เกรดออกแล้วมาดูกันว่า Aa2 to A1, P2 to P1 มันคือ ตกสอบ สอบตก ตกข่าว หรือคางคกกัด หรืองูรัด ไม่ก็คงพัดลมบาด .. มือ

กระทู้สนทนา
มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ปรับเครดิตตราสารหนี้และเงินฝากไทย หลังพบ “กิตติรัตน์” ตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินบาท ถูกปรับจาก Aa2 สู่ A1 ฝากระยะยาวสกุลเงินบาท ถูกปรับจาก Aa2 สู่ A1 สะท้อนไทยมีความเสี่ยงต่ำการโอนเงินและการแปลงสกุลเงิน มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ ประกาศปรับความเสี่ยงของเพดานอันดับความน่าเชื่อถือของเงินฝากและตราสารหนี้สกุลเงินในประเทศ (LC) และสกุลเงินต่างประเทศ (FC) ของผู้ออกตราสารหนี้ของไทย แต่ธนบัตรของรัฐบาลไทยไม่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงเพดานดังกล่าว
ก่อนหน้านี้ตัวแทนมูดี้ส์เข้าพบนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อรับทราบข้อมูลและตัวเลขทางเศรษฐกิจของไทย
โดยการเปลี่ยนแปลงเพดานครั้งนี้บ่งชี้ว่าอันดับความน่าเชื่อถือสูงสุดที่สามารถกำหนดให้กับผู้ออกตราสารหนี้ในไทยหรือต่อหลักทรัพย์ทางการเงินที่มีการปรับโครงสร้างที่ได้รับการสนับสนุนโดยบัญชีลูกหนี้สกุลเงินบาทจะเป็นดังนี้ 1.เพดานอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินบาท ถูกปรับจาก Aa2 สู่ A1
2.เพดานอันดับความน่าเชื่อเงินฝากระยะยาวสกุลเงินบาทถูกปรับจาก Aa2 สู่ A1 3.เพดานอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศ ยังคงอยู่ที่ระดับ A2 แต่เพดานอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ระยะสั้นสกุลเงินต่างประเทศถูกปรับจาก P-2 สู่ P-1
4.เพดานอันดับความน่าเชื่อถือเงินฝากระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศยังคงอยู่ที่ Baa1 และเพดานอันดับความน่าเชื่อถือเงินฝากระยะสั้นสกุลเงินต่างประเทศยังคงไม่เปลี่ยนแปลงที่ P-2
ทั้งนี้ การตัดสินใจของมูดี้ส์ในการปรับเพดานอันดับความน่าเชื่อถือสำหรับตราสารหนี้สกุลเงินต่างประเทศของไทยได้อิงจากการที่มูดี้ส์นำแนวทางในการกำหนดเพดานความเสี่ยงสำหรับตราสารหนี้สกุลเงินในประเทศและภาระผูกพันอื่นๆ สำหรับสกุลเงินในประเทศมาใช้หลังจากที่ได้ประกาศแนวทางดังกล่าวในช่วงต้นปีนี้
มูดี้ส์ระบุว่าเพดานอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้สกุลเงินในประเทศที่ได้รับการปรับใหม่นี้สอดคล้องกับกรอบการทำงานที่นำเพดานดังกล่าวมาเทียบกับอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลไทยที่ Baa1 และเทียบกับคะแนนของปัจจัยต่างๆ ที่ใช้ในการพิจารณาพันธบัตรรัฐบาล
ปัจจัย 3 ประการในส่วนนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ใช้ในการกำหนดเพดาน ซึ่งปัจจัยดังกล่าวประกอบด้วย การประเมินความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจในระดับ "ปานกลาง", การประเมินความแข็งแกร่งของสถาบันในระดับ "ปานกลาง" และการประเมินผลกระทบที่อาจได้รับจากเหตุการณ์ไม่คาดฝันทางการเมือง, เศรษฐกิจหรือสถาบันในระดับ "ปานกลางค่อนข้างต่ำ"
สำหรับการปรับเพดานอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ระยะสั้นสกุลเงินต่างประเทศในครั้งนี้เป็นผลมาจากการประเมินของมูดี้ส์ที่ระบุว่าไทยมีความเสี่ยงต่ำในด้านการโอนเงินและการแปลงสกุลเงิน เนื่องจากไทยมีความสามารถและความเต็มใจในการชำระหนี้ข้ามพรมแดนทั้งในภาครัฐและเอกชน โดยมุมมองนี้ได้รับการสนับสนุนจากสถานะสภาพคล่องต่างประเทศที่แข็งแกร่งของไทย ซึ่งจะเห็นได้จากการที่ไทยมีหนี้ต่างประเทศอยู่ในระดับต่ำและมีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศอยู่ในระดับสูง
http://itrading.bualuang.co.th/th/list-tb.php?width=821&height=500&menuid=23&content=newtoday&contentid=1807752
*****************************************************************************************************
เห็นว่าเถียงกันไปมาสนุกกันใหญ่ แต่ประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจก่อนคือ Fact! ถ้าดูจากข่าวนั้นระบุชัดเจน
1.เพดานอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินบาท ถูกปรับจาก Aa2 สู่ A1 หมายความว่าเครดิตถูกลดลง 2 ขั้น (Aa2 >Aa1>A1)
2.เพดานอันดับความน่าเชื่อเงินฝากระยะยาวสกุลเงินบาทถูกปรับจาก Aa2 สู่ A1 หมายความว่าเครดิตถูกลดลง 2 ขั้น (Aa2 >Aa1>A1)
3.เพดานอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศ ยังคงอยู่ที่ระดับ A2 หมายความว่าไม่เปลี่ยน เท่าเดิมๆๆๆๆๆๆๆ
4.เพดานอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ระยะสั้นสกุลเงินต่างประเทศถูกปรับจาก P-2 สู่ P-1 หมายความว่าถูกเพิ่มเครดิต(NP<P3<P2<P1)
5.เพดานอันดับความน่าเชื่อถือเงินฝากระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศยังคงอยู่ที่ Baa1 หมายความว่า เท่าเดิมๆๆๆ
6.เพดานอันดับความน่าเชื่อถือเงินฝากระยะสั้นสกุลเงินต่างประเทศยังคงไม่เปลี่ยนแปลงที่ P-2 หมายความว่า เท่าเดิมๆๆๆ

สรุปได้ว่า ลดเครดิตข้อ 1,2 และ ปรับเพิ่มเครดิต ข้อ 4 นอกนั้นเสมอตัว.. ส่วนเหตุผลในการลด และ เหตุผลในการเพิ่มของแต่ละหัวข้อเขาก็เขียนเอาไว้ชัดเจน .... เถียงกันทำไมไปมาในเมื่อข้อเท็จจริงมันก้อเห็นๆ กันอยุ่ว่ามีทั้งส่วนที่เครดิตลด และมีส่วนที่เครดิตเพิ่ม  ราตรีสวัสครับพี่น้องชาวไทย..
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่