พระอาจารย์เกษม อาจิณณฺสีโล ในข่าวเรื่องเล่าเช้านี้ หัวข้อข่าว " พระโลดโผน"

พระอาจารย์เกษม อาจิณณฺสีโล ในข่าวเรื่องเล่าเช้านี้ หัวข้อข่าว " พระโลดโผน"
http://www.dharmatarzan.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539646343&Ntype=2


(เล่มสีน้ำเงินที่ 57 หน้า 410 บรรทัดที่ 1)
๗. คูถปาณกชาดก
หนอนท้าช้างสู้
[๓๐๓] ท่านก็เป็นผู้กล้าหาญ มาพบกับเราผู้กล้าหาญ อาจประหารได้ไม่ย่นย่อ มาซิช้าง ท่านจงกลับมาก่อน ท่านกลัวหรือจึงได้หนีไป ขอให้พวกคนชาวอังคะและมคธะได้เห็นความกล้าหาญของเราและของท่านเถิด.

[๓๐๔] เราจักไม่ต้องฆ่าเจ้าด้วยเท้า งา หรือด้วยงวงเลย เราจักฆ่าเจ้าด้วยคูถ หนอนตัวเน่า ควรฆ่าด้วยของเน่าเช่นกัน.

จบ คูถปาณกชาดกที่ ๗
อรรถกถาคูถปาณกชาดกที่  ๗
///พระศาสดาเมื่อประทับอยู่  ณ  พระเชตวันมหาวิหาร  ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง     ตรัสพระธรรมเทศนานี้    มีคำเริ่มต้นว่าสูโร สูเรน สงฺคมฺม ดังนี้.
///ได้ยินว่า    ในครั้งนั้นมีบ้านในนิคมแห่งหนึ่ง     จากเชตวันมหาวิหารประมาณโยชน์กับหนึ่งคาวุต.    ที่บ้านนั้นมีสลากภัตรและปักขิกภัตรเป็นอันมาก.    มีบุรุษด้วนผู้หนึ่ง    ชอบซักถาม ปัญหาอยู่ที่บ้านนั้น.    บุรุษนั้นถามปัญหาภิกษุหนุ่มและสามเณรที่ไปรับสลากภัตรและปักขิกภัตรว่า    พวกไหนดื่ม    พวกไหนเคี้ยวกิน    พวกไหนบริโภค    ทำให้ภิกษุและสามเณรเหล่านั้นไม่สามารถตอบปัญหาได้    ให้ได้อาย.     ภิกษุและสามเณรทั้งหลายจึงไม่ไปบ้านนั้นเพื่อรับสลากภัตรและปักขิกภัตร     เพราะเกรงบุรุษด้วนนั้น.
(เล่มสีน้ำเงินที่ 57 หน้า 411 บรรทัดที่ 6)
///อยู่มาวันหนึ่งภิกษุรูปหนึ่งไปโรงสลากถามว่าท่านผู้เจริญ      สลากภัตรหรือปักขิกภัตรที่บ้านโน้นยังมีอยู่หรือเมื่อภิกษุผู้เป็นภัตถุทเทสก์กล่าวว่า   ยังมีอยู่   ท่าน   แต่ที่บ้านนั้นมีบุรุษด้วนคนหนึ่ง    คอยถามปัญหา    ด่าว่าภิกษุสามเณรที่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้  จึงไม่มีใครอยากไปเพราะเกรงบุรุษด้วนนั้นจึงกล่าวว่า    ท่านผู้เจริญ      ขอจงให้ภัตรที่บ้านนั้นถึงผมเถิด    ผมจักทรมานบุรุษนั้น   ทำให้หมดพยศ   จะทำให้หนีไปเพราะเห็นผมตั้งแต่นั้นเลย.  ภิกษุทั้งหลายรับว่า   ดีละ    จะให้ภัตรที่บ้านนั้นถึงแก่ท่าน    ภิกษุนั้นจึงไปที่บ้านนั้นห่มจีวรที่ประตูบ้าน.    บุรุษด้วนเห็นภิกษุนั้น   ก็ปรี่เข้าไปหาดังแพะดุ    กล่าวว่า  สมณะจงแก้ปัญหาของข้าพเจ้าเถิด.   ภิกษุนั้นกล่าวว่า   อุบาสก   ขอให้อาตมาเที่ยวบิณฑบาตในบ้านรับข้าวยาคูมาศาลานั่งพักเสียก่อนเถิด.บุรุษด้วนเมื่อภิกษุนั้นรับข้าวยาคู    แล้วมาสู่ศาลานั่งพัก     ก็ได้กล่าวเหมือนอย่างนั้น.    ภิกษุนั้นก็ผัดว่า    ขอดื่มข้าวยาคูก่อนขอกวาดศาลานั่งพักก่อน   ขอรับสลากภัตรมาก่อน   ครั้นรับสลากภัตรแล้ว   จึงให้บุรุษนั้นถือบาตร   กล่าวว่า    ตามมาเถิด    เราจักแก้ปัญหาท่าน   พาไปนอกบ้าน   จีบจีวรพาดบ่า   รับบาตรจากมือของบุรุษนั้น   ยืนอยู่.   บุรุษนั้นกล่าวเตือนว่า   สมณะจงแก้ปัญหาของข้าพเจ้า.    ภิกษุกล่าวว่า    เราจะแก้ปัญหาของท่าน   แล้วผลักโครมเดียวล้มลง    โบยตีดังจะบดกระดูกให้ละเอียด     เอาคูถยัดปากขู่สำทับว่า     คราวนี้ตั้งแต่นี้ไป     เราจะคอยสืบรู้ในเวลาที่ถามปัญหาไร ๆ     กะภิกษุที่มาบ้านนี้.     ตั้งแต่นั้นบุรุษด้วนเห็นภิกษุแล้วก็หนี.    ครั้นต่อมา     การกระทำของภิกษุนั้นได้ปรากฏขึ้นในหมู่สงฆ์.    ภิกษุทั้งหลาย     จึงประชุมสนทนากันในโรงธรรมว่าดูก่อนอาวุโส    ได้ยินว่า    ภิกษุรูปโน้น    เอาคูถใส่ปากบุรุษด้วนแล้วก็ไป.    พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า    ดูก่อนภิกษุทั้งหลายบัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร     เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว  จึงตรัสว่า   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ภิกษุนั้นจะรุกรานบุรุษด้วนด้วยคูถในบัดนี้เท่านั้นก็หาไม่    แม้เมื่อก่อนก็ได้รุกรานแล้วเหมือนกัน แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.
///ในอดีตกาลชาวอังคะและมคธทั้งหลาย     ต่างก็ไปมาหาสู่ยังแว่นแคว้นของกันและกัน.     วันหนึ่งต่างเข้าไปอาศัยบ้านหลังหนึ่งที่พรมแดนของรัฐทั้งสอง    ดื่มสุรา    กินปลาเนื้อกันแล้ว    ก็เทียมยานออกเดินทางแต่เช้าตรู่.     ในเวลาที่ชนเหล่านั้นไปกันแล้วหนอนกินคูถตัวหนึ่งได้กลิ่นคูถจึงมา     เห็นสุราที่เขาทิ้งไว้ตรงที่นั่งกัน  จึงดื่มด้วยความกระหาย   ก็เมาไต่ขึ้นบนกองคูถ.  คูถสด  ๆก็ยุบลงหน่อยหนึ่ง     เมื่อหนอนไต่ขึ้นไป.     หนอนนั้นก็ร้องว่า แผ่นดินทานตัวเราไปไม่ได้.     ขณะนั้นเองช้างตกมันตัวหนึ่งมาถึงที่นั้นได้กลิ่นคูถแล้วรังเกียจก็หลีกไป.     หนอนเห็นช้างนั้นแล้วเข้าใจว่า     ช้างนี้กลัวเราจึงหนีไป    เราควรจะทำสงครามกับช้างนี้จึงร้องเรียกช้างนั้น กล่าวคาถาแรกว่า :-

***ท่านก็เป็นผู้กล้าหาญ    มาพบกับเราผู้กล้าหาญ  อาจประหารได้ไม่ย่นย่อ  มาซิช้าง  ท่านจงกลับมาก่อน    ท่านกลัวหรือจึงได้หนีไป    ขอให้พวกชาวอังคะและมคธะได้เห็นความกล้าหาญของเราและของท่านเถิด.

//เนื้อความแห่งคาถานี้ว่า   ท่านก็เป็นผู้กล้าหาญมาพบกับเราผู้กล้าหาญ   ผู้ไม่ย่อท้อทางความเพียร   บากบั่น   เป็นนักต่อสู้เพราะสามารถในทางสู้รบ     เหตุใดจึงไปเสียไม่ประสงค์การสงครามเล่า.    การประหารกันสักทีเดียว    ก็ควรกระทำมิใช่หรือ.เพราะฉะนั้น    ดูก่อนช้าง   จงมาเถิด    จงกลับก่อน   ท่านกลัวตายด้วยเหตุเพียงเท่านั้น    จะกลัวหนีไปเทียวหรือ    ชาวอังคะและมคธทั้งหลายผู้อยู่พรมแดนนี้    จงคอยดูความเก่งกาจ     ความทรหดอดทนของเราและของท่าน.     ช้างนั้นแผดเสียงร้องได้ฟังคำของหนอนนั้นแล้ว   จึงกลับไปหาหนอน   เมื่อจะรุกรบหนอนนั้น   ได้กล่าวคาถาที่  ๒ ว่า

**เราจักไม่ต้องฆ่าเจ้าด้วยเท้า   งา   หรือด้วยงวงเลย  เราจักฆ่าเจ้าด้วยคูถ  หนอนตัวเน่า  ควรฆ่าด้วยของเน่าเช่นกัน.

//เนื้อความแห่งความคาถานั้นว่า     เราจักไม่ฆ่าเจ้าด้วยเท้าเป็นต้น    แต่เราจักฆ่าเจ้าด้วยคูถจึงสมควรแก่เจ้า    ก็และครั้นช้างกล่าวอย่างนี้แล้ว   จึงกล่าวต่อไปว่า   สัตว์กินคูถเน่า   ควรตายด้วยของเน่า.
//ช้างจึงถ่ายคูถก้อนใหญ่ลงบนหัวหนอนนั้นแล้วถ่ายปัสสาวะรดยังหนอนให้ถึงแก่ความตายในที่นั้นเอง แผดเสียงเข้าป่าไป.
//พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว    ทรงประชุมชาดก.  ตัวหนอนในครั้งนั้นได้เป็นบุรุษด้วนในครั้งนี้   ช้างได้เป็นภิกษุรูปนั้น   ส่วนเทวดาผู้เกิดในไพรสณฑ์นั้น    เห็นเหตุนั้นโดยประจักษ์ คือ เราตถาคตนี้แล.
___________________________________________
(เล่มสีน้ำเงินที่ 43 หน้า 491 บรรทัดที่ 1)
๒๕. เรื่องพระปิลินทวัจฉเถระ  [๒๘๘]
**ข้อความเบื้องต้น
//พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน   ทรงปรารภพระปิลินท-วัจฉเถระ  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  " อกฺกฺกสํ" เป็นต้น.
***พระปิลินทวัจฉะใช้วาทะว่าคนถ่อยจนติดปาก
ได้ยินว่า ท่านปิลินทวัจฉะนั้น   กล่าวคำเป็นต้นว่า "
//คนถ่อย  จงมา,คนถ่อย  จงไป"  ย่อมร้องเรียกทั้งคฤหัสถ์ทั้งบรรพชิต  ด้วยวาทะว่าคนถ่อยทั้งนั้น.
//ภายหลังวันหนึ่ง ภิกษุเป็นอันมากกราบทูลแด่พระศาสดาว่า  " พระเจ้าข้า ท่านปิลินทวัจฉะ  ย่อมร้องเรียกภิกษุทั้งหลาย  ด้วยยวาทะว่าคนถ่อย."พระศาสดารับสั่งให้หาท่านมาแล้ว     ตรัสถามว่า   " ปิลินทวัจฉะได้ยินว่า     เธอร้องเรียกภิกษุทั้งหลาย     ด้วยวาทะว่าคนถ่อยจริงหรือ ?"เมื่อท่านกราบทูลว่า   " อย่างนั้น    พระเจ้าข้า "   จึงทรงกระทำบุพเพนิวาสของท่านปิลินทวัจฉะนั้นไว้ในพระหฤทัย    แล้วตรัสว่า    " ภิกษุทั้งหลายพวกเธออย่ายกโทษแก่ภิกษุชื่อปิลินทวัจฉะเลย,   ภิกษุทั้งหลาย  วัจฉะหามีโทสะในภายใน   ร้องเรียกภิกษุทั้งหลายด้วยวาทะว่า  คนถ่อยไม่,    ภิกษุ-ทั้งหลาย  ๕๐๐ ชาติของภิกษุชื่อวัจฉะไม่สับสนกัน,   ทั้งหมดนั้นเกิดแล้วในตระกูลพราหมณ์  ในภายหลัง,  วาทะคนถ่อยนั้น     เธอร้องเรียกมาแล้วตลอดกาลนาน,     ถ้อยคำกระทบกระทั่งชนเหล่าอื่น    อันเป็นคำระคายหูคำหยาบคายนั่นเทียว  
ชื่อว่าย่อมไม่มีแก่พระขีณาสพ,  เพราะว่าบุตรของเรากล่าวอย่างนั้น   ด้วยอำนาจแห่งความเคยชิน"    
เมื่อจะทรงแสดงธรรมจึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
*** อกฺกฺกสํ   วิญฺญาาปนึ             คิรึ   สจฺจํ  อุทีรเย
ยาย  นาภิสเช  กญฺจิ              ตมหํ   พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ.
" ผู้ใด  พึงกล่าวถ้อยคำอันไม่ระคายหู  อันให้รู้
กันได้  เป็นคำจริง  อันเป็นเหตุไม่ยังใคร ๆ ให้ขัดใจ,
เราเรียกผู้นั้นว่า   เป็นพราหมณ์."
***แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  อกฺกฺกสํ   ได้แก่ คำไม่หยาบ.
บทว่า วิญฺญาาปนึ  ได้แก่ ให้รู้เนื้อความกันได้.
บทว่า สจฺจํ  ได้แก่   เป็นเนื้อความอันจริง.
บทว่า นาภิสเช  เป็นต้น   ความว่า บุคคลไม่พึงยังบุคคลอื่นให้ข้องใจ
//ด้วยอำนาจแห่งการให้เขาโกรธ  ด้วยถ้อยคำอันใด,  ธรรมดาพระขีณาสพพึงกล่าวถ้อยคำเห็นปานนั้นนั่นแล;    เหตุนั้น   เราจึงเรียกผู้นั้นว่า    เป็นพราหมณ์.
//ในกาลจบเทศนา   ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย    มีโสดาปัตติผลเป็นต้น   ดังนี้แล.
___________________________________

**(เล่มสีน้ำเงินที่ 4 หน้า 764 บรรทัดที่ 4)
พระบัญญัติ
๑๒๓.  ๔.  อนึ่ง ภิกษุใด  โกรธ  น้อยใจ ให้ประหารแก่ภิกษุ เป็นปาจิตตีย์.

**(เล่มสีน้ำเงินที่ 4 หน้า 766 บรรทัดที่ 1)
//ในคำว่า  ปหารํ  เทติ  อาปตฺติ  ปาจิตฺติยสฺส  นี้     มีวินิจฉัยว่าเมื่อภิกษุให้ประหารด้วยความเป็นผู้ประสงค์จะประหาร  ถ้าแม้นผู้ถูกประหารตายก็เป็นเพียงปาจิตตีย์.  เพราะการประหาร (นั้น) มือหรือเท้าหัก  หรือศีรษะแตกก็เป็นปาจิตตีย์เท่านั้น.  

//ตัดหู  หรือตัดจมูก  ด้วยความประสงค์จะทำให้เสียโฉม
อย่างนี้ว่า   เราจะทำเธอให้หมดสง่าในท่ามกลางสงฆ์   ก็เป็นทุกกฏ.

//บทว่า   อนุปสมฺปนฺนสฺส   มีความว่า   ภิกษุให้ประหารแก่คฤหัสถ์หรือบรรพชิต   แก่สตรีหรือบุรุษ   โดยที่สุด   แม้แก่สัตว์ดิรัจฉาน   เป็นทุกกฏ.
//แต่ถ้าว่า   มีจิตกำหนัด   ประหารหญิง   เป็นสังฆาทิเสส.

สองบทว่า   เกนจิ   วิเหฐิยมาโน   ได้แก่   ถูกมนุษย์   หรือสัตว์ดิรัจฉานเบียดเบียนอยู่.
บทว่า โมกฺขาธิปฺปาโย  คือ  ปรารถนาความพ้นแก่ตนเองจากมนุษย์เป็นต้น นั้น.
สองบทว่า   ปหารํ  เทติ   มีความว่า  ภิกษุให้ประหารด้วยกาย  ของเนื่องด้วยกาย
และของที่ขว้างไปอย่างใดอย่างหนึ่ง  ไม่เป็นอาบัติ.  
ถ้าแม้นภิกษุเห็นโจรก็ดี   ข้าศึกก็ดี   มุ่งจะเบียดเบียนในระหว่างทางกล่าวว่า    แน่ะอุบาสก !    เธอจงหยุดอยู่ในที่นั้นนั่นแหละ,    อย่าเข้ามา   แล้วประหารผู้ไม่เชื่อฟังคำ
กำลังเดินเข้ามาด้วยไม้ค้อน    หรือด้วยศัสตราพร้อมกับพูดว่า   ไปโว้ย   แล้วไปเสีย.
ถ้าเขาตายเพราะการประหารนั้น   ไม่เป็นอาบัติเหมือนกัน.  

แม้ในพวกเนื้อร้ายก็นัยนี้เหมือนกัน.  คำที่เหลือในสิกขาบทนี้   ตื้นทั้งนั้น.
ก็สมุฏฐานเป็นต้น    ของสิกขาบทนั้น   เป็นเช่นเดียวกับปฐมปาราชิก
แต่สิกขาบทนี้เป็นทุกขเวทนา   ดังนี้แล.
___________________________________________
ยังมีต่อที่คอมเม้น เนื่องจากตัวหนังสือเกิน
1.
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  ศาสนาพุทธ ปฏิบัติธรรม พระไตรปิฎก ทำบุญ ศาสนา
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่