เจอข่าวหลวงปู่เณรคำ ก็เลยสงสัยใจจริง ๆ ว่าการที่คนเราจะหลงเชื่อในสิ่งต่าง ๆ นั้นเอาอะไรเป็นหลักในการพิจารณา
เลยอยากฝากอะไรสักหน่อย
พระพุทธองค์สอนหลักความเชื่ออันมีประโยชน์อนันต์ คือ กาลามสูตร 10
ซึ่งผมคิดว่าเป็นธรรมที่สามารถใช้ได้ตลอดกาล โดยเฉพาะสำหรับยุคนี้ซึ่งเป็นยุคแห่งการบริโภคข้อมูลมหาศาล
กาลามสูตร 10 ได้แก่
1.มา อนุสฺสวเนน - อย่าเพิ่งเชื่อโดยฟังตามกันมา
2.มา ปรมฺปราย - อย่าเพิ่งเชื่อโดยถือว่าเป็นของเก่าเล่าสืบๆ กันมา
3.มา อิติกิราย - อย่าเพิ่งเชื่อเพราะข่าวเล่าลือ
4.มา ปิฏกสมฺปทาเนน - อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างคัมภีร์หรือตำรา
5.มา ตกฺกเหตุ - อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดเดาเอาเอง
6.มา นยเหตุ - อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดคาดคะเนอนุมานเอา
7.มา อาการปริวิตกฺเกน - อย่าเพิ่งเชื่อโดยตรึกเอาตามอาการที่ปรากฏ
8.มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา - อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเห็นว่าต้องกับความเห็นของตน
9.มา ภพฺพรูปตา - อย่าเพิ่งเชื่อเพราะว่าผู้พูดควรเชื่อได้
10.มา สมโณ โน ครูติ - อย่าเพิ่งเชื่อเพราะว่าผู้พูดนั้นเป็นครูของเรา
อย่าเพิ่งเชื่อในสิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้ แล้วตั้งสติ+พิจารณาสิ่งต่าง ๆ ที่เข้ามาด้วยการสังเกตและหาเหตุผล แล้วเราก็จะเห็นอะไรได้ชัดขึ้น
แม้แต่ทฤษฎีที่คิดกันว่าถูกในวันนี้ มันอาจผิดในวันหน้า (สมัยก่อนคนเชื่อว่าโลกแบน, เคยมีทฤษฎีว่าอะตามไม่มีอเล็คตรอน) อันไหนที่เราวิเคราะห์แล้วไม่แน่ใจว่ามันจะใช่หรือเปล่าก็แสดงว่าข้อมูลเรายังไม่พอจึงไม่แน่ใจ ก็จงอย่าเพิ่งเชื่อถือ
แม้แต่พระพุทธองค์ยังตรัสว่าอย่าเพิ่งเชื่อพระองค์ จนกว่าจะฟังและรับไปพิจารณา ทดลองปฏิบัติ เมื่อเห็นจริงแล้วจากนั้นจึงพึงเชื่อถือพระองค์
ทำไมคนเราถึงหลงเชื่อกันอย่างงมงาย ง่ายดายเหลือเกิน
เลยอยากฝากอะไรสักหน่อย
พระพุทธองค์สอนหลักความเชื่ออันมีประโยชน์อนันต์ คือ กาลามสูตร 10
ซึ่งผมคิดว่าเป็นธรรมที่สามารถใช้ได้ตลอดกาล โดยเฉพาะสำหรับยุคนี้ซึ่งเป็นยุคแห่งการบริโภคข้อมูลมหาศาล
กาลามสูตร 10 ได้แก่
1.มา อนุสฺสวเนน - อย่าเพิ่งเชื่อโดยฟังตามกันมา
2.มา ปรมฺปราย - อย่าเพิ่งเชื่อโดยถือว่าเป็นของเก่าเล่าสืบๆ กันมา
3.มา อิติกิราย - อย่าเพิ่งเชื่อเพราะข่าวเล่าลือ
4.มา ปิฏกสมฺปทาเนน - อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างคัมภีร์หรือตำรา
5.มา ตกฺกเหตุ - อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดเดาเอาเอง
6.มา นยเหตุ - อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดคาดคะเนอนุมานเอา
7.มา อาการปริวิตกฺเกน - อย่าเพิ่งเชื่อโดยตรึกเอาตามอาการที่ปรากฏ
8.มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา - อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเห็นว่าต้องกับความเห็นของตน
9.มา ภพฺพรูปตา - อย่าเพิ่งเชื่อเพราะว่าผู้พูดควรเชื่อได้
10.มา สมโณ โน ครูติ - อย่าเพิ่งเชื่อเพราะว่าผู้พูดนั้นเป็นครูของเรา
อย่าเพิ่งเชื่อในสิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้ แล้วตั้งสติ+พิจารณาสิ่งต่าง ๆ ที่เข้ามาด้วยการสังเกตและหาเหตุผล แล้วเราก็จะเห็นอะไรได้ชัดขึ้น
แม้แต่ทฤษฎีที่คิดกันว่าถูกในวันนี้ มันอาจผิดในวันหน้า (สมัยก่อนคนเชื่อว่าโลกแบน, เคยมีทฤษฎีว่าอะตามไม่มีอเล็คตรอน) อันไหนที่เราวิเคราะห์แล้วไม่แน่ใจว่ามันจะใช่หรือเปล่าก็แสดงว่าข้อมูลเรายังไม่พอจึงไม่แน่ใจ ก็จงอย่าเพิ่งเชื่อถือ
แม้แต่พระพุทธองค์ยังตรัสว่าอย่าเพิ่งเชื่อพระองค์ จนกว่าจะฟังและรับไปพิจารณา ทดลองปฏิบัติ เมื่อเห็นจริงแล้วจากนั้นจึงพึงเชื่อถือพระองค์