เห็นหลายคนยังสับสนกันอยู่ เลยยกมาให้อ่านกันดูครับ เขียนอ่านง่ายดีครับ
==============================================
คอลัมน์หน้าต่าง ก.ล.ต. ประจำวันที่ 10 ตุลาคม 2549 โดย นายปริย เตชะมวลไววิทย์
สวัสดีครับ คุณผู้อ่านเคยสับสนกับชื่อหรือชื่อย่อของหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ บ้างไหมครับ ถ้าเคยก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะหน่วยงานในบ้านเราโดยเฉพาะหน่วยงานราชการก็มักจะถูกเรียกเป็นชื่อย่อเพื่อความกระชับ ไม่ต้องดูอื่นไกลหรอกครับ หน่วยงานที่ผมทำงานอยู่ คือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ มีชื่อย่อว่า ก.ล.ต. ก็ยังมีคนสับสนไม่เว้นแม้แต่ในข่าวของสื่อมวลชนบางฉบับที่รายงานข่าวเกี่ยวกับการเลือกตั้งแต่ปรากฏชื่อ ก.ล.ต. อยู่ในเนื้อข่าว โดยที่จริงแล้วเขาต้องการเขียนถึง กกต. หรือ คณะกรรมการการเลือกตั้งหรอกครับ อันนี้เป็นเรื่องที่ผมเจอมาเองเลยมาเล่าสู่กันฟังครับ
นอกจากการสับสนเกี่ยวกับชื่อองค์กรแล้ว ยังมีอีกเรื่องที่ผมจะนำมาพูดคุยกันในวันนี้ นั่นก็คือ บทบาท หน้าที่ ของ ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งต้องยอมรับว่า ยังมีผู้ลงทุนและประชาชนทั่วไปอีกจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่ทราบว่า จริง ๆ แล้ว ก.ล.ต. และ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำหน้าที่แตกต่างกันอย่างไร ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะชื่อองค์กรที่มีคำว่า “ตลาดหลักทรัพย์” อยู่ในชื่อเหมือนกัน
เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายและเห็นภาพชัดเจน ผมขอยกตัวอย่างเปรียบเทียบ ตลาดหลักทรัพย์ฯ และ ก.ล.ต. กับตลาด และผู้ดูแลตลาด ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็เหมือนตลาดทั่วไปที่ให้ผู้ซื้อและผู้ขายมาพบเจอกัน อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า
ส่วนผู้ดูแลตลาดก็มีหน้าที่ดูแลสอดส่องให้การค้าขายในตลาดเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เช่นเดียวกับหน้าที่ของ ก.ล.ต. นอกจากนี้ ถ้าเป็นสินค้าประเภทอาหารที่จะนำมาขายในตลาดก็ต้องผ่าน อ.ย. ซึ่งคอยทำหน้าที่ตรวจสอบและออกเครื่องหมายรับรองว่า อาหารนั้นรับประทานได้ และคอยดูแลให้เจ้าของสินค้าติดสลากบอกรายละเอียดของสินค้าให้ผู้บริโภครู้ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ ซึ่งเทียบได้กับหน้าที่ของ ก.ล.ต. ในขั้นตอนของ IPO นั่นเองครับ
เรื่องการเสนอขายหลักทรัพย์ในตลาดแรกซึ่งเราอาจจะคุ้นเคยกับคำว่า IPO (เสนอขายต่อประชาชนครั้งแรก) หรือ PO (เสนอขายต่อประชาชนครั้งต่อ ๆ ไป) เป็นเรื่องที่ ก.ล.ต. ดูแลและรับผิดชอบตั้งแต่พิจารณาคุณสมบัติของบริษัทที่จะเสนอขายหลักทรัพย์ ผู้บริหารของบริษัท ลักษณะ หรือ feature ของหลักทรัพย์ รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทซึ่งต้องเปิดเผยอย่างถูกต้องและครบถ้วน ซึ่งโดยทั่วไป ก.ล.ต. จะใช้เวลาพิจารณาคำขอของบริษัทไม่เกิน 45 วันนับจากวันที่ได้รับข้อมูลที่ครบถ้วน และเปิดเผยข้อมูลของบริษัทดังกล่าวไว้บนเวบไซต์ของ ก.ล.ต. (www.sec.or.th) ด้วย
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่า หุ้น IPO ที่ได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต. จะไม่มีความเสี่ยงในการลงทุนนะครับ เหมือนกับการที่มีเครื่องหมาย อ.ย. ก็ไม่ได้รับประกันว่าอาหารจะอร่อยเสมอไปไงครับ ผู้ลงทุนจะตัดสินใจจองซื้อหลักทรัพย์นั้นหรือไม่ เห็นว่าแพงไปหรือถูกดี ต้องศึกษาข้อมูลและพิจารณาดูครับ
รู้อย่างนี้แล้ว หากในครั้งต่อไป ท่านผู้อ่านต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นที่กำลังทำ IPO ก็สามารถดูข้อมูลบนเวบไซต์ ก.ล.ต. หรือโทรมาสอบถามที่ ก.ล.ต. (Help center : 0-2263-6000 กด 2) และหากจะสอบถามข่าวสารความเคลื่อนไหวของบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ล่ะก็ ต้องตลาดหลักทรัพย์ฯ เพราะบริษัทจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อมูลสารสนเทศของบริษัทผ่านระบบ (ELCID) ของตลาดหลักทรัพย์ฯ อยู่แล้วครับ
เรื่องต่อไป คือ การจับปั่นหุ้น เรื่องนี้สำคัญเพราะเป็นการคุ้มครองผู้ลงทุนรายย่อยและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ลงทุน ทั้ง ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้แบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ใกล้ชิดข้อมูลการซื้อขาย จะทำหน้าที่เป็นด่านหน้าในการตรวจสอบราคาและปริมาณการซื้อขายหุ้นว่ามีความผิดปกติหรือไม่ หากเห็นว่าอาจเข้าข่ายการกระทำความผิดก็จะรวบรวมข้อมูลส่งให้ ก.ล.ต. เพื่อตรวจสอบในเชิงลึกและดำเนินการกับผู้กระทำผิดตามกฎหมายต่อไป
พูดง่าย ๆ คือตลาดหลักทรัพย์ฯ จะทำหน้าที่เป็นผู้เฝ้าสังเกตการณ์ หากพบสิ่งผิดปกติหรือไม่ชอบมาพากล ก็จะแจ้งให้ตำรวจหรือเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ในที่นี้ คือ ก.ล.ต. ทราบเพื่อจับคนผิดมาลงโทษต่อไป แต่ถ้าหาก ก.ล.ต. เป็นผู้พบพฤติกรรมที่อาจเข้าข่ายการกระทำความผิดฐานปั่นหุ้นเอง ก็สามารถดำเนินการได้ทันทีเช่นกันครับ
เรื่องสุดท้ายที่น่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ลงทุน คือ เรื่องการเช็คสอบข่าวลือ ซึ่งเรื่องนี้เป็นความร่วมมือกันของ 4 องค์กร ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา คือ กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์ฯ และ ก.ล.ต. โดยแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจนว่า หากเป็นข่าวลือเกี่ยวกับบริษัทจดทะเบียน ให้สอบถามข้อเท็จจริงไปยังตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งจะประสานงานให้บริษัทจดทะเบียนที่ตกเป็นข่าวออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงต่อผู้ลงทุนโดยเร็วที่สุด
แต่หากเป็นข่าวลือที่เกี่ยวกับหน่วยงานทางการที่อยู่ในแวดวงตลาดการเงิน คือ กระทรวงการคลัง (รวมหน่วยงานในสังกัดของกระทรวงการคลัง) และธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้ลงทุนสามารถสอบถามมาที่ ก.ล.ต. ได้เลยครับ โดย ก.ล.ต. จะเป็นผู้ประสานงานไปยังเจ้าหน้าที่ขององค์กรเหล่านั้นเพื่อขอให้เปิดเผยหรือชี้แจงข้อเท็จจริงให้ผู้ลงทุนทราบโดยเร็วครับ
สำหรับวันนี้ ผมคงต้องลาไปก่อน สวัสดีครับ
==============================================
ที่มา
http://www.sec.or.th/investor_edu/info_media/article/2549/Content_0000000806.jsp?categoryID=CAT0000316
กลต. ตลท. บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบต่างกันอย่างไร
==============================================
คอลัมน์หน้าต่าง ก.ล.ต. ประจำวันที่ 10 ตุลาคม 2549 โดย นายปริย เตชะมวลไววิทย์
สวัสดีครับ คุณผู้อ่านเคยสับสนกับชื่อหรือชื่อย่อของหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ บ้างไหมครับ ถ้าเคยก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะหน่วยงานในบ้านเราโดยเฉพาะหน่วยงานราชการก็มักจะถูกเรียกเป็นชื่อย่อเพื่อความกระชับ ไม่ต้องดูอื่นไกลหรอกครับ หน่วยงานที่ผมทำงานอยู่ คือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ มีชื่อย่อว่า ก.ล.ต. ก็ยังมีคนสับสนไม่เว้นแม้แต่ในข่าวของสื่อมวลชนบางฉบับที่รายงานข่าวเกี่ยวกับการเลือกตั้งแต่ปรากฏชื่อ ก.ล.ต. อยู่ในเนื้อข่าว โดยที่จริงแล้วเขาต้องการเขียนถึง กกต. หรือ คณะกรรมการการเลือกตั้งหรอกครับ อันนี้เป็นเรื่องที่ผมเจอมาเองเลยมาเล่าสู่กันฟังครับ
นอกจากการสับสนเกี่ยวกับชื่อองค์กรแล้ว ยังมีอีกเรื่องที่ผมจะนำมาพูดคุยกันในวันนี้ นั่นก็คือ บทบาท หน้าที่ ของ ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งต้องยอมรับว่า ยังมีผู้ลงทุนและประชาชนทั่วไปอีกจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่ทราบว่า จริง ๆ แล้ว ก.ล.ต. และ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำหน้าที่แตกต่างกันอย่างไร ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะชื่อองค์กรที่มีคำว่า “ตลาดหลักทรัพย์” อยู่ในชื่อเหมือนกัน
เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายและเห็นภาพชัดเจน ผมขอยกตัวอย่างเปรียบเทียบ ตลาดหลักทรัพย์ฯ และ ก.ล.ต. กับตลาด และผู้ดูแลตลาด ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็เหมือนตลาดทั่วไปที่ให้ผู้ซื้อและผู้ขายมาพบเจอกัน อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า
ส่วนผู้ดูแลตลาดก็มีหน้าที่ดูแลสอดส่องให้การค้าขายในตลาดเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เช่นเดียวกับหน้าที่ของ ก.ล.ต. นอกจากนี้ ถ้าเป็นสินค้าประเภทอาหารที่จะนำมาขายในตลาดก็ต้องผ่าน อ.ย. ซึ่งคอยทำหน้าที่ตรวจสอบและออกเครื่องหมายรับรองว่า อาหารนั้นรับประทานได้ และคอยดูแลให้เจ้าของสินค้าติดสลากบอกรายละเอียดของสินค้าให้ผู้บริโภครู้ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ ซึ่งเทียบได้กับหน้าที่ของ ก.ล.ต. ในขั้นตอนของ IPO นั่นเองครับ
เรื่องการเสนอขายหลักทรัพย์ในตลาดแรกซึ่งเราอาจจะคุ้นเคยกับคำว่า IPO (เสนอขายต่อประชาชนครั้งแรก) หรือ PO (เสนอขายต่อประชาชนครั้งต่อ ๆ ไป) เป็นเรื่องที่ ก.ล.ต. ดูแลและรับผิดชอบตั้งแต่พิจารณาคุณสมบัติของบริษัทที่จะเสนอขายหลักทรัพย์ ผู้บริหารของบริษัท ลักษณะ หรือ feature ของหลักทรัพย์ รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทซึ่งต้องเปิดเผยอย่างถูกต้องและครบถ้วน ซึ่งโดยทั่วไป ก.ล.ต. จะใช้เวลาพิจารณาคำขอของบริษัทไม่เกิน 45 วันนับจากวันที่ได้รับข้อมูลที่ครบถ้วน และเปิดเผยข้อมูลของบริษัทดังกล่าวไว้บนเวบไซต์ของ ก.ล.ต. (www.sec.or.th) ด้วย
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่า หุ้น IPO ที่ได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต. จะไม่มีความเสี่ยงในการลงทุนนะครับ เหมือนกับการที่มีเครื่องหมาย อ.ย. ก็ไม่ได้รับประกันว่าอาหารจะอร่อยเสมอไปไงครับ ผู้ลงทุนจะตัดสินใจจองซื้อหลักทรัพย์นั้นหรือไม่ เห็นว่าแพงไปหรือถูกดี ต้องศึกษาข้อมูลและพิจารณาดูครับ
รู้อย่างนี้แล้ว หากในครั้งต่อไป ท่านผู้อ่านต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นที่กำลังทำ IPO ก็สามารถดูข้อมูลบนเวบไซต์ ก.ล.ต. หรือโทรมาสอบถามที่ ก.ล.ต. (Help center : 0-2263-6000 กด 2) และหากจะสอบถามข่าวสารความเคลื่อนไหวของบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ล่ะก็ ต้องตลาดหลักทรัพย์ฯ เพราะบริษัทจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อมูลสารสนเทศของบริษัทผ่านระบบ (ELCID) ของตลาดหลักทรัพย์ฯ อยู่แล้วครับ
เรื่องต่อไป คือ การจับปั่นหุ้น เรื่องนี้สำคัญเพราะเป็นการคุ้มครองผู้ลงทุนรายย่อยและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ลงทุน ทั้ง ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้แบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ใกล้ชิดข้อมูลการซื้อขาย จะทำหน้าที่เป็นด่านหน้าในการตรวจสอบราคาและปริมาณการซื้อขายหุ้นว่ามีความผิดปกติหรือไม่ หากเห็นว่าอาจเข้าข่ายการกระทำความผิดก็จะรวบรวมข้อมูลส่งให้ ก.ล.ต. เพื่อตรวจสอบในเชิงลึกและดำเนินการกับผู้กระทำผิดตามกฎหมายต่อไป
พูดง่าย ๆ คือตลาดหลักทรัพย์ฯ จะทำหน้าที่เป็นผู้เฝ้าสังเกตการณ์ หากพบสิ่งผิดปกติหรือไม่ชอบมาพากล ก็จะแจ้งให้ตำรวจหรือเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ในที่นี้ คือ ก.ล.ต. ทราบเพื่อจับคนผิดมาลงโทษต่อไป แต่ถ้าหาก ก.ล.ต. เป็นผู้พบพฤติกรรมที่อาจเข้าข่ายการกระทำความผิดฐานปั่นหุ้นเอง ก็สามารถดำเนินการได้ทันทีเช่นกันครับ
เรื่องสุดท้ายที่น่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ลงทุน คือ เรื่องการเช็คสอบข่าวลือ ซึ่งเรื่องนี้เป็นความร่วมมือกันของ 4 องค์กร ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา คือ กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์ฯ และ ก.ล.ต. โดยแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจนว่า หากเป็นข่าวลือเกี่ยวกับบริษัทจดทะเบียน ให้สอบถามข้อเท็จจริงไปยังตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งจะประสานงานให้บริษัทจดทะเบียนที่ตกเป็นข่าวออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงต่อผู้ลงทุนโดยเร็วที่สุด
แต่หากเป็นข่าวลือที่เกี่ยวกับหน่วยงานทางการที่อยู่ในแวดวงตลาดการเงิน คือ กระทรวงการคลัง (รวมหน่วยงานในสังกัดของกระทรวงการคลัง) และธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้ลงทุนสามารถสอบถามมาที่ ก.ล.ต. ได้เลยครับ โดย ก.ล.ต. จะเป็นผู้ประสานงานไปยังเจ้าหน้าที่ขององค์กรเหล่านั้นเพื่อขอให้เปิดเผยหรือชี้แจงข้อเท็จจริงให้ผู้ลงทุนทราบโดยเร็วครับ
สำหรับวันนี้ ผมคงต้องลาไปก่อน สวัสดีครับ
==============================================
ที่มา http://www.sec.or.th/investor_edu/info_media/article/2549/Content_0000000806.jsp?categoryID=CAT0000316