หนังสือเล่มนี้ชื่อว่า "ปัญหา 108 เล่มที่ 4" โดยพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก โดยพิมพ์ครั้งที่ 1 เมื่อปี 2549 (น่าจะเขียนขึ้นในปีนั้น)
โดยเนื้อหาจะอยู่ในหน้า 7-8 ค่ะ
คำถาม
กราบเรียนถามท่านพระอาจารย์ว่า ในเรื่องของกรรม หากข้าพเจ้าพบเสือโคร่งกำลังจะฆ่ากวางเป็นอาหาร ข้าพเจ้าสามารถเพิกเฉย หรือสามารถเลือกที่จะขัดขวางและช่วยชีวิตกวางได้ แต่หากเป็นเช่นนั้นเสืออาจตายได้ด้วยความหิว อยากทราบว่าในสถานการณ์เช่นนี้ อันไหนคือ กรรมดี กรรมชั่ว
คำตอบ
ในสถานการณ์เช่นนี้ สิ่งที่ดีที่สุดคือ ทำใจเป็นอุเบกขา วางเฉย มันเป็นทุกข์โทษของวัฏสงสาร เกิดมาเป็นสัตว์ ต้องเป็นอย่างนั้น อาจารย์เองก็เคยสงสัย จึงถามหลวงพ่อชา ถามท่านพุทธทาสว่า แมวจับหนูกินเป็นอาหาร ฆ่าหนูเป็นประจำ หรือไก่กินหนอนทุกวัน การเกิดเป็นสัตว์กินเนื้อสัตว์อื่น ถือเป็นบาปเหมือนการฆ่าสัตว์ไหม ท่านอาจารย์ทั้งสองก็ตอบคล้ายๆ กันว่า การเกิดมาเป็นสัตว์ มันเป็นบาปกรรมอยู่แล้ว การจับสัตว์อื่นกิน ก็เป็นธรรมชาติของมัน ไม่ได้มีเจตนาที่จะเบียดเบียน กรณีเสือและกวาง แมวกับหนู ไก่กับหนอน ฯลฯ จึงไม่ใช่การสร้างกรรมชั่วเพิ่ม แต่บางคนอาจจะสงสัย สับสนขึ้นมาว่า เมื่อเราเดินไปในสถานที่เปลี่ยว มีชายอันธพาลคนหนึ่ง กำลังทำร้ายผู้หญิงคนหนึ่งอยู่ เราควรจะนิ่งเฉย วางใจเป็นอุเบกขาจะดีหรือไม่ กรณีเช่นนี้ ถ้าเราเพิกเฉย ถือว่าเรากำลังสร้างบาปหนัก ทั้ง 3 ฝ่าย คือ
- ผู้ชาย กำลังสร้างบาปหนัก
- ผู้หญิง กำลังจะได้รับทุกข์เดือดร้อนหนัก
- ตัวเรา ถ้าหากเพิกเฉย แสดงว่าเราก็สร้างกรรมหนักด้วยเหมือนกันที่ปล่อยให้ทั้งสองฝ่ายต้องได้รับทุกข์โทษ โดยไม่หาทางช่วยเหลือ
มนุษย์คือผู้มีใจสูง หมายถึงต้องมีใจเมตตา กรุณา ในฐานะของมนุษย์ เราจึงต้องช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ในกรณีข้างต้นหากเราเพิกเฉยไม่มีน้ำใจ หรือกลัวอันตรายเสียจนไม่คิดจะหาทางช่วยเหลือ นอกจากฝ่ายผู้ชายจะสร้างบาปหนัก ฝ่ายผู้หญิงจะต้องได้รับความทุกข์สาหัสแล้ว ตัวเราก็คงไม่สบายใจไปตลอดชีวิตเช่นกัน
หลายคนเข้าใจความหมายของอุเบกขาผิด ว่าหมายถึงวางเฉย ไม่สนใจใครจะเป็นอย่างไร ความจริงแล้ว อุเบกขาถือเป็นคุณธรรมขั้นสูงอันเปี่ยมไปด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อย่างสมบูรณ์ในขณะเดียวกัน หมายความว่า มีเมตตา กรุณา มุทิตา ก็ให้เรายองรับผลนั้นๆ ด้วยจิตใจที่ปล่อยวาง ไม่ยินดี ยินร้าย เป็นอุเบกขา
ในระหว่างที่เราสับสน ว่าควรปล่อยวาง หรือเข้าไปช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนดี บังเอิญเราก็ได้อ่านหนังสือเล่มนี้มาค่ะ
โดยเนื้อหาจะอยู่ในหน้า 7-8 ค่ะ
คำถาม
กราบเรียนถามท่านพระอาจารย์ว่า ในเรื่องของกรรม หากข้าพเจ้าพบเสือโคร่งกำลังจะฆ่ากวางเป็นอาหาร ข้าพเจ้าสามารถเพิกเฉย หรือสามารถเลือกที่จะขัดขวางและช่วยชีวิตกวางได้ แต่หากเป็นเช่นนั้นเสืออาจตายได้ด้วยความหิว อยากทราบว่าในสถานการณ์เช่นนี้ อันไหนคือ กรรมดี กรรมชั่ว
คำตอบ
ในสถานการณ์เช่นนี้ สิ่งที่ดีที่สุดคือ ทำใจเป็นอุเบกขา วางเฉย มันเป็นทุกข์โทษของวัฏสงสาร เกิดมาเป็นสัตว์ ต้องเป็นอย่างนั้น อาจารย์เองก็เคยสงสัย จึงถามหลวงพ่อชา ถามท่านพุทธทาสว่า แมวจับหนูกินเป็นอาหาร ฆ่าหนูเป็นประจำ หรือไก่กินหนอนทุกวัน การเกิดเป็นสัตว์กินเนื้อสัตว์อื่น ถือเป็นบาปเหมือนการฆ่าสัตว์ไหม ท่านอาจารย์ทั้งสองก็ตอบคล้ายๆ กันว่า การเกิดมาเป็นสัตว์ มันเป็นบาปกรรมอยู่แล้ว การจับสัตว์อื่นกิน ก็เป็นธรรมชาติของมัน ไม่ได้มีเจตนาที่จะเบียดเบียน กรณีเสือและกวาง แมวกับหนู ไก่กับหนอน ฯลฯ จึงไม่ใช่การสร้างกรรมชั่วเพิ่ม แต่บางคนอาจจะสงสัย สับสนขึ้นมาว่า เมื่อเราเดินไปในสถานที่เปลี่ยว มีชายอันธพาลคนหนึ่ง กำลังทำร้ายผู้หญิงคนหนึ่งอยู่ เราควรจะนิ่งเฉย วางใจเป็นอุเบกขาจะดีหรือไม่ กรณีเช่นนี้ ถ้าเราเพิกเฉย ถือว่าเรากำลังสร้างบาปหนัก ทั้ง 3 ฝ่าย คือ
- ผู้ชาย กำลังสร้างบาปหนัก
- ผู้หญิง กำลังจะได้รับทุกข์เดือดร้อนหนัก
- ตัวเรา ถ้าหากเพิกเฉย แสดงว่าเราก็สร้างกรรมหนักด้วยเหมือนกันที่ปล่อยให้ทั้งสองฝ่ายต้องได้รับทุกข์โทษ โดยไม่หาทางช่วยเหลือ
มนุษย์คือผู้มีใจสูง หมายถึงต้องมีใจเมตตา กรุณา ในฐานะของมนุษย์ เราจึงต้องช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ในกรณีข้างต้นหากเราเพิกเฉยไม่มีน้ำใจ หรือกลัวอันตรายเสียจนไม่คิดจะหาทางช่วยเหลือ นอกจากฝ่ายผู้ชายจะสร้างบาปหนัก ฝ่ายผู้หญิงจะต้องได้รับความทุกข์สาหัสแล้ว ตัวเราก็คงไม่สบายใจไปตลอดชีวิตเช่นกัน
หลายคนเข้าใจความหมายของอุเบกขาผิด ว่าหมายถึงวางเฉย ไม่สนใจใครจะเป็นอย่างไร ความจริงแล้ว อุเบกขาถือเป็นคุณธรรมขั้นสูงอันเปี่ยมไปด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อย่างสมบูรณ์ในขณะเดียวกัน หมายความว่า มีเมตตา กรุณา มุทิตา ก็ให้เรายองรับผลนั้นๆ ด้วยจิตใจที่ปล่อยวาง ไม่ยินดี ยินร้าย เป็นอุเบกขา