เพลงจักรวาล…บทเพลงแด่การสำรวจอวกาศ



เทหวัตถุบนฟากฟ้าเป็นแรงบันดาลใจของมนุษย์เรามาทุกยุคสมัย นอกจากเทคโนโลยีก้าวหน้าที่ทำให้เราค้นพบความลับของจักรวาลมากขึ้นทีละนิด การสำรวจอวกาศยังจุดประกายสร้างสรรค์ซาวนด์ดนตรีใหม่ๆ มาตั้งแต่ยุคเริ่มแรก  และต่อไปนี้คือเรื่องราวของบทเพลงบางส่วน ที่จารึกไว้ในประวัติศาสตร์การสำรวจอวกาศของมวลมนุษยชาติ

1961 – ต่อจากโครงการต้นแบบอย่างเมอร์คิวรี่ และเจมินีที่เริ่มมาตั้งแต่ทศวรรษก่อนหน้า โครงการสำรวจอวกาศ Apolloของสหรัฐอเมริกาก็อุบัติขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งมนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์ แข่งกับโครงการสำรวจดวงจันทร์ ‘ลูนา’ ของสหภาพโซเวียต การสำรวจอวกาศส่งผลต่อวัฒนธรรมป็อบโดยรวม ด้านดนตรีส่งอิทธิพลต่อซาวน์ใหม่ๆ รวมถึงแนวเพลงอย่าง New Age และ Space Music

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

1965 – เดือนธันวาคม 1965 สถานีภาคพื้นดิน Houston ส่งสัญญาณวิทยุไปที่ยาน Gemini 7 ที่กำลังโคจรอยู่รอบโลก นักบินอวกาศ 2 คน ขอเลือกที่จะฟังเพลง ‘Symphony No.6’ ของบีโธเฟน


1969 –เพลง ‘Space Oddity’ ของเดวิด โบวี่ถูกปล่อยออกมาเพียง 11 วันก่อนหน้าที่ยาน Apollo 11 จะเดินทางถึงดวงจันทร์ เพลง ‘Fly Me To The Moon’ ของแฟรงค์ ซินาตรา( รีรีสมาตั้งแต่ปี 1954) ถูกเปิดขึ้นภายในยาน Apollo 11 ด้วยเครื่องเล่นแคสเซ็ทของนักบินอวกาศ Edwin Eugene Aldrin Jr. หลังจากยานลงจอดบนดวงจันทร์ และนีล อาร์มสตรองเหยียบพื้นดวงจันทร์ในวันที่ 24 กรกฎาคม

1977 – แผ่นเสียง Voyager Gold Record ถูกส่งขึ้นไปพร้อมกับยาน Voyager 1 และ 2 นอกจากจะทำหน้าที่สำรวจอวกาศแล้วยานดังกล่าวยังเป็น Time Capsule สำหรับสิ่งมีชีวิตทรงปัญญานอกโลกหรือมนุษย์ในอนาคตที่อาจค้นพบ ในแผ่นเสียงทองคำมีทั้งข้อมูลภาพและเสียงเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมที่หลากหลายของโลก รวมถึงเพลงคลาสสิกอย่าง ‘Symphony No.5’ และ ‘String Quartet No. 13 in B flat, Opus 130, Cavatina’ ของบีโธเฟน เพลงร็อคแอนด์โรล ‘Johnny B. Goode’ ของ Chuck Berry เพลงบลูส์อย่าง ‘Dark Was the Night’ ของ Blind Willie Johnson (เพลง Here Comes the Sun ของวงเดอะบิทเทิลไม่ได้ถูกบรรจุลงไปด้วยเนื่องจากปัญหาติดลิขสิทธิ์)

1986 – นักบินอวกาศ Ron McNaire น่าจะเป็นมนุษย์อวกาศคนแรกที่ได้แสดงและบันทึกเสียงดนตรีในอวกาศ เนื่องจากเขาวางแผนที่จะบันทึกเสียงการเดี่ยวเซ็กโซโฟนให้กับ Jean Michel Jarre ศิลปินเพลงอิเล็กโทรนิกนิวเอจนำไปใช้เป็นส่วนประกอบในการทำเพลง แต่น่าเสียดายที่กระสวยอวกาศ Challenger เกิดระเบิดขึ้นเพียง 73 วินาทีหลังจากที่ถูกปล่อยออกจากฐาน ต่อมา Jean Michel Jarre จึงแต่งเพลง ‘Last Rendez-Vous’ ขึ้นเพื่ออุทิศให้รอนและลูกเรือทุกคนที่เสียชีวิตจากโศกนาฎกรรม



2001- กีตาร์ Larrivée Parlor ได้รับการนำขึ้นไปบนสถานีอวกาศนานาชาติ และถูกเปลี่ยนมือเล่นโดยนักบินอวกาศหลายคน รวมถึง Chris Hadfield นักบินอวกาศชาวแคนาดาผู้บังคับการสถานีอวกาศฯ ซึ่งวางแผนจะแต่งเพลงต้นฉบับและบันทึกเสียงในสถานีอวกาศซึ่งมีแรงโน้มถ่วงแบบไมโครกราวิตี้
2005- ยานอวกาศและยานสำรวจ Cassini-Huygens อันเป็นการร่วมมือกันระหว่างนาซ่าและองค์การอวกาศยุโรปเดินทางถึงดาว Titan ซึ่งเป็นดาวบริวารดวงใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์ (ยานถูกส่งไปในปี 1997) นำเพลงจากโปรเจ็กต์ ‘Music To Titan’ จำนวน 4 เพลง ได้แก่ ‘Hot time’, ‘Bald James Deans’, ‘Lalala’ และ ‘No Love’  ซึ่งแต่งโดย 2 นักดนตรีชาฝรั่งเศส Julien Civange และ Louis Haéri ติดไปด้วย

2008- วันที่ 4 กุมภาพันธ์นาซ่าส่งคลื่นสัญญาณเพลง ‘Across The Universe’ ของ The Beatles ด้วยความเร็ว 186,000 ไมล์ต่อชั่วโมงไปที่ดาวเหนือซึ่งอยู่ห่างไกลจากโลก 431 ปีแสง เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองโอกาสครบรอบ 50 ปีที่อเมริกาส่งดาวเทียม Explorer 1 ขึ้นไปโคจรรอบโลกได้ในปี 1958 และครบรอบวาระ 40 ปีที่เดอะ บีทเทิล อัดเพลงดังกล่าว
เดือนเมษายนปีเดียวกัน เพลง ‘Saturn Calling’ ของศิลปินนักดนตรี Jeff Oster ชนะรางวัล Independent Music Award for Best New Age Song ประจำปี 2008 ด้วยไอเดียซึ่งนำ ‘เสียงของดาวเสาร์’ ที่ Cassini ยานอวกาศสำรวจดาวเสาร์ส่งกลับมา (ภาระกิจเริ่มต้นปี 1997 ส่งสัญญาณกลับมาสู่โลกในปี 2002) ไปใช้เป็นองค์ประกอบภายในเพลงดังกล่าวซึ่งเป็นเพลสไตล์ New Age Jazz

2012 – วันที่ 6 สิงหาคมยานสำรวจ Curiosity Rover ลงแตะพื้นดาวอังคาร และส่งสัญญานเพลง ‘Reach for The Stars’ กลับสู่โลก (นาซ่ามอบหมายให้ศิลปิน will.i.am แต่งเพลงให้เพื่อการนี้) นับเป็นเพลงแรกในประวัติศาสตร์ที่มีการส่งสัญญาณเพลงกลับมาสู่โลกจากดาวเคราะห์ดวงอื่น

2013 –นักบินอวกาศ Chris Hadfield เข้าประจำการบนสถาณีอวกาศนานาชาติ เขาแต่งและบันทึกเพลงออริจินอลหลายเพลง รวมถึง บันทึกเพลงคัฟเวอร์และมิวสิควิดิโอ ‘Space Oddity’ ของเดวิด โบวี่บนสถานีอวกาศนานาชาติ มียอดวิวในยูธูปสูงกว่า 26 ล้านวิว เป็นเพลงแรกในประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกเสียงและถ่ายทำมิวสิกวิดิโอกันในอวกาศ
2015 – หลังจากที่ Chris Hadfield ปลดประจำการจากหน้าที่นักบินอวกาศ อัลบั้ม ‘SPACE SESSIONS: Songs From A Tin Can’ รีรีสออกมา ในวันที่ 9 ตุลาคม อัลบั้มบรรจุ 11 แทรคเพลงต้นฉบับที่คริสใช้เวลาว่างแต่งขึ้นระหว่างประจำการอยู่บนสถานีอวกาศ 
Cr.https://meearaiblog.wordpress.com/2016/08/24/spacemusic/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่