เป็นที่รู้กันว่ามือถือ 3G นั้นแบตหมดเร็วกว่า 2G โดยเฉพาะถ้ามีการใช้งานตลอดทั้งวัน แบตอาจหมดก่อนกลับบ้าน จึงต้องมีการพกพาสายชาร์จ หรือ mobile booster ติดตัวไว้สำหรับชาร์จแบตมือถือในระหว่างวัน แล้ว 4G ล่ะจะกินแบตเหมือน 3G หรือเปล่า?
ข่าวร้ายก็คือ Nokia Siemens Network ได้ทำการทดสอบพบว่า LTE 4G นั้นกินไฟมากกว่า 3G ถึง 5 – 20% เลยทีเดียว และยังมีผู้ทำการทดสอบว่า Samsung Galaxy Nexus เมื่อเอามาใช้งานเป็น navigator โดยเชื่อมต่อผ่าน LTE จะกินไฟในอัตราที่เร็วกว่าชาร์จเจอร์จะสามารถชาร์จไฟได้ทัน
ทำไม LTE จึงกินไฟมาก
1) LTE กินไฟมากเพราะใช้เทคโนโลยี MIMO ซึ่งภายใน LTE device จะประกอบด้วยสายอากาศหลายชุด ซึ่งเครื่องส่งวิทยุจะกระจายกำลังส่งไปยังสายอากาศเหล่านี้แล้วเอาสัญญาณที่รับได้จากสายอากาศหลายๆชุดมารวมกัน ปัจจุบัน LTE ใช้ MIMO 2×2 ซึ่งจะมีสายอากาศ 2 ชุด ในอนาคต LTE จะใช้ MIMO 4×4 ซึ่งจะมีสายอากาศถึง 4 ชุด การประมวลผลจากสายอากาศหลายชุดต้องใช้พลังงานในการประมวลผลสูงขึ้น จึงกินไฟมากขึ้น เปรียบเสมือนการเพิ่มแรงม้าของเครื่องยนต์โดยเพิ่มจาก 4 สูบ เป็น 16 สูบ ก็ซดน้ำมันมากขึ้นเป็นธรรมดา ปัจจุบัน 3G ยังไม่ได้ใช้ MIMO แต่ถ้าเราอัพเกรด 3G จาก 42 Mbps ขึ้นไปเป็น 84 Mbps ก็จะต้องนำเทคโนโลยี MIMO มาใช้เช่นกัน
2) LTE กินไฟมากเพราะต้องหมั่นตรวจสอบเครือข่าย 3G ว่ามีสายเข้าหรือไม่ เนื่องจากเครือข่าย LTE ที่ให้บริการอยู่ในต่างประเทศส่วนใหญ่รองรับเฉพาะ data และต้องพึ่งพาเครือข่าย 3G ในการโทรเข้า-ออก ดังนั้นอุปกรณ์ LTE จึงต้องสแตนด์บายเพื่อรอรับสายเข้าจากเครือข่าย 3G อยู่ตลอดเวลา ซึ่งทำให้กินไฟเพิ่มขึ้น
3) LTE กินไฟมากเพราะอุปกรณ์ส่วนใหญ่เป็น Multi-Mode และ Multi-Band เช่นรองรับ LTE 2500, HSPA 2100 / 1900 / 850, GSM 1800 / 900 เป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์ LTE จะคอยสแกนย่านความถี่ต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลาเพื่อตัดสินใจว่าสัญญาณใดดีที่สุด ซึ่งทำให้กินไฟเพิ่มขึ้น
4) LTE กินไฟมากเพราะในช่วงแรกผู้ให้บริการยังตั้งเสาถี่ไม่เพียงพอ ทำให้มีจุดอับสัญญาณ ซึ่งอุปกรณ์ LTE ก็จะสวิทช์ไปใช้ HSPA หรือ EDGE แทน การสวิทช์กลับไปกลับมาทำให้กินไฟเพิ่มขึ้น
5) LTE กินไฟมากเพราะ cpu ต้องทำงานหนักในการเข้ารหัสที่ซับซ้อน เนื่องจาก LTE มีการเข้ารหัสสัญญาณแบบ 64-QAM และ OFDM ซึ่งมีความซับซ้อนมากกว่าระบบ GSM ในอดีต จึงทำให้ cpu ต้องทำงานหนักและกินไฟมากขึ้น
การทดสอบ LTE ในเมืองไทย ยังไม่พบปัญหาการใช้งานแบตเตอรี่ เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้ทดสอบเป็น air card ซึ่งใช้พลังงานแบตเตอรี่จากคอมพิวเตอร์โน้ตบุค แต่เมื่อมีการนำ LTE มาใช้กับ smart phone ซึ่งมีความจุแบตเตอรี่จำกัด จะทำให้ smart phone แบตหมดเร็วกว่า 3G
เราจะแก้ไขปัญหาการใช้แบตเตอรี่ใน 4G ได้อย่างไร
การทำให้ LTE smart phone มีแบตเตอรี่ที่ใช้งานได้นานขึ้นนั้น ต้องอาศัยการร่วมมือกันของผู้ผลิตอุปกรณ์และผู้ให้บริการเครือข่าย
ผู้ผลิตอุปกรณ์ต้องพัฒนา chip set ให้กินไฟน้อยลง ซึ่งมี 2 แนวทาง คือ การรวมวงจรให้อยู่ในซิลิกอนชิบเดียวกัน กับการแยกงานบางอย่างที่ไม่ได้ต้องการประสิทธิภาพของ cpu มากนัก ออกมาจัดการโดยใช้ chip set ที่กินไฟน้อย และต้องพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรีให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ผู้ให้บริการเครือข่ายต้องตั้งเสาให้มีจำนวนมากพอ เพื่อให้อุปกรณ์จับสัญญาณ LTE ตลอดเวลา โดยไม่ต้องสวิทช์ไปมาระหว่าง LTE กับ HSPA และ EDGE และสุดท้ายต้องนำเอาเทคโนโลยี Voice over LTE (VoLTE) มาใช้ เพื่อให้ทั้ง voice และ data อยู่บนเครือข่าย LTE อุปกรณ์จะได้ไม่ต้องคอยสแตนด์บายรอรับสายในเครือข่าย 3G
http://saran2530.wordpress.com/2012/03/06/ปัญหาการใช้งานแบตเตอรี/
ปัญหาการใช้งานแบตเตอรี่ใน 4G LTE
ข่าวร้ายก็คือ Nokia Siemens Network ได้ทำการทดสอบพบว่า LTE 4G นั้นกินไฟมากกว่า 3G ถึง 5 – 20% เลยทีเดียว และยังมีผู้ทำการทดสอบว่า Samsung Galaxy Nexus เมื่อเอามาใช้งานเป็น navigator โดยเชื่อมต่อผ่าน LTE จะกินไฟในอัตราที่เร็วกว่าชาร์จเจอร์จะสามารถชาร์จไฟได้ทัน
ทำไม LTE จึงกินไฟมาก
1) LTE กินไฟมากเพราะใช้เทคโนโลยี MIMO ซึ่งภายใน LTE device จะประกอบด้วยสายอากาศหลายชุด ซึ่งเครื่องส่งวิทยุจะกระจายกำลังส่งไปยังสายอากาศเหล่านี้แล้วเอาสัญญาณที่รับได้จากสายอากาศหลายๆชุดมารวมกัน ปัจจุบัน LTE ใช้ MIMO 2×2 ซึ่งจะมีสายอากาศ 2 ชุด ในอนาคต LTE จะใช้ MIMO 4×4 ซึ่งจะมีสายอากาศถึง 4 ชุด การประมวลผลจากสายอากาศหลายชุดต้องใช้พลังงานในการประมวลผลสูงขึ้น จึงกินไฟมากขึ้น เปรียบเสมือนการเพิ่มแรงม้าของเครื่องยนต์โดยเพิ่มจาก 4 สูบ เป็น 16 สูบ ก็ซดน้ำมันมากขึ้นเป็นธรรมดา ปัจจุบัน 3G ยังไม่ได้ใช้ MIMO แต่ถ้าเราอัพเกรด 3G จาก 42 Mbps ขึ้นไปเป็น 84 Mbps ก็จะต้องนำเทคโนโลยี MIMO มาใช้เช่นกัน
2) LTE กินไฟมากเพราะต้องหมั่นตรวจสอบเครือข่าย 3G ว่ามีสายเข้าหรือไม่ เนื่องจากเครือข่าย LTE ที่ให้บริการอยู่ในต่างประเทศส่วนใหญ่รองรับเฉพาะ data และต้องพึ่งพาเครือข่าย 3G ในการโทรเข้า-ออก ดังนั้นอุปกรณ์ LTE จึงต้องสแตนด์บายเพื่อรอรับสายเข้าจากเครือข่าย 3G อยู่ตลอดเวลา ซึ่งทำให้กินไฟเพิ่มขึ้น
3) LTE กินไฟมากเพราะอุปกรณ์ส่วนใหญ่เป็น Multi-Mode และ Multi-Band เช่นรองรับ LTE 2500, HSPA 2100 / 1900 / 850, GSM 1800 / 900 เป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์ LTE จะคอยสแกนย่านความถี่ต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลาเพื่อตัดสินใจว่าสัญญาณใดดีที่สุด ซึ่งทำให้กินไฟเพิ่มขึ้น
4) LTE กินไฟมากเพราะในช่วงแรกผู้ให้บริการยังตั้งเสาถี่ไม่เพียงพอ ทำให้มีจุดอับสัญญาณ ซึ่งอุปกรณ์ LTE ก็จะสวิทช์ไปใช้ HSPA หรือ EDGE แทน การสวิทช์กลับไปกลับมาทำให้กินไฟเพิ่มขึ้น
5) LTE กินไฟมากเพราะ cpu ต้องทำงานหนักในการเข้ารหัสที่ซับซ้อน เนื่องจาก LTE มีการเข้ารหัสสัญญาณแบบ 64-QAM และ OFDM ซึ่งมีความซับซ้อนมากกว่าระบบ GSM ในอดีต จึงทำให้ cpu ต้องทำงานหนักและกินไฟมากขึ้น
การทดสอบ LTE ในเมืองไทย ยังไม่พบปัญหาการใช้งานแบตเตอรี่ เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้ทดสอบเป็น air card ซึ่งใช้พลังงานแบตเตอรี่จากคอมพิวเตอร์โน้ตบุค แต่เมื่อมีการนำ LTE มาใช้กับ smart phone ซึ่งมีความจุแบตเตอรี่จำกัด จะทำให้ smart phone แบตหมดเร็วกว่า 3G
เราจะแก้ไขปัญหาการใช้แบตเตอรี่ใน 4G ได้อย่างไร
การทำให้ LTE smart phone มีแบตเตอรี่ที่ใช้งานได้นานขึ้นนั้น ต้องอาศัยการร่วมมือกันของผู้ผลิตอุปกรณ์และผู้ให้บริการเครือข่าย
ผู้ผลิตอุปกรณ์ต้องพัฒนา chip set ให้กินไฟน้อยลง ซึ่งมี 2 แนวทาง คือ การรวมวงจรให้อยู่ในซิลิกอนชิบเดียวกัน กับการแยกงานบางอย่างที่ไม่ได้ต้องการประสิทธิภาพของ cpu มากนัก ออกมาจัดการโดยใช้ chip set ที่กินไฟน้อย และต้องพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรีให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ผู้ให้บริการเครือข่ายต้องตั้งเสาให้มีจำนวนมากพอ เพื่อให้อุปกรณ์จับสัญญาณ LTE ตลอดเวลา โดยไม่ต้องสวิทช์ไปมาระหว่าง LTE กับ HSPA และ EDGE และสุดท้ายต้องนำเอาเทคโนโลยี Voice over LTE (VoLTE) มาใช้ เพื่อให้ทั้ง voice และ data อยู่บนเครือข่าย LTE อุปกรณ์จะได้ไม่ต้องคอยสแตนด์บายรอรับสายในเครือข่าย 3G
http://saran2530.wordpress.com/2012/03/06/ปัญหาการใช้งานแบตเตอรี/