แต่เรื่องของเรื่อง ก็ฮือฮากันเฉพาะวันจัดงานอีเวนต์โชว์สื่อแล้วก็หายไป กระแสการทุจริตคอรัปชันก็กลับมาปกคลุมประเทศไทยเหมือนจอกแหนในบ่อน้ำ
ไม่มีทางย่อยสลาย ปราบปรามกันง่ายๆ
ที่แน่ๆช่วงปีหลังๆของรัฐบาล ประเด็นการชักหัวคิวกลายเป็นเรื่องธรรมดาที่รู้กันในวงการผู้รับเหมาประมูลงานหน่วยรัฐ โดยเฉพาะตัวละครอย่างเจ๊ “ด” ที่โด่งดังมากๆ โผล่ไปเกี่ยวโยงกับโครงการแทบจะทุกกระทรวง สลับกับ “นายหน้า” ที่อ้างคำสั่งตรงจากคนเมืองนอก ส่งมาคุมบ่อเงินบ่อทองในกระทรวงต่างๆ
ขณะที่รัฐมนตรีเป็นเพียงตุ๊กตา มีหน้าที่แค่ตัดริบบิ้นเปิดงาน เท่านั้น
กระแสหวาดระแวง ความไม่ไว้วางใจที่มีต่อรัฐบาลเริ่มขยายวงกว้าง
ตามปรากฏการณ์สะท้อนจากโพลสำรวจความคิดเห็นโครงการรับจำนำข้าวที่ตัวเลขออกมาประชาชนเกินกว่าร้อยละ 80 เชื่อว่ามีการทุจริตจริง
เครดิตด้านความโปร่งใสของรัฐบาลแทบไม่เหลือ
ผลสะเทือนลามต่อเนื่องมาถึงโครงการเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท เพื่อพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม ก็ส่อเค้าว่าจะสะดุด จากกรณีที่นายคณิต ณ นคร ประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมายฯ ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี และประธานสภา เตือนว่า ร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ส่อขัดรัฐธรรมนูญว่าด้วยการคลังและงบประมาณ
จุดสำคัญสุดมันจึงอยู่ที่นักการเมือง ฝ่ายถืออำนาจรัฐที่คุมเกมนั่นแหละตัวการใหญ่
ไม่เช่นนั้นคงไม่มีปรากฏการณ์ของ “ธุรกิจการเมือง” ที่ฟูเฟื่องขึ้นมา นับตั้งแต่ยุคที่อดีตพรรคไทยรักไทยเรืองอำนาจเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
เริ่มตั้งแต่การตั้งพรรคหรือกลุ่มการเมือง ทุ่มทุนระดม ส.ส.เข้าสังกัดเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจรัฐ วางเกมบริหารแบบซับซ้อน เข้าลักษณะทุจริตเชิงนโยบายให้ยากต่อการเอาผิดทางกฎหมาย
แล้วก็ใช้อำนาจรัฐเอื้อประโยชน์ธุรกิจกลุ่มทุนการเมือง
จากอดีตที่สินบนเป็นแค่เรื่องน้ำใจ พัฒนาเรื่อยมาเป็นการชักหัวคิว 5 เปอร์เซ็นต์ หนักขึ้นเป็น 10 เปอร์เซ็นต์ 20 เปอร์เซ็นต์ ล่าสุดขูดกันเลือดสาด 30 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป
ฟาดกันคำโตๆเป็นล่ำเป็นสัน
จากตัวเลขสิบล้าน ร้อยล้าน พัฒนาการเป็นหลักหมื่นล้าน แสนล้าน
แต่ไม่ว่าจะพัฒนาการไปไกลแค่ไหน ธุรกิจการเมืองก็วนกลับมาในรูปแบบของ “บริษัทจำกัด”
ตัดตอนจากไทยรัฐ
ป้าปูแดงโชว์อีเวนต์ปราบโกง ฤ แค่สร้างภาพ
ไม่มีทางย่อยสลาย ปราบปรามกันง่ายๆ
ที่แน่ๆช่วงปีหลังๆของรัฐบาล ประเด็นการชักหัวคิวกลายเป็นเรื่องธรรมดาที่รู้กันในวงการผู้รับเหมาประมูลงานหน่วยรัฐ โดยเฉพาะตัวละครอย่างเจ๊ “ด” ที่โด่งดังมากๆ โผล่ไปเกี่ยวโยงกับโครงการแทบจะทุกกระทรวง สลับกับ “นายหน้า” ที่อ้างคำสั่งตรงจากคนเมืองนอก ส่งมาคุมบ่อเงินบ่อทองในกระทรวงต่างๆ
ขณะที่รัฐมนตรีเป็นเพียงตุ๊กตา มีหน้าที่แค่ตัดริบบิ้นเปิดงาน เท่านั้น
กระแสหวาดระแวง ความไม่ไว้วางใจที่มีต่อรัฐบาลเริ่มขยายวงกว้าง
ตามปรากฏการณ์สะท้อนจากโพลสำรวจความคิดเห็นโครงการรับจำนำข้าวที่ตัวเลขออกมาประชาชนเกินกว่าร้อยละ 80 เชื่อว่ามีการทุจริตจริง
เครดิตด้านความโปร่งใสของรัฐบาลแทบไม่เหลือ
ผลสะเทือนลามต่อเนื่องมาถึงโครงการเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท เพื่อพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม ก็ส่อเค้าว่าจะสะดุด จากกรณีที่นายคณิต ณ นคร ประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมายฯ ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี และประธานสภา เตือนว่า ร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ส่อขัดรัฐธรรมนูญว่าด้วยการคลังและงบประมาณ
จุดสำคัญสุดมันจึงอยู่ที่นักการเมือง ฝ่ายถืออำนาจรัฐที่คุมเกมนั่นแหละตัวการใหญ่
ไม่เช่นนั้นคงไม่มีปรากฏการณ์ของ “ธุรกิจการเมือง” ที่ฟูเฟื่องขึ้นมา นับตั้งแต่ยุคที่อดีตพรรคไทยรักไทยเรืองอำนาจเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
เริ่มตั้งแต่การตั้งพรรคหรือกลุ่มการเมือง ทุ่มทุนระดม ส.ส.เข้าสังกัดเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจรัฐ วางเกมบริหารแบบซับซ้อน เข้าลักษณะทุจริตเชิงนโยบายให้ยากต่อการเอาผิดทางกฎหมาย
แล้วก็ใช้อำนาจรัฐเอื้อประโยชน์ธุรกิจกลุ่มทุนการเมือง
จากอดีตที่สินบนเป็นแค่เรื่องน้ำใจ พัฒนาเรื่อยมาเป็นการชักหัวคิว 5 เปอร์เซ็นต์ หนักขึ้นเป็น 10 เปอร์เซ็นต์ 20 เปอร์เซ็นต์ ล่าสุดขูดกันเลือดสาด 30 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป
ฟาดกันคำโตๆเป็นล่ำเป็นสัน
จากตัวเลขสิบล้าน ร้อยล้าน พัฒนาการเป็นหลักหมื่นล้าน แสนล้าน
แต่ไม่ว่าจะพัฒนาการไปไกลแค่ไหน ธุรกิจการเมืองก็วนกลับมาในรูปแบบของ “บริษัทจำกัด”
ตัดตอนจากไทยรัฐ