หุ้นไอพีโอคืออะไร
ไอ พี โอ หรือ IPO ย่อมาจากคำว่า Initial Public Offering ซึ่งก็คือการเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก การจะมีหุ้นไอพีโอออกเสนอขายหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับว่า บริษัทมองหาแหล่งเงินทุน (ที่นอกเหนือจากเงินกู้) เพื่อขยายกิจการหรือไม่ ถ้าบริษัทต้องการเงินทุนและกระจายการถือครองหุ้นให้ประชาชนทั่วไป ก็สามารถนำหุ้นของตนออกเสนอขายได้ โดยจะต้องทำผ่านบริษัทหลักทรัพย์ที่รับเป็นผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (underwriters) ซึ่งจะต้องได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. และต้องจัดทำหนังสือชี้ชวนตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ล.ต. กำหนดไว้
หลังจากตัดสินใจได้แล้วว่าจะออกหลักทรัพย์เสนอขายแก่ประชาชน บริษัทผู้เสนอขายหลักทรัพย์ (Issuer) ก็จะปรึกษากับ “ที่ปรึกษาทางการเงิน” จัดทำหนังสือชี้ชวนการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ให้มีข้อมูลครบถ้วน ถูกต้อง เพื่อให้นักลงทุนอ่านทำความเข้าใจก่อนตัดสินใจจองซื้อหุ้นได้
คราวนี้มารู้จักกับ “ผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์” หรือที่เราเรียกกันว่า อันเดอร์ไรท์เตอร์ (Underwriter) ซึ่งก็คือบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ ผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ทำหน้าที่เสนอขายหลักทรัพย์แก่ประชาชนทั่วไปแทนบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ ซึ่งการเสนอขายหุ้นไอพีโอแต่ละครั้งจะไม่มีกฎเกณฑ์แน่นอนตายตัวว่าจะจองด้วยวิธีใด ผ่านช่องทางไหน จ่ายเงินอย่างไร หรือจัดสรรอย่างไร ผู้ลงทุนจะต้องศึกษารายละเอียดต่างๆจากหนังสือชี้ชวนเอง เมื่อหุ้นได้รับจัดสรรเรียบร้อยแล้ว ก็จะถูกนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อให้ผู้ถือหุ้นมีโอกาสซื้อขายเปลี่ยนมือบนกระดาน ตลท.ต่อไป
ปล. ด้วยประสบการณ์ที่ยังไม่ยาวนานพอ แต่พอจะเจอประสบการณ์ในบางแง่มุมบ้างของตลาด ซึ่งมีทั้งสมหวังและผิดหวังคละๆกันไป มาวันนี้ผมมองที่หุ้นกลุ่มหลักทรัพย์ด้วยความชื่นชมในความฉลาดแบบไร้ใจของ บริษัทหลักทรัพย์ คนกลุ่มนี้ผมคิดว่าเขารู้ข้อมูลเชิงลึกทุกอย่าง รวมไปถึงมีทุนและไร้กฎเกณฑ์ทุกอย่างเหนือนักลงทุนทั่วไป ทั้งค่าธรรมเนียมและระยะเวลาในการทำป๊อบเทรด ผมไม่เห็น กลต. ทำฮา ให้เท่าเทียมกันบ้าง เริ่มต้นที่ เพื่มค่าธรรมเนียมให้เท่าเทียมกันได้มั๊ย ไม่ต้องไปคุ้มครองมันแล้ว ค่ากินเปล่าจากยอกเทรดวันละหลายหมื่นล้าน หรือว่าวันละหลายหมื่นล้านมันเกี่ยวพันกับการเล่นสั้นเพื่อปั่นตลาดให้กลายเป็นบ่อน ดังนั้นต้นตอหนึ่งที่เกิดฟองสบู่ในตลาดผมมองว่าตัวการหนึ่งที่สำคัญคือ บริษัทหลักทรัพย์ ครับ ที่นี้มาถึง หุ้น IPO ผมก็มองว่าทุกวันนี้การกำหนดราคาโดยอันเดอร์ไรท์เตอร์ ไม่โปร่งใส กำหนดราคาโดยมากกว่าความเป็นจริง เหมือนเป็นคืนกำไรให้ นลท.รายใหญ่ หรือ บริษัทรวยกันตั้งแต่วันแรก สังเกตุจาก ยอดบวกวันแรกเริ่มลดลง จากการขายสวนลงมาให้เม่ารับ และ จนลท.ใหญ่ มักสัมภาษณ์บอกเสมอว่า จะขายในวันแรกทั้งนั้น การจัดสรรหุ้นก็ไม่โปร่งใส ทั้งๆที่ขึ้นชื่อว่า มหาชน อีกอย่างวิธีการประเมิน ใครประเมินหนอยแย่ก็ บริษัทหลักทรัพย์ กินกันพุงกลางตั้งแต่ประเมินเลยมั๊ง แล้วมาบวกเว่อร์ ท้ายสุด ยอมขาดทุนกำไรนิดหน่อยจากมหาศาล เพื่อกระตุ้นเม่าอีกแน่ะ สิ่งที่พูดมาต้องผิดในมุมของบางคนซึ่งผมยอมรับครับ เพราะสิ่งนี้แค่ความคิดส่วนตัวเท่านั้นครับ
ความรู้เพิ่มเติม
นักลงทุนที่เข้าไปซื้อขายหุ้นในตลาด มี 4 ประเภท
ประเภทแรกคือผู้เล่นหุ้นอิสระ หรือที่เรียกว่า " นักลงทุนรายย่อย"
ประเภทที่สองเรียกว่า "นักลงทุนสถาบัน" ซึ่งได้แก่ กองทุนรวม (mutual funds) กองทุนรวมได้เริ่มเข้ามาซื้อขายหุ้นตั้งแต่ปี 2535 ปัจจุบันมีกองทุนรวมที่กำลังเล่นหุ้นแข่งกับกับนักลงทุนรายย่อย
ประเภทที่สามคือ นักลงทุนต่างชาติ เป็นกลุ่มที่มีเงินทุนมากเมื่อเทียบกับปริมาณการซื้อขายในตลาดหุ้นบ้านเรา
ประเภทที่สี่คือ บริษัทหลักทรัพย์ ที่นอกจากจะทำหน้าที่เป็นนายหน้าซื้อขายหุ้นแล้ว ยังเป็นผู้เล่นหุ้นรายหนึ่งโดยใช้เงินทุนของตัวเองตามที่กฏหมายกำหนดในการซื้อขายหุ้น
อนาคตหุ้นที่กำไรดีที่สุดคือกลุ่มไหน
ไอ พี โอ หรือ IPO ย่อมาจากคำว่า Initial Public Offering ซึ่งก็คือการเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก การจะมีหุ้นไอพีโอออกเสนอขายหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับว่า บริษัทมองหาแหล่งเงินทุน (ที่นอกเหนือจากเงินกู้) เพื่อขยายกิจการหรือไม่ ถ้าบริษัทต้องการเงินทุนและกระจายการถือครองหุ้นให้ประชาชนทั่วไป ก็สามารถนำหุ้นของตนออกเสนอขายได้ โดยจะต้องทำผ่านบริษัทหลักทรัพย์ที่รับเป็นผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (underwriters) ซึ่งจะต้องได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. และต้องจัดทำหนังสือชี้ชวนตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ล.ต. กำหนดไว้
หลังจากตัดสินใจได้แล้วว่าจะออกหลักทรัพย์เสนอขายแก่ประชาชน บริษัทผู้เสนอขายหลักทรัพย์ (Issuer) ก็จะปรึกษากับ “ที่ปรึกษาทางการเงิน” จัดทำหนังสือชี้ชวนการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ให้มีข้อมูลครบถ้วน ถูกต้อง เพื่อให้นักลงทุนอ่านทำความเข้าใจก่อนตัดสินใจจองซื้อหุ้นได้
คราวนี้มารู้จักกับ “ผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์” หรือที่เราเรียกกันว่า อันเดอร์ไรท์เตอร์ (Underwriter) ซึ่งก็คือบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ ผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ทำหน้าที่เสนอขายหลักทรัพย์แก่ประชาชนทั่วไปแทนบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ ซึ่งการเสนอขายหุ้นไอพีโอแต่ละครั้งจะไม่มีกฎเกณฑ์แน่นอนตายตัวว่าจะจองด้วยวิธีใด ผ่านช่องทางไหน จ่ายเงินอย่างไร หรือจัดสรรอย่างไร ผู้ลงทุนจะต้องศึกษารายละเอียดต่างๆจากหนังสือชี้ชวนเอง เมื่อหุ้นได้รับจัดสรรเรียบร้อยแล้ว ก็จะถูกนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อให้ผู้ถือหุ้นมีโอกาสซื้อขายเปลี่ยนมือบนกระดาน ตลท.ต่อไป
ปล. ด้วยประสบการณ์ที่ยังไม่ยาวนานพอ แต่พอจะเจอประสบการณ์ในบางแง่มุมบ้างของตลาด ซึ่งมีทั้งสมหวังและผิดหวังคละๆกันไป มาวันนี้ผมมองที่หุ้นกลุ่มหลักทรัพย์ด้วยความชื่นชมในความฉลาดแบบไร้ใจของ บริษัทหลักทรัพย์ คนกลุ่มนี้ผมคิดว่าเขารู้ข้อมูลเชิงลึกทุกอย่าง รวมไปถึงมีทุนและไร้กฎเกณฑ์ทุกอย่างเหนือนักลงทุนทั่วไป ทั้งค่าธรรมเนียมและระยะเวลาในการทำป๊อบเทรด ผมไม่เห็น กลต. ทำฮา ให้เท่าเทียมกันบ้าง เริ่มต้นที่ เพื่มค่าธรรมเนียมให้เท่าเทียมกันได้มั๊ย ไม่ต้องไปคุ้มครองมันแล้ว ค่ากินเปล่าจากยอกเทรดวันละหลายหมื่นล้าน หรือว่าวันละหลายหมื่นล้านมันเกี่ยวพันกับการเล่นสั้นเพื่อปั่นตลาดให้กลายเป็นบ่อน ดังนั้นต้นตอหนึ่งที่เกิดฟองสบู่ในตลาดผมมองว่าตัวการหนึ่งที่สำคัญคือ บริษัทหลักทรัพย์ ครับ ที่นี้มาถึง หุ้น IPO ผมก็มองว่าทุกวันนี้การกำหนดราคาโดยอันเดอร์ไรท์เตอร์ ไม่โปร่งใส กำหนดราคาโดยมากกว่าความเป็นจริง เหมือนเป็นคืนกำไรให้ นลท.รายใหญ่ หรือ บริษัทรวยกันตั้งแต่วันแรก สังเกตุจาก ยอดบวกวันแรกเริ่มลดลง จากการขายสวนลงมาให้เม่ารับ และ จนลท.ใหญ่ มักสัมภาษณ์บอกเสมอว่า จะขายในวันแรกทั้งนั้น การจัดสรรหุ้นก็ไม่โปร่งใส ทั้งๆที่ขึ้นชื่อว่า มหาชน อีกอย่างวิธีการประเมิน ใครประเมินหนอยแย่ก็ บริษัทหลักทรัพย์ กินกันพุงกลางตั้งแต่ประเมินเลยมั๊ง แล้วมาบวกเว่อร์ ท้ายสุด ยอมขาดทุนกำไรนิดหน่อยจากมหาศาล เพื่อกระตุ้นเม่าอีกแน่ะ สิ่งที่พูดมาต้องผิดในมุมของบางคนซึ่งผมยอมรับครับ เพราะสิ่งนี้แค่ความคิดส่วนตัวเท่านั้นครับ
ความรู้เพิ่มเติม
นักลงทุนที่เข้าไปซื้อขายหุ้นในตลาด มี 4 ประเภท
ประเภทแรกคือผู้เล่นหุ้นอิสระ หรือที่เรียกว่า " นักลงทุนรายย่อย"
ประเภทที่สองเรียกว่า "นักลงทุนสถาบัน" ซึ่งได้แก่ กองทุนรวม (mutual funds) กองทุนรวมได้เริ่มเข้ามาซื้อขายหุ้นตั้งแต่ปี 2535 ปัจจุบันมีกองทุนรวมที่กำลังเล่นหุ้นแข่งกับกับนักลงทุนรายย่อย
ประเภทที่สามคือ นักลงทุนต่างชาติ เป็นกลุ่มที่มีเงินทุนมากเมื่อเทียบกับปริมาณการซื้อขายในตลาดหุ้นบ้านเรา
ประเภทที่สี่คือ บริษัทหลักทรัพย์ ที่นอกจากจะทำหน้าที่เป็นนายหน้าซื้อขายหุ้นแล้ว ยังเป็นผู้เล่นหุ้นรายหนึ่งโดยใช้เงินทุนของตัวเองตามที่กฏหมายกำหนดในการซื้อขายหุ้น