(บ่น) Bromide Ion กับ Methyl Bromide มันไม่เหมือนกันนะจ๊ะนายจ๋า -*-

ผมเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญต่อผู้บริโภค ที่ควรจะถกกันก่อนเลย
ก่อนที่เรื่องเมทิลโบรไมด์ในข้าว จะกลา่ยเป็นเครื่องมือในการสาดโคลนไปๆมาๆ ระหว่างฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล และฝ่ายสนับสนุนฝ่ายค้าน
ทั้งนี้ อย่าลืมว่า เราต้องยึดถือประโยชน์ที่ประชาชนจะได้ เป็นที่ตั้ง นะครับ

ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่า เมทิลโบรไมด์ เป็นสารพิษจริงหรือไม่ ก่อมะเร็งจริงหรือไม่
เพราะคำตอบทางเคมี ตอบได้เลยว่า จริง  ไม่งั้นจะเอามารมฆ่ามอด ฆ่าแมลงได้ยังไง
(แต่ ความอันตรายมีมากน้อยเพียงใดนั้น ติดตามที่กระทู้เมทิลโบรไมด์นี้ ครับ [กดที่นี่] )

ทั้งนี้ ประเด็นของกระทู้นี้ ว่าด้วยเรื่อง การแปลความผลการตรวจสอบ (การ Validate การตีความว่าตีความแบบนี้ใช้ได้หรือไม่) ครับ

จากทาง มูลนิธิชีววิถี ที่กล่าวว่า วิธีการตรวจสอบที่ใช้่นั้น คือการใช้ GC-GCD และเป็นวิธีการเดียวกับที่กรมวิทย์๊๊ ใช้นั้น
ผมได้ไปสืบค้นเพิ่มเติมมาแล้ว พบว่า วิธีการดังกล่าว เป็นการตรวจสอบปริมาณ โบรไมด์อนินทรีย์ (Inorganic Bromide, Bromide ion) ครับ

ทั้งนี้ โบรไมด์ไอออนนั้น เกิดจากการสลายตัวของเมทิลโบรไมด์ นั่นเอง ดังนั้น หมายความว่า
การตรวจด้วยวิธีนี้ ไม่ได้เป็นการตรวจปริมาณเมทิลโบรไมด์ที่ตกค้างอยู่ในข้าว แต่ เป็นการตรวจปริมาณเมทิลโบรไมด์ที่เคยถูกใช้กับข้าว นั้นๆ
แต่ทว่า การนำเสนอข่าวของทางมูลนิธิและสื่อมวลชน ทั้งทางสื่อโทรทัศน์ และสื่อหนังสือพิมพ์ ในช่วงต้นๆที่ข่าวดังออกไปนั้น
ต่างพูดกันชัดเจน ว่าเป็น "ปริมาณเมทิลโบรไมด์ที่พบในข้าว" ซึ่งจุดที่ไม่ถูกต้องคือจุดนี้ครับ
ภาพด้านล่างนี้อ้างอิงจากหน้าของทางมูลนิธิํ นะครับ

ซึ่งจุดนี้ เราจะทำอะไรเพื่อยืนยันข้อมูล จะได้เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคได้บ้าง ผมมีความเห็นว่า
1. ศึกษาขอบเขต และข้อจำกัดของ Protocol ที่ใช้ในการตรวจ ซึ่งผมได้ทำลิงค์ให้ไว้แล้ว ตามนี้ครับ [Link]
1.1 จาก ในเอกสารในข้อ 1. นั้น จะเห็นว่า ตั้งแต่ หัวเรื่อง บทคัดย่อ วิธีการ รายละเอียด ล้วนแล้วแต่พูดถืง Inorganic Bromide ทั้งสิ้น ครับ
1.2 ณ หัวข้อ สรุป ในเอกสารข้อ 1. นั้น ชี้ให้เห็นว่า วิธีนี้ดีเพราะ สะดวก ต่อการตรวจอย่างต่อเนื่อง ครับ
1.3 แต่ด้วยข้อจำกัดของวิธีการ ผมเสนอว่า น่าจะมีหน่วยงาน(?) ที่ทำการตรวจยืนผลเปรียบเทียบ โดยตรวจที่ตัวสาร Methyl Bromide โดยตรง  เลย ซึ่งเทคนิกที่น่าจะใช้ได้ คือการทำ Headspace GC ครับ
2. เรื่อง การนำเสนอข่าวของสื่อในแขนงต่างๆ
2.1 ผู้นำเสนอข่าว ควรมีความรู้พื้นฐานของความแตกต่างระหว่าง Methyl Bromide และ Bromide Ion เพราะจากสื่อทุกวันนี้ เห็นใช้ทั้งสองอย่าง สลับไปมา สับสนกันไปหมด  หรือ ตอนแรก บอกเมทิลโบรไมด์ ส่วนตอนนี้ บอกโบรไมด์ไอออน โดยยังไม่รู้ความแตกต่างด้วยซ้ำ
2.2 และ หลังจากการ validate การแปลผลแล้ว ควรนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นกลาง และชี้แจงให้ผู้รับข่าว ทราบ ด้วยครับผม
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่