คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
เกิดจากส่วนผสมในแต่ละครก(ตำพระ)แต่ละครั้ง ที่อาจมีสัดส่วนแตกต่างกัน เพราะสมัยก่อนการผสมเนื้อพระ
แต่ละครกแต่ละครั้ง เขาจะตวงส่วนผสมกันโดยการกะประมาณเอา ไม่ได้ละเอียดลออมากนัก บางครกอาจใช้
ปูนมากหน่อย บางครกผสมน้ำมันมากหน่อย บางครกตำหยาบ ฯลฯ รวมถึงสถานที่และวิธีการเก็บรักษา ที่ก็ทำ
ให้โดนความชื้น ความร้อน ต่างๆกันไป จึงทำให้พอผ่านกาลเวลามา พระจึงเกิดสีเข้ม-อ่อน อมเหลือง ฯลฯ ที่
แตกต่างกันไปได้บ้าง
ส่วนถ้าเป็นเนื้อดินเผา ก็มักจะเกิดขึ้นตอนเผาพระ ลำดับการวางเรียงพระอาจทำให้พระโดนความร้อนจากไฟที่
ต่างอุณหภูมิกันไป ที่โดนความร้อนน้อยก็ออกไปทางสีจาง ที่โดนไฟมากก็อาจออกไปทางสีดำ รวมถึงดินที่ใช้
สร้างพระ ที่อาจแตกต่างกัน พอนำมาเผาแล้ว แร่ธาตุต่างๆที่อยู่ในดินก็อาจทำให้ดินที่เผาแล้วมีสีสันต่างกัน
แต่ละครกแต่ละครั้ง เขาจะตวงส่วนผสมกันโดยการกะประมาณเอา ไม่ได้ละเอียดลออมากนัก บางครกอาจใช้
ปูนมากหน่อย บางครกผสมน้ำมันมากหน่อย บางครกตำหยาบ ฯลฯ รวมถึงสถานที่และวิธีการเก็บรักษา ที่ก็ทำ
ให้โดนความชื้น ความร้อน ต่างๆกันไป จึงทำให้พอผ่านกาลเวลามา พระจึงเกิดสีเข้ม-อ่อน อมเหลือง ฯลฯ ที่
แตกต่างกันไปได้บ้าง
ส่วนถ้าเป็นเนื้อดินเผา ก็มักจะเกิดขึ้นตอนเผาพระ ลำดับการวางเรียงพระอาจทำให้พระโดนความร้อนจากไฟที่
ต่างอุณหภูมิกันไป ที่โดนความร้อนน้อยก็ออกไปทางสีจาง ที่โดนไฟมากก็อาจออกไปทางสีดำ รวมถึงดินที่ใช้
สร้างพระ ที่อาจแตกต่างกัน พอนำมาเผาแล้ว แร่ธาตุต่างๆที่อยู่ในดินก็อาจทำให้ดินที่เผาแล้วมีสีสันต่างกัน
แสดงความคิดเห็น
ทำไมพระเครื่องเก่าวัดเดียวกันพิมพ์-ปีเดียวกันแต่คนละสีครับ?