-- น้ำมันไม่มีวันหมด --

กระทู้สนทนา
..

ตราบใดที่ น้ำยังคงหมุนเวียน ระเหยกลายเป็นไอ ตกลงมาเป็นฝน
ตราบนั้น น้ำมัน ก็มีให้ใช้ได้ตลอดกาล เพราะน้ำมัน คือ สิ่งที่หมุนเวียน เช่นเดียวกัน

หากน้ำมันเกิดจากซากพืชซากสัตว์ที่ทับถมกันมาเป็นเวลานานนับล้านปี และไม่หมุนเวียน
ป่านนี้ น้ำมันคงล้นโลกไปแล้ว
เพราะก่อนหน้านี้แค่ไม่ถึง 200 ปี  เราก็ยังไม่ได้นำน้ำมันขึ้นมาใช้

ก็ต้องเข้าใจเสียก่อนว่า  ซากพืช ซากสัตว์เหล่านั้น ก็มาจากซากพืชซากสัตว์อีกทอดหนึ่ง

เช่น
มวลร่างกายของเรา 60 ก.ก.  มันไม่ได้เกิดขึ้นมาเองลอยๆ
มันมาจากซากพืชซากสัตว์ที่เรากินเข้าไป วันละ 1-5 ก.ก.  ปีนึงเรากินประมาณ 1 ตัน  60 ปี เรากิน 60 ตัน
พวกซากพืชซากสัตว์ก็เช่นเดียวกัน
สัตว์กินสัตว์  สัตว์กินพืช  พืชกินสัตว์ พืชกินซากสัตว์ (ปุ๋ย)

หากโลกนี้ไม่มีการหมุนเวียน  เวลานับพันล้านปี ป่านนี้ เศษซากไฮโดรคาร์บอน มันคงท่วมโลก
และคงจะเต็มไปด้วยน้ำมัน เรียกว่าทะเลน้ำมันก็ได้
เพราะปริมาณน้ำบนโลก มีจำกัด เท่าที่โลกมีอยู่ตอนนี้
แต่จำนวนสัตว์  มันมาใหม่เรื่อยๆ  น้ำมันก็จะมากกว่าน้ำในที่สุด จนเป็นทะเลน้ำมัน
แต่ความจริงไม่ได้เป็นแบบนั้น
ทุกสิ่งล้วนหมุนเวียน
เราเผา ไฮโดรคาร์บอน  ได้ผลผลิต คือ คาร์บอนไดออกไซด์  และไอน้ำ   ลอยขึ้นไปบนฟ้า
ของพวกนี้ มันไม่พ้นแรงดึงดูดโลกหรอก  มันก็ตกลงมาเป็นฝน  มันก็ถูกต้นไม้ดูดกลับมา แล้วสัตว์ก็ไปกินพืชอีกทอด
มันก็กลับมาเป็น  ไฮโดรคาร์บอนอยู่ดี  หมุนเวียนอยู่อย่างนี้

แต่เมื่อเรายังไม่ดูดน้ำมันขึ้นมาใช้
กระบวนการมันก็เลยค่อนข้างสมดุล  เหมือนน้ำเต็มแก้วแล้ว  จะเทลงไปอีกมันก็ได้เท่านั้น
แต่เมื่อเราดูดน้ำมันมาใช้  มันก็จะมีกระบวนการ แทนที่น้ำมันเดิม ด้วยกระบวนการเกิดของน้ำมันเช่นกัน

คำถามว่า โลกใช้เวลาเป็นล้านปีเชียวหรือ กว่าจะทำให้ ไฮโดรคาร์บอน กลายเป็นน้ำมัน
มันไม่ต้องใช้เวลาขนาดนั้นหรอก
ลองคิดเล่นๆ
แค่เพียง อสุจิ เข้าผสมกับไข่  แป๊บเดียวก็กลายเป็นตัวขึ้นมาได้
น้ำมันก็เช่นกัน
เพียงมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม  ไฮโดรคาร์บอนก็กลายเป็นน้ำมันได้ในเวลาเพียงไม่กี่นาที  ขอเพียงมี raw material
พิสูจน์จาก  ไบโอดีเซลนั่นไง
มนุษย์ยังสังเคราะห์มาได้ด้วยเวลาเพียงเล็กน้อย
ธรรมชาติก็ทำแบบนั้นได้ไม่ต่างกัน  บางทีอาจจะดีกว่าด้วยซ้ำ
เพราะเราใช้พลังงาน และวัตถุดิบ แค่เล็กน้อย  มันก็เลยได้น้ำมันมาแบบเล็กน้อย
แต่โลก มีพลังงานความร้อนมหาศาล  มีแรงดึงดูดมหาศาล  ชนิดที่เรียกว่า
พวกแรงอัดแรงดันของระบบไฮดรอลิก  ยังเป็นแค่เศษเสี้ยวของแรงดึงดูดของโลก
แค่ลงไปใต้น้ำ 10000 เมตร  แรงดันก็มหาศาลแล้ว (จุดนั้น มีน้ำหนักกดอยู่ 10000 ตัน ต่อตารางเมตร)
แล้วที่ลึกลงไปถึงแกนโลก จะมีแรงกดดัน และความร้อนมากแค่ไหนก็ลองคิดดู

ฝุ่น ก๊าซ ไอน้ำ แม้แต่ก๊าซไฮโดรเจน  ที่ลอยอยู่
ล้วนแต่มีกระบวนการ เปลี่ยนแปลงกลับไปสู่การเป็นไฮโดรคาร์บอน
เพียงแต่เราจะรู้หรือเปล่าว่า มันมีกระบวนการอย่างไร
เช่น (อันนี้สมมุตินะ)
ไอน้ำ ก๊าซไฮโดรเจน คาร์บอนไดออกไซด์   อาจถูกเผาไหม้ (ได้รับพลังงาน) ที่ชั้นบรรยากาศ ในระดับใดระดับหนึ่งจากดวงอาทิตย์
แล้วเริ่มกลายเป็น ไฮโดรคาร์บอน ที่มีสถานะก๊าซ
แล้วก็ไม่พ้นแรงดึงดูดโลก ตกลงมาพร้อมกับฝน (เคยได้ยินคำว่าฝนกรดนะ พวกก๊าซที่จับกับไอน้ำแล้วตกลงมาเป็นฝนนั่นล่ะ)
ถูกดูดลงสู่ใจกลางโลก ถูกความร้อนของโลก และแรงดึงดูด บีบอัดกลายเป็นน้ำมัน แล้วเราก็สูบขึ้นมาใช้กันตอนนี้
(กระบวนการจริงๆ อาจไม่ใช่แบบนี้ก็ได้)

ประเด็นที่พูดไปก็คือ
ตราบใดก็ตามที่โลก มีวัตถุดิบ คือ คาร์บอนไดออกไซด์  น้ำ  และก๊าซไฮโดรเจน
และสภาพแวดล้อมของโลก ยังมีแหล่งพลังงาน คือ ดวงอาทิตย์ ที่เผาโลกอยู่อย่างนี้
สภาพแวดล้อมของโลกก็เหมาะสมต่อการเกิดน้ำมันได้ไม่ยากเลย

และเราก็จะมีน้ำมันใช้ไม่มีวันหมด
เพียงแต่กระบวนการเกิดน้ำมันรุ่นใหม่ๆ นั้น  สถานที่ที่เหมาะสมที่น้ำมันจะไปกองรวมกันอยู่ จะเป็นที่ใดแค่นั้น
และบริเวณนั้น สามารถนำขึ้นมาใช้ได้ง่ายกว่าที่อื่นๆ เท่านั้นเอง

อาจจะขัดใจหลายๆ คน  ที่เชื่อว่า น้ำมันจะหมดโลก
เพราะผู้ผลิตเอง ก็คงจะไม่รู้ว่า น้ำมันมันก็เกิดใหม่ได้ทุกวัน
หรืออาจจะรู้  แต่ก็ต้องทำให้คนเชื่อว่ามันหายาก  จะได้ขายแพงๆ

ที่พูดมาทั้งหมด  อาจผิดหรือถูกก็ได้
แต่ผมคิดไปเอง ว่า สภาพแวดล้อมของโลก มันเหมาะต่อการเกิดขึ้นของน้ำมันอยู่แล้วโดยธรรมชาติ
ก็ดูจากน้ำมันที่มีอยู่ก่อนแล้วสิ  ถ้ามันไม่เหมาะสม มันจะเกิดน้ำมันขึ้นมาได้หรือ
แล้วสภาพแวดล้อมโลก มันมีอะไรที่ทำให้ ไม่มีกระบวนการเกิดน้ำมันต่างไปจากแต่ก่อนล่ะ

..
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่