โง่อยู่ตั้งนาน คิดว่ามันมาจากด้านนอก
ไม่คิดว่ามันฝังตัวอ่อน(ไข่)ไว้ในเมล็ดข้าว
แล้วที่กินๆ เข้าไปหลายสิบปีมานี้ล่ะ อวิ๋ววว....
ทำไงดีละทีนี้
จะเลือกข้าวยังไง ที่มั่นใจว่าไม่มีไข่เพื่อนร่วมโลก ตัวเล็กๆ พวกนี้
หรือยังไงก็ต้องมี หรืออะไร ยังไง?
แนะนำด้วยค่ะ
ขออนุญาตแท็กหว้ากอ ด้วย เรื่องชีวฯ หากผิดพลาดประการใด โปรดแนะนำหรือแจ้งลบได้ค่ะ
--ข้อมูล--
มอดข้าวสาร หรือ ด้วงงวงข้าว (Rice weevil - Sitophilus oryzae L.)
ลักษณะลำตัวสีน้ำตาลแก่จนถึงสีดำ ลำตัวยาวประมาณ ๔ มิลลิเมตร ส่วนหัวเรียวแหลมยาวออกมาลักษณะคล้ายงวง
แมลงชนิดนี้กัดกินเมล็ดข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวสาลี และเมล็ดธัญพืช อื่น ๆ
โดยที่ตัวเมียใช้ปากเจาะเข้าไปวางไข่ในเมล็ด ตัวอ่อนกัดกินและเจริญเติบโตในเมล็ดจนเป็นดักแด้
จะเจาะเมล็ดออกมาเมื่อเป็นตัวแก่
มอดข้าวเปลือก หรือ มอดหัวป้อม (Lesser grain borer - Rhyzopertha dominica F.)
ลักษณะลำตัวสีน้ำตาลแก่ ตัวกลมป้อมและหัวสั้น ลำตัวยาวประมาณ ๓ มิลลิเมตร
ทำลายข้าวเปลือก ข้าวสาร ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวสาลีและแป้งด้วย ตัวเมียวางไข่ได้มากกว่าร้อยฟองบนผิวเมล็ด
ตัวหนอนอาศัยกินอยู่ในเมล็ดจนกลายเป็นตัวแก่ จึงเจาะรูออกมาซึ่งใช้เวลาประมาณ ๑ เดือน
ตัวแก่ยังแทะเล็มเมล็ดให้เป็นรอยหรือเป็นรูด้วย และยังขับถ่ายสิ่งสกปรกออกมา
มอดแป้ง
มีสองชนิด คือ Red flour beetle (Tribolium castaneum Hbst.) และ Confused flour beetle (Tribolium confusum Duv.)
เป็นมอดสีน้ำตาลปนแดง ขนาดลำตัวยาวประมาณ ๒.๕-๔.๕ มิลลิเมตร
ลำตัวค่อนข้างแบนชอบทำลายเมล็ดที่ถูกมอดข้าวสาร หรือมอดข้าวเปลือกกัดกินไปแล้ว
มอดฟันเลื่อย (Saw-toothed grain beetleOryzaephilus surinamensis L.)
เป็นมอดสีน้ำตาลแดง ลำตัวยาวประมาณ ๒.๕-๓.๐ มิลลิเมตรชอบทำลายเมล็ดข้าวสาลี
ที่ถูกมอดข้าวสารหรือมอดข้าวเปลือกกัดกินไปแล้ว
เครดิต นายพัธกุล จันทนมัฏฐะ
ตายๆๆๆๆ ข้าวสารที่กินอยู่ทุกวัน มีมอดเพราะมันไปวางไข่ไว้ในเมล็ดข้าวแล้วฟักออกมาเป็นตัวเหรอเนี่ย!!!!!!
ไม่คิดว่ามันฝังตัวอ่อน(ไข่)ไว้ในเมล็ดข้าว
แล้วที่กินๆ เข้าไปหลายสิบปีมานี้ล่ะ อวิ๋ววว....
ทำไงดีละทีนี้
จะเลือกข้าวยังไง ที่มั่นใจว่าไม่มีไข่เพื่อนร่วมโลก ตัวเล็กๆ พวกนี้
หรือยังไงก็ต้องมี หรืออะไร ยังไง?
แนะนำด้วยค่ะ
ขออนุญาตแท็กหว้ากอ ด้วย เรื่องชีวฯ หากผิดพลาดประการใด โปรดแนะนำหรือแจ้งลบได้ค่ะ
--ข้อมูล--
มอดข้าวสาร หรือ ด้วงงวงข้าว (Rice weevil - Sitophilus oryzae L.)
ลักษณะลำตัวสีน้ำตาลแก่จนถึงสีดำ ลำตัวยาวประมาณ ๔ มิลลิเมตร ส่วนหัวเรียวแหลมยาวออกมาลักษณะคล้ายงวง
แมลงชนิดนี้กัดกินเมล็ดข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวสาลี และเมล็ดธัญพืช อื่น ๆ
โดยที่ตัวเมียใช้ปากเจาะเข้าไปวางไข่ในเมล็ด ตัวอ่อนกัดกินและเจริญเติบโตในเมล็ดจนเป็นดักแด้
จะเจาะเมล็ดออกมาเมื่อเป็นตัวแก่
มอดข้าวเปลือก หรือ มอดหัวป้อม (Lesser grain borer - Rhyzopertha dominica F.)
ลักษณะลำตัวสีน้ำตาลแก่ ตัวกลมป้อมและหัวสั้น ลำตัวยาวประมาณ ๓ มิลลิเมตร
ทำลายข้าวเปลือก ข้าวสาร ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวสาลีและแป้งด้วย ตัวเมียวางไข่ได้มากกว่าร้อยฟองบนผิวเมล็ด
ตัวหนอนอาศัยกินอยู่ในเมล็ดจนกลายเป็นตัวแก่ จึงเจาะรูออกมาซึ่งใช้เวลาประมาณ ๑ เดือน
ตัวแก่ยังแทะเล็มเมล็ดให้เป็นรอยหรือเป็นรูด้วย และยังขับถ่ายสิ่งสกปรกออกมา
มอดแป้ง
มีสองชนิด คือ Red flour beetle (Tribolium castaneum Hbst.) และ Confused flour beetle (Tribolium confusum Duv.)
เป็นมอดสีน้ำตาลปนแดง ขนาดลำตัวยาวประมาณ ๒.๕-๔.๕ มิลลิเมตร
ลำตัวค่อนข้างแบนชอบทำลายเมล็ดที่ถูกมอดข้าวสาร หรือมอดข้าวเปลือกกัดกินไปแล้ว
มอดฟันเลื่อย (Saw-toothed grain beetleOryzaephilus surinamensis L.)
เป็นมอดสีน้ำตาลแดง ลำตัวยาวประมาณ ๒.๕-๓.๐ มิลลิเมตรชอบทำลายเมล็ดข้าวสาลี
ที่ถูกมอดข้าวสารหรือมอดข้าวเปลือกกัดกินไปแล้ว
เครดิต นายพัธกุล จันทนมัฏฐะ