มวลสารในพระกรุวังวารี

กระทู้สนทนา

มวลสารในพระกรุวังวารี


ก่อนจะพูดเรื่องมวลสารผมอยากจะบอกทุกท่านก่อนครับว่า ผมนั้นไม่ใช่เซียนพระ เป็นแค่คนที่ชอบศึกษาพระกรุอย่างบ้าคลั่ง (555+) สิ่งที่ชอบที่สุดของพระกรุคือเนื้อหาในองค์พระที่มีมนต์เสน่ สามารถบอกได้ถึงเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นในอดีต เวลาส่องนั้นราวกับว่าทำให้เราย้อนอดีตไปยังยุคนั้นๆได้ และยิ่งช่วงนี้ของเลียนแบบนั้นก็ออกมาสู่สายตามากขึ้นพอสมควร การศึกษาเนื้อหามวลสารนี้จึงเป็นส่วนสำคัญในการพิจารณาเพื่อจะให้ได้องค์จริงพุทธคุณสูงไปบูชากัน แต่ข้อมูลที่ผมเขียนนี้คงจะเป็นเพียงบทนำทางถ้าท่านสนใจที่จะศึกษากันอย่างจริงจังให้ลึกซึ้งมากกว่านี้คงต้องหาองค์จริงส่องให้ชินตา หมั่นส่องทุกๆวันเพื่อให้สมองจดจำพิมพ์ทรงอย่างอัตโนมัติเอาแบบที่ว่าหลับตายังนึกภาพเห็นองค์พระได้ชัดเจน ส่วนเนื้อหามวลสารก็ต้องทำความเข้าใจถึงรายละเอียด ประวัติความเป็นมา และลักษณะทางกายภาพของมวลสารแต่ละชนิด ก็กลับไปอย่างที่บอกอีกนั่นละครับถ้าหมั่นส่องบ่อยๆเราจะจดจำเนื้อหามวลสารได้เอง ทั้งลักษณะสี ขนาด ความหยาบความละเอียด ได้อย่างชัดเจน
เอาละครับคราวนี้เรามาว่ากันด้วยมวลสารในพระกรุวังวารีกัน เนื้อหามวลสารของพระกรุวังวารีรวมถึงกรุอื่นๆที่มีต้นกำเนิดเดียวกัน มีรายละเอียดดังนี้ครับ

1. พระธาตุเหล็กไหล มีความสำคัญด้านคงกระพัน
2. เหล็กน้ำพี้ มีความสำคัญ ด้านแก้เคล็ดและความแข็งแกร่ง
3. โพรงเหล็กไหล มีความสำคัญด้านคงกระพัน แคล้วคลาด
4. พระธาตุสีขาวขุ่นและพระธาตุสีชมพู มีความสำคัญด้านสิริ มงคลและแก้อาถรรพ์
5. ผงถ่านใบลาน มีความสำคัญด้านอยู่ยงคงกระพัน
6. เกสรดอกไม้ มีความสำคัญด้านเมตตามหานิยม
7. ว่าน 108 มีความสำคัญ ทางด้านแคล้วคลาดและคงกระพัน
8. น้ำมนต์ทิพย์ มีความสำคัญทางด้านแก้เคล็ดและแก้อาถรรพ์
9. ดินมงคลตามที่ต่างๆ มีความสำคัญทางด้านสิริมงคล
10. ทรายเงิน ทรายทอง มีความสำคัญทางด้านโชคลาภและเงินทอง

จากที่กล่าวมานี่ล้วนแล้วแต่เป็นมวลสารที่สุดยอดทั้งนั้น สมแล้วที่ถูกจัดให้เป็น 1 ใน 5 เบญจภาคี มวลสารเหล่านี้อาจสังเกตุเห็นได้แต่ไม่ใช่ว่าทุกๆองค์จะเห็นมวลสารเหล่านี้ครบ ในบางองค์อาจจะแก่ว่านทำให้เนื้อพระค่อนข้างละเอียดแต่องค์ลักษณะนี้มีน้อย บางองค์มีแร่เยอะทำให้ผิวหยาบและแกร่งมาก ต้องเข้าใจว่าการผสมมวลสารต่างๆนั้นในอดีตไม่สามารถผสมให้เข้ากันได้ร้อยเปอร์เซนต์ จึงทำให้เกิดธรรมชาติของเนื้อหาองค์พระลักษณะต่างๆอย่างที่กล่าวมาข้างต้น จะขอเสนอในหลักใหญ่ใจความสำคัญ ดังต่อไปนี้

http://upic.me/i/pk/dscf6236.jpg

ในภาพเป็นพระนางพญาพิมพ์เล็กเนื้อแก่ว่าน จะเห็นได้ว่าเนื้อมีความละเอียดพิมพ์ค่อนข้างชัด เพราะเวลากดพิมพ์ในดินเนื้อละเอียดจะทำให้ได้เส้นสายที่ชัดเจนมาก และพระที่เนื้อแก่ว่านนั้นในเนื้อว่านมีสารอาหารอยู่เยอะกว่าเนื้อดินทำให้ราเจริญเติบโตได้ดีกว่าเนื้อดิน พวกคราบราดำจึงเกิดขึ้นในองค์พระได้มากกว่าเนื้ออื่นๆ ราดำที่ว่านี่จะเกิดขึ้นและตายทับถมวนกันไปแบบนี้จนกว่าสารอาหารที่ใช้ในการเจริญจะหมดไป

http://upic.me/i/yf/dscf6383.jpg

ส่วนภาพนี้เป็นพระนางพญาพิมพ์ใหญ่ที่มีแร่เยอะทำให้เนื้อหยาบและแกร่งมาก คราบราดำมีน้อยแต่ยังพอสังเกตุได้บ้าง

http://upic.me/i/il/dscf6387.jpg

http://upic.me/i/ec/dscf6246.jpg

ผมจะเริ่มด้วยเม็ดแร่ทรายเงิน ทรายทอง แร่ทั้งสองแบบนี้ทรายเงินจะค่อนข้างแวววาว เมื่อกระทบไฟจะแปล่งประกายเห็นชัดเจน แต่กล้องผมจับประกายเหล่านี้ไม่ได้ ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายเป็นอย่างมาก สำหรับแร่ทรายทองนั้นผู้รู้บางท่านกล่าวว่าเป็นสายแร่ทองคำ จะมีพบบ้างแต่บางองค์อาจไม่เห็น เพราะเป็นแร่ที่มีมูลค่าสูงอาจหามาผสมได้น้อย แร่สองแบบนี้ค่อนข้างจะมีขนาดเล็กเท่ากัน ซึ่งผมสันนิษฐานว่าช่างอาจจะนำแร่มาร่อนคัดขนาดให้ได้ขนาดเท่าๆกัน ก่อนนำมาผสม หรืออาจจะมีการบดให้มีขนาดเล็กก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นเวลาส่องแร่ทั้งสองแบบนี้จะมีขนาดประมาณกัน และเม็ดแร่จะปลายมนไม่เป็นเหลี่ยมเหมือนพึ่งแตกหัก เพราะพระมีอายุหลายร้อยปี ทำให้มุมต่างๆของเม็ดแร่นั้นสึกกร่อนจนมีความมน ลักษณะมนของแร่นี้ เกิดขึ้นกับแร่ทุกชนิดที่นำมาผสม เป็นอีกจุดที่ใช้สังเกตุอายุของพระได้ครับ

http://upic.me/i/rv/dscf6366.jpg

http://upic.me/i/41/dscf6377.jpg

http://upic.me/i/11/dscf6238.jpg

กลุ่มพระธาตุสีขาวขุ่น สีชมพู พระธาตุเหล็กไหล และกลุ่มของเหล็กไหล เหล่านี้ถือเป็นมวลสารที่มีความศักดิ์สิทธิ์มาก เท่าที่เห็นในองค์พระบางองค์จะเห็นชัดเจนและมีขนาดใหญ่ แต่ขนาดเล็กก็มี ขนาดไม่ได้เท่ากันอย่างแร่ทรายเงิน ทรายทอง ผมสันนิษฐานว่ากลุ่มพระธาตุและเหล็กไหลนั้นเป็นมวลสารศักดิ์สิทธิ์อาจจะ ไม่สามารถบดได้ และมีปริมาณน้อยจึงไม่สามารถคัดเฉพาะเม็ดเล็กๆผสมลงไปได้ เราจึงพบพระธาตุและเหล็กไหลในขนาดที่แตกต่างกันไปในแต่ละองค์ ซึ่งผมถือว่ามีเสน่อย่างมาก

http://upic.me/i/c9/dscf6245.jpg

http://upic.me/i/hg/dscf6416.jpg

กลุ่มเกสรดอกไม้ และว่าน 108 กลุ่มนี้จะเป็นมวลสารที่มีสีแดง ส้ม ชมพู เหลือง เป็นจุดๆ ตามองค์พระ โดยเฉพาะว่านดอกมะขามจะพบมาก เนื้อเหล่านี้ดูแล้วจะฟูนุ่มซึ่งจะแตกต่างจากเนื้อดินและเม็ดแร่ที่มีความแกร่งอย่างชัดแจน อย่าเข้าใจผิดว่าเป็นมวลสารประเภทมวลสารดอกมะขามจริงๆ นะครับ เพราะว่าที่เห็นเป็นจุดเป็นก้อนแดงๆ แท้จริงคือแร่เหล็ก (Read Oxide) มักพบในดินแถบภาคเหนือ ขุดลึกลง 3 เมตร ขึ้นไปก็จะพบอยู่ปนกับชั้นดินเหนียว แต่ผมขอจัดให้อยู่ในกลุ่มเกสรดอกไม้และว่าน ซึ่งจะพบเป็นสีแดงน้ำหมาก เป็นจุดๆหรือแพร่ตามผิวเกิดจากลักษณะการผสมที่ไม่เท่ากัน ถ้าองค์ใหนมีการสึกเป็นร่องลึกอาจจะสังเกตุเห็นว่านดอกมะขาม ว่านชนิดอื่นๆ และเกสรดอกไม้อยู่ภายใน

http://upic.me/i/nl/dscf6210.jpg

ผงถ่านใบลาน คิดถึงสภาพผงถ่านที่เกิดจากการเผากระดาษแล้วนำมาผสม จะเห็นเห็นจุดสีดำ หรือแพร่อยู่ตามองค์พระลักษณะจะอยู่ในเนื้อพระไม่ได้อยู่บนผิวพระเหมือนคราบราดำ

ที่ใช้สังเกตุหลักๆก็จะมีประมาณนี้ครับ เรื่องมวลสารนั้นค่อนข้างมีรายละเอียดเยอะพอสมควร แต่มันก็เป็นส่วนที่ผมว่ามีเสน่และน่าหลงไหลมากๆ ผมพยายามสรุปในเนื้อหาใจความให้ท่านได้ศึกษากัน เขียนยาวมากเดี๋ยวจะเบื่อกันซะก่อน สำหรับเรื่องมวลสารเอาไว้เท่านี้ครับ คราวหน้ามีอะไรดีๆจะนำมาฝากกันใหม่ ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามครับ

สำหรับพระกรุวังวารีนั้นผมได้เขียนรายละเอียดเชิงลึกไว้ที่เว็บเพื่อนบ้านของเรา ท่านใดที่สนใจศึกษาพระกรุวังวารีนี้ สามารถตามไปอ่านกันได้ครับ
http://board.palungjit.org/f15/%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A5%E0%B8%87-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%8D%E0%B8%B2-%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B5-%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81-%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%8D%E0%B8%88%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B5-499502.html

ที่มาของข้อมูลบางส่วนที่ใช้เรียบเรียง
http://www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php?topic=18028.0;wap2

http://www.amulet2u.com/board/q_view.php?c_id=3&q_id=6948
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่