รถยนต์เมื่ออายุ 5 ปีขึ้นไป อุปกรณ์ต่างๆ ก็ต้องมีการเสื่อมสภาพไปตามเวลา
เนื่องจากเราก็ได้ใช้รถยนต์มาเป็นเวลานาน และได้ระยะทางพอสมควรแล้ว อาการ
แบตเตอรี่หมด จนไม่สามารถทำการสตาร์ทได้ หากใครเจอปัญหานี้ ในเบื้องต้นก็ต้อง
ทำการเปลี่ยนแบตเตอรี่ก่อน เพื่อให้สามารถทำการสตาร์ทรถยนต์ให้ได้ แต่หลายคัน
เจอปัญหาว่า เพิ่งเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่ ทำไม ? ยังสตาร์ทไม่ได้เหมือนเดิม ทั้งที่
เพิ่งเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่มา อาการนี้แสดงว่า ไดร์ชาร์จ มีปัญหาแล้ว เพราะว่า
ไดร์ชาร์จ ไม่สามารถทำการอัดไฟเข้าไปเก็บในแบตเตอรี่ได้ เนื่องจากอุปกรณ์ภายใน
ของตัวไดชาร์จมีปัญหา นั่นเอง ต้องไปที่ร้านที่เขารับซ่อมไดร์ชาร์จ ทำการแก้ปัญหาให้
จากเหตุการณ์ข้างบน คือ ต้องเกิดปัญหาก่อน จึงค่อยทำการแก้ไข ทำให้มีโอกาส
รถไปมีปัญหาระหว่างทางแน่นอน เป็นไปได้ไหม ที่เราจะสามารถทำนาย หรือรู้ตัวล่วงหน้า
ก่อน โดยสามารถทำการ ตรวจเช็ค หรือตรวจวัดได้ด้วยตัวเองเบื้อต้น หากค่าที่ออกมาได้
พบว่ามีปัญหา ค่อยไปทำการตรวจวัดด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยกว่านี้ มันก็น่าจะดีนะครับ
1. เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดแรงดันไฟฟ้า Digital Multimeter (ดิจิตอล มัลติมิเตอร์)
ทำการปรับโหมดย่านการวัดไปที่ วัดแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง ปลายเข็มด้ามสีแดงต่อเข้า
กับขั้วบวกของแบตเตอรี่ ปลายเข็มด้ามสีดำต่อเข้าขั้วลบของแบตเตอรี่
2. ทำการวัดแรงดันแบตเตอรี่ โดยยังไม่เปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าใดๆ ทั้งสิ้น ได้ค่าแรงดันไฟฟ้า ดังรูป
การวัดแบบนี้เราอยากรู้ว่า แค่เราเปิดฝากระโปรงแล้วทำการวัดแรงดันแบตเตอรี่ ค่าแรงดันไฟฟ้าที่ได้ จะมีค่าเท่าใด
3. ทำการเสียบกุญแจรถ บิดไปที่ตำแหน่ง ON เตรียมพร้อมที่จะทำการสตาร์ทรถยนต์
ได้ค่าแรงดันไฟฟ้า ดังรูป การวัดแบบนี้เราอยากรู้ว่า เมื่อเริ่มมีการจ่ายไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์
ไฟฟ้าในรถยนต์แล้ว ยังเหลือแรงดันไฟฟ้าเท่าไร ก่อนที่จะทำการสตาร์รถยนต์ สังเกตว่า
แรงดันไฟฟ้าตกลงไปเล็กน้อย แต่ก็ยังมีแรงดันไฟฟ้าพอที่จะทำการสตาร์ทเครื่องยนต์ได้
เคยเจอว่าแรงดันไฟฟ้าต่ำกว่า 11.5 V ไม่สามารถทำการสตาร์ทรถยนต์ได้
4. ทำการสตาร์ทเครื่องยนต์ ติดเครื่องเอาไว้ที่รอบเครื่องเดินเบา โดยที่ยังไม่ได้ทำการ
เปิดแอร์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า อื่นๆ ในรถยนต์ ได้ค่าแรงดันไฟฟ้า ดังรูป แรงดันไฟฟ้าที่เรา
ทำการวัดได้ที่ขั้วแบตเตอรี่ตอนนี้ คือแรงดันไฟฟ้าที่ไดร์ชาร์จทำการอัดไฟเข้าไปเก็บที่
แบตเตอรี่ ค่าแรงดันไฟฟ้าที่วัดได้จากไดร์ชาร์จ ถ้าอยู่ระหว่าง 13.8 V ถึง 14.2 V
ถือว่าแรงดันไดร์ชาร์จปกติ การทดสอบนี้เราปิดอุกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดในรถอยู่
5. ต่อมาทำการทดสอบโดยเปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าในรถยนต์ ทั้งหมด เช่น เปิดแอร์ , เปิดวิทยุ ,
เปิดไฟหน้ารถ , เปิดไฟตัดหมอก และอื่นๆ สังเกตว่าแรงดันไฟฟ้าตกลงไปเล็กน้อย
เนื่องจากมีอุปกรณ์ไฟฟ้ามาทำการดึงกระแสไฟฟ้าออกไปใช้งานมากขึ้นนั่นเอง
6. หลังจากนั้นทำการเร่งรอบเครื่องยนต์ค้างเอาไว้ที่ 2,000 RPM. เป็นการจำลองว่า
เหมือนรถยนต์กำลังวิ่งใช้งาน ได้ค่าแรงดันไฟฟ้า ดังรูป การวัดแรงดันไฟฟ้าตอนนี้ คือ
ดูว่าหลังจากเปิดอุปกรณ์ไฟฟ้า ดึงกระแสไฟฟ้าไปใช้งานแล้วไดร์ชาร์จสามารถทำการ
อัดไฟเข้าไปเก็บที่แบตเตอรี่ได้ทันหรือไม่ ค่าแรงดันไฟฟ้าที่วัดได้จากไดร์ชาร์จ ถ้าอยู่
ระหว่าง 13.8 V ถึง 14.2 V ถือว่าแรงดันไดร์ชาร์จปกติ การทดสอบนี้เราเปิดอุกรณ์ไฟฟ้า
ทั้งหมดในรถอยู่ และทำการเร่งรอบเครื่องยนต์ไปที่ 2,000 RPM.
7. จากนั้นทำการดับเครื่องยนต์ ดึงกุญแจออกมา ทำการวัดแรงดันไฟฟ้าที่ขั้วแบตเตอรี่
ได้ค่าแรงดันไฟฟ้า ดังรูป สังเกตว่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ถ้าเราทำการขับรถออกไปข้างนอก
ก็น่าจะได้แรงดันไฟฟ้าที่ไดร์ชาร์จทำการอัดไฟเข้าไปเก็บในแบตเตอรี่ได้มากกว่านี้
จาการทดลองนี้ พอจะสรุปได้ว่า ไดร์ชาร์จ และแบตเตอรี่ของรถยนต์คันตัวอย่างที่เรา
นำมาทำการตรวจวัดแรงดันไฟฟ้า ไม่พบความผิดปกติใดๆ ครับ
D.I.Y. วิธีการตรวจเช็คแรงดันไฟฟ้า ของไดร์ชาร์จ และแบตเตอรี่ by Yai6000
เนื่องจากเราก็ได้ใช้รถยนต์มาเป็นเวลานาน และได้ระยะทางพอสมควรแล้ว อาการ
แบตเตอรี่หมด จนไม่สามารถทำการสตาร์ทได้ หากใครเจอปัญหานี้ ในเบื้องต้นก็ต้อง
ทำการเปลี่ยนแบตเตอรี่ก่อน เพื่อให้สามารถทำการสตาร์ทรถยนต์ให้ได้ แต่หลายคัน
เจอปัญหาว่า เพิ่งเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่ ทำไม ? ยังสตาร์ทไม่ได้เหมือนเดิม ทั้งที่
เพิ่งเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่มา อาการนี้แสดงว่า ไดร์ชาร์จ มีปัญหาแล้ว เพราะว่า
ไดร์ชาร์จ ไม่สามารถทำการอัดไฟเข้าไปเก็บในแบตเตอรี่ได้ เนื่องจากอุปกรณ์ภายใน
ของตัวไดชาร์จมีปัญหา นั่นเอง ต้องไปที่ร้านที่เขารับซ่อมไดร์ชาร์จ ทำการแก้ปัญหาให้
จากเหตุการณ์ข้างบน คือ ต้องเกิดปัญหาก่อน จึงค่อยทำการแก้ไข ทำให้มีโอกาส
รถไปมีปัญหาระหว่างทางแน่นอน เป็นไปได้ไหม ที่เราจะสามารถทำนาย หรือรู้ตัวล่วงหน้า
ก่อน โดยสามารถทำการ ตรวจเช็ค หรือตรวจวัดได้ด้วยตัวเองเบื้อต้น หากค่าที่ออกมาได้
พบว่ามีปัญหา ค่อยไปทำการตรวจวัดด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยกว่านี้ มันก็น่าจะดีนะครับ
1. เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดแรงดันไฟฟ้า Digital Multimeter (ดิจิตอล มัลติมิเตอร์)
ทำการปรับโหมดย่านการวัดไปที่ วัดแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง ปลายเข็มด้ามสีแดงต่อเข้า
กับขั้วบวกของแบตเตอรี่ ปลายเข็มด้ามสีดำต่อเข้าขั้วลบของแบตเตอรี่
2. ทำการวัดแรงดันแบตเตอรี่ โดยยังไม่เปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าใดๆ ทั้งสิ้น ได้ค่าแรงดันไฟฟ้า ดังรูป
การวัดแบบนี้เราอยากรู้ว่า แค่เราเปิดฝากระโปรงแล้วทำการวัดแรงดันแบตเตอรี่ ค่าแรงดันไฟฟ้าที่ได้ จะมีค่าเท่าใด
3. ทำการเสียบกุญแจรถ บิดไปที่ตำแหน่ง ON เตรียมพร้อมที่จะทำการสตาร์ทรถยนต์
ได้ค่าแรงดันไฟฟ้า ดังรูป การวัดแบบนี้เราอยากรู้ว่า เมื่อเริ่มมีการจ่ายไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์
ไฟฟ้าในรถยนต์แล้ว ยังเหลือแรงดันไฟฟ้าเท่าไร ก่อนที่จะทำการสตาร์รถยนต์ สังเกตว่า
แรงดันไฟฟ้าตกลงไปเล็กน้อย แต่ก็ยังมีแรงดันไฟฟ้าพอที่จะทำการสตาร์ทเครื่องยนต์ได้
เคยเจอว่าแรงดันไฟฟ้าต่ำกว่า 11.5 V ไม่สามารถทำการสตาร์ทรถยนต์ได้
4. ทำการสตาร์ทเครื่องยนต์ ติดเครื่องเอาไว้ที่รอบเครื่องเดินเบา โดยที่ยังไม่ได้ทำการ
เปิดแอร์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า อื่นๆ ในรถยนต์ ได้ค่าแรงดันไฟฟ้า ดังรูป แรงดันไฟฟ้าที่เรา
ทำการวัดได้ที่ขั้วแบตเตอรี่ตอนนี้ คือแรงดันไฟฟ้าที่ไดร์ชาร์จทำการอัดไฟเข้าไปเก็บที่
แบตเตอรี่ ค่าแรงดันไฟฟ้าที่วัดได้จากไดร์ชาร์จ ถ้าอยู่ระหว่าง 13.8 V ถึง 14.2 V
ถือว่าแรงดันไดร์ชาร์จปกติ การทดสอบนี้เราปิดอุกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดในรถอยู่
5. ต่อมาทำการทดสอบโดยเปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าในรถยนต์ ทั้งหมด เช่น เปิดแอร์ , เปิดวิทยุ ,
เปิดไฟหน้ารถ , เปิดไฟตัดหมอก และอื่นๆ สังเกตว่าแรงดันไฟฟ้าตกลงไปเล็กน้อย
เนื่องจากมีอุปกรณ์ไฟฟ้ามาทำการดึงกระแสไฟฟ้าออกไปใช้งานมากขึ้นนั่นเอง
6. หลังจากนั้นทำการเร่งรอบเครื่องยนต์ค้างเอาไว้ที่ 2,000 RPM. เป็นการจำลองว่า
เหมือนรถยนต์กำลังวิ่งใช้งาน ได้ค่าแรงดันไฟฟ้า ดังรูป การวัดแรงดันไฟฟ้าตอนนี้ คือ
ดูว่าหลังจากเปิดอุปกรณ์ไฟฟ้า ดึงกระแสไฟฟ้าไปใช้งานแล้วไดร์ชาร์จสามารถทำการ
อัดไฟเข้าไปเก็บที่แบตเตอรี่ได้ทันหรือไม่ ค่าแรงดันไฟฟ้าที่วัดได้จากไดร์ชาร์จ ถ้าอยู่
ระหว่าง 13.8 V ถึง 14.2 V ถือว่าแรงดันไดร์ชาร์จปกติ การทดสอบนี้เราเปิดอุกรณ์ไฟฟ้า
ทั้งหมดในรถอยู่ และทำการเร่งรอบเครื่องยนต์ไปที่ 2,000 RPM.
7. จากนั้นทำการดับเครื่องยนต์ ดึงกุญแจออกมา ทำการวัดแรงดันไฟฟ้าที่ขั้วแบตเตอรี่
ได้ค่าแรงดันไฟฟ้า ดังรูป สังเกตว่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ถ้าเราทำการขับรถออกไปข้างนอก
ก็น่าจะได้แรงดันไฟฟ้าที่ไดร์ชาร์จทำการอัดไฟเข้าไปเก็บในแบตเตอรี่ได้มากกว่านี้
จาการทดลองนี้ พอจะสรุปได้ว่า ไดร์ชาร์จ และแบตเตอรี่ของรถยนต์คันตัวอย่างที่เรา
นำมาทำการตรวจวัดแรงดันไฟฟ้า ไม่พบความผิดปกติใดๆ ครับ