ถามหาความรับผิดชอบจาก ปตท.ต่ออ่าวพร้าวและเกาะอื่นๆ

ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกหน่วยในสังคมจะต้องระดมความร่วมมือเข้ามาช่วยกันฟื้นฟู คือ ผืนป่า ซึ่งผืนป่าในประเทศไทยนั้นเป็นป่าที่มีความสำคัญมาก เนื่องจากเป็นป่าที่อยู่ในระบบนิเวศแบบป่าเขตร้อน (Tropical Forest Ecosystem) ทำให้มีความสลับซับซ้อนและมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง เป็นป่าที่มีอยู่เพียง 7% ของพื้นดินทั้งหมดบนโลกเท่านั้น ปัจจุบันป่าเขตร้อนทั่วโลกต่างตกอยู่ในสภาพเสื่อมโทรมและเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อสมดุลระบบนิเวศของโลก ปตท.จึงมุ่งมั่นคืนกลับความหลากหลายทางชีวภาพให้กับผืนป่าในเมืองไทย โดยร่วมมือกับชุมชนนับพันชุมชนพลิกฟื้นผืนป่าเสื่อมโทรมกว่าล้านไร่คืนกลับความสมดุลและเป็นส่วนหนึ่งในการทำหน้าที่ป้องกันภัยธรรมชาติอันเกิดจากความแปรปรวนของสภาวะอากาศโลก (Climate Change) ซึ่งส่งผลกระทบเป็นวงจรลูกโซ่
ฟื้นฟูและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ

ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นตัวบ่งชี้สำคัญถึงการฟื้นตัวกลับคืนมาของสภาพป่าเสื่อมโทรม และเป็นตัวชี้วัดสำคัญ ซึ่ง ปตท. ใช้ในการประเมินโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ปีที่ 50 เป็นโครงการที่ ปตท. จัดขึ้นเพื่อแสดงความจงรักภักดีและเพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงมีต่อกิจการป่าไม้ของชาติ ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 จนถึงปัจจุบัน การดำเนินงานปลูกป่าของ ปตท. ได้ขยายผลเป็นโครงการเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปในหลากหลายมิติ ทั้งด้านการรักษาผืนป่าให้คงอยู่ การพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกในพื้นที่ลาดชันเพื่อป้องกันการพังทลายของดิน การใช้หญ้าแฝกเพื่อการกักเก็บน้ำ และการส่งเสริมความเข้มแข็งชุมชน สามารถต่อยอดสู่การดำเนินงานด้านการวิจัยและสร้างแหล่งเรียนรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ จนสามารถยืนยันได้อย่างแน่ชัดว่า ป่าที่ฟื้นตัวจากสภาพเสื่อมโทรมด้วยการปลูกและการดูแลอย่างถูกวิธี สามารถคืนกลับความสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพได้จริง

โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ 1ล้านไร่
โครงการการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ส่งเสริมให้เกิดแหล่งเรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ

ความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติทุกชนิดย่อมขึ้นอยู่กับผู้ดูแลรักษา โดยเฉพาะชุมชนในพื้นที่ สามารถเป็นกำลังสำคัญในการดูแล ปกป้อง ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านั้น หากได้รับความรู้ ความเข้าใจ ได้ทราบข้อมูลที่สำคัญอันจะกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกหวงแหนทรัพยากรในชุมชน เพราะเห็นคุณค่าของสิ่งที่ตนดูแลรักษาไว้ ซึ่งแนวคิดดังกล่าว นำไปสู่การส่งเสริมให้เกิดศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี และโครงการวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพขึ้น เพื่อสร้างงานวิชาการที่มีความน่าเชื่อถือนำไปสู่การขยายผลในระดับชาติ ระดับนานาชาติ สะท้อนกลับสู่ชุมชนให้เกิดเป็นความยั่งยืนต่อไป

ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี
โครงการวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ (กาญจนบุรี)
สร้างเครือข่ายรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ตลอดระยะเวลาเกือบ 20 ปี การดำเนินโครงการด้านการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นการดำเนินโครงการตามปรัชญาที่ยั่งยืนของการฟื้นฟู คือ การให้ความสำคัญกับ ”คน” และ “ชุมชน” ผู้ที่จะทำหน้าที่ดูแล รักษา และเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาตินั้นๆ เมื่อคนเหล่านั้นตระหนักถึงคุณค่าและการกำหนดกฎเกณฑ์การใช้เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน และส่งมอบจิตสำนึกต่อไปยังลูกหลานแล้ว ย่อมหมายถึงการคงอยู่ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมไปกับชุมชนอย่างยั่งยืน

การทำงานของชุมชนจะต่อเนื่องยาวนานได้ จำเป็นที่จะต้องมีเครือข่ายเชื่อมโยง แลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้กำลังใจกันและกัน อันนำไปสู่การตั้งสถาบันลูกโลกสีเขียวขึ้นมาเพื่อดำเนินโครงการประกวดรางวัลลูกโลกสีเขียว และเพื่อเป็นการรองรับเครือข่ายลูกโลกสีเขียวที่กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ ทำหน้าที่รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่และส่งต่อไปยังลูกหลาน และเช่นเดียวกัน ปตท. ยังคงมุ่งมั่นสร้างเครือข่ายในระดับเยาวชนด้วยโครงการค่ายเยาวชน ปตท. รักษ์ทะเลไทย ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของการเพาะหน่ออ่อนของเมล็ดพันธ์ุคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจดูแลรักษ์สิ่งแวดล้อมลงไปในใจของเยาวชน เพื่อวันหน้าจะกลายเป็นต้นไม้ใหญ่ที่เติบโตแผ่กิ่งใบให้เป็นร่มเงาสรรพชีวิตในธรรมชาติต่อไปในอนาคต

สถาบันลูกโลกสีเขียว
โครงการค่ายเยาวชน ปตท. รักษ์ทะเลไทย
ที่มา http://www.pttplc.com/th/Sustainability/Social/Good-Corporate-Citizenship/Pages/Natural-Resources.aspx
บริษัทใหญ่ขนาดนี้ มีการทำ Risk Assessment & Management ดีพอหรือไม่ มีการป้องกัน หรือ มีการจัดสรรงบประมาณสำหรับจัดซื้ออุปกรณ์ป้องกัน มีทีมงานที่มีประสิทธิภาพ และมีระบบการจัดการป้องกันแก้ไขและต่อสู้กับเหตุการณ์แบบนี้ดีพอหรือไม่ เช่นดังความเห็นในกระทู้ข้างบนของเพื่อนๆ หรือไม่

ถ้าไม่มี และปล่อยให้ยืดเยื้อ พิจารณาตัวเองเถอะครับ
ว่าจะฟื้นฟู จ่ายค่าเสียหาย หรือ ซื้ออุปกรณ์ จ้างทีมผู้เชี่ยวชาญเพิ่ม(เหมือนทีมดับเพลิง) เพิ่มหน่วยงานภายในของท่านที่มีประสิทธิภาพไว้ป้องกัน แก้ไขวัวหายแล้วล้อมคอกก็ยังไม่สาย ขอให้ออกมาชี้แจง ก่อนเกิดเหตุการณ์ หลังเกิดเหตุการณ์ มีอะไรที่ทำให้ประชาชนมั่นใจว่า ท่านได้ทำดีพอ ลงทุนเพิ่มพอ ให้ประชาชนมั่นใจพอว่ามีระบบการจัดการที่ดีพอป้องกันไม่ให้เกิดอีก หรือ มีระบบการต่อสู้กับเหตุการณ์อย่างดีได้ดีพอ

อย่าให้ถึงกับต้องผิดหวังต่อการแก้ไขในเหตุการณ์นี้ แล้วเป็นเหตุให้ไม่มีอารมณ์หรือความมั่นใจในความรับผิดชอบต่อสังคม ในการที่จะซื้อหรือบริโภคสินค้าและบริการจากบริษัทฯที่ท่านบริหารแบบขาดจิตสำนึกที่มีระบบการจัดการที่ไม่ดีพอเลย

เรารักสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง กว่าธรรมชาติทางทะเลและชายฝั่งจะสวยงามได้อย่างนี้ ต้องใช้เวลาอีกนานเท่าไรจึงฟื้นฟูกับมาเช่นเดิม รู้สึกเสียใจจริงๆกับเหตุการณ์นี้


***ที่มารูปในกระทู้นี้ http://www.pttplc.com/th/Sustainability/Social/SSHE/Pages/SSHE-Management.aspx

ถ้าคุณจะขยันสร้างภาพ
ทำไมคุณทราบเรื่องตั้งแต่วันเสาร์แต่ไม่ดำเนินการตักเก็บน้ำมันดิบจากผิวน้ำก่อน
ทำไมบริษัทคุณได้ผลกำไรมากมายแต่ไม่มีเรือดูดเก็บน้ำมัน
ทำไมคุณปฏิบัติสวนทางกับเว็บไซต์ของ http://www.pttplc.com/th/Sustainability/Social/Good-Corporate-Citizenship/Pages/Natural-Resources.aspx
พวกคุณรู้ไหมว่าต้องใช้เวลาฟื้นฟูกี่ปี
เอากำไรไปทำอะไรหมด
ประเมินค่าความเสียหายไม่ได้เลยกับการสูญเสียครั้งนี้
ขอบอกเลยว่า บริษัทคุณเห็นแก่ตัวมากๆ

ช่วยดันกระทู้ให้บริษัทใหญ่รับรู้ด้วยครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่