บทความ ใน Facebook คุณณัฐวุฒิ อยากให้อ่าน

กระทู้สนทนา
1.ในยามที่ตลาดสดใสภาวะกระทิง-มวลชนส่วนใหญ่ในตลาดหุ้นมองโลกในแง่ดี(Optimism) จึงคิดจะซื้อหุ้น และเมื่อราคาปรับตัวสูงขึ้นก็รู้สึกตื่นเต้นดีใจ(Excitement) กระทั่งรู้สึกเสียวเพราะหุ้นขึ้นดีเหลือใจ(Thrill) และเมื่อหุ้นขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ก็จะทำให้มวลชในตลาดอิ่บอาบซาบซึ้ง(Euphoria)ว่าตลาดขาขึ้นคงจะมีอยู่ตลอดไป ลงไม่เป็นแล้ว

2ในยามที่ตลาดขาลงตลาดหมี-หลังผ่านพ้นช่วงอิ่มอาบซาบซึ้งแล้ว ราคาหุ้นมักเริ่มตก เมื่อคนในตลาดส่วนใหญ่คิดว่าหุ้นคงตกไม่เป็นแล้ว ช่วงแรกมวลชนในตลาดอาจจะแค่รู้สึกกังวล(Anxiety)กับการที่ราคาหุ้นเริ่มตก แต่ปฏิกริกายาในช่วงแรกๆมักจะปฏิเสธ(Denial)ว่าหุ้นไม่ควรตก เพราะข้อมูลข่าวสารต่างๆยังดีอยู่ ไม่เห็นมีอะไรแย่ แต่ราคาหุ้นก็ตกหนักต่อเนื่อง ทำให้ฝูงชนกลัว(Fear) แต่ก็ยังไม่ยอมขายหุ้น ทว่าราคาหุ้นยังตกต่ำต่อเนื่อง(Depression) จนทำให้มวลชนตื่นผวาเสียขวัญ(Panic) และเมื่อราคาหุ้นตกอย่างหนัก เช่น ขาดทุนในระดับ50%มวลชนส่วนใหญ่มักจะยอมแพ้(Capitulation) และเสียขวัญกำลังใจ(Despondency) หลายคนสาปส่งลาขาดตลาดหุ้นด้วยความสิ้นหวัง(Desperation)

แต่แล้วพอหลังจากนั้นราคาหุ้นก็เริ่มโงหัว ก่อให้เกิดความหวัง(Hope)ขึ้นมา และรู้สึกคลี่คลายลงคิดว่ามีมืดก็ย่อมมีสว่าง(Relief) และแล้วมวลชนส่วนใหญ่ในตลาดหุ้นก็มองโลกในแง่ดี(Optimism)อีกวาระ และเวียนวนเป็นวัฏจักรไปเช่นนี้

ตามกฎ80:20นั้น มวลชนส่วนใหญ่ในตลาดเป็นผู้แพ้ เสียหายในตลาดหุ้น เพราะเป็นคนที่แห่ตามๆกันไป ไปตามอารมณ์ ขณะที่เพียง20%เท่านั้นเป็นผู้ชนะ คน20%นั้นมียุทธวิธีลงทุนแบบชาวสวน(Contrarian) กล่าวคือเมื่อมวลชนส่วนใหญ่แห่ไล่ราคาหุ้นขึ้นมายอดดอย คนเหล่านี้จะถือเป็นโอกาสขายทำกำไร เมื่อพิจารณาว่าราคาหุ้นขึ้นมาเกินกว่าราคาปัจจัยพื้นฐานมากๆ

ขณะเดียวกันเมื่อตลาดหุ้นอยู่ในช่วงตกต่ำอย่างหนัก คนส่วนใหญ่แย่งกันขายหนีตาย คนเหล่านี้จะทยอยเก็บหุ้นในราคาที่มีส่วนลดจากราคาปัจจัยพื้นฐาน

ความสำเร็จ หรือ ความล้มเหลวในตลาดหุ้น นอกจากการที่ท่านต้องรู้จักตลาดหุ้นเป็นอย่างดี รู้จังหวะเข้าออกเป็นอย่างดี ท่านยังต้องรู้จักอารมณ์และสภาพจิตใจของตนเอง และมวลชนในตลาดด้วย

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่