ที่ตั้งกระทู้แนวนี้ เพราะจากประสบการณ์ตรงของผมที่เป็นแพทย์กระดูก อยู่ รพ.เอกชนแห่งหนึ่ง แต่ก่อนก็เคยอยู่ รพ.รัฐบาลมาก่อน พบเจอคนไข้หลากหลายมากๆ ทั้งตลกขบขัน และซึ้งจนแทบจะร้องไห้ แต่ประสบการณ์อย่างหนึ่งที่ผมเจอคือ คนไข้มักไม่เข้าใจในสิ่งที่หมดกำลังทำ หรือไม่เข้าใจในการวินิจฉัย ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงว่าหมอวินิจฉัยผิดนะครับ แต่หมายถึงว่า เออ ทำไมหมอรู้ได้ไงว่าเราเป็นโรคนี้ หรืออาการเราเป็นแบบนี้ เพื่อนข้างบ้านบอกเป็นมะเร็งแน่เลย แต่มาหาหมอ หมอบอกว่าเป็นแค่กล้ามเนื้ออักเสบ ตกลงหมอห่วย หรือเพื่อนข้างบ้านเก่งกันแน่
ผมเลยตั้งใจจะมาบอกกล่าว "คร่าวๆ" ถึงขั้นตอนการทำงานของแพทย์ ในการตรวจ วินิจฉัย รักษาคนไข้คนนึงเนี่ยเขามีวิธีทำงาน มีหลักการวิเคราะห์จากความรู้ที่สั่งสมมา 6+ ปีกันยังไงบ้าง และผมเป็นหมอกระดูก มีการผ่าตัดคนไข้กระดูกหัก ดามเหล็ก ก็จะขอแจมในส่วนของการผ่าตัดไปด้วยนะครับ
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ที่เคยไป รพ. หรือกำลังป่วยอยู่ จะได้รู้ว่า อ้อ มันเป็นแบบนี้เอง จะได้ไม่เข้าใจหมอผิด เพราะคนไข้ส่วนใหญ่ ผมให้ 70% เลย ไม่กล้าถามหมอหรอก แต่พอออกมานั่งหน้าห้องก็ไปบ่นกับพยาบาล เภสัชกร หรือคนเก็บเงิน และส่วนมากคือไำปบอกต่อเพื่อนข้างบ้าน จนพาลเข้าใจผิดกันไปใหญ่
ปล.ผมเขียนจากประสบการณ์นะครับ ไม่มีแหล่งวิชาการใดอ้างอิงทั้งสิ้น
ปล2.ผมต้องการให้บทความนี้ เป็นการแชร์ข้อมูล และให้ประโยชน์แก่ทุกท่านนะครับ หากไปๆมาๆกลายเป็ฯกระทู้ล่อเป้า ออกทะเลเป็นกระทู้ทะเลาะกัยเรื่องการบริการทางการแพทย์ ผมจะแจ้งลบนะครับ
ภาพประกอบนี้ไม่ใช่ผมแต่อย่างใดนะครับ ช่างห่างไกลเหลือเกินนน
ตอนที่ 1 : เมื่อคุณป่วยมา รพ. จนท.รพ. เขาทำกันยังไงบ้าง
ผมยกตัวอย่างอาการ ปวดหลังแล้วกันนะครับเพราะผมเจอเยอะสุด พอมา รพ.ปุ๊บ เราจะมีหน่วยคัดกรอง ผป.ว่าอาการหนักมากหรือน้อย โดยเขาก็จะมีวิธีให้คะแนนตามภาวะ เช่น "การวัดระดับความเจ็บปวด" ส่วนใหญ่เขาจะใช้ Visual Analog Score (VAS) ภาษาบ้านๆคือคะแนนความปวด แบ่งเป็น 10 หน่วย ปวดมากที่สุดในชีวิต 10 แต้ม ไม่ปวดเลย 0 แต้ม เราก็บอกไปว่าเราปวดประมาณกี่คะแนน (อันนี้ถ้าคนไข้มาในสภาพเดินไม่ไหว หรือเพื่อนต้องหามลงจากรถ ก็ไม่ต้องมาวัด Score แล้วครับ เข็นเข้าห้องฉุกเฉินไปเลย) โดยจะมีพยาบาลสกรีนนิ่ง (Screening Nurse) เข้ามาทำหน้าที่นี้ โดยปกติถ้าคะแนนมากกว่า 3 ก็จะเข็นเราเข้าห้องฉุกเฉิน
ส่วนของรูปภาพเขาเอาไว้ประเมินเด็กน้อยนะ เพราะเด็กบางคนบอกไม่เป็นก็ดูหน้าเอา
ฮั่นแน่ อ่านถึงตรงนี้แล้วอย่าหัวหมอนะครับว่ามาถึงอยากตรวจเร็ว ขี้เกียจรอคิว บอกไปเลย 8 9 10 คะแนน เพราะว่านอกจาก VAS แล้ว เขามีอีกหลายๆวิธีในการดูครับ เรียกว่า Tor Lae Score หรือ ตอ...สกอร์นั่นแหล่ะครับ จะบอกว่าพยาบาล หรือคนทำหน้าที่สกรีนนิ่งเขาดูออกนะครับ(บางคนตุ๊กๆยังดูออกเลย)ว่า TLS เนี่ย 10 เต็ม ไปเป็นดาราได้ เอาง่ายๆเลย ท่านขับรถมาเอง เอารถไปจอด เดินลงจากรถมาเองเข้ามาใน รพ. พยาบาลถาม ตอบผมปวด 7 ครับ แบบนี้ TLS เต็ม 10 ครับ เชิญไปรอหมอหน้าห้องตรวจ...
และก็อยากจะบอกว่า ฉุกเฉินของเรา กับฉุกเฉินทางการแพทย์แตกต่างกันนะครับ ไม่ใช่ว่าตีสอง ตื่นมาฉี่แล้วคันนิ้วเท้าจัง รพ.อยู่ปากซอย ไป รพ.ดีกว่า แบบนี้เขาไม่เรียกฉุกเฉินนะครับ (เหตุการณ์นี้มีจริงนะ) ฉุกเฉินทางการแพทย์จริงๆเขาดูที่ Vital Sign หรือสัญญาณชีพ หลักๆมี 4 อย่างคือ
ความดัน(สูงเกิน 140 หรือต่ำกว่า 90) จ
ำนวนครั้งการเต้นหัวใจ(สูงเกิน 100 ครั้งต่อนาทีหรือต่ำกว่า 60 ครั้งค่อนาที)
จำนวนครั้งของการหายใจ(สูงเกิน 30 ครั้งต่อนาที หรือต่ำกว่า 15 ครั้ง) และ
อุณหภูมิ(สูงเกิน 38 องศาหรือต่ำกว่า 36 องศา) ครับ
เรื่องแผนกฉุกเฉินขอยกยอดไปตอนท้ายๆนะครับ ตอนนี้สมมติว่าท่านมาด้วยปวดหลังสัก 3 คะแนน พยาบาลก็จะบอกให้ท่านไปที่แผนกกระดูกและข้อ หรือบาง รพ.อา่จตรวจสอบสิทธิการรักษาก่อน เช่นถ้ามีประกันสังคม อาจต้องพบแพทย์หน่วยประกันสังคมก่อน ซึ่งจะเป็นแพทย์ทั่วไปที่รักษาได้ทุกโรค ถ้าหากแพทย์ท่านั้นตรวจแล้วคิดว่าต้องไปที่แผนกไหนก็จะ Consult ไปตามแพทย์เฉพาะทางต่อไป
ตอนที่ 2 : เมื่อพบแพทย์ในห้องตรวจ หมอเขาทำอะไรมั่ง
เอาละ มาเข้าเรื่องสักที เกริ่นมาตั้งนาน 55+ อย่างแรกเลยคือหมอเขาจะ "ดู" หรือ "สังเกตุ" คนไข้ตั้งแต่เดินเข้ามาเลยครับ ท่าทางการเดิน เดินเอียง เดินกะเผลก เดินกุมท้อง กุมหลัง นอกจากท่าเดินยังมีดูสีหน้าด้วยนะครับ หน้ามุ่ย หน้ายิ้ม ร่าเริงดี หรือหน้าโกรธใครมา
พอมานั่งก็จะเริ่มทำการ "ถาม" หรือที่เรียกว่า "ซักประวัติ" ผมบอกเลยว่าโรคส่วนใหญ่กว่า 70-80% ของคนไข้ สามารถที่จะวินิจฉัยได้เลยจากการ "ซักประวัติ" เนี่ยหล่ะครับ ดังนั้นเวลาท่านเข้ามาตรวจแล้วเจอหมอ ถาม ถาม ถาม แล้วก็ ถาม หมอเขาไม่ได้กวนตรีนคุณอยู่นะครับ ที่พูดมานี่เจอจริงๆ เช่น "หมอจะถามอะไรนักหนา เมื่อไหร่จะตรวจสักทีเนี่ย ปวดจะตายอยู่แล้ว" หรือ "ลูกอีชั้นไข้สูงตัวร้อนขนาดนี้ แล้วหมอจะมาถามอิชั้นทำไม ทำไมไม่ไปตรวจลูก"
คำถาม Classic ที่คนเป็นหมอต้องเจอ การถามพวกนี้เขามีที่มานะครับ หมอๆเรียน 6 ปีเนี่ย ก็เรียนเพื่อมา "ถาม" เนี่ยแหล่ะครับ การถามก็มีขั้นตอน มีวิธีคิด มีที่มาที่ไป ไม่ใช่ถามไปเรื่อยๆเปื่อย ดังนั้นอย่ารำคาญเวลาหมอถาม เพราะข้อมูลทุกอย่าง จะถูกใช้ในกระบวนการวินิจฉัยโรคแทบทั้งสิ้น
อีกอย่างนึงที่ควรเลี่ยง และไม่ควรทำเป็ฯอย่างยิ่งคือ "การให้ประวัติปลอมๆ" บางคนอาจงง มาหาหมอจะให้ประวัติปลอมทำไม มีนะครับ ผมเองอยู่แผนกกระดูก เกี่ยวกับพวกพลัดตก หกล้ม ซึ่งก็จะมีส่วนของประกันมาเกี่ยวข้อง บางคนโกหกเพื่อให้ใช้ประกันอุบัติเหตุได้ เช่น เป็ฯเกาท์ ปวดเท้ามา รพ. ถ้าทำประกันอุบัติเหตุมันจะเบิกโรคเกาท์ไม่ได้ ก็บอกปมอไปว่า เดินชนโต๊ะ เพื่อเอายาแก้ปวดและเบิกประกันได้ หรือบางคนรู้เยอะ ค้นหา internet google ใหญ่เลย กลัวว่าสิ่งที่เราเป็ฯจะอันตราย เช่นปวดหลัง ก็กลัวไปต่างๆนานาว่าจะเป็ฯมะเร็งกระดูก หรือหมอนรองกระดูกทับเส้น ก็ไปหาจาก google มา อ่านและท่องจนขึ้นใจ พอหาหมอก็เล่าเป็นฉากๆเลย
ข้อเสียใหญ่หลวงเลยคือการวินิจฉัยจะผิดพลาด ท่านจะได้ยาไม่ตรงโรค และทำให้การรักษาผิดไปเลย อย่างเกาท์ ก็ต้องได้ยาลดกรดยูริค ยาแก้ปวด ไม่ต้อง film แต่ต้องเจาะกรดยูริค และเจาะเลือดดูการทำงานของไต ถ้าท่านโกหกว่าเดินชนโต๊ะ ท่านอาจจะได้ไป X-ray เท้าแทน ได้ยาลดปวดอักเสบ แต่ไม่ได้ยาเกาท์ อันตรายมาก ข้อเสียอีกอย่างคือหมอจะวินิจฉัยไม่ได้ บางคนโกหกได้โล่ เนียนมากยังกะดารา หมอที่ประสบการณ์ไม่ถึงอาจโดนหลอกจนทำให้วินิจฉัยไม่ได้ เพราะประวัติมั่วไปหมด ได้ยาผิด หรือได้ยาเกินขนาดได้ ซึ่งก็อันตรายเช่นกัน
แต่จะบอกให้ว่า หมอ 99% ดูออกครับว่าท่านโกหก หรือให้ประวัติปลอม อย่างเกาท์นี่ผมแค่มองก็รู้แล้วว่าเกาท์ บอกว่าเดินชนโน่นนี่นั่น เจอหมอซักค้านนี่ เงิบมานักต่อนัก สุดท้ายทำเสียงอ่อยบอกมีปัญหาเรื่องประกันค่าใช้จ่าย เพราะโรคทั่วๆไป 90% เป็นโรคที่เขาวิเคราะห์กันพรุนในตำราหมดแล้วว่าอาการแบบนี้ มาแบบนี้ เป็นแบบนี้ กี่วัน เป็นตรงไหน เริ่มเกิดจากไหนก่อน ลามไปที่ไหน ในเวลากี่วัน มีไข้ร่วม หรืออาการอื่นร่วมด้วยไหม ดังนั้นหากท่านให้ประวัติปลอมนี่ หมอจับได้แน่นอน..
บทสรุปจากตอนที่2
- กรุณาอย่ารำคาญเวลาหมอถามประวัติ ยิ่งซักมากเท่าไหร่ ยิ่งเป็นประโยชน์ต่อท่านเท่านั้น
- อย่าให้ประวัติการเจ็บป่วยปลอมเด็ดขาด เพราะนอกจากจะเงิบเพราะหมอจับได้แล้ว ยังทำให้การรักษาผิดจนเกิดอันตรายต่อตัวท่านได้
อนึ่ง : แพทย์บางท่านเก๋า แก่ประสบการณ์มาก แค่มอง หรือซักถามสองสามประโยค ก็รู้แล้วว่าเป็นอะไรมา ดังนั้นท่านอาจเจอว่า หมอคนนี้แม่มตรูดตูยังไม่ทันแตะเก้าอี้เลย ก็เขียนใบสั่งยาให้แล้ว เพราะหมอท่านนั้นอาจเก่งจริงๆก็ได้ ถ้าท่านไม่แน่ใจก็อาจไปหาหมอท่านอื่น หรือหาหมอ รพ.อื่นเพื่อ Confirm ได้ครับ สิทธิของท่านอยู่แล้ว
++++หมอเขาทำงานกันยังไงนะ++++
ผมเลยตั้งใจจะมาบอกกล่าว "คร่าวๆ" ถึงขั้นตอนการทำงานของแพทย์ ในการตรวจ วินิจฉัย รักษาคนไข้คนนึงเนี่ยเขามีวิธีทำงาน มีหลักการวิเคราะห์จากความรู้ที่สั่งสมมา 6+ ปีกันยังไงบ้าง และผมเป็นหมอกระดูก มีการผ่าตัดคนไข้กระดูกหัก ดามเหล็ก ก็จะขอแจมในส่วนของการผ่าตัดไปด้วยนะครับ
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ที่เคยไป รพ. หรือกำลังป่วยอยู่ จะได้รู้ว่า อ้อ มันเป็นแบบนี้เอง จะได้ไม่เข้าใจหมอผิด เพราะคนไข้ส่วนใหญ่ ผมให้ 70% เลย ไม่กล้าถามหมอหรอก แต่พอออกมานั่งหน้าห้องก็ไปบ่นกับพยาบาล เภสัชกร หรือคนเก็บเงิน และส่วนมากคือไำปบอกต่อเพื่อนข้างบ้าน จนพาลเข้าใจผิดกันไปใหญ่
ปล.ผมเขียนจากประสบการณ์นะครับ ไม่มีแหล่งวิชาการใดอ้างอิงทั้งสิ้น
ปล2.ผมต้องการให้บทความนี้ เป็นการแชร์ข้อมูล และให้ประโยชน์แก่ทุกท่านนะครับ หากไปๆมาๆกลายเป็ฯกระทู้ล่อเป้า ออกทะเลเป็นกระทู้ทะเลาะกัยเรื่องการบริการทางการแพทย์ ผมจะแจ้งลบนะครับ
ภาพประกอบนี้ไม่ใช่ผมแต่อย่างใดนะครับ ช่างห่างไกลเหลือเกินนน
ตอนที่ 1 : เมื่อคุณป่วยมา รพ. จนท.รพ. เขาทำกันยังไงบ้าง
ผมยกตัวอย่างอาการ ปวดหลังแล้วกันนะครับเพราะผมเจอเยอะสุด พอมา รพ.ปุ๊บ เราจะมีหน่วยคัดกรอง ผป.ว่าอาการหนักมากหรือน้อย โดยเขาก็จะมีวิธีให้คะแนนตามภาวะ เช่น "การวัดระดับความเจ็บปวด" ส่วนใหญ่เขาจะใช้ Visual Analog Score (VAS) ภาษาบ้านๆคือคะแนนความปวด แบ่งเป็น 10 หน่วย ปวดมากที่สุดในชีวิต 10 แต้ม ไม่ปวดเลย 0 แต้ม เราก็บอกไปว่าเราปวดประมาณกี่คะแนน (อันนี้ถ้าคนไข้มาในสภาพเดินไม่ไหว หรือเพื่อนต้องหามลงจากรถ ก็ไม่ต้องมาวัด Score แล้วครับ เข็นเข้าห้องฉุกเฉินไปเลย) โดยจะมีพยาบาลสกรีนนิ่ง (Screening Nurse) เข้ามาทำหน้าที่นี้ โดยปกติถ้าคะแนนมากกว่า 3 ก็จะเข็นเราเข้าห้องฉุกเฉิน
ส่วนของรูปภาพเขาเอาไว้ประเมินเด็กน้อยนะ เพราะเด็กบางคนบอกไม่เป็นก็ดูหน้าเอา
ฮั่นแน่ อ่านถึงตรงนี้แล้วอย่าหัวหมอนะครับว่ามาถึงอยากตรวจเร็ว ขี้เกียจรอคิว บอกไปเลย 8 9 10 คะแนน เพราะว่านอกจาก VAS แล้ว เขามีอีกหลายๆวิธีในการดูครับ เรียกว่า Tor Lae Score หรือ ตอ...สกอร์นั่นแหล่ะครับ จะบอกว่าพยาบาล หรือคนทำหน้าที่สกรีนนิ่งเขาดูออกนะครับ(บางคนตุ๊กๆยังดูออกเลย)ว่า TLS เนี่ย 10 เต็ม ไปเป็นดาราได้ เอาง่ายๆเลย ท่านขับรถมาเอง เอารถไปจอด เดินลงจากรถมาเองเข้ามาใน รพ. พยาบาลถาม ตอบผมปวด 7 ครับ แบบนี้ TLS เต็ม 10 ครับ เชิญไปรอหมอหน้าห้องตรวจ...
และก็อยากจะบอกว่า ฉุกเฉินของเรา กับฉุกเฉินทางการแพทย์แตกต่างกันนะครับ ไม่ใช่ว่าตีสอง ตื่นมาฉี่แล้วคันนิ้วเท้าจัง รพ.อยู่ปากซอย ไป รพ.ดีกว่า แบบนี้เขาไม่เรียกฉุกเฉินนะครับ (เหตุการณ์นี้มีจริงนะ) ฉุกเฉินทางการแพทย์จริงๆเขาดูที่ Vital Sign หรือสัญญาณชีพ หลักๆมี 4 อย่างคือ ความดัน(สูงเกิน 140 หรือต่ำกว่า 90) จำนวนครั้งการเต้นหัวใจ(สูงเกิน 100 ครั้งต่อนาทีหรือต่ำกว่า 60 ครั้งค่อนาที) จำนวนครั้งของการหายใจ(สูงเกิน 30 ครั้งต่อนาที หรือต่ำกว่า 15 ครั้ง) และอุณหภูมิ(สูงเกิน 38 องศาหรือต่ำกว่า 36 องศา) ครับ
เรื่องแผนกฉุกเฉินขอยกยอดไปตอนท้ายๆนะครับ ตอนนี้สมมติว่าท่านมาด้วยปวดหลังสัก 3 คะแนน พยาบาลก็จะบอกให้ท่านไปที่แผนกกระดูกและข้อ หรือบาง รพ.อา่จตรวจสอบสิทธิการรักษาก่อน เช่นถ้ามีประกันสังคม อาจต้องพบแพทย์หน่วยประกันสังคมก่อน ซึ่งจะเป็นแพทย์ทั่วไปที่รักษาได้ทุกโรค ถ้าหากแพทย์ท่านั้นตรวจแล้วคิดว่าต้องไปที่แผนกไหนก็จะ Consult ไปตามแพทย์เฉพาะทางต่อไป
ตอนที่ 2 : เมื่อพบแพทย์ในห้องตรวจ หมอเขาทำอะไรมั่ง
เอาละ มาเข้าเรื่องสักที เกริ่นมาตั้งนาน 55+ อย่างแรกเลยคือหมอเขาจะ "ดู" หรือ "สังเกตุ" คนไข้ตั้งแต่เดินเข้ามาเลยครับ ท่าทางการเดิน เดินเอียง เดินกะเผลก เดินกุมท้อง กุมหลัง นอกจากท่าเดินยังมีดูสีหน้าด้วยนะครับ หน้ามุ่ย หน้ายิ้ม ร่าเริงดี หรือหน้าโกรธใครมา
พอมานั่งก็จะเริ่มทำการ "ถาม" หรือที่เรียกว่า "ซักประวัติ" ผมบอกเลยว่าโรคส่วนใหญ่กว่า 70-80% ของคนไข้ สามารถที่จะวินิจฉัยได้เลยจากการ "ซักประวัติ" เนี่ยหล่ะครับ ดังนั้นเวลาท่านเข้ามาตรวจแล้วเจอหมอ ถาม ถาม ถาม แล้วก็ ถาม หมอเขาไม่ได้กวนตรีนคุณอยู่นะครับ ที่พูดมานี่เจอจริงๆ เช่น "หมอจะถามอะไรนักหนา เมื่อไหร่จะตรวจสักทีเนี่ย ปวดจะตายอยู่แล้ว" หรือ "ลูกอีชั้นไข้สูงตัวร้อนขนาดนี้ แล้วหมอจะมาถามอิชั้นทำไม ทำไมไม่ไปตรวจลูก"
คำถาม Classic ที่คนเป็นหมอต้องเจอ การถามพวกนี้เขามีที่มานะครับ หมอๆเรียน 6 ปีเนี่ย ก็เรียนเพื่อมา "ถาม" เนี่ยแหล่ะครับ การถามก็มีขั้นตอน มีวิธีคิด มีที่มาที่ไป ไม่ใช่ถามไปเรื่อยๆเปื่อย ดังนั้นอย่ารำคาญเวลาหมอถาม เพราะข้อมูลทุกอย่าง จะถูกใช้ในกระบวนการวินิจฉัยโรคแทบทั้งสิ้น
อีกอย่างนึงที่ควรเลี่ยง และไม่ควรทำเป็ฯอย่างยิ่งคือ "การให้ประวัติปลอมๆ" บางคนอาจงง มาหาหมอจะให้ประวัติปลอมทำไม มีนะครับ ผมเองอยู่แผนกกระดูก เกี่ยวกับพวกพลัดตก หกล้ม ซึ่งก็จะมีส่วนของประกันมาเกี่ยวข้อง บางคนโกหกเพื่อให้ใช้ประกันอุบัติเหตุได้ เช่น เป็ฯเกาท์ ปวดเท้ามา รพ. ถ้าทำประกันอุบัติเหตุมันจะเบิกโรคเกาท์ไม่ได้ ก็บอกปมอไปว่า เดินชนโต๊ะ เพื่อเอายาแก้ปวดและเบิกประกันได้ หรือบางคนรู้เยอะ ค้นหา internet google ใหญ่เลย กลัวว่าสิ่งที่เราเป็ฯจะอันตราย เช่นปวดหลัง ก็กลัวไปต่างๆนานาว่าจะเป็ฯมะเร็งกระดูก หรือหมอนรองกระดูกทับเส้น ก็ไปหาจาก google มา อ่านและท่องจนขึ้นใจ พอหาหมอก็เล่าเป็นฉากๆเลย
ข้อเสียใหญ่หลวงเลยคือการวินิจฉัยจะผิดพลาด ท่านจะได้ยาไม่ตรงโรค และทำให้การรักษาผิดไปเลย อย่างเกาท์ ก็ต้องได้ยาลดกรดยูริค ยาแก้ปวด ไม่ต้อง film แต่ต้องเจาะกรดยูริค และเจาะเลือดดูการทำงานของไต ถ้าท่านโกหกว่าเดินชนโต๊ะ ท่านอาจจะได้ไป X-ray เท้าแทน ได้ยาลดปวดอักเสบ แต่ไม่ได้ยาเกาท์ อันตรายมาก ข้อเสียอีกอย่างคือหมอจะวินิจฉัยไม่ได้ บางคนโกหกได้โล่ เนียนมากยังกะดารา หมอที่ประสบการณ์ไม่ถึงอาจโดนหลอกจนทำให้วินิจฉัยไม่ได้ เพราะประวัติมั่วไปหมด ได้ยาผิด หรือได้ยาเกินขนาดได้ ซึ่งก็อันตรายเช่นกัน
แต่จะบอกให้ว่า หมอ 99% ดูออกครับว่าท่านโกหก หรือให้ประวัติปลอม อย่างเกาท์นี่ผมแค่มองก็รู้แล้วว่าเกาท์ บอกว่าเดินชนโน่นนี่นั่น เจอหมอซักค้านนี่ เงิบมานักต่อนัก สุดท้ายทำเสียงอ่อยบอกมีปัญหาเรื่องประกันค่าใช้จ่าย เพราะโรคทั่วๆไป 90% เป็นโรคที่เขาวิเคราะห์กันพรุนในตำราหมดแล้วว่าอาการแบบนี้ มาแบบนี้ เป็นแบบนี้ กี่วัน เป็นตรงไหน เริ่มเกิดจากไหนก่อน ลามไปที่ไหน ในเวลากี่วัน มีไข้ร่วม หรืออาการอื่นร่วมด้วยไหม ดังนั้นหากท่านให้ประวัติปลอมนี่ หมอจับได้แน่นอน..
บทสรุปจากตอนที่2
- กรุณาอย่ารำคาญเวลาหมอถามประวัติ ยิ่งซักมากเท่าไหร่ ยิ่งเป็นประโยชน์ต่อท่านเท่านั้น
- อย่าให้ประวัติการเจ็บป่วยปลอมเด็ดขาด เพราะนอกจากจะเงิบเพราะหมอจับได้แล้ว ยังทำให้การรักษาผิดจนเกิดอันตรายต่อตัวท่านได้
อนึ่ง : แพทย์บางท่านเก๋า แก่ประสบการณ์มาก แค่มอง หรือซักถามสองสามประโยค ก็รู้แล้วว่าเป็นอะไรมา ดังนั้นท่านอาจเจอว่า หมอคนนี้แม่มตรูดตูยังไม่ทันแตะเก้าอี้เลย ก็เขียนใบสั่งยาให้แล้ว เพราะหมอท่านนั้นอาจเก่งจริงๆก็ได้ ถ้าท่านไม่แน่ใจก็อาจไปหาหมอท่านอื่น หรือหาหมอ รพ.อื่นเพื่อ Confirm ได้ครับ สิทธิของท่านอยู่แล้ว