มือใหม่สงสัยดอกเบี้ยหุ้น

กระทู้คำถาม
ตอนแรกจะเอาเงินซื้อฉลากออมสินคำนวณแล้วไม่ค่อยเวริค์ เลยตัดใจลงทุนซื้อหุ้นปันผลเพราะเคยเป็นนางรจนามาก่อนเลยไม่กลัวความเสี่ยง
ศึกษาหุ้นมานิดหน่อยแต่สงสัยตรงดอกเบี้ย รบกวนผู้รู้ตอบหน่อยค่ะ

สมมุติ มีเงิน 100,000 ชื้อหุ้นปันผล ที่ราคา 90บาท (ดูนโยบายปันผลและผลประกอบการย้อนหลัง5ปี งบการเงินมั่นคงดี ติดเรทดอกเบี้ยปันผลอันดับต้นๆ ที่8%)
ก็จะได้ที่ 1,111หุ้น ถ้าอยากได้ดอกเบี้ยที่ 8%ของเงินต้น 100,000 เราจะต้องซื้อกี่หุ้นถ้าแบบนี้ก็เกินทุน 1แสนบาทนะสิถ้าต้นทุนต่อหุ้นแพงเราก็ได้หุ้นน้อย
แต่อยากได้ดอกเบี้ยที่1แสนบาทต่อ8% เราก็ต้องหาบริษัทต้นทุนหุ้นไม่แพงจ่ายปันผลอยู่ใน7-8% ต่อปีหรือเปล่าคะ สงสัย

ถ้าสมมุติธนาคารให้ดอกเบี้ยที่8% ก็จะได้ = (100,000x8%)/12เดือน= 666.66บาทต่อเดือน 1ปีได้ 8,000 บาทจากยอดต้นที่ 100,000บาท(ไม่รู้ถูกเปล่า)

และกรณีที่เป็นหุ้นคิดแบบนี้ได้ไหมถ้าลงทุนถือยาวไม่ซื้อเพิ่ม และถ้าปันผลตามไตรมาส 1,2,3หรือ4 ตัวปันผลก็คือผลตอบแทนหรือเปล่า หากเราเอามารวมกันทั้งปี
ก็จะได้ดอกเบี้ยที่ราคา 6-8% หากธุรกิจในปีนั้นหรือไตรมาสนั้นๆ เงียบบางช่วง

ถ้าแบบนี้หากเราออมหุ้นเราจะได้ดอกเบี้ยมากกว่าธนาคารหรือเปล่าค่ะ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
ของอาจารย์ เทพ ครับ อยากเป็นมดงานให้ศึกษาข้อมูล อยากเป็นแมงเม่าต้องหมั่นดูราคา

การประเมินว่าบริษัทจะจ่าย เงินปันผลต่อหุ้น (Dividend Per Share หรือ DPS)
เท่าไหร่นั้น ต้องมีการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม
โดยผมใช้หลักการ PEN แต่ไม่ใช่ ปากกานะครับ
PEN ย่อมาจาก 3 คำคือ Policy, Expected Revenues และ Net Margin

1. นโยบายปันผล (Dividend Policy)
บริษัทส่วนใหญ่จะเขียนเป็นนโยบายไว้ค่อนข้างจะชัดเจน
ดูได้จากเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์
โดยกำหนดเป็นร้อยละ หรือที่เรียกกันว่า Payout Ratio
เช่นไม่ต่ำกว่า 40% หมายถึง ถ้าบริษัทมีกำไรสุทธิต่อหุ้น 15 บาท
จะจ่ายเงินปันผลไม่ต่ำกว่า 6 บาท เป็นต้น

และนักลงทุนก็ควรดูตัวเลขการจ่ายปันผลในปีที่ผ่านๆมา
เพราะสามารถช่วยให้รู้ว่า
บริษัทได้ทำตามที่พูดไว้มากน้อยแค่ไหน
โดยเฉพาะบริษัทที่ระบุไว้เพียงว่าจะจ่ายตามความเหมาะสม
การเรียนรู้ประวัติของการจ่ายเงินปันผลของหุ้นแต่ละตัว
จะทำให้เห็นภาพของการบริหารของ CEO ได้ชัดขึ้นด้วย

2. รายได้ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected Revenues)
ความจริง ผมควรใช้ยอดขาย (Sales)
เพราะเป็นตัวสะท้อนที่ดีว่า
ฐานลูกค้าของบริษัทแน่นหนาแค่ไหน
แต่เอาเข้าจริง ข้อมูลที่ได้มักจะเป็นยอดรายได้รวม(Revenues)
ซึ่งคิดว่าคงจะใช้ได้ เพราะส่วนใหญ่กว่า 90% ของรายได้
ก็มาจากยอดขายอยู่แล้ว
ที่ผมอยากรู้คือแต่ละปี
บริษัทจะมีทางทำให้รายได้เติบโตขึ้น
ปีละเท่าใด

ตัวอย่างเช่น ถ้าRevenues ของบริษัทปีที่แล้ว
อยู่ที่ 10,000 ล้านบาท
และผมคาดว่าการเติบโต (Growth) อยู่ที่ 15%
ผมก็เอา 1.15 คูณกับ 10,000
จะได้ออกมาเป็น Expected Revenues
เท่ากับ 11,500 ล้านบาท

3. อัตรากำไรสุทธิ (Net Margin)
เช่นเดียวกันครับ
Net Margin ผมก็ควรจะหามาจากยอดขายด้วย
แต่ก็ติดขัดที่ข้อมูล
ผมจึงใช้ Net Margin โดยใช้ตัวกำไรสุทธิตั้ง
หารด้วย Revenues
คูณด้วย 100 ก็ออกมาเป็น %
เท่าที่ผมสังเกตุดู บริษัทส่วนใหญ่จะมี Net Margin
ที่ประมาณ 4 ถึง 7% มีเพียงน้อยบริษัทมากที่จะมี Net Margin
เกิน 7% เป็นระยะเวลายาวนาน (ผมเข้าใจว่า ถ้ามีกำไรดีเกินไป
ก็จะทำให้มีคู่แข่งเข้ามาชิงส่วนแบ่งธุรกิจ)

ตัวอย่างครับ
ถ้าผมคาดว่า Net Margin ของบริษัทดังกล่าวไว้ในข้อ 2 จะอยู่ที่ 5%
ผมก็เอา .05 ไปคูณรายได้ 11,500ล้านบาท
จะได้กำไรสุทธิออกมาอยู่ที่ 575 ล้านบาท
ทีนี้ถ้าต้องการคำนวณว่าบริษัทจะจ่ายปันผลเท่าไร
ผมก็เอา Payout 0.40 คูณ 575 จะได้ 230 ล้านบาท
พอถึงคราวนี้ การหาเงินปันผลต่อหุ้น
(Dividend Per Share หรือ DPS)
ก็ทำได้ง่าย

วิธีการคือ เอาจำนวนหุ้นไปหารตัวเลข 230 ล้านบาท
ถ้าบริษัทมีหุ้นทั้งหมด 500 ล้านหุ้น
หุ้นแต่ละหุ้นจะได้ DPS = 230/500
หรือเท่ากับ 0.46 บาทต่อหุ้น
แต่ถ้าดูจากการประกาศจ่ายปันผลในอดีต
พบว่าบริษัทมักจะจ่ายเกิน คือจ่ายที่ 50%
อยากทราบว่าบริษัทจะจ่ายเป็นเงินปันผลเท่าไร
ก็เอา Payout 0.50 ไปคูณ 575 ล้านบาท
ในกรณี บริษัทจะจ่ายให้นักลงทุน
เป็นเงินถึง 287.5 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นอีก 57.5 ล้านบาท!

คราวนี้ก็แปลงยอดเงินปันผล
ออกมาเป็น DPS ด้วยการเอาหุ้นทั้งหมดไปหาร
DPS จะเท่ากับ 287.5/500
หรือต่อหุ้นที่ 0.575 บาท
ผู้ถือหุ้นก็ยิ้มเพราะได้เงินปันผลมากขึ้น
บริษัทจะปัดเศษเป็น0.55 บาทก็ไม่ว่ากัน

พอได้ Expected DPS มา 2 ตัว
คือ 0.46 กับ 0.55 บาท
อยากประเมินราคาหุ้น
ก็ใช้ Dividend Valuation Matrix
ดังที่เคยได้พูดถึงไว้แล้ว
หุ้นของบริษัทนี้ก็น่าจะมีมูลค่า
คร่าวๆ ดังนี้

ดูอย่างนี้แล้ว คงพอเห็นใช่ไหมครับ
ถ้าราคาหุ้นตัวนี้อยู่ต่ำกว่า 6 บาท
ลงมา คงมีคนช้อนเก็บกันเยอะ แต่ถ้าราคาเกิน 9 บาทขึ้นไป
คงมีคนเริ่มเทขายไม่น้อยเหมือนกัน
การรู้วิธีการคำนวณมูลค่าหุ้นบ้างดีตรงนี้ ทำให้รู้เขารู้เรามากขึ้น
พอทำบ่อยๆก็คล่องขึ้นเอง ส่วนการหา DPS ไม่ยากเลย
เพียงใช้หลักของ PEN เท่านั้นเอง
ความจริง การที่เราพยายามหา DPS
ทำให้เรามีความสนใจในหุ้นที่ลงทุนมากขึ้น
และจะมองดูผลประกอบการในระยะยาวมากขึ้น
พร้อมกับบังคับให้ต้องติดตามผลประกอบการอย่างใกล้ชิด
แต่ไม่ถึงกับต้องเฝ้าจอทุกนาที แค่ไตรมาสละหนก็พอ
DPS คือกระแสเงินที่นักลงทุนจะได้รับ
ไปในอนาคตอย่างต่อเนื่อง ถ้ายังถือหุ้นอยู่
และผลประกอบการของบริษัทยังดีอยู่
แต่ถ้าเห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลง อย่างมีนัยสำคัญ
ก็สามารถจะขายหุ้น เพื่อเอาเงิน ไปลงทุนในหุ้นตัวอื่น
ที่ดูท่าจะมีแววมากกว่า
ข้อสำคัญ ขอให้กล้าที่จะคิด ลองทำออกมาดู
ไม่ต้องกลัวว่าจะทำผิด ผิดบ้างถูกบ้างเป็นประสบการณ์จริง
ซึ่งจะทำให้นักลงทุนมั่นใจขึ้น จนในที่สุด
ยืนอยู่บนขาของตัวเองได้อย่างมั่นคงครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่