1. แสงเงา เป็นสิ่งจำเป็นต้นๆ ในการถ่ายภาพ ทำให้ภาพมีมิติ มีสีสัน ซึ่งแสงเงาในแต่ละช่วงเวลาของวัน
ให้อารมณ์ที่แตกต่างกัน คนถ่ายภาพต้องสังเกตและจับกฎเกณฑ์เอาเอง ว่าจะถ่ายอะไร ในแสงเงาแบบไหนภาพจึงจะสวย
หรือได้อารมณ์อย่างต้องการ
2. เส้นสาย เช่น สะพานไม้ที่ทอดยาว เสาของอาคาร ยอดเจดีย์ที่เรียงราย ต้นไม้ที่แผ่กิ่งก้าน กรอบประตูปราสาท
รั้วไม้ เส้นขอบฟ้า สิ่งเหล่านี้เกื้อหนุนให้ภาพมีมิติ มีเส้นนำสายตา มีเรื่องราวที่ดีเสมอ
3. สีสัน สีของท้องฟ้ายามเช้า ยามเย็น สีใบไม้ สีเสื้อผ้า สีของอาคาร สถาปัตยกรรม สีสันของสิ่งเหล่านี้
มีบทบาทในการกำหนด ความงาม ความมีพลัง และอารมณ์ของภาพ
4. สัดส่วน หมายถึง องค์ประกอบภาพ ที่นิยมเรียกกันว่า Composition ถือว่ามีความสำคัญที่สุดในการถ่ายภาพ
เพราะถึงแม้จะมี 3 ส. แรกพร้อมสรรพ แต่จัดสัดส่วนภาพไม่ดี ก็ไม่มีประโยชน์ ในทางกลับกัน ภาพบางภาพ
อาจมีจุดเด่นเพียง ส. เดียว คือ แสงเงา แต่จัดวางองค์ประกอบภาพ หรือจัดสัดส่วนภาพได้ดี ก็อาจจะได้ภาพที่สวยได้
ท่านยังบอกอีกว่า ตามทฤษฏีการถ่ายภาพแล้ว ครูอาจารย์มักให้ฝึกจัดสัดส่วนภาพ โดยแบ่งภาพออกเป็น 3 ช่อง ในแนวตั้ง
และ 3 ช่อง ในแนวนอน เวลาจะถ่ายอะไรก็ไม่ควรให้พื้นที่ท้องฟ้า กับน้ำ หรือท้องฟ้า กับพื้นดิน แบ่งกันตรงกลางพอดี
แบบ 50-50 แต่ควรจะเป็นท้องฟ้า 2 ส่วน พื้นดิน 1 ส่วน หรือในทางกลับกันเป็น 1 ต่อ 2 ก็ได้ รวมถึงการวางจุดเด่นของภาพ
เช่น เจดีย์ คน เรือ บ้าน ฯลฯ ก็ไม่ควรวางอยู่ตรงกลางภาพพอดีเป๊ะ แต่ท่านก็แนะนำว่าในบางกรณีก็มีข้อยกเว้นได้ตามความเหมาะสม
5. Story หรือเรียกภาษาไทยว่า “เรื่องราวของภาพ ท่านบอกว่า ส. นี้มีไว้เพื่อให้ตระหนักว่า ภาพหนึ่งภาพ ควรมีเนื้อหา
หรือเรื่องราวในตัวของภาพ ไม่ใช่ถ่ายเพียงเพราะมีสีสัน แสงเงา เส้นสาย สัดส่วนดีหมด แต่บอกไม่ได้ว่าจะถ่ายไปเพื่ออะไร
เพราะภาพที่ถ่ายนั้นบอกเล่าเรื่องราวอะไรไม่ได้เลย
ส. นี้แหละเป็นที่มาของประโยคอมตะของโลกที่ว่า “ภาพ (ที่มีเรื่องราวดี) หนึ่งภาพ อาจแทนคำได้นับพัน”
6. สำนึก คือ ความรู้สึก ท่านบอกว่าเวลาถ่ายภาพ ท่านจะใส่ความรู้สึกนึกคิดเข้าไปในภาพด้วย เช่น ท่านชอบถ่ายภาพ
ลำแสงสุดท้ายของดวงตะวันที่แหวกช่องเมฆส่งเป็นประกายบนท้องฟ้ายามเย็น เพราะให้ความรู้สึกเหมือนเป็นประกายแห่งความหวัง
ในชีวิตที่ฉายฉาน ทำให้เราเชื่อมั่นว่าพรุ่งนี้จะต้องดีขึ้น หากไม่ท้อแท้ถดถอยเสียก่อน ท่านบอกว่า ภาพถ่ายโดยมี ส. นี้มักได้ภาพ
ที่มีพลังเสมอ
นอกจาก 6 ส. ดังกล่าวแล้ว ท่านยังแนะนำจากประสบการณ์ของท่านเองว่า มีปัจจัยที่สำคัญอีก 2 ประการ คือ การหมั่นดูภาพผลงาน
ของครูบาอาจารย์ หรือมืออาชีพ แล้วตั้งข้อสังเกตกับตัวเอง ว่าภาพนี้สวยตรงไหน เราชอบเพราะอะไร อีกประการ คือ การฟังคำวิจารณ์
คำติชมจากคนรอบข้าง และท่านปิดท้ายด้วยประโยคที่น่าสนใจว่า
“เหมือนสามัญมนุษย์ที่ไม่มีใครฉลาดปราดเปรื่องด้วยตัวเอง โดยไม่ใส่ใจศึกษาบทเรียนของครูอาจารย์ และประสบการณ์ผู้อื่น”
***บทความนี้ผมจำที่มาไม่ได้ครับ พอดีปริ้นเป็น A4 เก็บไว้น่าจะนานแล้ว พอดีจัดโต๊ะทำงานแล้วเจอ เลยนำมาแบ่งปันครับ
เคล็ดลับ 6 ส. แนวทางสำหรับสร้างภาพสวยๆ ของคุณธีรภาพ โลหิตกุล
ให้อารมณ์ที่แตกต่างกัน คนถ่ายภาพต้องสังเกตและจับกฎเกณฑ์เอาเอง ว่าจะถ่ายอะไร ในแสงเงาแบบไหนภาพจึงจะสวย
หรือได้อารมณ์อย่างต้องการ
2. เส้นสาย เช่น สะพานไม้ที่ทอดยาว เสาของอาคาร ยอดเจดีย์ที่เรียงราย ต้นไม้ที่แผ่กิ่งก้าน กรอบประตูปราสาท
รั้วไม้ เส้นขอบฟ้า สิ่งเหล่านี้เกื้อหนุนให้ภาพมีมิติ มีเส้นนำสายตา มีเรื่องราวที่ดีเสมอ
3. สีสัน สีของท้องฟ้ายามเช้า ยามเย็น สีใบไม้ สีเสื้อผ้า สีของอาคาร สถาปัตยกรรม สีสันของสิ่งเหล่านี้
มีบทบาทในการกำหนด ความงาม ความมีพลัง และอารมณ์ของภาพ
4. สัดส่วน หมายถึง องค์ประกอบภาพ ที่นิยมเรียกกันว่า Composition ถือว่ามีความสำคัญที่สุดในการถ่ายภาพ
เพราะถึงแม้จะมี 3 ส. แรกพร้อมสรรพ แต่จัดสัดส่วนภาพไม่ดี ก็ไม่มีประโยชน์ ในทางกลับกัน ภาพบางภาพ
อาจมีจุดเด่นเพียง ส. เดียว คือ แสงเงา แต่จัดวางองค์ประกอบภาพ หรือจัดสัดส่วนภาพได้ดี ก็อาจจะได้ภาพที่สวยได้
ท่านยังบอกอีกว่า ตามทฤษฏีการถ่ายภาพแล้ว ครูอาจารย์มักให้ฝึกจัดสัดส่วนภาพ โดยแบ่งภาพออกเป็น 3 ช่อง ในแนวตั้ง
และ 3 ช่อง ในแนวนอน เวลาจะถ่ายอะไรก็ไม่ควรให้พื้นที่ท้องฟ้า กับน้ำ หรือท้องฟ้า กับพื้นดิน แบ่งกันตรงกลางพอดี
แบบ 50-50 แต่ควรจะเป็นท้องฟ้า 2 ส่วน พื้นดิน 1 ส่วน หรือในทางกลับกันเป็น 1 ต่อ 2 ก็ได้ รวมถึงการวางจุดเด่นของภาพ
เช่น เจดีย์ คน เรือ บ้าน ฯลฯ ก็ไม่ควรวางอยู่ตรงกลางภาพพอดีเป๊ะ แต่ท่านก็แนะนำว่าในบางกรณีก็มีข้อยกเว้นได้ตามความเหมาะสม
5. Story หรือเรียกภาษาไทยว่า “เรื่องราวของภาพ ท่านบอกว่า ส. นี้มีไว้เพื่อให้ตระหนักว่า ภาพหนึ่งภาพ ควรมีเนื้อหา
หรือเรื่องราวในตัวของภาพ ไม่ใช่ถ่ายเพียงเพราะมีสีสัน แสงเงา เส้นสาย สัดส่วนดีหมด แต่บอกไม่ได้ว่าจะถ่ายไปเพื่ออะไร
เพราะภาพที่ถ่ายนั้นบอกเล่าเรื่องราวอะไรไม่ได้เลย
ส. นี้แหละเป็นที่มาของประโยคอมตะของโลกที่ว่า “ภาพ (ที่มีเรื่องราวดี) หนึ่งภาพ อาจแทนคำได้นับพัน”
6. สำนึก คือ ความรู้สึก ท่านบอกว่าเวลาถ่ายภาพ ท่านจะใส่ความรู้สึกนึกคิดเข้าไปในภาพด้วย เช่น ท่านชอบถ่ายภาพ
ลำแสงสุดท้ายของดวงตะวันที่แหวกช่องเมฆส่งเป็นประกายบนท้องฟ้ายามเย็น เพราะให้ความรู้สึกเหมือนเป็นประกายแห่งความหวัง
ในชีวิตที่ฉายฉาน ทำให้เราเชื่อมั่นว่าพรุ่งนี้จะต้องดีขึ้น หากไม่ท้อแท้ถดถอยเสียก่อน ท่านบอกว่า ภาพถ่ายโดยมี ส. นี้มักได้ภาพ
ที่มีพลังเสมอ
นอกจาก 6 ส. ดังกล่าวแล้ว ท่านยังแนะนำจากประสบการณ์ของท่านเองว่า มีปัจจัยที่สำคัญอีก 2 ประการ คือ การหมั่นดูภาพผลงาน
ของครูบาอาจารย์ หรือมืออาชีพ แล้วตั้งข้อสังเกตกับตัวเอง ว่าภาพนี้สวยตรงไหน เราชอบเพราะอะไร อีกประการ คือ การฟังคำวิจารณ์
คำติชมจากคนรอบข้าง และท่านปิดท้ายด้วยประโยคที่น่าสนใจว่า
“เหมือนสามัญมนุษย์ที่ไม่มีใครฉลาดปราดเปรื่องด้วยตัวเอง โดยไม่ใส่ใจศึกษาบทเรียนของครูอาจารย์ และประสบการณ์ผู้อื่น”
***บทความนี้ผมจำที่มาไม่ได้ครับ พอดีปริ้นเป็น A4 เก็บไว้น่าจะนานแล้ว พอดีจัดโต๊ะทำงานแล้วเจอ เลยนำมาแบ่งปันครับ