เรียนจบรามคำแหงกับราชภัฎมันดูแย่มากเลยเหรอคะ

พอดีเปิดหางานในเน็ตค่ะ ไปเจองานหนึ่งซึ่งเราก็สนใจและเลื่อนลงดูรายละเอียด ต้องบอกก่อนว่าบริษัทนี้เป็นบริษัทจัดหางานอีกทีหนึ่ง ซึ่งเมื่อเราเลื่อนมาดูตรงรายละเอียดผู้สมัครแล้ว รู้สึกเศร้ามากที่ระบุไว้ว่า ลูกค้า( คงจะเป็นบริษัทที่เป็นลูกค้า )ไม่รับเด็กราชภัฎหรือเด็กราม
เราก็เด็กรามคำแหง ทำงานไม่แพ้ใคร ไม่ใช่เราชมตัวเองแต่มีผลงานที่หัวหน้ายอมรับและไว้ใจให้ทำงานใหญ่ๆ แต่แค่ไม่มีโอกาสได้เรียนมหาวิทยาลัยปิดหรือมหาวิทยาลัยเอกชนเหมือนคนอื่นเขา
ขอสอบถามHRหรือทุกๆท่านหน่อยได้ไหมคะ ว่านักศึกษารามคำแหงกับนักศึกษาราชภัฎที่เคยรับเข้าทำงาน มีข้อด้อยที่ต่างจากมหาวิทยาลัยอื่นๆอย่างไรบ้างคะ ขอเรื่องการทำงานหรือการเข้าสังคมกับเพื่อนร่วมงานหรือที่เกี่ยวข้องกับงานเท่านั้นนะคะ ไม่ดราม่ามหาวิทยาลัยค่ะ เคารพในทุกๆมหาวิทยาลัยค่ะ
ตอบตามตรงได้ค่ะ จขกท.พร้อมรับฟังทั้งหมดค่ะ เพราะอยากรู้เหตุผลส่วนใหญ่จริงๆ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
ส่วนตัว ไม่เห็นด้วย เรื่องกีดกันรามคำแหงนะคับ  เด็กที่จบรามคำแหง น่าจะมีคุณภาพกว่าเอกชนบางแห่งด้วยซ้ำ
แต่ ราชภัฎ ถ้าบ. มีกำลังจ้าง และ ตำแหน่งนี้ต้องการ คนที่เก่ง และ ถ้าบ. มั่นใจว่า จะมีตัวเลือกอื่น ผมคิดว่าบ. คิดถูกครับ

ทั้งนี้ความเห็นส่วนตัว  องค์ประกอบสถาบัน มันก็เป็นแค่ใบเบิกทาง แต่ ไม่ได้เป็นใบประกาศความสำเร็จในชีวิต

ดังนั้น อย่าคิดมาก แล่ว หางานอื่นที่เปิดโอกาสให้เราดีกว่าครับ


*** เพิ่มเหตุผล ไว้ขำ ๆ นะคับ

เด็กจบจุฬา ธรรมศาสตร์ เหมือนทุเรียน ส่งออกนอก คัดมาจากการแข่งขันแล้ว ว่ามีขนาด และ ความสวยงาม ดีกว่าทุกเรียนส่งในไทย
แต่ คัดยังไง ก็มีลูกที่เม็ดโต เนื้อน้อย รสชาติแย่ เละใน ได้  """แต่"" ส่วนใหญ่ มักจะดี

เด็กจบเอกชน เหมือนทุเรียนส่งในไทย ส่วนใหญ่ตกรอบมาจากการแข่งขัน แต่ ก็มีส่วนน้อยที่ถูกมองข้ามและหลุดพ้นจากการคัดเลือกรอบแรก
หรือมีการพัฒนา ระหว่างการขนส่ง  แต่ส่วนใหญ่ มีปริมาณมาก  ราคาเลยต่ำหว่า

เด็กจบราม เหมือนเป็นทุเรียน ที่เมล็ดพันธ์ค่อนข้างโตยาก แต่ โตมาแล้ว หวาน อร่อย เม็ดลีบ แต่ ส่วนใหญ่ ขนาดเล็กกว่าทุเรียนส่งออก

เด็กจบราชกัฐ ส่วนใหญ่ คือ ทุเรียนที่เหลือจากทั้ง 3 ประเภท  แต่ ก็มีดีเป็นเหมือนเพชรในตม แต่ ก็น้อยมาก

แรงไปป่าวหว่า...  ทั้งหมดนี้ เทียบส่วนใหญ่นะคับ ไม่ได้หมายถึง ทั้งหมด
ความคิดเห็นที่ 10
เรียนมหาวิทยาลัยรัฐชื่อดัง คือเค้าสอบแข่งขันกับเด็กหลายแสนเพื่อมาถึงจุดนี้ โอกาสที่จะเห็นเค้าเก่ง เค้าประสบความสำเร็จมากกว่ามันมีมากกว่าเด็กที่จบราม เอกชน หรือราชภัฎอยู่แล้ว เรื่องนี้คุณไม่เห็นต้องแปลกใจ เพราะมันเป็นเรื่องของการคัดกรองคุณภาพคนตั้งแต่เข้ามาแล้ว มหาวิทยาลัยรัฐยิ่งถ้าเป็นชื่อดัง กว่าจะสอบเข้าได้มันยากลำบาก และมันได้พิสูจน์แล้วว่าเค้าเป็นเด็กหัวดีกว่าทั่วๆไป มีความพยายามมากกว่าจึงสอบติดได้ นอกจากสอกติดแล้ว ยังต้องเจอด่านต่อไปคือการเรียนในมหาวิทยาลัยรัฐชื่อดัง การแข่งขันนั้นสูงมาก หลายคนพูดไปว่าของตัวเองนั้นก็เรียนยาก แต่มันเทียบไม่ได้กับมหาวิทยาลัยรัฐที่คัดกรองหัวกระทิแนวหน้าระดับประเทศแล้วเอามาแข่งขันกันเอง ดังนั้นมันส่งผลให้ตัวเด็กเองต้องขยันและตั้งใจเรียนอย่างเสมอต้นและเสมอปลาย เอาเป็นว่าแค่ขยันธรรมดาๆก็ไม่ได้ เพราะถ้าคุณเตรียมตัวไม่ดี คะแนนสอบออกมาก็ตกมีนคณะ ถึงไม่ถึงกับติดF แต่มันก็แย่แล้วสำหรับเด็กเรียน ทั้งๆที่เค้าไม่ใช่เด็กไม่เอาใจใส่ แต่เป็นว่ายังพยายามไม่มากๆๆพอที่จะไปแข่งกับเด็กเก่งๆที่มาจากทุกสารทิศมากกว่า นอกจากนี้อาจารย์และสิ่งต่างๆก็ล้วนเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพอย่างมาก ทุกอย่างมันผลักดันให้ตัวเด็กที่เรียนมหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงอย่างเช่น จุฬา จบออกมาแล้วมีคุณภาพ ถามผมตอนนี้บอกได้เลยว่าแน่นอน คนที่จบราม ราชภัฎ หรือเอกชน(เอกชนไม่รวมคณะแพทย์ของม.รังสิตและสยาม เพราะการแข่งขันยังถือว่าค่อนข้างสูงอยู่) โดยเฉลี่ยยังไงก็อ่อนกว่าเด็กม.รัฐบาลยิ่งถ้ามีชื่อเสียงที่สุดอย่างจุฬาก็ไม่ต้องเทียบ ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องที่จะตกเอามาถกเถียงอะไร

ต้องพูดความจริงกันหน่อยว่าถามกลับกันว่าการที่บางบริษัทเค้าไม่รับเด็กรามหรือราชภัฎ เอกชน เพราะสาเหตุอะไร มันก็เพราะว่า(โดยเฉลี่ย)ส่วนมากเด็กพวกนี้ย่อมอ่อนกว่าเด็กม.รัฐบาลที่มีการคัดกรองมาอยู่แล้ว(ย้ำว่าส่วนใหญ่เป็นแบบนั้น) ดังนั้นอาจเป็นเพราะบริษัทไม่ได้แอนตี้ (เชื่อเถอะไม่มีบริษัทไหนที่แอนตี้สถาบันโดยไม่มีเหตุผลหรอก ถ้าเด็กที่จบจากสถาบันนั้นส่วนใหญ่มีคุณภาพมากจริงๆ บริษัททำไมจะไม่รับ เค้าก็รับซิเพราะเค้าจ้างเราแล้วทำให้เค้าได้กำไรจากการที่เค้าจ้างเรา เราทำงานดีตามที่เค้าต้องการมันก็เพียงพอแล้ว) แต่เป็นเพราะที่ผ่านมาเค้าอาจจะเจอเด็กที่จบจากสถาบันพวกนี้ส่วนใหญ่ทำงานคุณภาพและอะไรต่างๆโดยรวมอ่อนกว่าม.รัฐ เค้าก็เลยตัดปัญหาการคัดกรองจะไม่ต้องเสียเวลามากโดยการระบุว่าจะไม่รับสถาบันไหน มันก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะที่ผมพูดมามันคือโดยเฉลี่ย คนจบราม ราชภัฎเก่งๆก็มี(อาจจะไม่ได้ดีเด่นด้านวิชาการมาก) แต่เป็นส่วนน้อยกว่ามากเมื่อเทียบกับม.รัฐยิ่งถ้ามีชื่อเสียงก็ยิ่งไปใหญ่เลย ดังนั้นคุณก็ต้องยอมรับความจริงตรงนี้ แล้วไม่ต้องกลัวหรอกครับ บริษัทอีกมากมายเค้าเปิดโอกาสให้คุณได้แสดงความสามารถอยู่แล้ว ถ้าคุณเก่งจริง แค่นั้นแหละ จบ
ความคิดเห็นที่ 24
ตอบในฐานะอาจารย์มหาวิทยาลัยที่สอนเด้กอ่อน
ยอมรับว่าอ่อนมากๆ เราจบม.รัฐชื่อดัง
เด็กพวกนี้ส่วนใหญ่เรียนแบบขอไปที
การเรียนการสอนก็เข้มแบบเด้กเก่งไม่ได้เพราะหัวช้า ฃคิดอะไรเป็นระบบไม่เป็น
ผิดที่กรไม่คุมกำเนิดการศึกษา
นักศึกษาที่จบมามากและล้นเกินความต้องการส่วนใหญ่ ไม่ได้มีคุณสมบัติของการเป็นบัณฑิตเลย
คือวุฒิม.6ก็เหมาะสมแล้วเพราะระดับความรู้ได้แค่นั้นจริงๆ
ความคิดเห็นที่ 20
ผมจะไม่ยก extreme cases ประเภทเด็กเก่งราชภัฎหรือเด็กห่วยม.ปิด เพราะทุกที่มีทั้งคนเก่งและไม่เก่ง แต่สิ่งที่ผมจะพูด ผมจะมองในมุมค่าเฉลี่ยครับ

คนสอบเข้าม.ปิดดังๆได้ก็คือคนที่มีความสามารถในการแข่งเรื่องวิชาการกับคนอื่นชนะแล้วเข้ามา เพราะงั้นในแง่ของวัตถุดิบตัวมหาลัยปิดย่อมได้เปรียบ ได้เด็กที่ขยันเรียน/หัวดี/ทั้ง 2 อย่างไปเรียนในมหาลัยของตัวเอง และโดยกระบวนการตัดเกรดของการเรียนระดับมหาลัยที่ใช้การอิงกลุ่มประกอบด้วย การเรียนในมหาลัยปิดก็จะแข่งขันกันรุนแรงกว่าเพราะเพื่อนที่ตัวเองต้องแข่งด้วยก็คือคนพวกเดียวกับที่เข้ามาด้วยกัน ทั้งเด็กขยัน/เด็กเก่ง แต่การตัดเกรดของราชภัฎเองด้วยความที่คู่แข่งไม่เก่ง คุณอาจรอดได้เกรด B ขึ้นได้โดยไม่ยากเย็นในขณะที่ถ้าอยู่มหาลัยปิดแข็งๆแล้วใช้ความพยายามหรือหัวเท่ากันอาจได้ D-F ดังนั้นทั้งโดยวัตถุดิบและกระบวนการปั้นเด็กที่จบจากมหาลัยปิดที่หลักสูตรแข็งๆมักจะวิชาการแน่นกว่าม.อื่นๆโดยเฉลี่ยอยู่ระดับหนึ่ง

หรือเอาเท่าที่ผมเจอมาจากเพื่อนที่จบม.อื่นๆ (เอาในแง่ผมจบตรีเศรษฐศาสตร์ละกัน) เด็กจบเศรษฐศาสตร์ที่หลักสูตรไม่แข็งเท่าที่เห็นทฤษฎีไม่แน่น หัวพลิกแพลงไม่ได้ แค่เรื่องเอาพวกเศรษฐศาสตร์มหาภาคไปปรับใช้กับการวิเคราะห์นโยบายยังทำได้จับแพะชนแกะ ทักษะการวิจัย,คณิตศาสตร์,สถิติย่ำแย่ (บางคนจบวิศวะม.เปิดแค่ดิฟฟังก์ชั่นยังผิดๆถูก ต้องเอามาให้เด็กเศรษฐศาสตร์อย่างผมสอนเลย) ภาษาก็ไม่ได้เรื่องในระดับที่ผมว่าเป็นปัญหา หลายคนอ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษยังไม่ออกเลย ทั้งที่ผมว่าตอนนี้ภาษาอังกฤษเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องรู้ ควรอ่านบางกอกโพสต์ได้แบบรู้เรื่องแล้ว

ผมโลกไม่ค่อยสวยหรอก ผมก็เห็นอย่างที่พิมพ์ลงไป แต่ถ้าคุณมองว่าผมดุถูกพวกคุณ พวกคุณก็ควรพิสูจน์ตัวเองว่าผมพูดผิด ทำให้สังคมข้างนอกยอมรับว่าวิชาการคุณสู้มหาลัยปิดได้สิ เพราะอย่างที่บอกว่าผมพูดโดยเฉลี่ย คุณก็มีสิทธิเป็นพวกพ้นค่าเฉลี่ยได้ครับ

ป.ล. แต่โดยส่วนตัวผมเองก็ให้เครดิตรามฯมากกว่าราชภัฎนะ เท่าที่เห็นเด็กรามทำงานกลางวันอ่านเองกลางคืนแล้วเรียนจนจบได้ ผมว่าอย่างน้อยคนพวกนี้มีความพยายามและการสั่งสมความรู้ที่แน่น ในขณะที่เด็กราชภัฎเองเรียนเวลาปกติ ทำไมถึงยังแข่งขันสู้มหาลัยรัฐดังๆไม่ได้ก็น่าคิดครับ
ความคิดเห็นที่ 6
เห็นด้วยครับ เราเลือกงาน ไม่ใช่ให้งานเลือกเรา (ถ้าเราเจ๋งจริง)

แต่กว่าจะเจ๋งจริง มันต้องมีประสพการณ์ มีความสามารถ มีทักษะที่ยอดเยี่ยมที่ HR จะมองข้ามไม่ได้

สมมุตินะครับ ถ้าผมจบราชภัฐทางด้านภาษาอังกฤษ และผมสอบ Toeic ได้ 980 คุณคิดหรือว่า HR ไหนมันจะมาไม่เลือกผมแต่เลือกเด็กอักษรที่ได้ Toeic แค่ 800?

เป็นผมทำหน้าที่ HR ผมก็จะเรียกทั้งสองคนมาสัมภาษณ์ มาทดสอบทำข้อเขียนภาษาอังกฤษที่บริษัทผมต้องใช้งานอยู่ ถ้า Toeic 980 เด็กราชภัฐเป็นของจริง พูดอังกฤษได้แตกฉาน เขียนบทความอังกฤษได้ แปลไทย-อังกฤษได้ไม่เพี้ยน ดูอย่างไรๆ ก็เก่งกว่าเด็กอักษรที่มาสมัคร รับรองผมรีบรับเด็กราชทันที 555

สมัยที่เคยรับลูกน้องสองคน ผมก็ออกแบบทดสอบภาษาอังกฤษเอง ไม่ดู transcript ด้วยซ้ำว่า แต่ละคนเจ๋งด้านอังกฤษแค่ไหน เพราะผมแน่ใจในความสามารถด้านภาษาอังกฤษผมมาก ดูออกว่า ใครเ๋จ๋งจริงหรือไม่ เคยได้รับเชิญเป็นกรรมการสอบสัมภาษณ์ทุน JAL มาแล้ว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่