N-PARK

กระทู้สนทนา
นคร ลักษณกาญจน์” ฝากสาร ไม่เกิน 2 ปี N-PARK จะสวย

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
เปิดวิชั่น นคร ลักษณกาญจน์ “เอ็มดีรับจ้าง” แนเชอรัล พาร์ค ใต้ร่มเงา “ประชา มาลีนนท์” ทำทุกอย่างก่อนชาวบ้าน เพื่อเป้าหมาย2ปี “เทิร์นอะราวด์"

​ภายใน 1-2 ปีข้างหน้า “แนเชอรัล พาร์ค” (N PARK) จะกลายเป็น “หุ้นเทิร์นอะราวด์” คำยืนยันของ “น้อย” นคร ลักษณกาญจน์ กรรมการผู้จัดการ บุรษวัย 53 ที่รับอาสาเป็น “มือปืนรับจ้างบริหาร” ให้ “ประชา มาลีนนท์” อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง ในฐานะหุ้นใหญ่คนใหม่ของ N-PARK

“เราเห็นศักยภาพการทำธุรกิจ เพราะครอบครัวเราทำอาชีพนี้อยู่แล้ว” “ประชา มาลีนนท์” เคยบอกเหตุผลการเข้าลงทุนใน “แนเชอรัล พาร์ค”

ก่อน “ตระกูลมาลีนนท์” จะกลายเป็นผู้ถือหุ้นอันดับหนึ่งของ “แนเชอรัล พาร์ค” ด้วยการสอยหุ้นเพิ่มทุน 29,000 ล้านหุ้น คิดเป็น 24.50% มูลค่าลงทุน 900 ล้านบาท สัดส่วน 2 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ ราคา 0.029 บาทต่อหุ้น เจ้าของ “บีอีซี เวิลด์” (BEC) ผู้ได้รับสัมปทานดำเนินกิจการสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3

อาณาจักรที่นักลงทุนขนานนามว่า “มีเงินก็ลงโฆษณาไม่ได้ เพราะคนจองเต็มตั้งแต่ต้นปี” เคยเข้าไปลงทุนใน “ซีวีดี เอ็นเตอร์เทนเมนท์” ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น “เวฟ เอ็นเตอร์เทนเมนท์” (WAVE) ด้วยการซื้อหุ้นจากกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ "เผด็จ หงษ์ฟ้า” และ “สวง ว่องสุภัคพันธุ์" จำนวน 21.97% ราคาหุ้นละ 27 บาท ในช่วงกลางปี 2554

ครานั้น “ประชา มาลีนนท์” ได้ส่ง “ลูกสาว” แคทลีน-เทรซี่ แอนด์ มาลีนนท์ เข้ามานั่งทำงาน หวังให้เข้ามา “กำจัดจุดอ่อน” และ “พลิกฟื้น” “เวฟ เอ็นเตอร์เทนเมนท์” ขณะนั้นมีมีนักลงทุนรายใหญ่หลายรายเข้ามาถือหุ้น WAVE เพราะเชื่อในเครดิตของ “ประชา มาลีนนท์” อาทิ วิรัตน์ อุดมสินวัฒนา ถือ 3.71% พรรณี จารุสมบัติ (น้องสาวพินิจ) ถือ 0.93% "เสี่ยปู่" สมพงษ์ ชลคดีดำรงกุล ถือ 1% และคุณหญิงชดช้อย โสภณพนิช ถือ 0.69% เป็นต้น

ลดน้ำหนักธุรกิจเก่า (บันเทิง) แล้วหันมาทำธุรกิจใหม่ (โรงไฟฟ้า) ภายใต้ชื่อ “ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่” (TSE) ธุรกิจผลิตไฟฟ้าด้วยความร้อนจากแสงอาทิตย์ คือ จุดขายหุ้น WAVE ปัจจุบันบริษัทได้จัดทัพใหม่ ด้วยการส่งเหล่าทายาทมานั่งบริหาร ไล่มาตั้งแต่ “ปิยวดี มาลีนนท์" ดูแลการตลาด “แคทลีน-เทรซี่ แอนด์ มาลีนนท์” ดูแลด้านการลงทุน “ทศพล มาลีนนท์” ดูแลฝ่ายบีอีซี-เทโร เป็นต้น

ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2556 บริษัทมีกำไรสุทธิ 27.83 ล้านบาท หลังทั้งปี 2555 ขาดทุน 4.36 ล้านบาท และปี 2554 ขาดทุน 12.96 ล้านบาท

“ผมเพิ่งเข้ามานั่งบริหาร “แนเชอรัล พาร์ค” เมื่อปี 2554 หลัง “เสริมสิน สมะลาภา” ลาออก ตามคำชักชวนของ “ศักดิ์ทิพย์ ไกรฤกษ์” ประธานกรรมการบริษัท เราได้มีการคุยกันหลายๆเรื่องว่าเข้ามาแล้วจะทำอะไรได้บ้าง ผมบอกท่านไปว่าหากเข้ามาแล้ว แต่ทำอะไรไม่ได้อย่างที่คิดคงไม่เข้ามา” “น้อย” นคร ลักษณกาญจน์ เอ็มดีใหญ่ เล่าเส้นทางการเข้ามาทำงานใน “แนเชอรัล พาร์ค” ให้ฟัง

เข้ามานั่งทำงานวันแรกๆ ออกแนวงงๆ เพราะบริษัทไม่มีหัวเรือใหญ่ พนักงานก็พากันลาออกไปเยอะมากเหลืออยู่ไม่กี่คน แต่พอเข้ามาดูแล้ว เริ่มเห็นว่าธุรกิจมีแวว “ฟื้นตัว” ได้

โจทย์แรก ที่ต้องรีบแก้ไข เพื่อให้บริษัทเดินต่อไป คือ ปัญหาเกี่ยวกับคดีความที่ผ่านมาเราได้นัดคุยกับทางเจ้าหนี้ทุกราย เพื่อสะสางปัญหาให้จบ ล่าสุดเราได้จ่ายเงิน 250 ล้านบาท ให้กับธนาคารไอซีบีซีเรียบร้อยแล้ว ส่งผลให้คดีความระหว่างบริษัทกับไอซีบีซีสิ้นสุดลง ทำให้บริษัทไม่ต้องตั้งสำรองหนี้สินเงินต้นและดอกเบี้ยรวม 493.43 ล้านบาทแล้ว

เรื่องที่สอง ธุรกิจยังขาดเงินทุน ตอนนั้นทรัพย์สินของบริษัทมีทั้งดีและเสีย ฉะนั้นทรัพย์สินที่ดีก็ควรเก็บไว้ ส่วนทรัพย์สินที่เสีย เราต้องตัดใจขายทิ้งให้หมด เพื่อให้มีเงินทุนมาดำเนินธุรกิจต่อไป

ช่วงเข้ามานั่งเก้าอี้เอ็มดีได้เพียง 1 เดือน ต้องเข้าไปประชุมผู้ถือหุ้น ตอนนั้นกลัวโดนน้ำสาด รองเท้าลอย (หัวเราะ) มีหลายคนเตือนเหมือนกัน วันนั้นโดนผู้ถือหุ้นอัดพอควร แต่ก็บอกว่าเขาไปว่าจะอัดผมก็คงไม่แฟร์ เพราะเพิ่งเข้ามาทำงานได้แค่ 1 เดือน ขอเวลาให้เราทำงานก่อนได้ไหม

พอมาประชุมผู้ถือหุ้นในปีถัดไป เราเริ่มมีโครงการต่างๆมาเล่าให้เขาฟัง คราวนี้ผู้ถือหุ้นเริ่มเห็นด้วยกับแนวทาง เชื่อมั้ยมีผู้ถือหุ้นบางรายลุกขึ้นยกมือสนับสนุนแนวทางของเราด้วย แต่บางคนก็เอาแต่ด่าอย่างเดียว ประชุมผู้ถือหุ้นปีล่าสุด ไม่มีใครยกมือค้านสักคน ผิดกับครั้งแรกมาก (หัวเราะ)

นั่งบริหารงานมาเกือบ 3 ปี “ผมยังไม่พอใจกับงานที่ทำเท่าไร เป้าหมายแรกอยากให้ “แนเชอรัล พาร์ค” กลับเข้ามาในตลาดหุ้น โดยไม่มีปัญหาเหมือนที่ผ่านมา วันนี้บริษัทฟื้นจากเดิมมากแล้ว ฉะนั้นเดินหน้าต่อไปคงไม่ใช่เรื่องยาก

“เราเปรียบเหมือนคนที่ตายแล้ว ได้รับการปั้มหัวใจให้ฟื้นขึ้นมาใหม่ และพร้อมจะเดินหน้าต่อไป ถ้าไม่ติดเรื่องคดีความธุรกิจคงไปไกลแล้ว”

ถามว่าหลังเพิ่มทุนเสร็จ “แนเชอรัล พาร์ค” จะมีหน้าตาอย่างไร? เอ็มดีบอกว่า ตอนนี้กำลังคุยกับ “ประชา มาลีนนท์” เกี่ยวกับการจัดตั้งบริษัทลูก เพื่อทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ “เอ็นเตอร์เทนเมนท์” เราคงไม่หยุดอยู่แค่การทำ “เรียลเอสเตท” อย่างที่ผ่านมา ตอนนี้กำลังศึกษาเจะข้าไปลงทุนในประเทศกัมพูชาด้วย


ทุกครั้งที่บริษัทลงทุน “คุณประชา” ก็ต้องลงทุนด้วย เพราะว่าเขาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เบื้องต้นกำลังดึงแนวทางที่เขาถนัดออกมาทำงานร่วมกัน ซึ่งเขาชอบด้าน “เอ็นเตอร์เทนเมนท์” ฉะนั้นคงยึดทางนี้ในการทำธุรกิจ แรกๆเราคงลงทุนในด้านการเซอร์วิส อธิบายง่ายๆ สมมติ ช่อง 3 ต้องการใช้โรงถ่ายละคร และพื้นที่ในการจัดคอนเสิร์ต เราจะหาให้ อะไรทำนองนั้น ตอนนี้ยังบอกอะไรมากไม่ได้ ต้นปี 2557 คงได้รู้กัน

วันนี้ “แนเชอรัล พาร์ค”เป็นเหมือนน้องใหม่ เราหายหน้าไปนานจากวงการอสังหาริมทรัพย์ ตอนนี้เรากลับมาชนิดมีหนี้ไม่ถึง 100 ล้านบาท เมื่อเราไม่มีหนี้ก็ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย ปัจจุบันพยายามใช้เงินกู้ให้น้อยที่สุด วิธีการ คือ เมื่อโครงการที่เรากำลังทำอยู่ใกล้เสร็จ เราค่อยไปคุยเรื่องการกู้เงินกับสถาบันการเงิน ถ้าเราขายโครงการได้แบงก์ไหนก็คงให้วงเงินเรา


“นคร” เล่าต่อว่า ตอนนี้กำลังศึกษาที่จะซื้อที่ดินในทำเลที่ไม่มีผู้ประกอบการรายใดสนใจ เพราะเราไม่อยากไปแข่งขันกับคนอื่นๆ อย่างที่ผ่านมาบริษัทเข้าไปลงทุนบริเวณตลาดโรงเกลือ ซึ่งยังไม่มีใครเข้าไป เราเชื่อว่าเมื่อเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ทำเลนั้นจะน่าสนใจ

ที่ดินในอรัญประเทศของเราอยู่ติดกับตลาดโรงเกลือ (เขาย้ำ) วันเสาร์-อาทิตย์ คน “คึกคัก” มาก ทั้งคนกัมพูชาและคนไทย บริษัทจะทำคอนโดมิเนียมและอาคารพาณิชย์ขายทั้งคนไทยและกัมพูชา จากที่ไปสำรวจคนกัมพูชาค่อนข้างจะมีเงิน และจากการสอบถามผู้จัดการธนาคาร พบว่าเขามีเงินมาฝากธนาคารไทยค่อนข้างเยอะ ฉะนั้นเขาน่าจะต้องการมีทรัพย์สินเป็นของตัวเอง

ทำเลแถบนั้น น่าจะสร้างรายได้ให้เราพอสมควร เพราะว่าบริษัทไม่ต้องไปแข่งกับใคร เฟสแรกเป็นคอนโดมิเนียม 500 ยูนิต อาคารพาณิชย์ 40-50 ยูนิต มูลค่า 500-600 ล้านบาท คาดว่าปลายปีนี้น่าจะเปิดตัวได้


“พยายามไปก่อนชาวบ้านดีที่สุด”


แถบภาคอีสาน และภาคเหนือ เราก็ไปดูมา ล่าสุดเพิ่งใช้เงินเพิ่มทุน 1,000 ล้านบาท ซื้อโรงแรมเซ็นทารา แอนด์คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดขอนแก่น มูลค่าโครงการ 900 ล้านบาท และซื้อที่ดินย่านรามอินทรา และอ่อนนุช ตอนนี้อยู่ระหว่างการทำโครงการคอนโดมิเนียมย่านรามอินทรา มูลค่า 400 ล้านบาท คาดว่าจะเปิดขายในเดือนส.ค.นี้ ส่วนแถวอ่อนนุขกำลังออกแบบ อาจเปิดตัวต้นปีหน้า มูลค่า 700 ล้านบาท

สำหรับโครงการ Bangkok Free Trade Zone หรือ ศูนย์กลางอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ระดับภูมิภาค ซึ่งเป็นพื้นที่เช่าคลังสินค้าปลอดภาษีอากร ตอนนี้เราถือหุ้น พรอสเพค ดีเวลลอปเมนท์ 13% มูลค่า 162 ล้านบาท เราตั้งใจจะถือหุ้นประมาณ 25% ปัจจุบันอยู่ระหว่างการเจรจากับผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ มองว่าธุรกิจ Free Trade Zone มีลูกค้าเช่าพื้นที่ 100% เขามีพื้นที่ก่อสร้างเกือบ 1 ล้านตารางเมตร แต่ปัจจุบันสร้างพื้นทีได้เพียง 1 แสนตารางเมตรเท่านั้น

แถมอนาคตเขาจะขายที่บางส่วนเขากองทุนอสังหาริมทรัพย์ น่าจะได้ผลตอบแทนที่ดี

ปี 2557 จะเริ่มเห็นเรามีการรับรู้รายได้สม่ำเสมอ เพราะโครงการเริ่มออกมาแล้ว ทุกคนจะเห็นว่าไม่มีหนี้ ไม่มีคดีความคงค้าง ที่สำคัญเราจะมี “กำไรสุทธิ” ส่วนเรื่องแผนล้างขาดทุนสะสม กำลังปรึกษาคณะกรรมการอยู่ว่า "จะล้างขาดทุนสะสม"ด้วยวิธีใด ถ้าจะทำคงจะเป็นปีหน้า เพราะเมื่อธุรกิจเริ่มกำไร เราก็อยากจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นก่อน หลังไม่จ่ายปันผลมานาน

ผลประกอบการในปี 2556 คงเป็น “บวก” โดยรายได้หลักจะมาจากการแบ่งขายที่ดินบางกระเจ้า อีกส่วนมาจากรายได้ประจำของบริษัท นั่นคือ การขายโครงการเซอร์วิส อพาร์ทเมนท์ “เดอะแนเชอรัล พาร์ค” ซอยสุขุมวิท 49

​​​พอร์ตร้อยล้าน 3 ปี โตเกิน 40%

“นคร ลักษณกาญจน์” พูดในฐานะนักลงทุนว่า สมัยเริ่มทำงานใหม่ๆ เห็นเพื่อนที่มีอาชีพหมอ วันๆ ไม่ทำอะไรเล่นแต่หุ้น ผลปรากฏว่า “รวยเละ” แต่เราสิ ทำงานเหนื่อยแทบตาย ไม่เห็นรวยสักที

ช่วงก่อนวิกฤติ “ต้มยำกุ้ง” ตลาดหุ้น “บูมมาก” “ผมไปถามเพื่อนว่าลงทุนในตลาดหุ้นทำยังไง จากนั้นก็เข้าไปศึกษาการลงทุน ก่อนตัดสินใจเปิดพอร์ตลงทุน ช่วงแรกๆ ก็ขอคำแนะนำจากเพื่อน ฟังคนโน้นคนนี้ว่าเขาคุยกันเรื่องอะไร แล้วค่อยมาตัดสินใจเอง นิสัยส่วนตัวไม่ค่อยชอบให้ใครมาบอกว่าต้องซื้อตัวนั้นตัวนี้ ชอบตัดสินใจเอง ถ้าเกิดผิดพลาดก็ของพลาดด้วยตัวเอง

ลงทุนในตลาดหุ้น ถือเป็นโอกาส ไม่ได้เล่นหุ้นแบบเอาเป็นเอาตาย ลงทุนครั้งแรกด้วยเงินเก็บจำนวนไม่มาก ผลตอบแทนก็น่าพอใจ แม้ช่วงแรกๆ ในการเล่นหุ้นจะได้บ้างเสียบ้าง ก็ถือเป็นบทเรียน

“หุ้นวิ่งผมไม่วิ่งตาม” สโลแกนส่วนตัว

กลยุทธ์การลงทุน ชอบมากหุ้นพื้นฐาน แม้ว่าหุ้นประเภทนี้จะมีนักลงทุนต่างชาติถือเยอะ ทุกครั้งที่ต่างชาติขาย หุ้นพื้นฐานจะหล่นก่อนชาวบ้าน (หัวเราะ) จนทำให้บางครั้งพอร์ตพังไปเลย “เจ็บหนัก” ว่างั้น แต่เป็นเพียงระยะสั้น สุดท้ายหุ้นพื้นฐานจะกลับมา หุ้นเหล่านี้มีอนาคต

วันนี้พอร์ตลงทุนยืนหลัก “ร้อยล้านบาท” ผลตอบแทน 2-3 ปีที่ผ่านมาอยู่ระดับ 40%”


ตอนนี้มีหุ้น 7 ตัว เป็นหุ้นพื้นฐานทั้งหมด “ผมชอบหุ้น แสนสิริ (SIRI)” บริษัทเขามีอนาคต สามารถทำธุรกิจได้ตามเป้าหมาย มีการรับรู้รายได้จากโครงการที่เปิดชัดเจน มีอัตราการเติบโต เพียงแต่เขาต้องบริหารจัดการเงินลงทุนอีกนิด ช่วงนี้ “แสนสิริ” เขาต้องสร้างแบรนด์ ต้องทำโฆษณา แต่ถ้ามองในเรื่องของการจ่ายเงินปันผลประมาณ 5-6% ถือว่ามากกว่าเงินฝากธนาคาร


หุ้น สยามโกลบอลเฮ้าส์ (GLOBAL) ตัวนี้ก็ปลื้ม มองว่าเป็นหุ้นที่มีอนาคต ก่อนซื้อตัวนี้ได้นั่งปรึกษากับเพื่อนๆ หลายคน เพราะเขาเพิ่งไปเยี่ยมชมกิจการ ของ GLOBALมา เขาบอกว่าเป็นหุ้นที่ดี “ผมรีบสอยตอน 1 บาทกว่า” ปัจจุบันก็ยังถืออยู่ ไม่เคยคิดขาย

หุ้น บัตรกรุงไทย (KTC) ซื้อลงทุน เพราะเห็นว่าหมอ “ระเฑียร ศรีมงคล” มานั่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร KTC เขามีแนวทางการบริหารงานที่ชัดเจน เขาเข้าไปดูต้นทุนของ KTC เหมือนผมที่ทำ ต้นทุนที่บ้าๆบอๆ เขารื้อใหม่หมด ตอนนี้ KTC สามารถล้างขาดทุนสะสมได้แล้ว

แม้ว่าปัจจุบันบริษัทยังไม่มีกำไร แต่รายได้ต่อหัวมีการเติบโตมากขึ้นทำให้คนมีการกู้ยืมเงินมากตามไปด้วย ส่วนหนี้เสียเขาก็พยายามทำให้มีน้อยที่สุด

อีกตัว คือ หุ้น แนเชอรัล พาร์ค ตัวนี้ตั้งใจถือยาว ไม่คิดขาย เพราะว่าหากขายผมก็ต้องรายงานตลาดหลักทรัพย์ฯ อีก

ในช่วงที่ตลาดหุ้นปรับลดลง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่