นิตยสาร-น.ส.พ.แห่ปรับตัว ขายคอนเทนต์ออนไลน์เพิ่มรายได้

กระทู้สนทนา
จาก ผลสำรวจผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจำนวน 11,000 รายใน 9 ประเทศ พบว่าช่วงเวลา 1 ปีที่ผ่านมา พฤติกรรมผู้บริโภคยอมที่จะจ่ายเงินเพื่อเข้าถึงข่าวสารทางอินเทอร์เน็ตกัน มากขึ้น

หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์รายงานว่า มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคในสหราชอาณาจักร อเมริกา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส และเยอรมนี พบว่าผู้บริโภค 11% ยินยอมที่จะจ่ายเงินเพื่ออ่านข่าวออนไลน์ในปีที่ผ่านมา ซึ่งสัดส่วนดังกล่าวเพิ่มขึ้นกว่า 1 ใน 3 จากปีก่อนหน้านี้

ในปีนี้ ทางมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดยังได้ขยายการสำรวจไปยังประเทศสเปน อิตาลี ญี่ปุ่น และบราซิลเป็นครั้งแรก ซึ่งพบว่าสัดส่วนของผู้ที่ยอมจ่ายเงินเพื่อเข้าถึงข่าวออนไลน์นั้นใกล้เคียง กับกลุ่มประเทศที่เอ่ยขึ้นมาข้างบนอยู่ที่ 20% โดยตัวเลขดังกล่าวรวมตั้งแต่การสมัครสมาชิกแบบรายปี จนถึงค่าธรรมเนียมเล็ก ๆ น้อย ๆ จากการเลือกอ่านเพียงบางหัวข้อ

ผลลัพธ์ดังกล่าวสร้างความ หวังที่ริบหรี่ให้กับบรรดาหนังสือพิมพ์และแมกาซีนเป็นอย่างมาก เพราะแม้ตัวเลขดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นแต่ก็ยังเป็นสัดส่วนที่น้อยอยู่ โดยสื่อสิ่งพิมพ์เหล่านี้ต่างได้ประสบปัญหาอย่างหนักจากการลดลงอย่างต่อ เนื่องของรายได้ที่มาจากธุรกิจดั้งเดิม คือ "สิ่งพิมพ์"

ที่ผ่านมา ผู้ให้บริการ "ข่าว" จำนวนมากต่างหันมาให้น้ำหนักในการลงทุนด้านสื่อดิจิทัล แต่ส่วนใหญ่ก็ต้องพบกับอุปสรรค เพราะลำพังกับค่าโฆษณาที่เรียกเก็บจากสปอนเซอร์บนหน้าเว็บข่าวออนไลน์ก็อาจ ไม่เพียงพอ ด้วยอัตราค่าโฆษณาที่ไม่สูงมากนักทำให้หลายค่ายตัดสินใจที่จะเรียกเก็บค่า บริการจากกลุ่มผู้อ่านในการเข้าดูคอนเทนต์ข่าว คอลัมน์ และรายงาน

ต่าง ๆ บนหน้าเว็บไซต์ แทนที่จะให้ดูแบบไม่เสียเงินอีกต่อไป

หาก ดูจากความเคลื่อนไหวของหนังสือพิมพ์ "เดอะซัน" ของเจ้าพ่อวงการสื่อ "รูเพิร์ต เมอร์ด็อก" แห่งบริษัท นิวส์ อินเตอร์เนชั่นแนล ก็เริ่มที่จะเรียกเก็บค่าบริการ 2 ปอนด์ต่อสัปดาห์ จากการใช้งานเว็บไซต์ของตนตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่จะถึงนี้ เช่นเดียวกับ "เดอะ เทเลกราฟ" และ "นิวยอร์ก ไทมส์" เองก็ได้เรียกเก็บค่าบริการดังกล่าวไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยรู้จักกันในชื่อของ "เพย์วอลล์ส" (Paywalls)

รายงานดังกล่าวยัง พบอีกว่า บรรดาผู้ที่ยังไม่พร้อมจะจ่ายเงินเพื่ออ่านข่าวออนไลน์ที่มีสัดส่วน 14% ให้เหตุผลว่า พวกเขาอาจจะยอมจ่ายค่าบริการดังกล่าวในอนาคตก็เป็นได้ หากในที่สุดแล้วไม่สามารถเข้าไปอ่านข่าวเดิม ๆ แบบ "ไม่เสียเงิน" ได้อีกต่อไป

"โรเบิร์ต พิคาร์ด" หัวหน้าวิจัยที่สถาบันรอยเตอร์ส ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพสื่อสารมวลชนในมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ออกมาเตือนว่า แม้ข้อมูลดังกล่าวจะแสดงให้เห็นว่าโอกาสของการจ่ายเงินเพื่อเข้าถึงคอนเทนต์ ข่าวในรูปแบบดิจิทัลจะพัฒนาขึ้น แต่ผู้ผลิตคอนเทนต์เหล่านี้ต้องไม่ลืมที่จะเรียกเก็บแบบ "มีเหตุผล" ด้วยเช่นกัน

"การจ่ายเงินเพื่ออ่านข่าวออนไลน์ ดูเหมือนว่าจะเป็นสิ่งที่ออกมาตอบโจทย์บุคคลเฉพาะกลุ่มมากกว่าที่จะเป็นสิ่ง ที่ผู้บริโภคใช้กันอย่างแพร่หลาย"

จากรายงานการสำรวจดังกล่าวยังพบ อีกว่า แม้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ แต่ปัจจัยหลักที่ทุกค่ายเผชิญเหมือนกัน คือ การที่หนังสือพิมพ์ในรูปแบบดั้งเดิมถูกท้าทายจากคู่แข่งที่ผลิตสื่อออนไลน์ โดยเฉพาะในญี่ปุ่นและอเมริกา ผู้ที่สามารถครองใจผู้บริโภคได้มากกว่าคือบรรดาสำนักข่าวที่ผลิตแต่ "คอนเทนต์ออนไลน์" โดยเฉพาะ

อย่างไรก็ตาม บางประเทศอย่างในสหราชอาณาจักรและเดนมาร์ก สื่อดั้งเดิมยังคงเป็นเจ้าตลาดในพื้นที่ของข่าวออนไลน์อยู่ ด้วยสัดส่วนไม่ต่ำกว่า 80% เหตุผลหลักเพราะพฤติกรรมผู้บริโภคในสหราชอาณาจักรยัง "เชื่อมั่น" ในข่าวที่มาจากสื่อดั้งเดิมมากกว่าข่าวที่มาจากบล็อกหรือโซเชียลมีเดีย จากข้อมูลพบว่า 79% ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเชื่อมั่นในเว็บไซต์อย่าง "บีบีซี" และ "สกาย"

อายุก็เป็นส่วนสำคัญต่อความเปลี่ยนแปลงดัง กล่าว โดยพบว่ากลุ่มคนที่มีอายุระหว่าง 25-34 ปี เป็นกลุ่มที่พร้อมจะจ่ายเงินเพื่อเข้าถึงข่าวออนไลน์มากที่สุด สอดคล้องไปกับความชำนาญในเทคโนโลยี และ

1 ใน 4 ของกลุ่มนี้ยังมีรายได้อยู่ที่ 25,000-50,000 ปอนด์ และแม้ผู้บริโภคในสหราชอาณาจักรยังค่อนข้างอนุรักษนิยม แต่กลับพบว่าหากเป็นคนที่มีอายุต่ำกว่า 35 ปีนั้น มีผู้บริโภคถึง 30% ที่ใช้โซเชียลมีเดียในการค้นหาข่าวใหม่ ๆ

แหล่งที่มา : http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1372310505
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่