ยังจำตอนกระทู้ Hokkaido Shinkasnen ได้ไหมครับ (
http://ppantip.com/topic/30654007) กระทู้นั้นพาหลายคนอึ้งเลยทีเดียวว่า Hokkaido จะมี Shinkansen ซักที แต่อีกนานกว่าจะเสร็จและเปิดใช้ แต่วันนี้จะมาบอกเรื่องราวเกี่ยวกับ Hokuriku Shinkansen ชิงกันเซ็นสายใหม่ที่เตรียมเปิดให้บริการในปี 2015 (เส้นทางล๊อตแรก) นำเสนอโดย JR East และ JR West พร้อมชิงกันเซ็นรุ่นใหม่ล่าสุดเพื่อสายนี้โดยเฉพาะ!!!
ชิงกันเซ็นสายใหม่ที่จะเปิดในอีก 2ปีมีชื่อว่า Hokuriku Shinkansen แท้จริงเป็นส่วนต่อขยายจากสาย Nagano Shinkansen ที่เปิดใช้เมื่อปี 1997
ชิงกันเซ็นสายนี้ตอนที่วางแผนนั้น วางแผนให้ต่อจาก Nagano แล้ววิ่งขึ้นติดชายทะเลผ่าน Kanazawa และ Toyoma และยาวเข้า Osaka (เป็นการนั่งชิงกันเซ็นอีกเส้นทางไปลง Osaka แต่ตอนนี้สายไป Osaka ยังไม่ได้ยืนยันแผน)
การก่อสร้างเริ่มในปี 1993 สร้างตั้งแต่ Nagano จนถึงตอนนี้รางนั้นได้สร้างเกือบจะถึงเมือง Toyoma โดยเส้นทางล๊อตแรกนั้นจะสร้างถึงเมือง Kanazawa เสร็จปลายปีนี้และพร้อมใช้ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน 2015 ส่วนล๊อตสองจากเมือง Kanazawa ไปที่เมือง Tsuruka เพื่อได้รับการอนุมัติสร้างเมื่อตอนเดือนธันวาคม 2011 สร้างถึงแค่ Fukui และส่วนต่อขยายจาก Fukui ไป Tsugara ก็เพิ่งได้รับอนุมัติสร้างเมื่อ 30 มิถุนายน 2012 สรุปว่าสายนี้จะล๊อตสองพร้อมใช้ในปี 2025
สายจาก Tsugara ไป Osaka ยังไม่ได้ยืนยันแผน (Osaka ลงที่สถานี Shin-Osaka) มีถึง3เส้นทางให้เลือก ตัวเลือกที่มีก็คือ
1.Wakasa Route สร้างรางใหม่ทั้งสายจาก Tsugara ยาวลงไป Osaka เลย เส้นทางใช้เวลาสั้นสุดใน 3ทางเลือกนี้ แต่ค่าสร้างก็แพงที่สุดเช่นกัน ประมาณ 1ล้านล้านเยน เนื่องจากต้องผ่านภูเขามาก โดยจะโผล่แถวๆเมือง Kyoto ด้านตะวันตกแล้ววิ่งเข้า Osaka เลย (ไม่เข้า Kyoto)
2.Maibara Route สร้างรางใหม่จาก Tsugara ถึงแค่เมือง Maibara เป็นเส้นทางที่ใช้เวลาเดินทางนานที่สุดของทั้ง 3ตัวเลือกนี้ แต่ข้อดีคือสะดวกในการเข้าทั้ง Kyoto และ Nagoya เพราะเส้นนี้ลง Maibara ซึ่งมีสาย Tokaido วิ่งผ่านอยู่แล้ว พอถึง Maibara ก็วิ่งเส้นทางเดียวกับ Tokaido เข้า Osaka ได้เลย (ไม่ต้องเปลี่ยนขบวน) ซึ่งปกติสาย Tokaido ไม่จอดที่นี่ ทำให้มีตัวเลือกในการเดินทางนั่นคือ จะนั่งยาวไป Osaka เลยก็ได้ หรือจะลงที่นี่แล้วต่อรถไฟธรรมดาเข้า Nagoya ก็ได้ (ไม่รู้สาย Tokaido สนใจแวะที่ Maibara บ้างไหม จะได้มีชิงกันเซ็นจาก Maibara แวะ Nagoya) โดยที่สาย Maibara โดนเล็งเพราะสาย Chuo Shinkansen ที่เป็นรถไฟ Maglev (วิ่งที่ 500 กม/ชม) ที่จะเปิดใช้ปี 2025 นั้น จอดแวะที่สถานีนี้ด้วย ถือเป็นสถานีหลักเลยทีเดียว แต่จะโดนแย่งผู้โดยสารพอสมควรเลย ถ้ามันเสร็จ
3.Kosei Line Option สายนี้ข้อดีคือสร้างรางใหม่น้อยที่สุด สร้างใหม่แค่ตั้งแต่สถานี Ōmi-Shiotsu ถึงสถานี Tsugara แค่ประมาณ 13-15 กมเท่านั้น ประหยัดงบที่สุดใน 3ตัวเลือก สามารถให้สาย Kosei เดิมวิ่งผ่านได้ด้วย ไม่ต้องแยกรางเหมือนชิงกันเซ็นปกติ โดยแผนที่วางก็คือจะอัพเกรดให้รางรองรับเพลาได้2แบบ คือ 1,435mm และแบบ 1,067mm ที่ใช้อยู่เดิมในสายนี้ หรือจะให้รถไฟนั้นใช้แบบ GCT นั่นคือการเปลี่ยนเพลาได้ทั้ง 1,067mm และ 1,435mm ได้ในขบวนเดียว (JR สร้างเสร็จมาแล้ว 2รุ่น) โดยสาย Kosei Line จะสุดที่ Kyoto (วิ่งด้วยราง 1,067mm) แล้วสลับไปเข้าสายชิงกันเซ็นเดิม (ราง 1,435mm) ต่อเข้า Osaka ได้เลย ข้อจำกัดคือเส้นทางตั้งแต่ Tsugara จนถึง Kyoto จะให้ความเร็วสูงสุดแค่ 160กม/ชม เท่านั้น เนื่องจากไม่ใช่รางที่ออกแบบเพื่อชิงกันเซ็น และช่องว่างระหว่างรางสองรางนั้นค่อนข้างแคบ
(Kosei Line)
สถานีต่อจาก Nagano เข้า Niigata ก่อนจะต่อไปพวก Toyoma หรือ Kanazawa นั้น ไม่ได้เข้าสถานี Niigata หลักนะครับ แต่จะเข้าสถานีชื่อว่า Jōetsu-Myōkō ซึ่งเป็นสถานีที่อัพเกรดจากสถานี Wakinoda สุดแสนธรรมดาที่เมือง Joetsu จ.Niigata (มาแนวเดียวกับสถานี Shin-Hakodate เลยวุ้ย คนเคยดูกระทู้ Hokkaido Shinkansen จะรู้) ห่างจากตัวเมือง Niigata มาทางตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณ 130 กม
(ตอน Shin-Hakodate ห่างจากตัวเมืองสิบกว่าโลเอง)
แต่ไม่ต้องกังวล สถานี Jōetsu-Myōkō ไม่ได้สร้างทับสถานีเก่าครับ เพราะสร้างรางชิงกันเซ็นไว้แค่ผ่านๆแถวสถานี ตัวสถานีเลยสร้างแยกออกมาครับ ของเก่าเดิมก็อยู่ที่เดิมอย่างนั้นแหละ ส่วนรูปสถานีที่สร้างใหม่นั้นหาไม่เจอ มีแต่รูปที่Modelขึ้นมา มีหลายแบบมากครับ ลองหาในGoogle ดูครับ
(สถานี Wakinoda ดูชานเมืองธรรมดา ต่อออกจากนี้เป็นรางเดี่ยวซะด้วย)
(รางที่กำลังสร้างใหญ่ๆนั้นคือรางชิงกันเซ็นครับ แยกออกมา สถานี Wakinoda เดิมก็อยู่อย่างนั้นแหละ [ตรงที่ชี้ตัว A ตรงนั้นคือสถานี Wakinoda])
ส่วนรถไฟรุ่นใหม่ที่จะมาใช้นั่นก็คือ Shinkansen E7/W7 Series ที่แยก E7 และ W7 เพราะสร้างกันคนละบริษัทครับ โดยตัว E7 จะสร้างเสร็จพร้อมส่งมอบปีนี้ ส่วน W7 พร้อมส่งมอบปีหน้าครับ
E7 สร้างโดย Hitachi Heavy Industry, J-TREC และ Kawasaki Heavy Industry
ส่วน W7 สร้างโดย Hitachi Heavy Industry, Kawasaki Heavy Industry และ Kinki Sharyo
(มีแต่รูป Model เพราะขบวนจริงยังสร้างไม่เสร็จ ซักประมาณปลายปีมีรูปของจริงให้ยลโฉมแน่นอน)
รถไฟขบวนนี้สร้างมาเพื่อวิ่งสายนี้โดยเฉพาะ แต่จุดเริ่มต้นสายของมันที่แท้จริงอยู่ที่ Tokyo ครับ วิ่งจาก Tokyo มาในฐานะ Tohoku Shinkansen มาที่สถานี Omiya (สถานีหลักของ Saitama นั่นเอง) จาก Omiya ไป Takasaki มาในฐานะ Joetsu Shinkansen ซึ่งสถานี Takasaki เป็นตัวแยกสายระหว่าง Joetsu กับ Nagano พอวิ่งจาก Takasaki มาที่ Jōetsu-Myōkō จะมาในฐานะ Nagano Shinkansen พอตั้งแต่ Jōetsu-Myōkō มาสุดทางก็จะมาในฐานะ Hokuriku Shinkansen ครับ (ซื้อตั๋วจริงๆก็ซื้อที่เขียนว่า Hokuriku มานั่นแหละ ที่แยกไว้เพราะใช้ความเร็วแต่ละช่วงไม่เท่ากัน)
รถไฟรุ่นนี้ความเร็วสูงสุดของมันอยู่ที่ 260กม/ชม ใช้ไฟฟ้า AC กระแสสลับ 25kV ความถี่ไฟ 50/60Hz (มีทั้ง2แบบให้ใช้) โดยตัวขบวนเดิมวางไว้ว่าจะใช้เพลา 1,435mm (กว่าสายไป Osaka จะเสร็จอีกนานโข ใช้ราง 1,435mm เป็นมาตรฐานไว้ดีกว่า กว่าจะได้ใช้สายนั้น รุ่นใหม่คงออกมาอีก)
ส่วนความเร็วที่ใช้นั้น สาย Hokuriku ที่เป็นสายใหม่จะใช้ความเร็วสูงสุดที่ 260 กม/ชม
สาย Tohoku ที่วิ่งจากสถานี Tokyo มาที่ Omiya ใช้ความเร็ว 110 กม/ชม (เนื่องจากไม่ไกลกันมาก ห่างแค่ 31กม. เลยใช้ความเร็วต่ำ+ผ่านตัวเมืองด้วย)
สาย Joetsu ที่วิ่งจากสถานี Omiya (Saitama) มาที่ Takasaki ใช้ที่ 240 กม/ชม
แถมความเทพด้วยเครื่องยนต์รุ่นใหม่ที่สามารถเร่งเครื่องได้ถึง 210กม/ชม ในตอนกำลังจะขึ้นเขา (จะได้ใช้ในสาย Hokuriku แน่ๆเลย)
*** จบแล้วครับ ขอบคุณที่เข้ามาชมครับผม ***
เรื่องราวเต็มๆเกี่ยวกับ Hokuriku Shinkansen ชิงกันเซ็นสายใหม่เตรียมเปิดใช้อีก 2ปีข้างหน้า
ชิงกันเซ็นสายใหม่ที่จะเปิดในอีก 2ปีมีชื่อว่า Hokuriku Shinkansen แท้จริงเป็นส่วนต่อขยายจากสาย Nagano Shinkansen ที่เปิดใช้เมื่อปี 1997
ชิงกันเซ็นสายนี้ตอนที่วางแผนนั้น วางแผนให้ต่อจาก Nagano แล้ววิ่งขึ้นติดชายทะเลผ่าน Kanazawa และ Toyoma และยาวเข้า Osaka (เป็นการนั่งชิงกันเซ็นอีกเส้นทางไปลง Osaka แต่ตอนนี้สายไป Osaka ยังไม่ได้ยืนยันแผน)
การก่อสร้างเริ่มในปี 1993 สร้างตั้งแต่ Nagano จนถึงตอนนี้รางนั้นได้สร้างเกือบจะถึงเมือง Toyoma โดยเส้นทางล๊อตแรกนั้นจะสร้างถึงเมือง Kanazawa เสร็จปลายปีนี้และพร้อมใช้ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน 2015 ส่วนล๊อตสองจากเมือง Kanazawa ไปที่เมือง Tsuruka เพื่อได้รับการอนุมัติสร้างเมื่อตอนเดือนธันวาคม 2011 สร้างถึงแค่ Fukui และส่วนต่อขยายจาก Fukui ไป Tsugara ก็เพิ่งได้รับอนุมัติสร้างเมื่อ 30 มิถุนายน 2012 สรุปว่าสายนี้จะล๊อตสองพร้อมใช้ในปี 2025
สายจาก Tsugara ไป Osaka ยังไม่ได้ยืนยันแผน (Osaka ลงที่สถานี Shin-Osaka) มีถึง3เส้นทางให้เลือก ตัวเลือกที่มีก็คือ
1.Wakasa Route สร้างรางใหม่ทั้งสายจาก Tsugara ยาวลงไป Osaka เลย เส้นทางใช้เวลาสั้นสุดใน 3ทางเลือกนี้ แต่ค่าสร้างก็แพงที่สุดเช่นกัน ประมาณ 1ล้านล้านเยน เนื่องจากต้องผ่านภูเขามาก โดยจะโผล่แถวๆเมือง Kyoto ด้านตะวันตกแล้ววิ่งเข้า Osaka เลย (ไม่เข้า Kyoto)
2.Maibara Route สร้างรางใหม่จาก Tsugara ถึงแค่เมือง Maibara เป็นเส้นทางที่ใช้เวลาเดินทางนานที่สุดของทั้ง 3ตัวเลือกนี้ แต่ข้อดีคือสะดวกในการเข้าทั้ง Kyoto และ Nagoya เพราะเส้นนี้ลง Maibara ซึ่งมีสาย Tokaido วิ่งผ่านอยู่แล้ว พอถึง Maibara ก็วิ่งเส้นทางเดียวกับ Tokaido เข้า Osaka ได้เลย (ไม่ต้องเปลี่ยนขบวน) ซึ่งปกติสาย Tokaido ไม่จอดที่นี่ ทำให้มีตัวเลือกในการเดินทางนั่นคือ จะนั่งยาวไป Osaka เลยก็ได้ หรือจะลงที่นี่แล้วต่อรถไฟธรรมดาเข้า Nagoya ก็ได้ (ไม่รู้สาย Tokaido สนใจแวะที่ Maibara บ้างไหม จะได้มีชิงกันเซ็นจาก Maibara แวะ Nagoya) โดยที่สาย Maibara โดนเล็งเพราะสาย Chuo Shinkansen ที่เป็นรถไฟ Maglev (วิ่งที่ 500 กม/ชม) ที่จะเปิดใช้ปี 2025 นั้น จอดแวะที่สถานีนี้ด้วย ถือเป็นสถานีหลักเลยทีเดียว แต่จะโดนแย่งผู้โดยสารพอสมควรเลย ถ้ามันเสร็จ
3.Kosei Line Option สายนี้ข้อดีคือสร้างรางใหม่น้อยที่สุด สร้างใหม่แค่ตั้งแต่สถานี Ōmi-Shiotsu ถึงสถานี Tsugara แค่ประมาณ 13-15 กมเท่านั้น ประหยัดงบที่สุดใน 3ตัวเลือก สามารถให้สาย Kosei เดิมวิ่งผ่านได้ด้วย ไม่ต้องแยกรางเหมือนชิงกันเซ็นปกติ โดยแผนที่วางก็คือจะอัพเกรดให้รางรองรับเพลาได้2แบบ คือ 1,435mm และแบบ 1,067mm ที่ใช้อยู่เดิมในสายนี้ หรือจะให้รถไฟนั้นใช้แบบ GCT นั่นคือการเปลี่ยนเพลาได้ทั้ง 1,067mm และ 1,435mm ได้ในขบวนเดียว (JR สร้างเสร็จมาแล้ว 2รุ่น) โดยสาย Kosei Line จะสุดที่ Kyoto (วิ่งด้วยราง 1,067mm) แล้วสลับไปเข้าสายชิงกันเซ็นเดิม (ราง 1,435mm) ต่อเข้า Osaka ได้เลย ข้อจำกัดคือเส้นทางตั้งแต่ Tsugara จนถึง Kyoto จะให้ความเร็วสูงสุดแค่ 160กม/ชม เท่านั้น เนื่องจากไม่ใช่รางที่ออกแบบเพื่อชิงกันเซ็น และช่องว่างระหว่างรางสองรางนั้นค่อนข้างแคบ
(Kosei Line)
สถานีต่อจาก Nagano เข้า Niigata ก่อนจะต่อไปพวก Toyoma หรือ Kanazawa นั้น ไม่ได้เข้าสถานี Niigata หลักนะครับ แต่จะเข้าสถานีชื่อว่า Jōetsu-Myōkō ซึ่งเป็นสถานีที่อัพเกรดจากสถานี Wakinoda สุดแสนธรรมดาที่เมือง Joetsu จ.Niigata (มาแนวเดียวกับสถานี Shin-Hakodate เลยวุ้ย คนเคยดูกระทู้ Hokkaido Shinkansen จะรู้) ห่างจากตัวเมือง Niigata มาทางตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณ 130 กม (ตอน Shin-Hakodate ห่างจากตัวเมืองสิบกว่าโลเอง)
แต่ไม่ต้องกังวล สถานี Jōetsu-Myōkō ไม่ได้สร้างทับสถานีเก่าครับ เพราะสร้างรางชิงกันเซ็นไว้แค่ผ่านๆแถวสถานี ตัวสถานีเลยสร้างแยกออกมาครับ ของเก่าเดิมก็อยู่ที่เดิมอย่างนั้นแหละ ส่วนรูปสถานีที่สร้างใหม่นั้นหาไม่เจอ มีแต่รูปที่Modelขึ้นมา มีหลายแบบมากครับ ลองหาในGoogle ดูครับ
(สถานี Wakinoda ดูชานเมืองธรรมดา ต่อออกจากนี้เป็นรางเดี่ยวซะด้วย)
(รางที่กำลังสร้างใหญ่ๆนั้นคือรางชิงกันเซ็นครับ แยกออกมา สถานี Wakinoda เดิมก็อยู่อย่างนั้นแหละ [ตรงที่ชี้ตัว A ตรงนั้นคือสถานี Wakinoda])
ส่วนรถไฟรุ่นใหม่ที่จะมาใช้นั่นก็คือ Shinkansen E7/W7 Series ที่แยก E7 และ W7 เพราะสร้างกันคนละบริษัทครับ โดยตัว E7 จะสร้างเสร็จพร้อมส่งมอบปีนี้ ส่วน W7 พร้อมส่งมอบปีหน้าครับ
E7 สร้างโดย Hitachi Heavy Industry, J-TREC และ Kawasaki Heavy Industry
ส่วน W7 สร้างโดย Hitachi Heavy Industry, Kawasaki Heavy Industry และ Kinki Sharyo
(มีแต่รูป Model เพราะขบวนจริงยังสร้างไม่เสร็จ ซักประมาณปลายปีมีรูปของจริงให้ยลโฉมแน่นอน)
รถไฟขบวนนี้สร้างมาเพื่อวิ่งสายนี้โดยเฉพาะ แต่จุดเริ่มต้นสายของมันที่แท้จริงอยู่ที่ Tokyo ครับ วิ่งจาก Tokyo มาในฐานะ Tohoku Shinkansen มาที่สถานี Omiya (สถานีหลักของ Saitama นั่นเอง) จาก Omiya ไป Takasaki มาในฐานะ Joetsu Shinkansen ซึ่งสถานี Takasaki เป็นตัวแยกสายระหว่าง Joetsu กับ Nagano พอวิ่งจาก Takasaki มาที่ Jōetsu-Myōkō จะมาในฐานะ Nagano Shinkansen พอตั้งแต่ Jōetsu-Myōkō มาสุดทางก็จะมาในฐานะ Hokuriku Shinkansen ครับ (ซื้อตั๋วจริงๆก็ซื้อที่เขียนว่า Hokuriku มานั่นแหละ ที่แยกไว้เพราะใช้ความเร็วแต่ละช่วงไม่เท่ากัน)
รถไฟรุ่นนี้ความเร็วสูงสุดของมันอยู่ที่ 260กม/ชม ใช้ไฟฟ้า AC กระแสสลับ 25kV ความถี่ไฟ 50/60Hz (มีทั้ง2แบบให้ใช้) โดยตัวขบวนเดิมวางไว้ว่าจะใช้เพลา 1,435mm (กว่าสายไป Osaka จะเสร็จอีกนานโข ใช้ราง 1,435mm เป็นมาตรฐานไว้ดีกว่า กว่าจะได้ใช้สายนั้น รุ่นใหม่คงออกมาอีก)
ส่วนความเร็วที่ใช้นั้น สาย Hokuriku ที่เป็นสายใหม่จะใช้ความเร็วสูงสุดที่ 260 กม/ชม
สาย Tohoku ที่วิ่งจากสถานี Tokyo มาที่ Omiya ใช้ความเร็ว 110 กม/ชม (เนื่องจากไม่ไกลกันมาก ห่างแค่ 31กม. เลยใช้ความเร็วต่ำ+ผ่านตัวเมืองด้วย)
สาย Joetsu ที่วิ่งจากสถานี Omiya (Saitama) มาที่ Takasaki ใช้ที่ 240 กม/ชม
แถมความเทพด้วยเครื่องยนต์รุ่นใหม่ที่สามารถเร่งเครื่องได้ถึง 210กม/ชม ในตอนกำลังจะขึ้นเขา (จะได้ใช้ในสาย Hokuriku แน่ๆเลย)
*** จบแล้วครับ ขอบคุณที่เข้ามาชมครับผม ***