พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสว่า
ภิกษุ ท. ! ลาภสักการะและเสียงเยินยอ เป็นอันตรายที่ทารุณแสบเผ็ดหยาบคาย ต่อการบรรลุพระนิพพานอันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า.
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนตัวกังสฬกะ ซึ่งกินคูถเป็นอาหาร อิ่มแล้วด้วยคูถ ท้องป่องด้วยคูถ ; อนึ่ง กองคูถใหญ่ ก็มีอยู่ตรงหน้าของมันเพราะเหตุนั้นมันจึงนึกดูหมิ่นกังสฬกะตัวอื่นว่า “เราผู้มีคูถเป็นภักษา อิ่มแล้วด้วยคูถ ท้องป่องด้วยคูถ. อนึ่ง กองคูถใหญ่ตรงหน้าของเราก็ยังมี.กังสฬกะตัวอื่น มีบุญน้อย มีเกียรติน้อย ไม่รวยลาภด้วยคูถ” ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ก็เหมือนกัน, เป็นผู้ถูกลาภสักการะและเสียงเยินยอครอบงำเอาแล้ว มีจิตติดแน่นอยู่ในสิ่งนั้น ๆ, ในเวลาเช้าครองจีวร ถือบาตร เข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน หรือในเมือง, เธอได้ฉันตามพอใจจนอิ่มแล้วในที่นั้นด้วย, ทั้งเขาก็นิมนต์เพื่อฉันในวันพรุ่งนี้ด้วย. ของบิณฑบาตก็เต็มบาตรกลับมาด้วย. ภิกษุนี้ ครั้นกลับมาถึงวัดแล้ว ก็พูดพล่าม ในท่ามกลางหมู่เพื่อนภิกษุว่า
“เราได้ฉันตามพอใจจนอิ่มแล้ว ทั้งเขายังนิมนต์เพื่อฉันในวันพรุ่งนี้อีก, ของบิณฑบาตของเรานี้ก็เต็มบาตรกลับมา, เรารวยลาภด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลาน ปัจจัยเภสัชบริกขาร. ส่วนภิกษุอื่น ๆ เหล่านี้ มีบุญน้อย มีอภินิหารน้อยจึงไม่รวยลาภด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริกขาร”ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้นถูกลาภสักการะและเสียงเยินยอครอบงำเอาแล้ว มีจิตติดแน่นอยู่ในสิ่งนั้น ๆ ย่อมนึกดูหมิ่นภิกษุเหล่าอื่น ผู้มีศีลเป็นที่รัก ภิกษุ ท. ! การได้ลาภของโมฆบุรุษชนิดนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อทุกข์ ไร้ประโยชน์เกื้อกูล สิ้นกาลนาน.
ภิกษุ ท. ! ลาภสักการะและเสียงเยินยอ เป็นอันตรายที่ทารุณแสบเผ็ดหยาบคาย ต่อการบรรลุพระนิพพานอันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ด้วยอาการอย่างนี้. เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกใจไว้ดังนี้ว่า “เราทั้งหลาย จักไม่เยื่อใยในลาภสักการะและเสียงเยินยอที่เกิดขึ้น. อนึ่ง ลาภสักการะและเสียงเยินยอที่เกิดขึ้นแล้ว ต้องไม่มาห่อหุ้มอยู่ที่จิตของเรา” ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกใจไว้ อย่างนี้แล.
บาลี พระพุทธภาษิต นิทาน. สํ. ๑๖/๒๖๙/๕๔๗-๘.
ผู้กินคูถ
ภิกษุ ท. ! ลาภสักการะและเสียงเยินยอ เป็นอันตรายที่ทารุณแสบเผ็ดหยาบคาย ต่อการบรรลุพระนิพพานอันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า.
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนตัวกังสฬกะ ซึ่งกินคูถเป็นอาหาร อิ่มแล้วด้วยคูถ ท้องป่องด้วยคูถ ; อนึ่ง กองคูถใหญ่ ก็มีอยู่ตรงหน้าของมันเพราะเหตุนั้นมันจึงนึกดูหมิ่นกังสฬกะตัวอื่นว่า “เราผู้มีคูถเป็นภักษา อิ่มแล้วด้วยคูถ ท้องป่องด้วยคูถ. อนึ่ง กองคูถใหญ่ตรงหน้าของเราก็ยังมี.กังสฬกะตัวอื่น มีบุญน้อย มีเกียรติน้อย ไม่รวยลาภด้วยคูถ” ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ก็เหมือนกัน, เป็นผู้ถูกลาภสักการะและเสียงเยินยอครอบงำเอาแล้ว มีจิตติดแน่นอยู่ในสิ่งนั้น ๆ, ในเวลาเช้าครองจีวร ถือบาตร เข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน หรือในเมือง, เธอได้ฉันตามพอใจจนอิ่มแล้วในที่นั้นด้วย, ทั้งเขาก็นิมนต์เพื่อฉันในวันพรุ่งนี้ด้วย. ของบิณฑบาตก็เต็มบาตรกลับมาด้วย. ภิกษุนี้ ครั้นกลับมาถึงวัดแล้ว ก็พูดพล่าม ในท่ามกลางหมู่เพื่อนภิกษุว่า
“เราได้ฉันตามพอใจจนอิ่มแล้ว ทั้งเขายังนิมนต์เพื่อฉันในวันพรุ่งนี้อีก, ของบิณฑบาตของเรานี้ก็เต็มบาตรกลับมา, เรารวยลาภด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลาน ปัจจัยเภสัชบริกขาร. ส่วนภิกษุอื่น ๆ เหล่านี้ มีบุญน้อย มีอภินิหารน้อยจึงไม่รวยลาภด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริกขาร”ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้นถูกลาภสักการะและเสียงเยินยอครอบงำเอาแล้ว มีจิตติดแน่นอยู่ในสิ่งนั้น ๆ ย่อมนึกดูหมิ่นภิกษุเหล่าอื่น ผู้มีศีลเป็นที่รัก ภิกษุ ท. ! การได้ลาภของโมฆบุรุษชนิดนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อทุกข์ ไร้ประโยชน์เกื้อกูล สิ้นกาลนาน.
ภิกษุ ท. ! ลาภสักการะและเสียงเยินยอ เป็นอันตรายที่ทารุณแสบเผ็ดหยาบคาย ต่อการบรรลุพระนิพพานอันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ด้วยอาการอย่างนี้. เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกใจไว้ดังนี้ว่า “เราทั้งหลาย จักไม่เยื่อใยในลาภสักการะและเสียงเยินยอที่เกิดขึ้น. อนึ่ง ลาภสักการะและเสียงเยินยอที่เกิดขึ้นแล้ว ต้องไม่มาห่อหุ้มอยู่ที่จิตของเรา” ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกใจไว้ อย่างนี้แล.
บาลี พระพุทธภาษิต นิทาน. สํ. ๑๖/๒๖๙/๕๔๗-๘.