สืบเนื่องจาก Topic แรก
+++หมอเขาทำงานกันยังไงนะ Part1 OPD +++
http://ppantip.com/topic/30686333
มีเสียงตอบรับที่ดี อิอิ ผมจึงมาเขียน Part 2 ที่ติดไว้ในตอนแรก นั่นคือ "การผ่าตัด" ครับ อย่างเคย ผมจะเขียนบรรยายในส่วนที่ผู้ป่วยต้องพบเจอนะครับ ไม่ได้เขียนในทางของแพทย์ จุดประสงค์เพื่อให้คนที่กำลังจะผ่าตัด มีนัดผ่าตัดแล้ว หรือมีญาติที่จะต้องผ่าตัด เข้าใจในการทำงาน และเราต้องไปพบเจออะไรบ้าง จะได้ไม่กลัวห้องปาดนะครับ
หัวใจของการผ่าตัดให้ได้ผลสำเร็จมีอยู่สามข้อหลักๆครับ
1. Pre operative preparation หมอจะเรียกว่า Pre-op ก็คือการเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
2. Intra operative surgery หรือ Intra-op คือเทคนิค ขั้นตอนการผ่าตัด
3. Post operative care หรือ Post-op ก็คือการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดนั่นเอง
ถามว่าอันไหนสำคัญที่สุด ตอบเลยว่าสำคัญเท่าๆกันหมดครับ เพราะคนไข้จะหายได้ ต้องมี pre-op ที่ดี intraop ที่เก่ง และ postop ที่ยอดเยี่ยม ขาดอันใดอันหนึ่งไม่ได้เลย แต่ถ้าจะให้บอกว่าอันไหนสำคัญน้อยที่สุดในสามอัน หมดผ่าตัดทุกคนจะบอกว่า Intra-op ครับ ... อ้าวๆ งงล่ะสิ ทำไมเทคนิคการผ่ามันไม่สำคัญที่สุดล่ะ เดี๋ยวผมจะบอกให้ฟังครับ
ก่อนเข้าเรื่อง ผมขอกบอกก่อนเลยว่าการผ่าตัดทุกชนิดมีความเสี่ยงหมดครับ ไม่ว่าผ่าเล็ก ผ่าใหญ่ เสี่ยงทั้งเรื่องการดมยาสลบ และเสี่ยงทั้งเรื่องการผ่าตัดเอง แต่ความเสี่ยงที่ว่านี่ไม่ได้มากมายนะครับ บางทีในช่วงชีวิตการผ่าตัดยังไม่เคยเจอเลยก็ได้ แต่ยังไงหมอก็ต้องอธิบายไว้ก่อนครับ ไม่มีอะไร 100% ทางการแพทย์ครับ
1. Pre operative preparation
ก็คือการเตรียมตัวก่อนผ่าตัดครับ เมื่อคนไข้ตรวจ วินิจฉัยแล้ว โรคบางอย่างต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเท่านั้น หรือบางโรคอาจกินยาดูก่อน ไม่ดีขึ้นค่อยผ่าตัดก็ว่ากันไปตามโรค เอาเป็นว่าท่านต้องผ่าตัดละ แพทย์ก็จะนัดเวลาผ่า ถ้าเป็นโรคไม่ฉุกเฉิน รอได้ ใน รพ.รัฐบาลบางแห่งคิวอาจรอเป็นเดือนๆครับ เพราะการผ่าตัดวันนึงทำได้อย่างมาก 8 เคส คนไข้มา รพ.กันหลักหมื่นต่อเดือน ผ่าได้เดือนละประมาณ 200 คน ทำให้ต้องรอคิวนานเป็นเรื่องปกติเลยครับ ทำใจ จะบอกว่า รพ.รัฐ 4 โมงเย็นห้องผ่าตัดปิดนะครับ รับแต่ฉุกเฉิน เสาร์ อาทิตย์ก็ปิด วันหยุดสำคัญต่างๆก็ปิดหมด ก็ราชการนี่ครับเหอๆ หมอเองก็อดผ่าครับ อยากผ่านะครับแต่ รพ.เขาไม่เปิดให้ พยาบาลไม่มี หมอดมยาไม่มา แล้วจะผ่ายังไง แต่ รพ.เอกชนเปิดตลอด 7/24 ครับ ทำให้ไปนัดคิวที่เอกชนนี่ระบุวันได้เองเลย ตามสะดวก
ก่อนผ่าตัดคนไข้ก็ต้องรับทราบข้อมูลว่าเราต้องผ่าอะไร หมอจะทำอะไรให้เราบ้าง เราถามได้เลยครับ สิทธิผู้ป่วยเต็มๆ แต่ส่วนใหญ่คนไข้ไม่กล้าถาม หมอบอกผ่าก็ผ่า เอ๊า ไม่ได้นะครับ สิทธิของเรา เขาจะมาปาดเราก็ต้องรู้สิครับว่าจะปาดอะไรตรงไหน ถ้าหมอมีเวลาจะอธิบายแน่ครับ หรือหมอบางท่านอาจไปคุยบนตึกนอนตอนใกล้จะผ่าก็ได้แล้วแต่ครับ เมื่อได้วันผ่าตัดเรียบร้อยก็ถึงขั้นตอนต่อไปครับ
เจาะเลือด ตรวจร่างกาย
ก่อนผ่าตัด คนไข้ทุกคนต้องทำการตรวจเชคสภาพร่างกายก่อนนะครับว่าพร้อมจะผ่าตัดแค่ไหน ก็จะมีพวกเจาะเลือด x-ray ปอด ตรวจ anti HIV(ตรวจเอดส์นั่นแหล่ะ) ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และอาจมีตรวจเพิ่มเติมในกรณีคนไข้มีโรคประจำตัวหรือสูงอายุ การตรวจเหล่านี้เพื่อเป็น base line ให้ทราบว่าร่างกายเราเป็นแบบนี้นะ ตอน intraop และ post op จะได้ทราบการเปลี่ยนแปลง หรือในบางคนมีโรคประจำตัวอยู่ ก็ต้องพบแพทย์เฉพาะทางโรคนั้นๆ หรือพบอายุรแพทย์ก่อนที่จะผ่าตัด ตรงนี้สำคัญมาก ถ้าอายุรแพทย์ดูแล้ว ยังไม่ปลอดภัยที่จะผ่าตัด หมอผ่าตัดก็ไม่สามารถทำได้นะครับ ต้องรักษาโรคให้หายหรือให้ stable ก่อน หากอายุรแพทย์เตือนแล้ว แต่หมอผ่าตัดยังดันทุรังผ่า แล้วเกิดปัญหาขึ้นมา จบเห่เลยครับ
x-ray ปอดทำไม?? บางคนอาจถาม ผมเองก็เคยโดนถามครับ ต้องบอกยังงี้ว่าการผ่าตัดที่ต้องให้ยาระงับปวด หรือยาสลบ วิธีที่รวดเร็วที่สุด และง่ายที่สุดคือการใส่ท่อช่วยหายใจ ดังนั้นเรา x-ray ปอดดูว่าปอดเรามีปัญหาอะไรไหม ติดเชื้อ หรือวัณโรค หรือมีอะไรในปอดไหม เพราะการใส่ท่อ เราต้องเอาท่อไปจ่อที่ปอด หากปอดมีปัญหา อาจทำให้ติดเชื้อง่าย หรือแลกเปลี่ยนอากาศได้ไม่เต็มที่ครับ...บางคนอาจบอกว่า ชั้นผ่าแบบบล๊อคหลังนี่ จะตรวจทำไมล่ะ ยังไงก็ไม่ใส่ท่อ...อย่างที่บอกว่าการใส่ท่อเป็นการนำสลบที่เร็วที่สุด และง่ายที่สุด ถึงแม้ว่าคุณจะใช้วิธีบล๊อคหลังก็ตาม แต่หากว่าหมอเขาบล๊อคไม่ได้ หรือบล๊อคแล้วมีปัญหา ก็ต้องเปลี่ยนมาเป็นท่อช่วยหายใจ ดังนั้นเรา x-ray ปอดไว้เลยครับไม่เสียหายอยู่แล้ว
ตรวจเอดส์ทำไม?? ชั้นเป็นสาวบริสุทธิ์นะ หรือลูกชั้นยังเด็กอยู่เลย ทำไมต้องตรวจเอดส์ ... จะบอกว่าหมอไม่รับรู้หรอกครับว่าคุณจะซิงอยู่ไหม แต่การป้องกันไว้ก่อนก็ดีกว่าเสมอ สมัยนี้รู้หน้าไม่รู้ใจครับ การตรวจคัดกรอง HIV เพื่อป้องกันบุคลากรทางการแพทย์ เพราะการผ่าตัดบางชนิดเลือดกระฉูด หรือเป็นละอองฝอย ล่องลอยในอากาศ หากเราทราบว่าคนไข้คนใดเป็นเอดส์ เราจะมีมาตรการ Sterile อีกขั้นนึงครับ เช่นใส่ชุดอวกาศผ่าตัด (อวกาศจริงๆนะครับ)
ด้านซ้ายคือชุดผ่าตัดปกติ ด้านขวาคือชุดอวกาศ
เมื่อทุกอย่างพร้อม ตรวจเลือดแล้ว พบแพทย์อายุกรรมแล้ว ก็เตรียมขึ้นเขียงได้เบยยย
เมื่อถึงวันผ่าตัด
พอถึงวันนัด ซึ่งส่วนใหญ่หมอจะนัดมานอน รพ.ก่อนคืนนึง เพื่อเตรียมความพร้อมขั้นสุดท้าย เมื่อเจอหน้าพยาบาล หรือเจ้าหน้าที่ คำถามจะซ้ำๆกันหมดคือ ชื่อ นามสกุล อายุ มาผ่าอะไร ข้างไหน อย่ารำคาญเขานะครับ เพราะเป็นสิ่งสำคัญ จำเป็นอย่างยิ่งยวด การผ่าคนไข้ผิดคน หรือผิดข้างเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ในทุกกรณี ที่ว่ามานี้มีหมดแล้วนะครับ คนไข้ชื่อสกุลเดียวกัน มาผ่าวันเดียวกัน แต่เป็นคนละโรค ผ่าผิดคน หรือเป็นขาขวา ไปผ่าขาซ้าย นี่ไปกันใหญ่เลยครับ ดังนั้นการ Identified สำคัญมากๆ ท่านจะโดนถามตั้งแต่ประตูทางเข้า ยันก่อนสลบเลยครับ
พอขึ้นตึกนอน ก็จะต้องมีการงดน้ำงดอาหาร (หรือหมอเรียกว่า NPO : Nothing Per Oral) คือห้ามเอาอะไรเข้าไปในปากทั้งสิ้น ความจริงก็ไม่ถุกนัก ต้องบอกว่า ห้ามเอาอะไรลงไปในกระเพาะอาหารทั้งสิ้นไม่ว่าทางปากหรือจมูก บางคนบอกผมไม่ได้กินน้ำกินอาหาร แต่ผมกินโอวัลตินครับแฮะๆ อย่ามาหัวหมอเฟ้ย...ซึ่งการผ่าตัดทั่วไป จะงดน้ำ อาหาร 6 ชั่วโมง เพราะเป็นเวลาที่กระเพาะจะย่อยอาหารหมดและส่งผ่านอาหารไปลำไส้แล้ว (หากเป็นการผ่าลำไส้บางอย่างอาจต้องรอ 8 - 10 ชม.เลย เพื่อให้ขี้ออกไปหมดก่อน)
ทำไมต้องงดด้วยอ่ะ เค้าหิว...เพราะว่าการใส่ท่อช่วยหายใจดังที่กล่าวไว้ย่อหน้าโน้นน ต้องใส่ท่อเข้าไปคาไว้ที่หลอดลม ซึ่งมันแนบชิด สนิดกับหลอดอาหาร มีการเป่าลม ออกซิเจนเข้าไปในปอดเพื่อช่วยหายใจ จังหวะที่ทำการใส่ท่อ หมอดทยาต้องเปิดทั้งหลอดลมและหลอดอาหาร ดังนั้นหากเราซัดโฮกไปเต็มที่ เราจะขย้อนออกมาทำให้อาหารเข้าไปในหลอดลม ลงไปในปอด ไปอุดกั้นท่อลมในปอด ตายได้เลยนะครับ หรือหากไม่อุดกั้น ก็อาจเกิดเป็นภาวะ ปอดติดเชื้อได้เลยนะครับ ซึ่งการติดเชื้อจากการสำลักอาหาร (Aspiration Pneumonia) เนี่ย อัตรายถึงชีวิตได้เลยทีเดียว ทำเป็นเล่นไป ดังนั้นหมอดมยาจะซีเรียสมากกกกกก กับการงดน้ำหรืออาหารก่อนผ่าตัดครับ คนไข้เองก็ห้ามโกหกนะครับ เช่นหิวมากเบย อีกสองชั่วโมงผ่า ขอกรึ๊บ Starbuck สักแก้ว แล้วไม่บอกใคร แบบนี้ตายฟรีนะครับ ถ้าเราเผลอกิน ก็ให้บอกเลย เขาจะได้ Delayed ออกไป ผ่าช้าไปดีกว่าอันตรายถึงชีวิตนะครับ
อ้าว แล้วถ้าคนไข้เร่งด่วนล่ะ เช่นตกเลือด หรืออุบัติเหตุขาหักกระดูกโผล่ ไม่ผ่าภายในชั่วโมงต้องตายจะทำไง...ก็ไม่ทำไงครับก็ต้องผ่า ซึ่งหมอดมยาเขาก็มีเทคนิคการใส่ท่อแบบมีอาหารในกระเพาะเหมือนกัน แต่ก็ยังเสี่ยงต่อการสำลักอยู่ดีครับ แต่ถ้าไม่ผ่าแล้วจะตายแบบนี้ เสี่ยงยังไงก็ต้องทำ...แล้วไมหมอดมยาไม่ทำแบบนี้บ้างเค้าจะได้ไม่หิว...อย่างที่บอกว่ามันเสี่ยง คุณนอนรอชิลๆ 6 ชม.ก็ได้ผ่าปลอดภัย จะมาเสี่ยงทำไมล่ะครับ จริงไหม
พักเบรคก่อน ค่อยมาต่อนะครับ
##### หมอเขาทำงานกันยังไงนะ Part2 การผ่าตัด #####
+++หมอเขาทำงานกันยังไงนะ Part1 OPD +++ http://ppantip.com/topic/30686333
มีเสียงตอบรับที่ดี อิอิ ผมจึงมาเขียน Part 2 ที่ติดไว้ในตอนแรก นั่นคือ "การผ่าตัด" ครับ อย่างเคย ผมจะเขียนบรรยายในส่วนที่ผู้ป่วยต้องพบเจอนะครับ ไม่ได้เขียนในทางของแพทย์ จุดประสงค์เพื่อให้คนที่กำลังจะผ่าตัด มีนัดผ่าตัดแล้ว หรือมีญาติที่จะต้องผ่าตัด เข้าใจในการทำงาน และเราต้องไปพบเจออะไรบ้าง จะได้ไม่กลัวห้องปาดนะครับ
หัวใจของการผ่าตัดให้ได้ผลสำเร็จมีอยู่สามข้อหลักๆครับ
1. Pre operative preparation หมอจะเรียกว่า Pre-op ก็คือการเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
2. Intra operative surgery หรือ Intra-op คือเทคนิค ขั้นตอนการผ่าตัด
3. Post operative care หรือ Post-op ก็คือการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดนั่นเอง
ถามว่าอันไหนสำคัญที่สุด ตอบเลยว่าสำคัญเท่าๆกันหมดครับ เพราะคนไข้จะหายได้ ต้องมี pre-op ที่ดี intraop ที่เก่ง และ postop ที่ยอดเยี่ยม ขาดอันใดอันหนึ่งไม่ได้เลย แต่ถ้าจะให้บอกว่าอันไหนสำคัญน้อยที่สุดในสามอัน หมดผ่าตัดทุกคนจะบอกว่า Intra-op ครับ ... อ้าวๆ งงล่ะสิ ทำไมเทคนิคการผ่ามันไม่สำคัญที่สุดล่ะ เดี๋ยวผมจะบอกให้ฟังครับ
ก่อนเข้าเรื่อง ผมขอกบอกก่อนเลยว่าการผ่าตัดทุกชนิดมีความเสี่ยงหมดครับ ไม่ว่าผ่าเล็ก ผ่าใหญ่ เสี่ยงทั้งเรื่องการดมยาสลบ และเสี่ยงทั้งเรื่องการผ่าตัดเอง แต่ความเสี่ยงที่ว่านี่ไม่ได้มากมายนะครับ บางทีในช่วงชีวิตการผ่าตัดยังไม่เคยเจอเลยก็ได้ แต่ยังไงหมอก็ต้องอธิบายไว้ก่อนครับ ไม่มีอะไร 100% ทางการแพทย์ครับ
1. Pre operative preparation
ก็คือการเตรียมตัวก่อนผ่าตัดครับ เมื่อคนไข้ตรวจ วินิจฉัยแล้ว โรคบางอย่างต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเท่านั้น หรือบางโรคอาจกินยาดูก่อน ไม่ดีขึ้นค่อยผ่าตัดก็ว่ากันไปตามโรค เอาเป็นว่าท่านต้องผ่าตัดละ แพทย์ก็จะนัดเวลาผ่า ถ้าเป็นโรคไม่ฉุกเฉิน รอได้ ใน รพ.รัฐบาลบางแห่งคิวอาจรอเป็นเดือนๆครับ เพราะการผ่าตัดวันนึงทำได้อย่างมาก 8 เคส คนไข้มา รพ.กันหลักหมื่นต่อเดือน ผ่าได้เดือนละประมาณ 200 คน ทำให้ต้องรอคิวนานเป็นเรื่องปกติเลยครับ ทำใจ จะบอกว่า รพ.รัฐ 4 โมงเย็นห้องผ่าตัดปิดนะครับ รับแต่ฉุกเฉิน เสาร์ อาทิตย์ก็ปิด วันหยุดสำคัญต่างๆก็ปิดหมด ก็ราชการนี่ครับเหอๆ หมอเองก็อดผ่าครับ อยากผ่านะครับแต่ รพ.เขาไม่เปิดให้ พยาบาลไม่มี หมอดมยาไม่มา แล้วจะผ่ายังไง แต่ รพ.เอกชนเปิดตลอด 7/24 ครับ ทำให้ไปนัดคิวที่เอกชนนี่ระบุวันได้เองเลย ตามสะดวก
ก่อนผ่าตัดคนไข้ก็ต้องรับทราบข้อมูลว่าเราต้องผ่าอะไร หมอจะทำอะไรให้เราบ้าง เราถามได้เลยครับ สิทธิผู้ป่วยเต็มๆ แต่ส่วนใหญ่คนไข้ไม่กล้าถาม หมอบอกผ่าก็ผ่า เอ๊า ไม่ได้นะครับ สิทธิของเรา เขาจะมาปาดเราก็ต้องรู้สิครับว่าจะปาดอะไรตรงไหน ถ้าหมอมีเวลาจะอธิบายแน่ครับ หรือหมอบางท่านอาจไปคุยบนตึกนอนตอนใกล้จะผ่าก็ได้แล้วแต่ครับ เมื่อได้วันผ่าตัดเรียบร้อยก็ถึงขั้นตอนต่อไปครับ
เจาะเลือด ตรวจร่างกาย
ก่อนผ่าตัด คนไข้ทุกคนต้องทำการตรวจเชคสภาพร่างกายก่อนนะครับว่าพร้อมจะผ่าตัดแค่ไหน ก็จะมีพวกเจาะเลือด x-ray ปอด ตรวจ anti HIV(ตรวจเอดส์นั่นแหล่ะ) ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และอาจมีตรวจเพิ่มเติมในกรณีคนไข้มีโรคประจำตัวหรือสูงอายุ การตรวจเหล่านี้เพื่อเป็น base line ให้ทราบว่าร่างกายเราเป็นแบบนี้นะ ตอน intraop และ post op จะได้ทราบการเปลี่ยนแปลง หรือในบางคนมีโรคประจำตัวอยู่ ก็ต้องพบแพทย์เฉพาะทางโรคนั้นๆ หรือพบอายุรแพทย์ก่อนที่จะผ่าตัด ตรงนี้สำคัญมาก ถ้าอายุรแพทย์ดูแล้ว ยังไม่ปลอดภัยที่จะผ่าตัด หมอผ่าตัดก็ไม่สามารถทำได้นะครับ ต้องรักษาโรคให้หายหรือให้ stable ก่อน หากอายุรแพทย์เตือนแล้ว แต่หมอผ่าตัดยังดันทุรังผ่า แล้วเกิดปัญหาขึ้นมา จบเห่เลยครับ
x-ray ปอดทำไม?? บางคนอาจถาม ผมเองก็เคยโดนถามครับ ต้องบอกยังงี้ว่าการผ่าตัดที่ต้องให้ยาระงับปวด หรือยาสลบ วิธีที่รวดเร็วที่สุด และง่ายที่สุดคือการใส่ท่อช่วยหายใจ ดังนั้นเรา x-ray ปอดดูว่าปอดเรามีปัญหาอะไรไหม ติดเชื้อ หรือวัณโรค หรือมีอะไรในปอดไหม เพราะการใส่ท่อ เราต้องเอาท่อไปจ่อที่ปอด หากปอดมีปัญหา อาจทำให้ติดเชื้อง่าย หรือแลกเปลี่ยนอากาศได้ไม่เต็มที่ครับ...บางคนอาจบอกว่า ชั้นผ่าแบบบล๊อคหลังนี่ จะตรวจทำไมล่ะ ยังไงก็ไม่ใส่ท่อ...อย่างที่บอกว่าการใส่ท่อเป็นการนำสลบที่เร็วที่สุด และง่ายที่สุด ถึงแม้ว่าคุณจะใช้วิธีบล๊อคหลังก็ตาม แต่หากว่าหมอเขาบล๊อคไม่ได้ หรือบล๊อคแล้วมีปัญหา ก็ต้องเปลี่ยนมาเป็นท่อช่วยหายใจ ดังนั้นเรา x-ray ปอดไว้เลยครับไม่เสียหายอยู่แล้ว
ตรวจเอดส์ทำไม?? ชั้นเป็นสาวบริสุทธิ์นะ หรือลูกชั้นยังเด็กอยู่เลย ทำไมต้องตรวจเอดส์ ... จะบอกว่าหมอไม่รับรู้หรอกครับว่าคุณจะซิงอยู่ไหม แต่การป้องกันไว้ก่อนก็ดีกว่าเสมอ สมัยนี้รู้หน้าไม่รู้ใจครับ การตรวจคัดกรอง HIV เพื่อป้องกันบุคลากรทางการแพทย์ เพราะการผ่าตัดบางชนิดเลือดกระฉูด หรือเป็นละอองฝอย ล่องลอยในอากาศ หากเราทราบว่าคนไข้คนใดเป็นเอดส์ เราจะมีมาตรการ Sterile อีกขั้นนึงครับ เช่นใส่ชุดอวกาศผ่าตัด (อวกาศจริงๆนะครับ)
ด้านซ้ายคือชุดผ่าตัดปกติ ด้านขวาคือชุดอวกาศ
เมื่อทุกอย่างพร้อม ตรวจเลือดแล้ว พบแพทย์อายุกรรมแล้ว ก็เตรียมขึ้นเขียงได้เบยยย
เมื่อถึงวันผ่าตัด
พอถึงวันนัด ซึ่งส่วนใหญ่หมอจะนัดมานอน รพ.ก่อนคืนนึง เพื่อเตรียมความพร้อมขั้นสุดท้าย เมื่อเจอหน้าพยาบาล หรือเจ้าหน้าที่ คำถามจะซ้ำๆกันหมดคือ ชื่อ นามสกุล อายุ มาผ่าอะไร ข้างไหน อย่ารำคาญเขานะครับ เพราะเป็นสิ่งสำคัญ จำเป็นอย่างยิ่งยวด การผ่าคนไข้ผิดคน หรือผิดข้างเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ในทุกกรณี ที่ว่ามานี้มีหมดแล้วนะครับ คนไข้ชื่อสกุลเดียวกัน มาผ่าวันเดียวกัน แต่เป็นคนละโรค ผ่าผิดคน หรือเป็นขาขวา ไปผ่าขาซ้าย นี่ไปกันใหญ่เลยครับ ดังนั้นการ Identified สำคัญมากๆ ท่านจะโดนถามตั้งแต่ประตูทางเข้า ยันก่อนสลบเลยครับ
พอขึ้นตึกนอน ก็จะต้องมีการงดน้ำงดอาหาร (หรือหมอเรียกว่า NPO : Nothing Per Oral) คือห้ามเอาอะไรเข้าไปในปากทั้งสิ้น ความจริงก็ไม่ถุกนัก ต้องบอกว่า ห้ามเอาอะไรลงไปในกระเพาะอาหารทั้งสิ้นไม่ว่าทางปากหรือจมูก บางคนบอกผมไม่ได้กินน้ำกินอาหาร แต่ผมกินโอวัลตินครับแฮะๆ อย่ามาหัวหมอเฟ้ย...ซึ่งการผ่าตัดทั่วไป จะงดน้ำ อาหาร 6 ชั่วโมง เพราะเป็นเวลาที่กระเพาะจะย่อยอาหารหมดและส่งผ่านอาหารไปลำไส้แล้ว (หากเป็นการผ่าลำไส้บางอย่างอาจต้องรอ 8 - 10 ชม.เลย เพื่อให้ขี้ออกไปหมดก่อน)
ทำไมต้องงดด้วยอ่ะ เค้าหิว...เพราะว่าการใส่ท่อช่วยหายใจดังที่กล่าวไว้ย่อหน้าโน้นน ต้องใส่ท่อเข้าไปคาไว้ที่หลอดลม ซึ่งมันแนบชิด สนิดกับหลอดอาหาร มีการเป่าลม ออกซิเจนเข้าไปในปอดเพื่อช่วยหายใจ จังหวะที่ทำการใส่ท่อ หมอดทยาต้องเปิดทั้งหลอดลมและหลอดอาหาร ดังนั้นหากเราซัดโฮกไปเต็มที่ เราจะขย้อนออกมาทำให้อาหารเข้าไปในหลอดลม ลงไปในปอด ไปอุดกั้นท่อลมในปอด ตายได้เลยนะครับ หรือหากไม่อุดกั้น ก็อาจเกิดเป็นภาวะ ปอดติดเชื้อได้เลยนะครับ ซึ่งการติดเชื้อจากการสำลักอาหาร (Aspiration Pneumonia) เนี่ย อัตรายถึงชีวิตได้เลยทีเดียว ทำเป็นเล่นไป ดังนั้นหมอดมยาจะซีเรียสมากกกกกก กับการงดน้ำหรืออาหารก่อนผ่าตัดครับ คนไข้เองก็ห้ามโกหกนะครับ เช่นหิวมากเบย อีกสองชั่วโมงผ่า ขอกรึ๊บ Starbuck สักแก้ว แล้วไม่บอกใคร แบบนี้ตายฟรีนะครับ ถ้าเราเผลอกิน ก็ให้บอกเลย เขาจะได้ Delayed ออกไป ผ่าช้าไปดีกว่าอันตรายถึงชีวิตนะครับ
อ้าว แล้วถ้าคนไข้เร่งด่วนล่ะ เช่นตกเลือด หรืออุบัติเหตุขาหักกระดูกโผล่ ไม่ผ่าภายในชั่วโมงต้องตายจะทำไง...ก็ไม่ทำไงครับก็ต้องผ่า ซึ่งหมอดมยาเขาก็มีเทคนิคการใส่ท่อแบบมีอาหารในกระเพาะเหมือนกัน แต่ก็ยังเสี่ยงต่อการสำลักอยู่ดีครับ แต่ถ้าไม่ผ่าแล้วจะตายแบบนี้ เสี่ยงยังไงก็ต้องทำ...แล้วไมหมอดมยาไม่ทำแบบนี้บ้างเค้าจะได้ไม่หิว...อย่างที่บอกว่ามันเสี่ยง คุณนอนรอชิลๆ 6 ชม.ก็ได้ผ่าปลอดภัย จะมาเสี่ยงทำไมล่ะครับ จริงไหม
พักเบรคก่อน ค่อยมาต่อนะครับ