[กระทู้มุงกองทุน] วันหยุด 6 กรกฎาคม 2556

กระทู้คำถาม
ตอนแรกว่าจะโพสต์ในกระทู้มุงกองทุน แต่กระทู้วันที่ 5/7 ไม่มา เลยขออนุญาตตั้งกระทู้วันหยุดนะครับ


Pe 16.35 เท่า
set week ลงมาติดต่อกัน 5 อาทิตย์ มา+ อาทิตย์ที่แล้ว 3.67%
อาทิตย์นี้ ลงสองวัน ขึ้นสองวัน สรุป -0.73%
ค่าเงินบาทอ่อนค่าที่ 31.29 แล้ว
ทองยังเป็นขาลง อีกหลายปีกว่าจะกลับขึ้น
ตลาดหุ้น tip เงินยังไหลออกนิดหน่อย
ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิ
อยากให้ดูยอดซื้อขายกองทุน 6 วันหลังสุดขาย 5 วัน สรุปขายรวม 6583.83 ล้านบาท
(กองทุนเห็นว่าต่อไปลงแน่ ถึงได้ทยอยลดน้ำหนักในหุ้น)

เมื่อคืนหลังจากเมกาประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร 195000 ตำแหน่ง (คาดไว้ 165000)
ดีกว่าที่คาด ผลคือ เงินอ่อนค่าทั้งภูมิภาค เงินบาทไทย 1 ปีย้อนหลังอ่อนค่าที่สุดคือ 32 บาท




สรุป
อาทิตย์ที่แล้ว หุ้นเด้งกลับมาเพราะตัวเลข gdp ของเมกา ออกมาแย่กว่าที่คาดการณ์ (set +3.67%)
อาทิตย์นี้ fundflow รอดูท่าที แต่ก็คาดอยู่แล้วว่า ตัวเลขการจ้างงานต้องออกมาดีกว่าคาด (set -0.73%)
อาทิตย์หน้าตัวเลขของเมกา ที่จะทยอยออกมา คาดว่าจะดีขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งจะเป็นผลให้เงินไหลกลับ (set -???%)
น่าจะลด qe ได้สิ้นปี หรือต้นปีหน้า

ส่วนจีนตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของไทย น่าจะเลือกปล่อยให้เศรษฐกิจชะลอตัว แล้วให้ ชาโดว์ แบงค์กิ้ง ล้มไป

สำหรับไทย ตัวเลข gdp ไตรมาสสองคงต้องปรับลดแน่ หลังจากมีคนออกมาปรับให้แล้วเหลือ 4.5 แต่จริงๆ แล้วอาจจะทำได้แค่ 4

อาทิตย์หน้า ถ้า set ยังไม่ลง ทยอยขายตามกองทุนครับ ถือเงินสดไว้ มีโอกาสเห็นหลุด low เดิม 1364 ครับ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 9
ตอนนี้ให้จับตาดูศก.จีน  อยากให้อ่านความเห็นคุณวรวรรณ ธาราภูมิ  (บลจ.บัวหลวง)  ซึ่งได้เขียนไว้นานแล้ว
แต่เพิ่งเอาโพสต์อีกครั้งในเฟซของท่านค่ะ   "หลินปิง โปรดอย่าป่วย"
--------------------------------------------------------------------------------------------------
ขออนุญาตเอามาลงใหม่อีกที

หลินปิง โปรดอย่าป่วย
-----------------------
วรวรรณ ธาราภูมิ
8 กันยายน 2554

อ่านบทวิเคราะห์ของ Chris Mayer แล้วอดเอามาเล่าต่อไม่ได้

เขาบอกว่ามีคำพูดว่าให้ซื้อในสิ่งที่จีนซื้อ และมันก็เป็นจริงมาหลายปี ไม่ว่าจะเป็น โปแตช น้ำมัน สินแร่ต่างๆ
แต่พวกสินค้าโภคภัณฑ์เหล่านี้จะยังไปได้ดีอีกหรือไม่

เมื่อจีนเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ที่สุด และมีเงินมาก ราคามันเลยขึ้น ลองดู Chart ข้างล่างนี้ที่แสดงสัดส่วนการบริโภค Commodity
ของจีนเทียบกับการบริโภคของคนทั้งโลก ก็จะเข้าใจ

China's Commodities Consumption
As % of Global Consumption

Commodity % China to World
Cement 53.2%
Iron Ore 47.7%
Coal 46.9%
Pigs 46.4%
Steel 45.4%
Lead 44.6%
Zinc 41.3%
Aluminium 40.6%
Copper 38.9%
Eggs 37.2%
Nickels 36.3%
Rice 28.1%
Soybeans 24.6%
Wheat 16.6%
Chickens 15.6%
Oil 10.3%
Cattle 9.5%

Source : Barclays Capital, Credit Suisse, Goldman Sachs,
US Geological Survey, BP Statistical Review of World Energy,
Food and Agriculture Organization of UN, IMF: (2009-2010)

ดังนั้น การจะดูว่าราคา Commodity เหล่านั้นจะยังไปได้ดีอีกหรือไม่จากจุดนี้จึงควรไปดูที่กำลังเงินภายในหรือ
อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของหลินปิง

หากจีนชะลอการเติบโตลงจากระดับเดิม ก็เป็นข่าวไม่ดีสำหรับ Commodity ในขณะที่หากหลินปิงยังโตได้
ยังอ้วนท้วนแข็งแรง มันจะเป็นข่าวดี

แต่เมื่อดูการผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนจนถึงเดือนมิถุนายน เราก็พบว่ามันลดลงมาติดกัน 3 เดือนแล้ว
ดัชนีผู้จัดการด้านจัดซื้อก็ลดจาก 52 มาอยู่ที่ระดับ 50.9 ซึ่งตัวเลขที่สูงกว่า 50 หมายถึงขยายได้ แต่หากต่ำกว่า 50 หมายถึงหดตัว
และนั่นก็เป็นตัวเลขที่ได้รับการยืนยัน “อย่างเป็นทางการ” ซึ่งคำๆ นี้ ไม่ชอบเลย

เพราะไม่รู้ว่า ตัวเลขที่ “ไม่เป็นทางการ แต่อาจเป็นของจริง” มันจะแย่กว่าที่ประกาศออกมาหรือไม่

เมื่อหันไปดู Dow Jones-UBS Commodity Index พบว่าราคา Commodity 19 รายการตลอด 3 เดือนก่อน
ตั้งแต่ สังกะสี ไปจนถึง อะลูมิเนียม มันลดลงเกือบทุกชนิด ทั้งๆ ที่จีนยังเติบโตได้ดีแม้จะโตช้าลงหน่อย

แต่อะไรจะเกิดขึ้น หากจีนหดตัวลง

ถึงตรงนี้หลายคนคงหัวเราะว่าคิดอะไรแปลกๆ อีกแล้ว จีนน่ะหรือจะแย่ลง ก็ไม่ว่ากัน

แต่ใครกำลังเริ่มห่วงเกี่ยวกับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของจีนเหมือนๆ กันแล้วละก็ ขอเตือนให้ลดๆ การตั้งใจลงทุนใน
Commodity เอาไว้บ้าง ออกห่างจากซีเมนต์ เหล็ก และ หมู

อ้าว หมู นี่นะ หมูมาเกี่ยวไรด้วยอ่ะ   ก็คนเวียดนามกินหมา แต่คนจีนชอบกินหมูไม่ใช่เหรอ

เราอาจจะรู้สึกดีต่อ Sector อาหาร เพราะคนต้องกิน แต่ก็ยังมีไก่ ปลา ข้าวสาลี ซึ่งไม่ค่อยจะได้รับผลกระทบหากจีนชลอการเติบโตลง

น้ำมันน่าสนใจ เพราะเป็นข้อยกเว้น ราคากระทบน้อย แม้ราคาน้ำมันในไตรมาส 2 จะลดลง แต่จีนก็ยังคงซื้อน้ำมันเข้าประเทศตลอด
เกือบจะทำ New High ในปริมาณที่สั่งซื้อแล้ว

ที่ว่าอย่างนี้ไม่ใช่หมายถึงราคาน้ำมันจะไม่ลงถ้าจีนหดตัวหรือเติบโตช้าลง แต่เทียบกับ Commodity ตัวอื่นแล้ว น้ำมันยังดูดีกว่า

และข้อยกเว้นข้อใหญ่เลยก็คือ โลหะมีค่า เพราะในขณะที่จีนนำเข้าทองแดง ถ่านหิน และ เหล็ก น้อยลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
จีนก็ยังคงสถานะเป็นผู้ซื้อโลหะมีค่าในจำนวนมาก

เมื่อหาข้อมูลที่เป็นทางการมาสนับสนุนไม่ได้ ก็ต้องใช้ตัวเลขประมาณการที่ระบุว่าจีนนำเข้าทองคำ 200 ตันในครี่งแรกของปีนี้
ในขณะที่การนำเข้าในปีก่อนทั้งปีเท่ากับ 250 ตัน ซึ่งเพิ่มเป็น 4 เท่าของปี 2009

น่าสนใจที่จีนกระหน่ำซื้อทองในโลกมากขนาดนี้ ทั้งๆ ที่ตนเองเป็นผู้ผลิตทองคำรายใหญ่ที่สุดของโลก !

ลองขยายความคิดไปอีกหน่อย .......

ในบางประเทศที่เป็นผู้ส่งออกสินค้า Commodity ให้จีน เช่น บราซิล กลายเป็นประเทศหนึ่งที่หุ้นให้ผลตอบแทนต่ำที่สุดในโลก
ในไตรมาส 2 ของปีนี้ ลดลงมามากกว่า 5%

นี่ไง เมื่อจีนหด บราซิลก็เหี่ยวตาม

สมมติฐานนี้ก็อาจใช้ได้กับคานาดาที่ลดไป 5% และออสเตรเลีย รัสเซีย ซึ่งเป็นเจ้าตลาดใหญ่ของ Commodity ก็หดไป 7%
ในไตรมาส 2 ด้วย

เรื่องนี้ยังไม่จัดว่าเป็นการวิเคราะห์ที่ดี แต่มันก็น่าจะคุ้มที่จะคิดล่วงหน้าว่าอะไรจะเกิดขึ้นหากจีนโตช้าลงหรือ
หากโชคร้ายหลินปิงจะน้ำหนักลดฮวบฮาบ

เพราะไม่มีเศรษฐกิจที่ไหนในโลกที่จะเติบโตต่อเนื่องได้ตลอดกาล มันมีวงจรของมัน ทั้งเติบโต รุ่งเรือง ชะลอตัว และหดตัวลง

ซึ่งเศรษฐกิจจีนไม่เคยหดลงเลยตั้งแต่ปี 1976     35 ปีเชียวนะนั่น

และขอพูดถึงคนๆ หนึ่งซึ่งเป็นผู้ชี้ให้เห็นเมื่อปี 2000 ว่า Enron กับ William Communication กำลังจะเน่า
ในช่วงที่หุ้น 2 ตัวนี้กำลังร้อนแรง และแน่ละ ไม่มีใครเชื่อเขาตามระเบียบ ในเมื่อคนส่วนใหญ่ไม่ชอบข่าวร้าย   เขาชื่อ Jim Chanos

แล้วในปีต่อมาราคาหุ้น Enron ก็รูดมหาราชลงมา 99.9% ในขณะที่ William Communication พังพาบลงมา 96%

ใช่แล้ว Jim Chanos ทำการบ้านมาดี และส่งสัญญาณเตือนอย่างต่อเนื่องในปี 2000 ทั้งยังจำกัดการเสียหายของพอร์ตลงทุน
ด้วยการหลีกเลี่ยงหุ้นพวกนั้นโดยสิ้นเชิง ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนควรทำ และหากจะทำก็ทำได้ แต่ไม่ทำ คนที่ยังโลภไม่เชื่อเขา
ผลก็คือเน่าสนิท ในขณะที่ Jim Chanos กลายเป็น Super Star

เมื่อไม่นานมานี้ Jim Chanos ผู้ได้รับฉายานามว่า “The Man Who Called Enron” บอกว่า “พบปัญหาหลายจุดในการเติบโตของจีน”

เขาบอกว่าการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรของจีนมีขนาดสูงถึง 50% ของขนาดเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมากและสูงกว่า
ที่อื่นใดในช่วงที่ฟองสบู่   การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเหล่านั้นในจีน ทำให้เกิดเมืองผีหลอก เพราะสร้างไว้แล้วไม่มีคนอยู่
เกิดทางรถไฟความเร็วสูงที่นำพาไปยังที่ไหนก็ไม่รู้ ที่มีแต่อพาร์ตเม้นท์ร้าง

Jim Chanos เอาธงแดงมาโบกเตือนแล้วว่าคนจีนทั้งประเทศกำลังทำให้หลินปิงเป็นชาติที่มีการกู้เพื่อเก็งกำไรในอสังหาริมทรัพย์
เพราะขนาดตลาดอสังหาริมทรัพย์ต่อ GDP ของจีนมันอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับไอร์แลนด์ตอนกำลังจะเกิดฟองสบู่
เงินเฟ้อก็ยากที่จะควบคุม ดังนั้น จีนจึงซื้อทองคำเอาไว้เพื่อปกป้องความมั่งคั่งของตนจากเงินเฟ้อ นอกจากนี้การจ่ายเงินซื้ออาหาร
กับสินค้าอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวันก็กินเข้าไปถึง 50% ของรายจ่ายของครอบครัวจีนโดยเฉลี่ยแล้ว ซึ่งเป็นตัวเลขที่ยืนยันเรื่องเงินเฟ้อ

น่าห่วงไหมล่ะ

แต่ความจริงก็คือ น้อยคนที่จะทำใจรับความเป็นไปได้ที่ว่า หลินปิงอาจจะเข้าสู่ช่วงที่หน้าตาไม่น่ารักแล้ว ความอ้วนท้วนน่ากอด
กำลังลดลง และแทนที่ค่ายดังๆ ในต่างประเทศจะแนะนำให้คนถอยห่างออกจาก Commodity หรือลดน้ำหนักการถือครองลงบ้าง
อย่างน้อยก็ด้วยการ Rebalance หลายค่ายยังแนะนำให้ซื้อเพิ่ม

ประวัติศาสตร์กำลังเดินทับรอยเดิมอีกแล้ว ความกลัวถูกแทนที่ด้วยความโลภสำหรับคนส่วนมาก เพราะตัวเลขต่างๆ ยังคงดูดี
ในขณะที่คนส่วนน้อยหยุดโลภเพราะกลัว

Stifel Financial รายงานว่าราคา Commodity สำหรับการลงทุนในทุกรอบ 10 ปีต่อเนื่อง ให้ผลตอบแทนสูงสุดใน 200 ปีแล้ว
หมายความว่าราคามันใกล้จะถึงจุดสูงสุดในรอบ 200 ปีที่หลังจากนั้นมันจะร่วงลง

และในรอบ 10 ปีล่าสุดนี้ บรรดาหุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดก็เกี่ยวข้องกับ Commodity ทั้งนั้น

ในวันนี้ การซื้อเมื่อราคา Commodity ตกลงมา ยังเป็นกลยุทธ์ที่ใช้ได้อยู่ และโลกการลงทุนมันก็ง่ายดีที่จะซื้ออะไรที่หลินปิงชอบ
เมื่อเรายังเชื่อว่ามันยังอ้วนปุ๊กน่ารัก ยังต้องการกินอีกเยอะ และหลินปิงก็ร้วย รวย เพราะจีนยังคงเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่
เป็นอันดับ 2 ของโลก

ไม่เชื่อ Chris Mayor ไม่เชื่อ Jim Chanos ก็ไม่เป็นไร มันอาจจะยังอยู่อีกไกล   แต่ถือซะว่าเราเตือนคุณแล้วนะ

วรวรรณ ธาราภูมิ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่