หากพูดถึงอาหารริมทางตามท้องถนนเมืองไทยแน่นอนว่าจะต้องมีเมนูปิ้งย่างรวมอยู่ ไม่ว่าจะเป็นหมูย่าง หมูปิ้ง ไก่ย่าง ปลาหมึกย่าง ปลาเผา ฯลฯ เนื่องจากเป็นอาหารที่หาทานง่ายและเป็นที่นิยมของคนไทยจำนวนไม่น้อย
ทั้งนี้อุปกรณ์สำคัญอย่างหนึ่งของการประกอบเมนูนี้ ก็คือ เตาปิ้งย่าง ซึ่งปัจจุบันแม่ค้าตลอดไปจนถึงผู้ประกอบการได้ใช้เตาปิ้งย่างหลายประเภท ทั้งแบบแสงอินฟราเรด แบบขดลวดไฟฟ้า แบบใช้แก๊ส หรือใช้ถ่านไม้ แต่ส่วนใหญ่จะนิยมใช้เตาปิ้งย่างแบบใช้ถ่านไม้ เพราะให้รสชาติและกลิ่นที่ชวนน่ารับประทาน และเป็นเอกลักษณ์ อย่างไรก็ตามการใช้เตาปิ้งย่างเหล่านี้ได้สร้างมลพิษในอากาศรวมถึงการบริโภคอาหารปิ้งย่างเหล่านี้เป็นประจำอาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพผู้บริโภคได้
สองนักศึกษาจากภาควิชาฟิสิกส์ประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ประกอบด้วย น.ส.ศิริพร บุระพันธ์ นักศึกษาสาขาวิชาเครื่องมือวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม และนายรังสรรค์ วิริยะปานนท์ นักศึกษาสาขาวิชาพลังงานทางเลือก จึงเกิดแนวคิดที่จะพัฒนา “เตาปิ้งย่าง ลดไหม้ ลดควัน ลดมะเร็ง” ขึ้น โดยมี รศ.อนุพงศ์ สรงประภา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
เจ้าของผลงานทั้งสองให้ข้อมูลว่า ร้านค้าริมทางที่เป็นรถเข็นไปจนถึงผู้ประกอบการรายใหญ่ประเภทกิจการภัตตาคาร ล้วนมีเมนูอาหารปิ้งย่าง ซึ่งสร้างมลพิษในอากาศแต่มีคนให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหามลพิษในส่วนนี้น้อยมาก และการแก้ปัญหามักไม่ตรงจุด เช่น การติดพัดลมดูดอากาศให้พ้นจากบริเวณที่ทำการปรุงอาหารปิ้งย่าง ซึ่งนอกจากจะไม่ได้ทำให้ปริมาณควันลดลงแล้ว แต่กลับเพิ่มค่าใช้จ่ายไปกับการซื้อแบตเตอรี่จ่ายไฟให้กับพัดลม
จากการศึกษาถึงสาเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดควันเป็นจำนวนมากจากการปิ้งย่างด้วยเตาถ่าน ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่วัตถุดิบหรือเนื้อสัตว์ต้องสัมผัสกับตะแกรงโลหะ ซึ่งมีอุณหภูมิสูงกว่าอากาศโดยรอบทำให้เกิดรอยไหม้ ณ จุด สัมผัส จึงได้ทำการแก้ปัญหาในส่วนนี้ก่อน โดยใช้หลักการควบคุมอุณหภูมิของตะแกรงโลหะด้วยการระบายความร้อนด้วยน้ำ ขับเคลื่อนโดยพลังงานของเปลวไฟเอง ซึ่งไม่ซับซ้อน ราคาถูก ไม่สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า
ซึ่งนอกจากจะช่วยลดปริมาณควันที่เกิดจากการปิ้งย่างจนอาจส่งผลให้เกิดมลพิษแล้ว ยังมีผลพลอยได้ที่วัตถุดิบหรือเนื้อสัตว์ที่นำมาปิ้งย่าง มีความสวยงามน่ารับประทานช่วยเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์และที่สำคัญก็คือ มีส่วนช่วยลดอันตรายจากการเป็นมะเร็งลำไส้ได้จากการบริโภคอาหารที่มีรอยไหม้เกรียมอีกทางหนึ่งด้วย
สำหรับการทำงานสามารถลดอุณหภูมิของตะแกรงเหล็กทำให้เนื้อของโลหะไม่ไหม้ โดยการระบายความร้อนที่ไม่ซับซ้อน โดยใช้ “การไหลของน้ำ” ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่ใช้ในการควบคุมการระบายความร้อนทำให้อุณหภูมิของเนื้อโลหะลดลงช่วยให้การปิ้งย่างทั่วพื้นผิวที่สัมผัสของวัตถุดิบหรือเนื้อสัตว์ไม่ติดกับตะแกรง ซึ่งมีหลักการเหมือนเช่นใช้ปั๊มสูบน้ำเข้าไปในการควบคุมอุณหภูมิ
ส่วนต้นทุนในการผลิตนั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพของการใช้งาน ถ้าเทียบกับตะแกรงปิ้งย่างทั่วไป ซึ่งมีปัญหาเรื่องควันที่ปัจจุบันแก้ปัญหาโดยติดพัดลมเป่าอากาศทำให้เปลืองต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น แต่เตาปิ้งย่างที่พัฒนาขึ้นได้เพิ่มในส่วนของถังน้ำกับเปลี่ยนตะแกรงเป็นท่อสเตนเลส แต่ผลตอบแทนที่ได้นั้นถือว่าคุ้มค่ากับผู้บริโภคและผู้ค้าด้วย
อย่างไรก็ตามผลงานของน้อง ๆ ชิ้นนี้ ได้เข้าร่วมประกวดผลงานนวัตกรรม หัวข้อ “นวัตกรรมเพื่ออากาศบริสุทธิ์” ในงาน “ถนนเทคโนโลยี 2556” ที่จัดโดย บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยสามารถคว้ารางวัลชมเชยในการประกวดครั้งนี้ด้วย.
Credit เดลินิวส์
เตาปิ้งย่าง ลดไหม้ ลดควัน ลดมะเร็ง - ฉลาดสุดๆ
ทั้งนี้อุปกรณ์สำคัญอย่างหนึ่งของการประกอบเมนูนี้ ก็คือ เตาปิ้งย่าง ซึ่งปัจจุบันแม่ค้าตลอดไปจนถึงผู้ประกอบการได้ใช้เตาปิ้งย่างหลายประเภท ทั้งแบบแสงอินฟราเรด แบบขดลวดไฟฟ้า แบบใช้แก๊ส หรือใช้ถ่านไม้ แต่ส่วนใหญ่จะนิยมใช้เตาปิ้งย่างแบบใช้ถ่านไม้ เพราะให้รสชาติและกลิ่นที่ชวนน่ารับประทาน และเป็นเอกลักษณ์ อย่างไรก็ตามการใช้เตาปิ้งย่างเหล่านี้ได้สร้างมลพิษในอากาศรวมถึงการบริโภคอาหารปิ้งย่างเหล่านี้เป็นประจำอาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพผู้บริโภคได้
สองนักศึกษาจากภาควิชาฟิสิกส์ประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ประกอบด้วย น.ส.ศิริพร บุระพันธ์ นักศึกษาสาขาวิชาเครื่องมือวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม และนายรังสรรค์ วิริยะปานนท์ นักศึกษาสาขาวิชาพลังงานทางเลือก จึงเกิดแนวคิดที่จะพัฒนา “เตาปิ้งย่าง ลดไหม้ ลดควัน ลดมะเร็ง” ขึ้น โดยมี รศ.อนุพงศ์ สรงประภา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
เจ้าของผลงานทั้งสองให้ข้อมูลว่า ร้านค้าริมทางที่เป็นรถเข็นไปจนถึงผู้ประกอบการรายใหญ่ประเภทกิจการภัตตาคาร ล้วนมีเมนูอาหารปิ้งย่าง ซึ่งสร้างมลพิษในอากาศแต่มีคนให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหามลพิษในส่วนนี้น้อยมาก และการแก้ปัญหามักไม่ตรงจุด เช่น การติดพัดลมดูดอากาศให้พ้นจากบริเวณที่ทำการปรุงอาหารปิ้งย่าง ซึ่งนอกจากจะไม่ได้ทำให้ปริมาณควันลดลงแล้ว แต่กลับเพิ่มค่าใช้จ่ายไปกับการซื้อแบตเตอรี่จ่ายไฟให้กับพัดลม
จากการศึกษาถึงสาเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดควันเป็นจำนวนมากจากการปิ้งย่างด้วยเตาถ่าน ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่วัตถุดิบหรือเนื้อสัตว์ต้องสัมผัสกับตะแกรงโลหะ ซึ่งมีอุณหภูมิสูงกว่าอากาศโดยรอบทำให้เกิดรอยไหม้ ณ จุด สัมผัส จึงได้ทำการแก้ปัญหาในส่วนนี้ก่อน โดยใช้หลักการควบคุมอุณหภูมิของตะแกรงโลหะด้วยการระบายความร้อนด้วยน้ำ ขับเคลื่อนโดยพลังงานของเปลวไฟเอง ซึ่งไม่ซับซ้อน ราคาถูก ไม่สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า
ซึ่งนอกจากจะช่วยลดปริมาณควันที่เกิดจากการปิ้งย่างจนอาจส่งผลให้เกิดมลพิษแล้ว ยังมีผลพลอยได้ที่วัตถุดิบหรือเนื้อสัตว์ที่นำมาปิ้งย่าง มีความสวยงามน่ารับประทานช่วยเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์และที่สำคัญก็คือ มีส่วนช่วยลดอันตรายจากการเป็นมะเร็งลำไส้ได้จากการบริโภคอาหารที่มีรอยไหม้เกรียมอีกทางหนึ่งด้วย
สำหรับการทำงานสามารถลดอุณหภูมิของตะแกรงเหล็กทำให้เนื้อของโลหะไม่ไหม้ โดยการระบายความร้อนที่ไม่ซับซ้อน โดยใช้ “การไหลของน้ำ” ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่ใช้ในการควบคุมการระบายความร้อนทำให้อุณหภูมิของเนื้อโลหะลดลงช่วยให้การปิ้งย่างทั่วพื้นผิวที่สัมผัสของวัตถุดิบหรือเนื้อสัตว์ไม่ติดกับตะแกรง ซึ่งมีหลักการเหมือนเช่นใช้ปั๊มสูบน้ำเข้าไปในการควบคุมอุณหภูมิ
ส่วนต้นทุนในการผลิตนั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพของการใช้งาน ถ้าเทียบกับตะแกรงปิ้งย่างทั่วไป ซึ่งมีปัญหาเรื่องควันที่ปัจจุบันแก้ปัญหาโดยติดพัดลมเป่าอากาศทำให้เปลืองต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น แต่เตาปิ้งย่างที่พัฒนาขึ้นได้เพิ่มในส่วนของถังน้ำกับเปลี่ยนตะแกรงเป็นท่อสเตนเลส แต่ผลตอบแทนที่ได้นั้นถือว่าคุ้มค่ากับผู้บริโภคและผู้ค้าด้วย
อย่างไรก็ตามผลงานของน้อง ๆ ชิ้นนี้ ได้เข้าร่วมประกวดผลงานนวัตกรรม หัวข้อ “นวัตกรรมเพื่ออากาศบริสุทธิ์” ในงาน “ถนนเทคโนโลยี 2556” ที่จัดโดย บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยสามารถคว้ารางวัลชมเชยในการประกวดครั้งนี้ด้วย.
Credit เดลินิวส์