ประวัติศาสตร์นิยายไซไฟ Part II - ยุคทอง (Golden Age) แห่ง 3 ผู้ยิ่งใหญ่ ซีคลาร์ก ,อาสิมอฟ ,ไฮน์ไลน์

กระทู้ก่อนหน้านี้

http://ppantip.com/topic/30695066


.....................................................................................

ยุคของ 3 ผู้ยิ่งใหญ่


         จุดเริ่มสำคัญของยุคสมัยที่บังเกิด 3 ผู้ยิ่งใหญ่แห่งวงการนิยายไซไฟของโลกตะวันตกนั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่า มาจากการเปลี่ยนถ่ายสำคัญจากนิตยสารสู่การพิมพ์หนังสือ Pocket Book ภายใต้การบุกเบิกของ John Campbell บรรณาธิการของ Astounding Stories






         Campbel เป็นผู้ผลักดันให้เกิดการเขียนนิยายไซไฟ ภายใต้คอนเซปต์ที่ว่า “Social Science Fiction” ซึ่งเขาได้รับผลมาจากผลงานการเขียนของ อาเธอร์ ซีคลาร์ก เรื่อง New World ผลงานชิ้นนี้เสนอการ "แสวงหาโลกใหม่" เป็นการพยายามบอกมนุษย์ถึงสิ่งใหม่ๆที่โลกนี้กำลังรอคอยอยู่ ทั้งวิทยาการด้านต่างๆ รวมถึง โลกนอกอวกาศอันไกลโพ้น ซีคลาร์ก เป็นคนแรกๆที่นำนิยายไซไฟเข้าสู่ "เขตแดนของอวกาศ" และทำให้การเดินทางไม่รู้จบของจินตนาการของมนุษย์ผ่านนิยายและงานเขียนได้เริ่มต้นขึ้น

         ต่อจากซีคลาร์ก ผู้ที่เดินตามรอยมาคือ โรเบิร์ต เอ ไฮน์ไลน์ ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ตามด้วย ไอแซค อาสิมอฟ ซึ่งทั้งสองต่างเริ่มเขียนงานของตนเองขึ้นช่วงนี้ และเขียนงานต่อเนื่องจนส่งผลต่อการเคลื่อนตัวและเปลี่ยนผ่านของนิยายไซไฟในอเมริกาไปสู่ยุคหลังสงคราม พวกเขาทั้งสามคน จึงเป็นผู้นำนิยายไซไฟของยุคนี้ ซึ่งถูกเรียกว่า ยุคทอง (Goden Age)

         ผลงานชิ้นสำคัญในการเป็นนิยายไซไฟสะท้อนสังคม ของไฮน์ไลน์ คือ Starship Trooper ส่วนของอาสิมอฟคือ Foundation Trilogy ทั้งสองเรื่องเป็นผลงานไซไฟที่กล่าวถึงสงครามในโลกอนาคตง แต่เบื้องหลังและสิ่งที่สื่อออกมานั้นกลับสะท้อนถึงปัญหาทางสังคม ระบบการปกครอง และวิวัฒนาการทางความคิดของมนุษย์ในภาพรวมของอย่างชัดเจน และกลายเป็นแนวทางให้เรื่องอื่นๆเดินตามรอยมา


         นี่จึงเป็นยุคสมัยที่นิยายไซไฟ กำลังพาเราออกสู่อวกาศอันลี้ลับและไร้ซึ่งจุดสิ้นสุด

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่