บทความนี้ อ้างอิงจากหนังสือ ชีวประวัติ พระวิสุทธิญาณเถร (หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย)
โดยการนับญาติแล้ว หลวงปู่ป่อง จันทสาโร เป็นหลวงน้าของ หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย
เนื่องจากเป็นคณะเดียวกันที่เดินทางไปถวายตัวกับหลวงปู่มั่นฯ
ภาพหลวงปู่ป่อง จันทสาโร
ประวัติเท่าที่สืบค้นได้ของหลวงปู่ป่อง จันทสาโร นั้น ท่านเป็นคนบ้านน้ำเข็ง (ติดบ้านเหล่างิ้ว) อำเภอจังหาร จังหวัด ร้อยเอ็ด อุปนิสัยของหลวงปู่ป่อง เป็นคนพูดน้อย ถือสันโดษ ในปี พ.ศ.๒๔๘๗ ท่านพร้อมสหธรรมมิก ได้ยินกิตติศัพท์ร่ำลือในสมัยนั้นว่ามีพระอรหันต์ นามว่า หลวงปู่มั่น ภูริทัตตะเถระ
วัดป่าศรีไพรวัน เปรียบเสมือนศูนย์กลางของพระสายป่าในภูมิภาคนี้ ครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่หลายรูปจะเดินทางมาจากทิศไหนก็มักจะแวะเข้ามาพักแรมที่นี่ และจะเดินทางต่อไปยังสำนักครูบาอาจารย์ไหน ก็จะมาพักแรมกันที่นี่ เช่นกัน แล้วครูบาอาจารย์เหล่านั้นก็มักจะพูดคุยแลกเปลี่ยนกันว่า “...ได้เดินทางไปกราบหลวงปู่มั่น... ได้ไปฟังเทศน์พระอรหันต์ เพิ่งกลับลงมา...” บ้างก็พูดคุยสนทนากันว่า “...มาพักเตรียมตัวเพื่อจะเดินทางไปสู่สำนักหลวงปู่มั่น เพื่อจะไปกราบพระอรหันต์...” คำพูดทำนองนี้จะได้ยินได้ฟังแทบทุกวัน
คณะของหลวงปู่ป่อง จันทสาโร ที่จะเดินทางไปกราบหลวงปู่มั่นในคราวครั้งนั้นมีด้วยกันรวม ๕ รูป ออกเดินทางมุ่งหน้าสู่สำนักหลวงปู่มั่นภายหลังจากออกพรรษาในปีนั้นแล้วนั่นเอง ในระหว่างทางที่ผ่านไป คณะของหลวงปู่ป่องก็ได้แวะกราบครูบาอาจารย์และศึกษาข้อวัตรปฏิบัติตามสำนักกรรมฐานซึ่งมีอยู่ในระหว่างทางเรื่อยไป เช่นสำนักของท่านพระอาจารย์แดง วัดป่าสักวัน อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ สำนักของท่านพระอาจารย์สอน ภูค้อ เป็นลำดับไป จนถึงเขตสาขาสำนักหลวงปู่มั่น คือ สำนักของท่านพระอาจารย์ กู่ ธมฺมทินฺโน วัดป่าบ้านโคกมะนาว ซึ่งเป็นสำนักหน้าด่านตั้งอยู่รอบนอก ซึ่งตามปกติแล้ว ผู้ที่จะเข้าไปสู่สำนักหลวงปู่มั่น จะต้องผ่านการฝึกฝนอบรมจิตใจ และฝึกระเบียบ มารยาทให้เรียบร้อยเป็นอย่างดีเสียก่อน ครูบาอาจารย์จึงจะปล่อยให้เข้าไปถึงสำนักหลวงปู่มั่นได้ สำหรับคณะของหลวงปู่ป่อง จันทสาโร ก็อยู่ในฐานะ เช่นนั้นเหมือนกัน เมื่อได้อยู่ฝึกฝนอบรมจิตใจ และฝึกมารยาทพอสมควรแล้ว หลวงปู่ป่องฯ และคณะที่เดินทาง ประกอบด้วย
๑. ท่านพระอาจารย์ ประสบ
๒. ท่านพระอาจารย์ อินตา
๓. หลวงปู่ ป่อง จนฺทสาโร
๔. หลวงปู่ สุวัจน์ สุจโจ (พระโพธิธรรมาจารย์เถร)
๕. หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย (ในขณะนั้นยังเป็นสามเณร)
ทั้งหมดได้พากันเข้าไปมอบกายถวายตัวเป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺตเถร เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๔๘๗ ณ.วัดป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ในขณะนั้น หลวงปู่ สมชาย ฐิตวิริโย ยังเป็นสามเณร ในลำดับแรกเมื่อได้เข้าไปถึงสำนักหลวงปู่มั่น ก็ได้รับกระแสแห่งบารมีธรรมของหลวงปู่มั่นปกคลุมทั่วหัวใจ และได้เห็นความสะอาดสะอ้านภายในบริเวณวัด ตลอดถนนหนทาง และสถานที่อยู่ของพระสงฆ์ครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติธรรมทุกแห่ง มีแต่ความร่มเย็น ร่มรื่น สวยงามตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นบรรยากาศที่ชวนให้ต้องการภาวนา ดูประหนึ่งว่าจิตใจเริ่มเป็นสมาธิ ตั้งแต่ยังไม่ได้เข้าสู่สถานที่ปฏิบัติ นอกเหนือไปกว่านั้น ก็ได้เห็นความเป็นระเบียบเรียบร้อยและมารยาทอันงดงามของหลวงปู่มั่น ที่ได้เมตตาออกมาไตร่ถามให้การปฏิสันถารต้อนรับอาคันตุกะชั้นผู้น้อยอย่างคณะของหลวงปู่ฯ จึงยังความปลื้มปีติยินดี แล่นเข้าไปจับยังขั้วหัวใจ ความอิ่มเอิบซาบซึ้ง ได้เกิดขึ้นอย่างแปลกประหลาดและไม่เคยได้รับมาก่อนจากสำนักใด ๆ เท่า ที่ได้เคยผ่านมา จึงนับว่าวันนั้นเป็นวันปฐมฤกษ์แห่งความเป็นอุดมมงคล ในชีวิตนี้ที่จะลืมลงไม่ได้เป็นอันขาด
ภายหลังที่หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ได้เริ่มสร้างวัดเขาสุกิม หลวงปู่ป่องฯ ได้เดินทางมาพำนักหลายครั้ง จวบจน
กาล ๕ พรรษาสุดท้าย หลวงปู่ป่อง จันทสาโร ได้อยู่ปฏิบัติภาวนาและจำพรรษาอยู่ที่ วัดป่าบ้านแจ้ง อ.จังหาร จ.ร้อยเอ็ด
ภาพหลังท่านละสังขาร ประมาณ ๒-๓ ปี จึงพบว่า โลหิต เกศา และอัฐิ ได้แปรสภาพเป็นพระธาตุ
เชิญเข้าชม เจดีย์ฯ อัฐบริขาร หลวงปู่ป่อง จนฺทสาโร ได้ที่
http://jediwp.blogspot.com/
คุณธรรมหลวงปู่ป่อง จันทสาโร หนึ่งในศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่น้อยคนนักจะรู้จัก
โดยการนับญาติแล้ว หลวงปู่ป่อง จันทสาโร เป็นหลวงน้าของ หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย
เนื่องจากเป็นคณะเดียวกันที่เดินทางไปถวายตัวกับหลวงปู่มั่นฯ
ภาพหลวงปู่ป่อง จันทสาโร
ประวัติเท่าที่สืบค้นได้ของหลวงปู่ป่อง จันทสาโร นั้น ท่านเป็นคนบ้านน้ำเข็ง (ติดบ้านเหล่างิ้ว) อำเภอจังหาร จังหวัด ร้อยเอ็ด อุปนิสัยของหลวงปู่ป่อง เป็นคนพูดน้อย ถือสันโดษ ในปี พ.ศ.๒๔๘๗ ท่านพร้อมสหธรรมมิก ได้ยินกิตติศัพท์ร่ำลือในสมัยนั้นว่ามีพระอรหันต์ นามว่า หลวงปู่มั่น ภูริทัตตะเถระ
วัดป่าศรีไพรวัน เปรียบเสมือนศูนย์กลางของพระสายป่าในภูมิภาคนี้ ครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่หลายรูปจะเดินทางมาจากทิศไหนก็มักจะแวะเข้ามาพักแรมที่นี่ และจะเดินทางต่อไปยังสำนักครูบาอาจารย์ไหน ก็จะมาพักแรมกันที่นี่ เช่นกัน แล้วครูบาอาจารย์เหล่านั้นก็มักจะพูดคุยแลกเปลี่ยนกันว่า “...ได้เดินทางไปกราบหลวงปู่มั่น... ได้ไปฟังเทศน์พระอรหันต์ เพิ่งกลับลงมา...” บ้างก็พูดคุยสนทนากันว่า “...มาพักเตรียมตัวเพื่อจะเดินทางไปสู่สำนักหลวงปู่มั่น เพื่อจะไปกราบพระอรหันต์...” คำพูดทำนองนี้จะได้ยินได้ฟังแทบทุกวัน
คณะของหลวงปู่ป่อง จันทสาโร ที่จะเดินทางไปกราบหลวงปู่มั่นในคราวครั้งนั้นมีด้วยกันรวม ๕ รูป ออกเดินทางมุ่งหน้าสู่สำนักหลวงปู่มั่นภายหลังจากออกพรรษาในปีนั้นแล้วนั่นเอง ในระหว่างทางที่ผ่านไป คณะของหลวงปู่ป่องก็ได้แวะกราบครูบาอาจารย์และศึกษาข้อวัตรปฏิบัติตามสำนักกรรมฐานซึ่งมีอยู่ในระหว่างทางเรื่อยไป เช่นสำนักของท่านพระอาจารย์แดง วัดป่าสักวัน อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ สำนักของท่านพระอาจารย์สอน ภูค้อ เป็นลำดับไป จนถึงเขตสาขาสำนักหลวงปู่มั่น คือ สำนักของท่านพระอาจารย์ กู่ ธมฺมทินฺโน วัดป่าบ้านโคกมะนาว ซึ่งเป็นสำนักหน้าด่านตั้งอยู่รอบนอก ซึ่งตามปกติแล้ว ผู้ที่จะเข้าไปสู่สำนักหลวงปู่มั่น จะต้องผ่านการฝึกฝนอบรมจิตใจ และฝึกระเบียบ มารยาทให้เรียบร้อยเป็นอย่างดีเสียก่อน ครูบาอาจารย์จึงจะปล่อยให้เข้าไปถึงสำนักหลวงปู่มั่นได้ สำหรับคณะของหลวงปู่ป่อง จันทสาโร ก็อยู่ในฐานะ เช่นนั้นเหมือนกัน เมื่อได้อยู่ฝึกฝนอบรมจิตใจ และฝึกมารยาทพอสมควรแล้ว หลวงปู่ป่องฯ และคณะที่เดินทาง ประกอบด้วย
๑. ท่านพระอาจารย์ ประสบ
๒. ท่านพระอาจารย์ อินตา
๓. หลวงปู่ ป่อง จนฺทสาโร
๔. หลวงปู่ สุวัจน์ สุจโจ (พระโพธิธรรมาจารย์เถร)
๕. หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย (ในขณะนั้นยังเป็นสามเณร)
ทั้งหมดได้พากันเข้าไปมอบกายถวายตัวเป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺตเถร เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๔๘๗ ณ.วัดป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ในขณะนั้น หลวงปู่ สมชาย ฐิตวิริโย ยังเป็นสามเณร ในลำดับแรกเมื่อได้เข้าไปถึงสำนักหลวงปู่มั่น ก็ได้รับกระแสแห่งบารมีธรรมของหลวงปู่มั่นปกคลุมทั่วหัวใจ และได้เห็นความสะอาดสะอ้านภายในบริเวณวัด ตลอดถนนหนทาง และสถานที่อยู่ของพระสงฆ์ครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติธรรมทุกแห่ง มีแต่ความร่มเย็น ร่มรื่น สวยงามตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นบรรยากาศที่ชวนให้ต้องการภาวนา ดูประหนึ่งว่าจิตใจเริ่มเป็นสมาธิ ตั้งแต่ยังไม่ได้เข้าสู่สถานที่ปฏิบัติ นอกเหนือไปกว่านั้น ก็ได้เห็นความเป็นระเบียบเรียบร้อยและมารยาทอันงดงามของหลวงปู่มั่น ที่ได้เมตตาออกมาไตร่ถามให้การปฏิสันถารต้อนรับอาคันตุกะชั้นผู้น้อยอย่างคณะของหลวงปู่ฯ จึงยังความปลื้มปีติยินดี แล่นเข้าไปจับยังขั้วหัวใจ ความอิ่มเอิบซาบซึ้ง ได้เกิดขึ้นอย่างแปลกประหลาดและไม่เคยได้รับมาก่อนจากสำนักใด ๆ เท่า ที่ได้เคยผ่านมา จึงนับว่าวันนั้นเป็นวันปฐมฤกษ์แห่งความเป็นอุดมมงคล ในชีวิตนี้ที่จะลืมลงไม่ได้เป็นอันขาด
ภายหลังที่หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ได้เริ่มสร้างวัดเขาสุกิม หลวงปู่ป่องฯ ได้เดินทางมาพำนักหลายครั้ง จวบจน
กาล ๕ พรรษาสุดท้าย หลวงปู่ป่อง จันทสาโร ได้อยู่ปฏิบัติภาวนาและจำพรรษาอยู่ที่ วัดป่าบ้านแจ้ง อ.จังหาร จ.ร้อยเอ็ด
ภาพหลังท่านละสังขาร ประมาณ ๒-๓ ปี จึงพบว่า โลหิต เกศา และอัฐิ ได้แปรสภาพเป็นพระธาตุ
เชิญเข้าชม เจดีย์ฯ อัฐบริขาร หลวงปู่ป่อง จนฺทสาโร ได้ที่ http://jediwp.blogspot.com/