นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
ขอนอบน้อมแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
=========================
สวัสดีครับ เพื่อน ๆ สมาชิกห้องศาสนา
เมื่อปีก่อน ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนกรกฎาคมนั้น ผมได้ตั้งกระทู้ซี่รี่ “พระอภิธรรม ๓ นาที” ไว้
เริ่มตั้งแต่ ตอนที่ ๑ มาจนถึง ตอนที่ ๒๙ ซึ่งหลาย ๆ ท่านก็อาจจะเคยได้อ่านกระทู้เหล่านี้มาบ้าง
แต่บางท่านก็อาจจะยังไม่เคย
วันนี้ ผมจะมาขอเสนอต่อเป็น ตอนที่ ๓๐ ซึ่งก็ถือว่า
เป็นการเริ่มต้น Season2 เป็นตอนแรก หลังจากที่ว่างเว้นไปนานพอสมควร
สำหรับตอนที่ ๑ ถึง ๒๙ นั้น ท่านผู้อ่านก็สามารถติดตามย้อนหลังดูได้ที่
คลังกระทู้เก่า ที่ผมได้จัดเรียงไว้ตามลิ้งนี้นะครับ
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=thepathofpurity&group=10
ในตอนที่ ๑ ถึง ๒๙ นั้น ยังอยู่ในส่วนของ พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉทที่ ๑ คือ เรื่อง จิต ๘๙
ซึ่งดำเนินมาตั้งแต่ อกุศลจิต ๑๒, อเหตุกวิบากจิต ๑๘ และ มหากุศลจิต ๘
คำว่า พระอภิธัมมัตถสังคหะนั้น ได้อธิบายไว้แล้วในตอนที่ ๑ คือ เป็นชื่อปกรณ์ที่รวบรวม
และอธิบายปรมัตถธรรมจากพระอภิธรรมปิฎกไว้โดยย่อ ถือเป็นการปูพื้นฐาน
ก่อนจะไปเรียนคัมภีร์ใหญ่ ครูบาอาจารย์ท่านเรียกคัมภีร์นี้ว่า “คัมภีร์อภิธรรมนิ้วก้อย”
ในแผนผังต่อไปนี้ จะแสดงให้ท่านผู้อ่านได้เห็นถึงลำดับการแสดงในกระทู้เก่าๆ
ซึ่ง ในตอนที่ ๑ ถึง ๒๙ นั้น ก็จะแสดงประเภทของจิตต่างๆไล่มาจาก
โลภมูลจิต ๘, โทสมูลจิต ๒..... จนมาถึง ตอนปัจจุบัน ในส่วนของ มหากุศลจิต ๘
ในแผนผังด้านบนนั้น จะเห็นสองกลุ่มแรก คือ อกุศลจิต ๑๒ และอเหตุกจิต ๑๘
ผมจะขอแสดงภาพประกอบไว้ในภาพต่อไป เพื่อเป็นการทบทวนโดยสังเขปนะครับ
ส่วนรายละเอียดนั้น สามารถย้อนกลับไปดูในคลังกระทู้ได้
(หรือหากท่านผู้อ่านมีความสงสัยตรงไหน ก็สนทนาสอบถามในกระทู้ได้ครับ)
ลำดับถัดไปนั้น ก็จะเป็นส่วนของ “มหากุศลจิต ๘” ซึ่งได้อธิบายไปบ้างแล้วในตอนที่ ๒๘
มหากุศลจิต หรือ กุศลจิต นี้ มีความหมายคือ เป็นจิตที่ไม่เศร้าหมอง ไม่เร่าร้อน เป็นจิตที่ดีงาม
ที่ฉลาด ที่สะอาด ที่ปราศจากโทษ และให้ผลเป็นสุข
แบ่งออกเป็น ๘ ประเภท ดังที่แสดงในภาพ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ย้อนกลับไปดูรายละเอียดในส่วนนี้ได้จาก ตอนที่ ๒๘
http://topicstock.ppantip.com/religious/topicstock/2012/04/Y11953816/Y11953816.html
สำหรับ ในตอนที่ ๓๐ นี้ จะได้ขอแสดงต่อในส่วนของ คำว่า ญาณสัมปยุต นะครับ
ในจิตทั้ง ๘ ดวง ในภาพนี้ ท่านผู้อ่านก็จะเห็นได้ว่า มีจิต ๔ ดวงด้านซ้ายมือ นั้น
ที่เป็นญาณสัมปยุต ที่เขียนด้วยตัวย่อว่า “สัม” ซึ่งหมายถึง
กุศลจิต ๔ ประเภท นี้ เป็น กุศลจิตที่ประกอบด้วย ปัญญาเจตสิก นั่นเอง
ส่วน ๔ ดวงด้านขวาเป็นกุศลจิตประเภท ญาณวิปปยุต คือ ไม่ประกอบด้วยปัญญาเจตสิก
ต่อไปก็จะยกความจาก คู่มือพระอภิธัมมัตถสังคหะปริเฉทที่ ๑ มาแสดงไว้นะครับ
---------------------------------------------------------------------------------------------
ญาณสมฺปยุตฺตํ แปลว่า ประกอบด้วยปัญญา คือ มีความรู้เห็นถูกต้องตรงความเป็นจริง
ในกามกุศลนี้หมายถึงเพียงว่ามีกัมมสสกตาปัญญา และวิปัสสนาปัญญา ก็เป็นญาณสัมปยุตตแล้ว
กัมมัสสกตาปัญญา ปัญญามีรู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นสมบัติของตน ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
วิปัสสนาปัญญา ปัญญาที่รู้ขันธ์ ๕ คือ รูปนามเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ปัญญาที่รู้เห็นว่าสัตว์มีกรรมเป็นสมบัติของตน อันเรียกว่า กัมมัสสกตาปัญญานี้ มี ๑๐ ประการ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้คือ
เหตุให้เกิดญาณสัมปยุตตธรรม มี ๔ ประการ
๑.
ปญฺญาสํวตฺตนิกกมฺมุปนิสฺสยตา
ปฏิสนธิมาโดยอาศัยกุศลกรรมที่ประกอบด้วยปัญญา
๒.
อพฺยาปชฺชโลกูปปตฺติยา
เกิดในชาติที่หมดความกังวลห่วงใยปราศจากความพยาบาท มีโอกาสได้เขาวัดฟังธรรม
๓.
กิเลสทูรตา
ห่างไกลจากกิเลส ไม่สนใจในการแสวงหากิเลสธรรม
๔.
อินฺทฺริยปริปากตา
มีปัญญินทรีย์แก่กล้า คือ มีอายุระหว่าง ๔๐ ถึง ๕๐ ปี ที่เรียกว่าปัญญาทสกะ
อันเป็นวัยที่มีปัญญาพินิจพิจารณาโดยรอบคอบถึงเหตุผล
เหตุให้เกิดญาณสัมปยุตตธรรม อีกนัยหนึ่ง มี ๗ ประการ
๑.
ปริปุจฺฉกตา
ชอบไต่ถามปัญหาธรรมต่างๆ
๒.
วตฺถุวิสุทฺธกิริยา
ชอบสะอาดทั้งกายใจ ตลอดจนวัตถุเครื่องใช้สอย
๓.
อินฺทฺริยสมตฺตปฏิปาทนา
ชอบรักษาอินทรีย์ ๕ มี ศรัทธา เป็นต้น ให้ทรงไว้โดยสม่ำเสมอกัน
๔.
ทุปฺปญฺญปุคฺคปริวชฺชนา
ชอบหลีกเลี่ยงให้พ้นจากบุคคลผู้ไม่มีปัญญา
๕.
ปญฺญวนฺตปุคฺคลเสวนา
ชอบคบหาสมาคมกับบุคคลผู้เป็นบัณฑิต
๖.
คมฺภีรญาณจริยปจฺจเวกฺขณา
ชอบพิจารณาธรรมที่ลึกซึ้ง
๗.
ตทธิมุตฺตตา
ชอบในการน้อมจิตแสวงหารสแห่งธรรมที่ต้องตรึกตรองอันทำให้เกิดปัญญา
--------------------------------------------------------------------------------------
จากที่ได้แสดงมานั้น ก็จะเห็นได้ว่า กุศลธรรม กุศลจิตที่เกิดขึ้นแก่เราในแต่ละขณะนั้น
ก็ยังมีประเภทที่แตกต่างกันออกไปได้หลายประเภท
สมัยที่ผมเคยได้เรียนพระอภิธรรมในปริเฉทที่ ๑ นั้น ครูอาจารย์จะมีตัวอย่างแบบฝึกหัดบางอย่าง
ที่ทำให้เราเข้าใจมากขึ้น เช่น การยกตัวอย่างการทำบุญของคุณแม่ที่ได้ชวนลูกเล็กไปใส่บาตรด้วยกัน
การใส่บาตรของทั้งสองคนนั้น ล้วนแต่มีกุศลจิตเกิดขึ้น แต่กุศลจิตของคุณแม่ในกรณีนี้ ประกอบด้วยปัญญาเจตสิก
เพราะรู้ว่า นี้เป็น ทาน นี้เป็นกุศล เป็นกรรมดี มีปัญญารู้ว่ากรรมดีย่อมให้ผลวิบากที่ดี
ส่วนลูกเล็กนั้น ยังไม่มีปัญญาเข้าใจในเรื่องนี้ แต่ก็ได้ไปใส่บาตรกระทำความดีตามที่คุณแม่ชักชวน
ในขณะนั้นก็เกิด กุศลที่เป็นญาณวิปปยุต (คือกุศลจิตที่ไม่ได้มีปัญญาเจตสิกเข้าประกอบ) กับเด็กน้อยคนนั้นได้
จิตทั้งสองแบบนี้ ก็ถือเป็นกุศลจิตทั้งนั้น แต่ว่า การให้ผลก็จะแตกต่างกันไป และจะให้ผลเป็น
จิตที่ต่างๆกันไปถึง ๘ ประเภทเช่นเดียวกัน ซึ่งในตอนถัดไปครั้งหน้า ก็จะเป็นเรื่องของผล
หรือ วิบากจิตต่างๆเหล่านี้ ที่มีชื่อว่า “มหาวิบากจิต ๘”
--------------------------------------------------------------------------------------
สำหรับวันนี้ ก็จะขอสนทนาไว้แต่เพียงเท่านี้ก่อน ธรรมสวัสดีครับ
พระอภิธรรม3นาที - ตอนที่ 30 - มหากุศลจิต ญาณสัมปยุต (กุศลจิต ที่ประกอบด้วยปัญญา)
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
ขอนอบน้อมแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
=========================
สวัสดีครับ เพื่อน ๆ สมาชิกห้องศาสนา
เมื่อปีก่อน ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนกรกฎาคมนั้น ผมได้ตั้งกระทู้ซี่รี่ “พระอภิธรรม ๓ นาที” ไว้
เริ่มตั้งแต่ ตอนที่ ๑ มาจนถึง ตอนที่ ๒๙ ซึ่งหลาย ๆ ท่านก็อาจจะเคยได้อ่านกระทู้เหล่านี้มาบ้าง
แต่บางท่านก็อาจจะยังไม่เคย
วันนี้ ผมจะมาขอเสนอต่อเป็น ตอนที่ ๓๐ ซึ่งก็ถือว่า
เป็นการเริ่มต้น Season2 เป็นตอนแรก หลังจากที่ว่างเว้นไปนานพอสมควร
สำหรับตอนที่ ๑ ถึง ๒๙ นั้น ท่านผู้อ่านก็สามารถติดตามย้อนหลังดูได้ที่
คลังกระทู้เก่า ที่ผมได้จัดเรียงไว้ตามลิ้งนี้นะครับ
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=thepathofpurity&group=10
ในตอนที่ ๑ ถึง ๒๙ นั้น ยังอยู่ในส่วนของ พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉทที่ ๑ คือ เรื่อง จิต ๘๙
ซึ่งดำเนินมาตั้งแต่ อกุศลจิต ๑๒, อเหตุกวิบากจิต ๑๘ และ มหากุศลจิต ๘
คำว่า พระอภิธัมมัตถสังคหะนั้น ได้อธิบายไว้แล้วในตอนที่ ๑ คือ เป็นชื่อปกรณ์ที่รวบรวม
และอธิบายปรมัตถธรรมจากพระอภิธรรมปิฎกไว้โดยย่อ ถือเป็นการปูพื้นฐาน
ก่อนจะไปเรียนคัมภีร์ใหญ่ ครูบาอาจารย์ท่านเรียกคัมภีร์นี้ว่า “คัมภีร์อภิธรรมนิ้วก้อย”
ในแผนผังต่อไปนี้ จะแสดงให้ท่านผู้อ่านได้เห็นถึงลำดับการแสดงในกระทู้เก่าๆ
ซึ่ง ในตอนที่ ๑ ถึง ๒๙ นั้น ก็จะแสดงประเภทของจิตต่างๆไล่มาจาก
โลภมูลจิต ๘, โทสมูลจิต ๒..... จนมาถึง ตอนปัจจุบัน ในส่วนของ มหากุศลจิต ๘
ในแผนผังด้านบนนั้น จะเห็นสองกลุ่มแรก คือ อกุศลจิต ๑๒ และอเหตุกจิต ๑๘
ผมจะขอแสดงภาพประกอบไว้ในภาพต่อไป เพื่อเป็นการทบทวนโดยสังเขปนะครับ
ส่วนรายละเอียดนั้น สามารถย้อนกลับไปดูในคลังกระทู้ได้
(หรือหากท่านผู้อ่านมีความสงสัยตรงไหน ก็สนทนาสอบถามในกระทู้ได้ครับ)
ลำดับถัดไปนั้น ก็จะเป็นส่วนของ “มหากุศลจิต ๘” ซึ่งได้อธิบายไปบ้างแล้วในตอนที่ ๒๘
มหากุศลจิต หรือ กุศลจิต นี้ มีความหมายคือ เป็นจิตที่ไม่เศร้าหมอง ไม่เร่าร้อน เป็นจิตที่ดีงาม
ที่ฉลาด ที่สะอาด ที่ปราศจากโทษ และให้ผลเป็นสุข
แบ่งออกเป็น ๘ ประเภท ดังที่แสดงในภาพ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สำหรับ ในตอนที่ ๓๐ นี้ จะได้ขอแสดงต่อในส่วนของ คำว่า ญาณสัมปยุต นะครับ
ในจิตทั้ง ๘ ดวง ในภาพนี้ ท่านผู้อ่านก็จะเห็นได้ว่า มีจิต ๔ ดวงด้านซ้ายมือ นั้น
ที่เป็นญาณสัมปยุต ที่เขียนด้วยตัวย่อว่า “สัม” ซึ่งหมายถึง
กุศลจิต ๔ ประเภท นี้ เป็น กุศลจิตที่ประกอบด้วย ปัญญาเจตสิก นั่นเอง
ส่วน ๔ ดวงด้านขวาเป็นกุศลจิตประเภท ญาณวิปปยุต คือ ไม่ประกอบด้วยปัญญาเจตสิก
ต่อไปก็จะยกความจาก คู่มือพระอภิธัมมัตถสังคหะปริเฉทที่ ๑ มาแสดงไว้นะครับ
---------------------------------------------------------------------------------------------
ญาณสมฺปยุตฺตํ แปลว่า ประกอบด้วยปัญญา คือ มีความรู้เห็นถูกต้องตรงความเป็นจริง
ในกามกุศลนี้หมายถึงเพียงว่ามีกัมมสสกตาปัญญา และวิปัสสนาปัญญา ก็เป็นญาณสัมปยุตตแล้ว
กัมมัสสกตาปัญญา ปัญญามีรู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นสมบัติของตน ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
วิปัสสนาปัญญา ปัญญาที่รู้ขันธ์ ๕ คือ รูปนามเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ปัญญาที่รู้เห็นว่าสัตว์มีกรรมเป็นสมบัติของตน อันเรียกว่า กัมมัสสกตาปัญญานี้ มี ๑๐ ประการ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เหตุให้เกิดญาณสัมปยุตตธรรม มี ๔ ประการ
๑. ปญฺญาสํวตฺตนิกกมฺมุปนิสฺสยตา
ปฏิสนธิมาโดยอาศัยกุศลกรรมที่ประกอบด้วยปัญญา
๒. อพฺยาปชฺชโลกูปปตฺติยา
เกิดในชาติที่หมดความกังวลห่วงใยปราศจากความพยาบาท มีโอกาสได้เขาวัดฟังธรรม
๓. กิเลสทูรตา
ห่างไกลจากกิเลส ไม่สนใจในการแสวงหากิเลสธรรม
๔. อินฺทฺริยปริปากตา
มีปัญญินทรีย์แก่กล้า คือ มีอายุระหว่าง ๔๐ ถึง ๕๐ ปี ที่เรียกว่าปัญญาทสกะ
อันเป็นวัยที่มีปัญญาพินิจพิจารณาโดยรอบคอบถึงเหตุผล
เหตุให้เกิดญาณสัมปยุตตธรรม อีกนัยหนึ่ง มี ๗ ประการ
๑. ปริปุจฺฉกตา
ชอบไต่ถามปัญหาธรรมต่างๆ
๒. วตฺถุวิสุทฺธกิริยา
ชอบสะอาดทั้งกายใจ ตลอดจนวัตถุเครื่องใช้สอย
๓. อินฺทฺริยสมตฺตปฏิปาทนา
ชอบรักษาอินทรีย์ ๕ มี ศรัทธา เป็นต้น ให้ทรงไว้โดยสม่ำเสมอกัน
๔. ทุปฺปญฺญปุคฺคปริวชฺชนา
ชอบหลีกเลี่ยงให้พ้นจากบุคคลผู้ไม่มีปัญญา
๕. ปญฺญวนฺตปุคฺคลเสวนา
ชอบคบหาสมาคมกับบุคคลผู้เป็นบัณฑิต
๖. คมฺภีรญาณจริยปจฺจเวกฺขณา
ชอบพิจารณาธรรมที่ลึกซึ้ง
๗. ตทธิมุตฺตตา
ชอบในการน้อมจิตแสวงหารสแห่งธรรมที่ต้องตรึกตรองอันทำให้เกิดปัญญา
--------------------------------------------------------------------------------------
จากที่ได้แสดงมานั้น ก็จะเห็นได้ว่า กุศลธรรม กุศลจิตที่เกิดขึ้นแก่เราในแต่ละขณะนั้น
ก็ยังมีประเภทที่แตกต่างกันออกไปได้หลายประเภท
สมัยที่ผมเคยได้เรียนพระอภิธรรมในปริเฉทที่ ๑ นั้น ครูอาจารย์จะมีตัวอย่างแบบฝึกหัดบางอย่าง
ที่ทำให้เราเข้าใจมากขึ้น เช่น การยกตัวอย่างการทำบุญของคุณแม่ที่ได้ชวนลูกเล็กไปใส่บาตรด้วยกัน
การใส่บาตรของทั้งสองคนนั้น ล้วนแต่มีกุศลจิตเกิดขึ้น แต่กุศลจิตของคุณแม่ในกรณีนี้ ประกอบด้วยปัญญาเจตสิก
เพราะรู้ว่า นี้เป็น ทาน นี้เป็นกุศล เป็นกรรมดี มีปัญญารู้ว่ากรรมดีย่อมให้ผลวิบากที่ดี
ส่วนลูกเล็กนั้น ยังไม่มีปัญญาเข้าใจในเรื่องนี้ แต่ก็ได้ไปใส่บาตรกระทำความดีตามที่คุณแม่ชักชวน
ในขณะนั้นก็เกิด กุศลที่เป็นญาณวิปปยุต (คือกุศลจิตที่ไม่ได้มีปัญญาเจตสิกเข้าประกอบ) กับเด็กน้อยคนนั้นได้
จิตทั้งสองแบบนี้ ก็ถือเป็นกุศลจิตทั้งนั้น แต่ว่า การให้ผลก็จะแตกต่างกันไป และจะให้ผลเป็น
จิตที่ต่างๆกันไปถึง ๘ ประเภทเช่นเดียวกัน ซึ่งในตอนถัดไปครั้งหน้า ก็จะเป็นเรื่องของผล
หรือ วิบากจิตต่างๆเหล่านี้ ที่มีชื่อว่า “มหาวิบากจิต ๘”
--------------------------------------------------------------------------------------
สำหรับวันนี้ ก็จะขอสนทนาไว้แต่เพียงเท่านี้ก่อน ธรรมสวัสดีครับ