ความรักที่แท้จริง.....ความจริงของความรัก

สวัสดีครับ

ผมได้มีโอกาสดูคลิปวีดีโอ และรูป หรืออ่านบทความที่ให้แง่คิดดีๆ ในเรื่องของความรัก  ก็เลยถือโอกาสรวบรวมมาแบ่งปันแก่พี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ชาวพันทิป หากสื่อเหล่านี้เคยผ่านสายตาท่านผู้อ่านมาแล้ว ก็ขออภัยที่นำมาลงซ้ำนะครับ อมยิ้ม17

หากท่านอื่นๆ จะมีส่วนร่วมในการแบ่งปันหรือแสดงความคิดเห็นก็ยินดีเป็นอย่างยิ่งครับ


๑. ความรักที่แท้จริง: โดยคุณ ฐปนัท พรรณพัชร (บางส่วนจากรายการพื้นที่ชีวิต ชุด เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย ตอนที่ ๒)

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ




๒. ความรักและคู่รักที่แท้: โดยพระไพศาล วิสาโล (บางส่วนของบทความ)

“พุทธศาสนามองว่าความรักมีสองประเภท ประเภทหนึ่งเป็นความรักที่มีความยึดติดถือมั่น เป็นเจ้าข้าวเจ้าของ เพื่อตอบสนองตัวตน หรือหวังความสุขเพื่อปรนเปรอตัวตน เราเรียกว่า “สิเนหะ หรือเสน่หา” เป็นความรักที่ภาษาสมัยใหม่เรียกว่ารักแบบมีเงื่อนไข เช่น ต้องถูกใจฉัน ต้องพะเน้าพะนอฉัน ความรักอีกประเภทหนึ่งเป็นความรักที่เป็นความปรารถนาดี ไม่มุ่งหรือคาดหวังให้เขามาปรนเปรอตัวตน เป็นความปรารถนาดีโดยปราศจากความเห็นแก่ตัว อันนี้เรียกว่า “เมตตา”

พุทธศาสนามองว่าสิเนหะเป็นสาเหตุแห่งความทุกข์ เพราะว่าถ้าคาดหวังให้เป็นไปตามใจตัวแล้ว เมื่อไม่เป็นอย่างที่หวังก็ทุกข์ เกิดความพลัดพรากสูญเสียไปก็ทุกข์ แต่เมตตานั้น เนื่องจากไม่มีความยึดติดถือมั่นเป็นเจ้าข้าวเจ้าของ ดังนั้นเขาจะทำอย่างไรกับเรา เราก็ไม่ทุกข์ เพราะว่ามีแต่ความปรารถนาดีอย่างเดียว ไม่มีเงื่อนไขว่าเขาต้องทำดีกับฉัน เขาต้องเทิดทูนบูชาฉัน หรือว่าเขาต้องเป็นลูกของฉัน เป็นสามีของฉัน เป็นคนรักของฉัน

ความรักที่เจือด้วยกิเลส ที่ยังผูกติดกับเรื่องตัวตนอยู่ ที่จริงแล้วเราไม่ได้รักสิ่งนั้นอย่างจริงจังหรอก เรารักตัวเรา แต่เนื่องจากสิ่งนั้นให้ความสุขเรา ปรนเปรอเรา พะเน้าพะนออัตตาตัวตนของเรา เราก็เลยผูกใจปรารถนาสิ่งนั้น แต่ถ้าเมื่อใดก็ตามที่สิ่งนั้นไม่เป็นไปดั่งใจหวัง ไม่พะเน้าพะนอเรา ไม่ปรนเปรออัตตาเรา เราก็เกลียด

การที่คนเราจะอยู่ด้วยกันได้นาน จะต้องมีความเหมือน มีความสอดคล้องกัน เช่นสอดคล้องกันในเรื่องของ “ศีล” ศีลในที่นี้หมายถึงความประพฤติปฏิบัติ หากว่าเป็นคนที่มีความประพฤติปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกัน เช่นเป็นคนที่ชอบทำบุญ ไม่ต้องการเบียดเบียน ใฝ่ในธรรมะ อันนี้ก็จะอยู่กันได้นาน พูดง่าย ๆ คือมีการดำเนินชีวิตไปในแนวทางเดียวกัน แต่ถ้าสวนทางกันหรือไม่เหมือนกัน ก็อยู่ด้วยกันได้ยาก

นอกจากศีลแล้ว ประการต่อมาก็คือ “การแบ่งปัน หรือ จาคะ” คือต้องมีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เหมือนกัน ถ้าหากบางคนตระหนี่ก็จะอยู่กับคนที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ไม่ได้ เพราะฉะนั้นต้องมีความเหมือนกันในแง่นี้ด้วย “ศรัทธา” และ “ปัญญา” ก็เช่นกัน มีศรัทธาคล้าย ๆ กัน มีปัญญาเสมอกัน ก็อยู่กันได้นาน”

อ่านฉบับเต็มได้ที่: http://www.visalo.org/columnInterview/5502TheExit.htm


๓. Dear Heart:  โดย Just say NO to Toxic Relationships



https://www.facebook.com/photo.php?fbid=544249548968619&set=a.154147964645448.32416.153935198000058&type=1&relevant_count=1


ขอบคุณเจ้าของสื่อและผู้อ่านทุกๆ ท่านครับ อมยิ้ม17
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่