ไปดูฟ้อนผีที่หลังอนุสาวรีย์สามกษัตริย์มาครับ ชื่อเต็มของงานคือประเพณีฟ้อนบวงสรวงบรรพกษัตริย์อารักษ์หลวงแห่งนครเชียงใหม่ จัดโดยคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การฟ้อนผีแบบนี้ที่ถูกควรเรียกว่าการลงเจ้านาย เป็นการอัญเชิญดวงพระวิญญาณของเจ้านายฝ่ายเหนือ ผู้ปกปักรักษาเมืองเชียงใหม่ มาเข้าประทับร่างทรง เพื่ออำนวยอวยพรให้ลูกหลานเหลนโหลนได้อยู่ดีมีสุข ตามคติความเชื่อของชาวล้านนา และได้ปฏิบัติสืบทอนกันมาแต่ครั้งโบราณครับ
ผมได้ไปถ่ายภาพเก็บบรรยากาศ เก็บอารมณ์ของบรรดาม้าขี่ (ร่างทรง) ในอิริยาบทต่าง ๆ และการร่ายรำประกอบปี่พาทย์ล้านนาที่ครึกครื้นเร้าใจ ทุกภาพ ถ่ายด้วยกล้อง Sony Nex5, Nex6 เลนส์มือหมุน Olympus OM Zuiko 50 F1.4 และเลนส์ SEL 55-210 ลดสีสันลงเพื่อเน้นสีหน้าท่าทาง และให้มีอารมณ์ผี ๆ โบราณ ๆ หน่อยครับ
งานประเพณีฟ้อนบวงสรวงบรรพกษัตริย์อารักษ์หลวงแห่งนครเชียงใหม่ จัดขึ้นในวันอาทิตย์ ที่ 29 มิถุนายน 2556
ณ หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ ด้านหลังหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ (อนุสาวรีย์สามกษัตริย์) อ.เมือง จ.เชียงใหม่
คนที่เห็นร่ายรำอยู่ในงาน ล้วนเป็นร่างทรง (ม้าขี่) ของเจ้านาย ซึ่งก็คือวิญญาณของเจ้านายฝ่ายเหนือ ที่ปกปักรักษาเมืองเชียงใหม่ และลูกหลานชาวเชียงใหม่
ต่างมาชุมนุมพบปะสังสรรค์กันในวันนี้ เหมือนกับงานคืนสู่เหย้ายังไงยังงั้น ม้าขี่บางคนเข้าวัยชราแล้วแต่ประทับทรงให้เจ้าน้อย หรือเจ้านายที่เสียชีวิตตั้งแต่ยังเด็กก็จะทำเสียงและิกิริยาท่าทางเป็นเด็ก บางทีม้าขี่เป็นชายแต่ประทับทรงเจ้าผู้หญิงก็จะมีสุ้มเสียงกิริยาอาการเป็นอิสตรีให้เห็น
ทรงเจ้าเข้าผี ที่หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่
การฟ้อนผีแบบนี้ที่ถูกควรเรียกว่าการลงเจ้านาย เป็นการอัญเชิญดวงพระวิญญาณของเจ้านายฝ่ายเหนือ ผู้ปกปักรักษาเมืองเชียงใหม่ มาเข้าประทับร่างทรง เพื่ออำนวยอวยพรให้ลูกหลานเหลนโหลนได้อยู่ดีมีสุข ตามคติความเชื่อของชาวล้านนา และได้ปฏิบัติสืบทอนกันมาแต่ครั้งโบราณครับ
ผมได้ไปถ่ายภาพเก็บบรรยากาศ เก็บอารมณ์ของบรรดาม้าขี่ (ร่างทรง) ในอิริยาบทต่าง ๆ และการร่ายรำประกอบปี่พาทย์ล้านนาที่ครึกครื้นเร้าใจ ทุกภาพ ถ่ายด้วยกล้อง Sony Nex5, Nex6 เลนส์มือหมุน Olympus OM Zuiko 50 F1.4 และเลนส์ SEL 55-210 ลดสีสันลงเพื่อเน้นสีหน้าท่าทาง และให้มีอารมณ์ผี ๆ โบราณ ๆ หน่อยครับ
งานประเพณีฟ้อนบวงสรวงบรรพกษัตริย์อารักษ์หลวงแห่งนครเชียงใหม่ จัดขึ้นในวันอาทิตย์ ที่ 29 มิถุนายน 2556
ณ หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ ด้านหลังหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ (อนุสาวรีย์สามกษัตริย์) อ.เมือง จ.เชียงใหม่
คนที่เห็นร่ายรำอยู่ในงาน ล้วนเป็นร่างทรง (ม้าขี่) ของเจ้านาย ซึ่งก็คือวิญญาณของเจ้านายฝ่ายเหนือ ที่ปกปักรักษาเมืองเชียงใหม่ และลูกหลานชาวเชียงใหม่
ต่างมาชุมนุมพบปะสังสรรค์กันในวันนี้ เหมือนกับงานคืนสู่เหย้ายังไงยังงั้น ม้าขี่บางคนเข้าวัยชราแล้วแต่ประทับทรงให้เจ้าน้อย หรือเจ้านายที่เสียชีวิตตั้งแต่ยังเด็กก็จะทำเสียงและิกิริยาท่าทางเป็นเด็ก บางทีม้าขี่เป็นชายแต่ประทับทรงเจ้าผู้หญิงก็จะมีสุ้มเสียงกิริยาอาการเป็นอิสตรีให้เห็น