหลักฐาน ก็เอาสำเนาเงินกู้ให้ดู
๕ จากนั้นนำเอกสารดังนี้ไปศาลในเขตอำนาจ (จะฟ้องในเขตตามภูมิลำเนาจำเลย หรือ ตามที่ทำสัญญากู้กัน ก็ได้)
- สำเนาเงินกู้ ๒ ชุด
- ทะเบียนบ้านของลูกหนี้ที่ไปคัดมานั้น
๖ แจ้งกับเจ้าหน้าที่ศาลว่า ขอฟ้องคดีด้วยวาจา (ทุนทรัพย์ไม่เกิน ๓ แสน ย่อมฟ้องด้วยวาจาได้)
หากเจ้าหน้าที่ศาลบอกว่า ฟ้องด้วยวาจาไม่ได้ ต้องไปทำเป็นหนังสือ หรือ หาทนายดำเนินการให้
ให้คุณแจ้งเจ้าหน้าที่คนนั้นว่า "งั้นขอพบผู้พิพากษาเวร(เข้าเวร)แล้วกัน เพื่อจะแจ้งว่าขอฟ้องด้วยวาจา"
คือ ผมกำลังจะบอกว่า มีเจ้าหน้าที่บางคนไม่รู้เรื่องนี้ และไล่ให้ไปจ้างทนาย หรือ บอกว่าฟ้องไม่ได้
ผมจึงแนะนำให้คุณเข้าพบผู้พิพากษาที่เข้าเวรอยู่ในขณะนั้น เพื่อยืนยันว่าจะฟ้องด้วยวาจา
๗ ให้คุณส่งเอกสารที่เตรียมมานั้นให้กับเจ้าหน้าที่ โดยยื่นไป ๒ ชุด (เซ็นรับรองสำเนาถูกต้องทั้งหมด)
จนท จะออกหมายเลขคดีดำให้คุณ คุณต้องจดจำหมายเลขคดีดำนี้ไว้ เพื่อมาศาลในวันพิจาณาคดีอีกที
และใช้สำหรับการตามคดี เช่น ผลการส่งหมาย หรือ สอบถามเรื่องอื่นๆต่อศาล
จากนั้นก็แจ้งกับเจ้าหน้าที่ว่า ขอเรียกดอกเบี้ยร้อยละ ๗.๕ ต่อปี
หากไม่มีการกำหนดเรื่องดอกเบี้ย แต่ถ้ากำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี ก็เอาตามนั้น
โดยขอเรียกนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระจนครบด้วย
หรืออาจจะขอค่าทนายความรวมไปด้วยก็ได้
๘ คุณต้องชำระเงินค่าธรรมเนียมศาลร้อยละ ๒ โดยเสียเริ่มตั้งแต่ ๒๐๐ - ๑๐๐๐ บาท (ทุนทรัพย์ในคดีมโนสาเร่) และ
เสียค่าธรรมเนียมในการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่ลูกหนี้ ตามอัตราระยะทางซึ่งกำหนดไว้ในศาลแล้ว เช่น
ลูกหนี้อยู่เขตประเวศ อาจเสียค่าส่งหมายคือ ๓๐๐ บาท หรือ ลูกหนี้อยู่เขตบางรัก อาจเสีย ๓๕๐ บาท เป็นต้น
๙ จากนั้นให้ดูกำหนดวันนัดของศาลตามที่คุณว่าง โดยเจ้าหน้าที่จะถามคุณว่า ว่างวันไหน สะดวกวันไหนที่จะมาศาล
ให้คุณกำหนดวันเวลาและแจ้งกับเจ้าหน้าที่รับฟ้องได้เลย จากนั้นพอถึงวันนัดของศาล คุณก็ไปตามนัดที่กำหนดไว้
๑๐ การดำเนินการอย่างอื่นนอกจากนี้ก็ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วงแล้ว
แต่คุณต้องคอยโทรถามที่ศาลที่คุณไปฟ้องว่า ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยได้หรือไม่ อีกด้วย
ไม่ใช่ฟ้องไปแล้ว ก็จบกัน ไม่ยอมตามเรื่องอะไรเลย หาก จนท.ส่งหมายให้จำเลยไม่ได้ คุณต้องไปศาลเพื่อแถลงต่อศาลว่า
ให้ส่งใหม่อีกรอบ หรือ แถลงขอส่งแบบปิดหมาย หรือ วิธีอื่น ก็แล้วแต่คุณจะขอจากศาล
๑๑ พอถึงวันนัดของศาลตามที่คุณกำหนด คุณก็ดูหมายเลขคดีดำที่รับฟ้องคดีไว้
จากนั้นก็ขึ้นไปที่ห้องหมายเลขนั้นระบุไว้ แล้วก็เข้าไปในห้องพิจารณาคดี แจ้งกับเจ้าหน้าที่ในห้องว่า มาคดีอะไร หมายเลขคดีดำอะไร
ไม่ใช่เข้าไปในห้องแล้วนั่งเฉยๆล่ะ เพราะต้องแจ้ง จนท ว่ามาศาลแล้ว นั่นเอง..
๑๒ การเบิกความตอบคำถามศาล ก็ไม่มีอะไรมากครับ ตอบไปตามจริง เบิกความไปตามจริง
จากนั้นก็ไม่มีอะไรแล้ว.. หากจบในวันนั้นได้ ศาลก็จะพิพากษาเลย
อ้อ... เอาสัญญากู้ตัวจริงไปด้วยในวันที่ไปศาลล่ะ อย่าลืม
หวังว่าคนที่อยากฟ้องคดีด้วยตนเอง จะเข้าใจเรื่องนี้ทั้งหมดนะครับ
แก้ไขเพิ่มข้อมูลอำนาจศาล
---------------------------------------------------------------------
การฟ้องคดีด้วยตนเอง (กรณีทุนทรัพย์ไม่เกิน ๓ แสนบาท) ด้วยวาจา
กรณีนี้จะยกตัวอย่างเรื่องการฟ้องตามสัญญากู้ยืม
ให้ดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
๑ เขตอำนาจศาล มีสองศาล คือ
- ตามที่อยู่ในทะเบียนบ้านของลูกหนี้
- ตามที่มูลคดีเรื่องกู้ยืมเกิดขึ้น หมายถึง กู้ยืมกันที่เขตไหน อำนาจศาลก็เกิดที่เขตนั้นด้วย
*** กรณีนี้เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวง ถ้าในเขตนั้นมีทั้งศาลจังหวัด และศาลแขวง
อำนาจของศาลในคดีแบบนี้ อยู่ในอำนาจของศาลแขวง..****
๒ นำสัญญากู้ไปติดอากรแสตมป์ โดยคำนวนการติดคือ ๒๐๐๐ บาท ติด ๑ บาท เศษของ ๒๐๐๐ ติดเพิ่มอีก ๑ บาท เช่น
- สัญญากู้เงินกัน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ติดอากรแสตมป์ คือ ๕๐ บาท (ติดแล้วขีดฆ่าอากรด้วยปากกาทับลงไปที่อากร เพื่อแสดงว่าใช้แล้วด้วย)
- หากกู้กัน ๑๐๑,๐๐๐ บาท คำนวนได้ ๕๐.๕ บาท ให้ติดเป็น ๕๑ บาท (มี ๑๐๐๐ บาท ที่ไม่ถึง ๒๐๐๐ บาท จึงติดเพิ่ม ๑ บาท)
๓ นำสัญญากู้นั้นไปถ่ายเอกสาร ๓ ชุด (เอาตัวจริงเก็บไว้กับตัว อย่าเอาไปส่งศาลตอนฟ้องเด็ดขาด)
๔ นำสำเนาสัญญากู้ที่จะฟ้องไปอำเภอหรือเขตใดก็ได้ เพื่อไปคัดสำเนาทะเบียนบ้านของลูกหนี้ เสียค่าคัด ๑๐ บาท
หากเจ้าหน้าที่ถามชื่อลูกหนี้ก็บอกไป หากถามว่าเอาไปทำอะไรก็บอกว่า เอาไปฟ้องคดีแพ่ง
หากเจ้าหน้าที่ถามหาหลักฐาน ก็เอาสำเนาเงินกู้ให้ดู
๕ จากนั้นนำเอกสารดังนี้ไปศาลในเขตอำนาจ (จะฟ้องในเขตตามภูมิลำเนาจำเลย หรือ ตามที่ทำสัญญากู้กัน ก็ได้)
- สำเนาเงินกู้ ๒ ชุด
- ทะเบียนบ้านของลูกหนี้ที่ไปคัดมานั้น
๖ แจ้งกับเจ้าหน้าที่ศาลว่า ขอฟ้องคดีด้วยวาจา (ทุนทรัพย์ไม่เกิน ๓ แสน ย่อมฟ้องด้วยวาจาได้)
หากเจ้าหน้าที่ศาลบอกว่า ฟ้องด้วยวาจาไม่ได้ ต้องไปทำเป็นหนังสือ หรือ หาทนายดำเนินการให้
ให้คุณแจ้งเจ้าหน้าที่คนนั้นว่า "งั้นขอพบผู้พิพากษาเวร(เข้าเวร)แล้วกัน เพื่อจะแจ้งว่าขอฟ้องด้วยวาจา"
คือ ผมกำลังจะบอกว่า มีเจ้าหน้าที่บางคนไม่รู้เรื่องนี้ และไล่ให้ไปจ้างทนาย หรือ บอกว่าฟ้องไม่ได้
ผมจึงแนะนำให้คุณเข้าพบผู้พิพากษาที่เข้าเวรอยู่ในขณะนั้น เพื่อยืนยันว่าจะฟ้องด้วยวาจา
๗ ให้คุณส่งเอกสารที่เตรียมมานั้นให้กับเจ้าหน้าที่ โดยยื่นไป ๒ ชุด (เซ็นรับรองสำเนาถูกต้องทั้งหมด)
จนท จะออกหมายเลขคดีดำให้คุณ คุณต้องจดจำหมายเลขคดีดำนี้ไว้ เพื่อมาศาลในวันพิจาณาคดีอีกที
และใช้สำหรับการตามคดี เช่น ผลการส่งหมาย หรือ สอบถามเรื่องอื่นๆต่อศาล
จากนั้นก็แจ้งกับเจ้าหน้าที่ว่า ขอเรียกดอกเบี้ยร้อยละ ๗.๕ ต่อปี
หากไม่มีการกำหนดเรื่องดอกเบี้ย แต่ถ้ากำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี ก็เอาตามนั้น
โดยขอเรียกนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระจนครบด้วย
หรืออาจจะขอค่าทนายความรวมไปด้วยก็ได้
๘ คุณต้องชำระเงินค่าธรรมเนียมศาลร้อยละ ๒ โดยเสียเริ่มตั้งแต่ ๒๐๐ - ๑๐๐๐ บาท (ทุนทรัพย์ในคดีมโนสาเร่) และ
เสียค่าธรรมเนียมในการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่ลูกหนี้ ตามอัตราระยะทางซึ่งกำหนดไว้ในศาลแล้ว เช่น
ลูกหนี้อยู่เขตประเวศ อาจเสียค่าส่งหมายคือ ๓๐๐ บาท หรือ ลูกหนี้อยู่เขตบางรัก อาจเสีย ๓๕๐ บาท เป็นต้น
๙ จากนั้นให้ดูกำหนดวันนัดของศาลตามที่คุณว่าง โดยเจ้าหน้าที่จะถามคุณว่า ว่างวันไหน สะดวกวันไหนที่จะมาศาล
ให้คุณกำหนดวันเวลาและแจ้งกับเจ้าหน้าที่รับฟ้องได้เลย จากนั้นพอถึงวันนัดของศาล คุณก็ไปตามนัดที่กำหนดไว้
๑๐ การดำเนินการอย่างอื่นนอกจากนี้ก็ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วงแล้ว
แต่คุณต้องคอยโทรถามที่ศาลที่คุณไปฟ้องว่า ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยได้หรือไม่ อีกด้วย
ไม่ใช่ฟ้องไปแล้ว ก็จบกัน ไม่ยอมตามเรื่องอะไรเลย หาก จนท.ส่งหมายให้จำเลยไม่ได้ คุณต้องไปศาลเพื่อแถลงต่อศาลว่า
ให้ส่งใหม่อีกรอบ หรือ แถลงขอส่งแบบปิดหมาย หรือ วิธีอื่น ก็แล้วแต่คุณจะขอจากศาล
๑๑ พอถึงวันนัดของศาลตามที่คุณกำหนด คุณก็ดูหมายเลขคดีดำที่รับฟ้องคดีไว้
จากนั้นก็ขึ้นไปที่ห้องหมายเลขนั้นระบุไว้ แล้วก็เข้าไปในห้องพิจารณาคดี แจ้งกับเจ้าหน้าที่ในห้องว่า มาคดีอะไร หมายเลขคดีดำอะไร
ไม่ใช่เข้าไปในห้องแล้วนั่งเฉยๆล่ะ เพราะต้องแจ้ง จนท ว่ามาศาลแล้ว นั่นเอง..
๑๒ การเบิกความตอบคำถามศาล ก็ไม่มีอะไรมากครับ ตอบไปตามจริง เบิกความไปตามจริง
จากนั้นก็ไม่มีอะไรแล้ว.. หากจบในวันนั้นได้ ศาลก็จะพิพากษาเลย
อ้อ... เอาสัญญากู้ตัวจริงไปด้วยในวันที่ไปศาลล่ะ อย่าลืม
หวังว่าคนที่อยากฟ้องคดีด้วยตนเอง จะเข้าใจเรื่องนี้ทั้งหมดนะครับ
แก้ไขเพิ่มข้อมูลอำนาจศาล
แสดงความคิดเห็น
เงินแค่ 3 หมื่น อย่าฟ้องเลย มันไม่คุ้มหรอก
มีการเขียนสัญญา ไม่ได้ระบุคนค้ำ ระบุแค่พยาน ไม่มีอะไรค้ำทั้งนั้น
ในสัญญาตกลงไว้ ดอกร้อยละ 15 ต่อปี
หลังจากเพื่อน ให้เงินต้นมาในงวดแรก 5500 แล้ว หลังจากนั้น มันก็ไม่ให้อีกเลย
พอไปปรึกษา ทนาย ทนายทุกคนต่างส่ายหัว พร้อมกับบอกว่า
อย่าฟ้องเลย ไม่คุ้มเลย เงินแค่นั้น
มีวิธีไหนที่จะได้ เงินคืนบ้างไหมค่ะ
เวลาไปทวงหนี้ โดนมันไล่เหมือนหมูเหมือนหมา
เพราะตอนนี้ จขกท ก็เดือดร้อนเงินมากเหมือนกันค่ะ