ในตอนเป็นวัยรุ่น ผมได้ยินคำถามมากมายจากเพื่อนต่างศาสนิกที่มักสงสัยในการปฏิบัติศาสนกิจของผม เช่น ทำไมผมต้องละหมาด? ละหมาดแล้วได้อะไร?
ด้วยปัญญาที่มีอยู่น้อยนิดในวัยรุ่น ผมตอบเพื่อนไปแค่เพียงว่า “ผมเป็นมุสลิมและอิสลาม กำหนดให้ผมต้องละหมาด ถ้าผมไม่ละหมาดผมก็ไม่ต่างอะไรจากผู้ที่มิใช่มุสลิม” ผมตอบแค่นั้นจริงๆ แต่เรื่องละหมาดแล้วได้อะไร ผมไม่อาจตอบเพื่อนได้ในตอนนั้น เพราะผมยังไม่มีวุฒิภาวะเพียงพอ จะตอบเพื่อนว่าละหมาดแล้วได้เงินทอง มันก็ไม่ใช่ จะตอบว่าละหมาดแล้วเรียนเก่ง ผมก็สอบสู้เพื่อนไม่ได้ สรุปแล้วผมไม่ได้อะไรจริงๆจากการละหมาดนอกจากความเป็นมุสลิม
เมื่อเติบใหญ่มีภูมิปัญญาและรู้จักคิดมากขึ้น ผมจึงรู้ว่าการละหมาดให้อะไรแก่ผมมากมาย ซึ่งผมอยากจะตอบเพื่อนคนนั้น แต่น่าเสียดายที่เราต่างต้องแยกย้ายกันไปตามวิถีของแต่ละคน เราจึงไม่ได้พบกัน และพบกันไม่ได้ด้วยเนื่องจากเพื่อนผู้นั้นลาจากโลกนี้ไปแล้ว
แม้ผมไม่ได้รับอะไรตอบแทนจากการละหมาดในรูปวัตถุเหมือนกับการทำงาน ผมก็ยังทำละหมาดวันละ 5 เวลาอยู่จนกระทั่งทุกวันนี้ หากไม่ได้ละหมาดเวลาใดจะรู้สึกไม่สบายใจถึงขั้นรู้สึกผิด แต่การละหมาดโดยไม่ได้รับอะไรตอบแทนนั่นแหละทำให้ผมได้รับอะไรมากมาย อย่างน้อยที่สุดการละหมาดสอนผมรู้จักความบริสุทธิ์ใจ เพราะเมื่อเริ่มต้นละหมาด ผมต้องตั้งเจตนาเสียก่อนว่าผมละหมาดเพราะพระองค์สั่งให้ผมละหมาดและผมทำละหมาดเพื่อพระองค์
การละหมาดจึงให้บทเรียนแก่ผมว่าถ้าผมจะทำดีอะไรสักอย่างหรือกับใครบางคน ผมจะไม่หวังการตอบแทนใดๆจากมนุษย์ เพราะมนุษย์อาจทำให้เราผิดหวังได้ และถ้าเรารู้สึกผิดหวังกับใคร เราจะไม่ทำดีกับคนผู้นั้นซึ่งส่งผลให้การทำดีของเราไม่ยั่งยืน แต่ถ้าหากเราทำเพื่อพระเจ้าและหวังการตอบแทนจากพระองค์ มันก็ทำให้เราทำดีต่อไปโดยไม่สนใจไยดีต่อการตอบแทนของมนุษย์ เพราะมนุษย์จะมั่งคั่งร่ำรวยเพียงใดก็ไม่สามารถให้ได้เท่ากับพระเจ้า คิดได้อย่างนี้อย่างน้อยที่สุดก็ได้ความสุขจากการให้แล้ว
ยิ่งคิดก็ยิ่งเห็นคุณค่าของการละหมาดยิ่งขึ้น ในฐานะเป็นมนุษย์ที่ชีวิตประกอบด้วยร่างกายและวิญญาณ ชีวิตจะสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อร่างกายและวิญญาณได้รับการตอบสนองอย่างสมดุล ถ้าร่างกายต้องการอาหาร วิญญาณก็ต้องการเช่นกัน ถ้าร่างกายต้องการการพักผ่อน วิญญาณก็ต้องการเช่นกัน ถ้าร่างกายต้องการการออกกำลังเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง วิญญาณก็ต้องการเช่นกัน
ร่างกายต้องการอาหารวันละ 3 เวลา แต่ถ้าร่างกายไม่มีวิญญาณ ร่างกายก็ไม่มีโอกาสได้กินอีกต่อไป มองจากจุดนี้แล้ววิญญาณจึงมีความสำคัญกว่า ดังนั้น พระเจ้าจึงได้สั่งบ่าวของพระองค์ให้ละหมาดเพื่อเป็นการให้อาหารทางจิตวิญญาณวันละ 5 เวลา เมื่อจิตวิญญาณเข้มแข็ง สุขภาพร่างกายก็จะดีไปเอง
นั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไมทุกวันนี้การแพทย์สมัยใหม่จึงแนะนำให้คนไข้สวดมนต์อธิษฐานเพื่อเป็นการฟื้นฟูสุขภาพด้วย
มนุษย์ทุกคนต่างต้องทำงาน แต่มนุษย์มิใช่เครื่องจักร มนุษย์จำเป็นต้องมีช่วงเวลาพักเพื่อให้ร่างกายคลายความเหนื่อยล้าและมีสภาพสดชื่นเพื่อที่จะได้กลับมาทำงานอย่างมีประสิทธิภาพอีกครั้งหนึ่ง นั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไมหน่วยงานต่างๆจึงต้องมีเวลาพักกลางวัน ต้องมีวันหยุดประจำสัปดาห์และวันหยุดพักร้อนให้พนักงาน
การได้หยุดพักร้อน ทำให้เราลืมเรื่องงานประจำที่น่าเบื่อหน่ายและรู้สึกกระปรี้กระเปร่าเมื่อกลับมาทำงานใหม่ การละหมาดในเวลากลางวันและตอนบ่ายที่ใช้เวลาครั้งละไม่เกิน 15 นาทีก็เป็นช่วงเวลาที่จิตวิญญาณได้พักผ่อนและกลับสดชื่นขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เหนื่อยล้าหรือเครียดมาครึ่งวัน หลังจากกินอาหารกลางวัน การชำระล้างร่างกายเพื่อเตรียมตัวละหมาดทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นขึ้นมาฉับพลัน เมื่อเข้าสู่การละหมาด ผมต้องตัดทุกสิ่งที่อีนุงตุงนังอยู่ในสมองออกไปเพื่อทุ่มเทสมาธิทั้งหมดให้แก่การละหมาด สมองจึงรู้สึกโล่งไปชั่วขณะเหมือนได้พักร้อน
ผมได้รับเงินเดือนจากการทำงานให้บริษัท แต่ผมไม่เคยก้มกราบเจ้าของบริษัท แม้จะเคารพนับถือเพียงใดก็ตาม แต่ผมก้มกราบพระเจ้าทุกวันในการละหมาดทุกวัน โดยไม่ได้รับอะไรตอบแทนในรูปของวัตถุ เจ้าของบริษัทซึ่งมิได้เป็นมุสลิมเข้าใจวิถีชีวิตของผมดีและไว้ใจผมเป็นพิเศษจากการที่เห็นผมละหมาดอย่างสม่ำเสมอ
ถ้าร่างกายต้องการการออกกำลังเพื่อสุขภาพที่แข็งแรงและร่างกายที่แข็งแกร่ง วิญญาณก็เช่นกัน การละหมาดทุกวันเป็นเสมือนกับการออกกำลังทางด้านจิตวิญญาณ มันทำให้จิตใจแข็งแกร่งซึ่งจำเป็นสำหรับการเอาชนะตัวตนที่ต้องการความสนุกสนานทางโลก บ่อยครั้งที่รายการแข่งขันฟุตบอลหรือมวยคู่สำคัญในตอนค่ำตรึงคนให้อยู่หน้าจอโทรทัศน์ แต่สำหรับผม กีฬาจะสนุกสนานเร้าใจอย่างไร มันไม่สามารถดึงผมออกจากการละหมาดได้เลย
ในอิสลามมีคำสอนว่า “สุดยอดของความศรัทธาคือการญิฮาด (การต่อสู้ในหนทางของพระเจ้า) และการญิฮาดที่ยิ่งใหญ่คือการต่อสู้กับจิตใจของตัวเอง” ถ้าไม่ละหมาด ก็ยากที่จะต่อสู้และเอาชนะความต้องการของอารมณ์ได้
บทความโดยอาจารย์บรรจง บินกาซัน ประธานโครงการอบรมผู้สนใจอิสลาม มูลนิธิสันติชน
http://www.oknation.net/blog/knowislam/2012/09/05/entry-1
การละหมาดการพัฒนาจิตวิญญาณ
ด้วยปัญญาที่มีอยู่น้อยนิดในวัยรุ่น ผมตอบเพื่อนไปแค่เพียงว่า “ผมเป็นมุสลิมและอิสลาม กำหนดให้ผมต้องละหมาด ถ้าผมไม่ละหมาดผมก็ไม่ต่างอะไรจากผู้ที่มิใช่มุสลิม” ผมตอบแค่นั้นจริงๆ แต่เรื่องละหมาดแล้วได้อะไร ผมไม่อาจตอบเพื่อนได้ในตอนนั้น เพราะผมยังไม่มีวุฒิภาวะเพียงพอ จะตอบเพื่อนว่าละหมาดแล้วได้เงินทอง มันก็ไม่ใช่ จะตอบว่าละหมาดแล้วเรียนเก่ง ผมก็สอบสู้เพื่อนไม่ได้ สรุปแล้วผมไม่ได้อะไรจริงๆจากการละหมาดนอกจากความเป็นมุสลิม
เมื่อเติบใหญ่มีภูมิปัญญาและรู้จักคิดมากขึ้น ผมจึงรู้ว่าการละหมาดให้อะไรแก่ผมมากมาย ซึ่งผมอยากจะตอบเพื่อนคนนั้น แต่น่าเสียดายที่เราต่างต้องแยกย้ายกันไปตามวิถีของแต่ละคน เราจึงไม่ได้พบกัน และพบกันไม่ได้ด้วยเนื่องจากเพื่อนผู้นั้นลาจากโลกนี้ไปแล้ว
แม้ผมไม่ได้รับอะไรตอบแทนจากการละหมาดในรูปวัตถุเหมือนกับการทำงาน ผมก็ยังทำละหมาดวันละ 5 เวลาอยู่จนกระทั่งทุกวันนี้ หากไม่ได้ละหมาดเวลาใดจะรู้สึกไม่สบายใจถึงขั้นรู้สึกผิด แต่การละหมาดโดยไม่ได้รับอะไรตอบแทนนั่นแหละทำให้ผมได้รับอะไรมากมาย อย่างน้อยที่สุดการละหมาดสอนผมรู้จักความบริสุทธิ์ใจ เพราะเมื่อเริ่มต้นละหมาด ผมต้องตั้งเจตนาเสียก่อนว่าผมละหมาดเพราะพระองค์สั่งให้ผมละหมาดและผมทำละหมาดเพื่อพระองค์
การละหมาดจึงให้บทเรียนแก่ผมว่าถ้าผมจะทำดีอะไรสักอย่างหรือกับใครบางคน ผมจะไม่หวังการตอบแทนใดๆจากมนุษย์ เพราะมนุษย์อาจทำให้เราผิดหวังได้ และถ้าเรารู้สึกผิดหวังกับใคร เราจะไม่ทำดีกับคนผู้นั้นซึ่งส่งผลให้การทำดีของเราไม่ยั่งยืน แต่ถ้าหากเราทำเพื่อพระเจ้าและหวังการตอบแทนจากพระองค์ มันก็ทำให้เราทำดีต่อไปโดยไม่สนใจไยดีต่อการตอบแทนของมนุษย์ เพราะมนุษย์จะมั่งคั่งร่ำรวยเพียงใดก็ไม่สามารถให้ได้เท่ากับพระเจ้า คิดได้อย่างนี้อย่างน้อยที่สุดก็ได้ความสุขจากการให้แล้ว
ยิ่งคิดก็ยิ่งเห็นคุณค่าของการละหมาดยิ่งขึ้น ในฐานะเป็นมนุษย์ที่ชีวิตประกอบด้วยร่างกายและวิญญาณ ชีวิตจะสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อร่างกายและวิญญาณได้รับการตอบสนองอย่างสมดุล ถ้าร่างกายต้องการอาหาร วิญญาณก็ต้องการเช่นกัน ถ้าร่างกายต้องการการพักผ่อน วิญญาณก็ต้องการเช่นกัน ถ้าร่างกายต้องการการออกกำลังเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง วิญญาณก็ต้องการเช่นกัน
ร่างกายต้องการอาหารวันละ 3 เวลา แต่ถ้าร่างกายไม่มีวิญญาณ ร่างกายก็ไม่มีโอกาสได้กินอีกต่อไป มองจากจุดนี้แล้ววิญญาณจึงมีความสำคัญกว่า ดังนั้น พระเจ้าจึงได้สั่งบ่าวของพระองค์ให้ละหมาดเพื่อเป็นการให้อาหารทางจิตวิญญาณวันละ 5 เวลา เมื่อจิตวิญญาณเข้มแข็ง สุขภาพร่างกายก็จะดีไปเอง
นั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไมทุกวันนี้การแพทย์สมัยใหม่จึงแนะนำให้คนไข้สวดมนต์อธิษฐานเพื่อเป็นการฟื้นฟูสุขภาพด้วย
มนุษย์ทุกคนต่างต้องทำงาน แต่มนุษย์มิใช่เครื่องจักร มนุษย์จำเป็นต้องมีช่วงเวลาพักเพื่อให้ร่างกายคลายความเหนื่อยล้าและมีสภาพสดชื่นเพื่อที่จะได้กลับมาทำงานอย่างมีประสิทธิภาพอีกครั้งหนึ่ง นั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไมหน่วยงานต่างๆจึงต้องมีเวลาพักกลางวัน ต้องมีวันหยุดประจำสัปดาห์และวันหยุดพักร้อนให้พนักงาน
การได้หยุดพักร้อน ทำให้เราลืมเรื่องงานประจำที่น่าเบื่อหน่ายและรู้สึกกระปรี้กระเปร่าเมื่อกลับมาทำงานใหม่ การละหมาดในเวลากลางวันและตอนบ่ายที่ใช้เวลาครั้งละไม่เกิน 15 นาทีก็เป็นช่วงเวลาที่จิตวิญญาณได้พักผ่อนและกลับสดชื่นขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เหนื่อยล้าหรือเครียดมาครึ่งวัน หลังจากกินอาหารกลางวัน การชำระล้างร่างกายเพื่อเตรียมตัวละหมาดทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นขึ้นมาฉับพลัน เมื่อเข้าสู่การละหมาด ผมต้องตัดทุกสิ่งที่อีนุงตุงนังอยู่ในสมองออกไปเพื่อทุ่มเทสมาธิทั้งหมดให้แก่การละหมาด สมองจึงรู้สึกโล่งไปชั่วขณะเหมือนได้พักร้อน
ผมได้รับเงินเดือนจากการทำงานให้บริษัท แต่ผมไม่เคยก้มกราบเจ้าของบริษัท แม้จะเคารพนับถือเพียงใดก็ตาม แต่ผมก้มกราบพระเจ้าทุกวันในการละหมาดทุกวัน โดยไม่ได้รับอะไรตอบแทนในรูปของวัตถุ เจ้าของบริษัทซึ่งมิได้เป็นมุสลิมเข้าใจวิถีชีวิตของผมดีและไว้ใจผมเป็นพิเศษจากการที่เห็นผมละหมาดอย่างสม่ำเสมอ
ถ้าร่างกายต้องการการออกกำลังเพื่อสุขภาพที่แข็งแรงและร่างกายที่แข็งแกร่ง วิญญาณก็เช่นกัน การละหมาดทุกวันเป็นเสมือนกับการออกกำลังทางด้านจิตวิญญาณ มันทำให้จิตใจแข็งแกร่งซึ่งจำเป็นสำหรับการเอาชนะตัวตนที่ต้องการความสนุกสนานทางโลก บ่อยครั้งที่รายการแข่งขันฟุตบอลหรือมวยคู่สำคัญในตอนค่ำตรึงคนให้อยู่หน้าจอโทรทัศน์ แต่สำหรับผม กีฬาจะสนุกสนานเร้าใจอย่างไร มันไม่สามารถดึงผมออกจากการละหมาดได้เลย
ในอิสลามมีคำสอนว่า “สุดยอดของความศรัทธาคือการญิฮาด (การต่อสู้ในหนทางของพระเจ้า) และการญิฮาดที่ยิ่งใหญ่คือการต่อสู้กับจิตใจของตัวเอง” ถ้าไม่ละหมาด ก็ยากที่จะต่อสู้และเอาชนะความต้องการของอารมณ์ได้
บทความโดยอาจารย์บรรจง บินกาซัน ประธานโครงการอบรมผู้สนใจอิสลาม มูลนิธิสันติชน
http://www.oknation.net/blog/knowislam/2012/09/05/entry-1