ตำราอภิธัมมัตถสังคหะ เป็นผลงานของพระอนุรุทธาจารย์ ชาวอินเดียใต้ (บางแห่งกล่าวว่าเป็นชาวลังกา) ไม่ปรากฏแน่ชัดว่า แต่งขึ้นเมื่อใด แต่สันนิษฐานว่า คงแต่งขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๐ ในสมัยเดียวกับที่ พระพุทธโฆษาจารย์ แต่งคัมภีร์วิสุทธิมรรค
เปรียบเทียบข้อที่ 1.คนที่เรียน คัมภีร์พระอภิธัมมัตถสังคหะฉบับภาษาไทย บางคนบอกว่า จิต คือ วิญญาณขันธ์
ซึ่งในตอนแรกผมก็เชื่อตาม แต่ตอนนี้ ผมสรุปว่า จิต ไม่ใช่วิญญาญขันธ์ แต่คล้ายกันมาก ตามเหตุผล ดังนี้
สายเกิด
สังขารเป็นปัจจัย ให้เกิดวิญญาณ
วิญญาณเป็นปัจจัย ให้เกิดนามรูป
นามรูปเป็นปัจจัย ให้เกิดสฟายตนะ6(ตาหูจมูกลิ้นกายใจ)
บางพระสูตร บอกว่า นามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ
และ ความเกิดแห่งจิตย่อมมี เพราะความเกิดแห่งนามรูป
สายดับ
สังขารดับ วิญญาณจึงดับ
วิญญาณ ดับ สฟายตนะ จึงดับ
บางพระสูตร บอกว่า นามรูปดับ วิญญาณ จึง ดับ
และความดับแห่งจิตย่อมมี เพราะความดับแห่งนามรูป
สรุปว่า จิต ไม่ใช่ วิญญาณ เพราะ ปัจจัยที่ทำให้ เกิดและดับ ต่างกัน แต่ใกล้เคียงกันมากจนเข้าใจผิดกันได้
เปรียบเทียบข้อที่ 2..คนที่เรียน คัมภีร์พระอภิธัมมัตถสังคหะฉบับภาษาไทย บางคนบอกว่า จิต เกิดพร้อมกับ เจตสิก
ผมบอกว่า เป็นไปไม่ได้ ที่จะมีสิ่งใดเกิดพร้อมกัน อย่างน้อยต้องห่างกัน 1ใน แสนโกฏิล้าน วินาทีเป็นอย่างน้อย
และ ขัดกับพระสูตร นี้
[๕๖] อกุศลธรรมทั้งหลายที่เป็นส่วนอกุศล ที่เป็นฝ่ายอกุศลทั้งหมด มีใจเป็น
หัวหน้า ใจเกิดก่อนธรรมเหล่านั้น อกุศลธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นร่วมกันภายหลัง
[๕๗] กุศลธรรมทั้งหลายที่เป็นส่วนกุศล ที่เป็นฝ่ายกุศลทั้งหมด มีใจเป็น
หัวหน้า ใจเกิดก่อนธรรมเหล่านั้น กุศลธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นร่วมกันภายหลัง
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=20&siri=6
เปรียบเทียบข้อที่ 3. เพียงอยากบอกว่า
ไม่มีความเป็นไปได้เลย ที่จะมีสิ่งใด เกิดพร้อมกัน
ผมท่องจำเสมอ เพราะมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย จึงมีสิ่งนี้
ผมไม่ท่องจำเด็ดขาดว่า เพราะสิ่งนี้ เกิดพร้อมกับสิ่งนี้
เปรียบเทียบข้อที่4.คนที่เรียน คัมภีร์พระอภิธัมมัตถสังคหะฉบับภาษาไทย บางคนบอกว่า ผัสสะ และ ชีวิตตินทรีย์ คือ เจตสิก
ผมบอกว่า ผัสสะ และ ชีวิตตินทรีย์ ไม่ได้เป็นขันธ์ ใด ๆ ไม่มีทางเป็น เจตสิก ได้เลย
เปรียบเทียบข้อที่5.คนที่เรียน คัมภีร์พระอภิธัมมัตถสังคหะฉบับภาษาไทย บางคนบอกว่า สรุปว่า พระอริยบุคคล มี แค่ 4 คน
แต่ผมท่องจำมาแต่เด็ก พระอริยะบุคคล มี 8 คน นับเรียงตัวได้ 8 คน สามารถ ทำบุญกับท่านได้ ทั้ง 8 คน
เปรียบเทียบข้อที่ 6.คนที่เรียน คัมภีร์พระอภิธัมมัตถสังคหะฉบับภาษาไทย บางคนบอกว่า สรุปว่า วิปัสนาญาณมี 16 ขั้น
ผมฟังหูไว้หูอีกตามเคย
เปรียบเทียบข้อที่ 7.การบอกว่า สิ่งนั้นปรมัตถ์ สิ่งนี้สมมุติ
ผมมองว่าใกล้เคียง อัพยากต ปัญหา ที่ว่า
"โลกเที่ยง นี้เท่านั้นเป็นความจริง สิ่งอื่นเปล่า"
ซึ่งพระพุทธองค์ ไม่ทรงตอบ
เป็นสุดโต่งความคิด ออกไปทาง มหายาน ด้วยซ้ำ.ตำราพวกนี้ ฟังหูไว้หู ก็พอ
http://www.dharma-gateway.com/ubasok/satien/ubasok-23.htm
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุไฉนพระองค์จึงทรงพยากรณ์ดังนั้น.
ดูกรโปฏฐปาทะ เพราะข้อนั้นประกอบด้วยอรรถ ประกอบด้วยธรรม เป็นเบื้องต้น
แห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ
เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เพราะเหตุนั้น เราจึงพยากรณ์ดังนั้น.
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนั้นต้องเป็นเช่นนี้ ข้าแต่พระสุคต ข้อนั้นต้องเป็นเช่นนี้
บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาคทรงทราบกาลอันควรเถิด.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จลุกจากอาสนะหลีกไปแล้ว.
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ บรรทัดที่ ๖๐๒๙ - ๖๗๗๖. หน้าที่ ๒๕๒ - ๒๘๒
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=9&A=6029&Z=6776&pagebreak=0
เปรียบเทียบข้อที่ 8.การบอกว่า สิ่งนั้นปรมัตถ์ สิ่งนี้สมมุติ
เทียบเท่าได้ว่า คือ การบอกสิ่งนั้นมี สิ่งนั้นไม่มี
เป็นความเห็นสุดโต่ง ตามพระสูตรนี้
[๔๔] ดูกรกัจจานะ ส่วนสุดข้อที่ ๑ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่ ส่วนสุด
ข้อที่ ๒ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่มี ตถาคตแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้
ส่วนสุดทั้ง ๒ นั้น......
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๓๘๕ - ๔๐๘. หน้าที่ ๑๖ - ๑๗.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=385&Z=408&pagebreak=0
แก้ไข เพิ่มเติม คิดได้ช่วงขณะ ถามตอบกระทู้
เหตุผลเปรียบเทียบ ข้อ ที่ 9 .
วิญญาณมี แค่ 6
จิตไม่ใช่ขันธ์ทั้ง5 แต่จะอื่นจากขันธ์5 ก็ไม่ใช่
จิตคือ ทั้งหมด การทำงานร่วมกัน ของนามรูป ของขันธ์ 5 จึงมี จิต
เพราะจิต วิจิตร มากมาย
แต่ วิญญาณ มีแค่ 6
ดังนั้น จิตไม่ใช่ วิญญาณ สังขาร เวทนา สัญญา
4 อย่างนี้ เป็นอาการของจิต อุปกรณ์ของจิต
จิตรู้ ได้เพราะ อาศัยวิญญาณ
จิตปรุงแต่งได้เพราะ อาศัยสังขาร
จิตรับรู้ สุข+ทุกข์+อทุกขมสุข ได้เพราะ อาศัยเวทนา
จิตจดจำได้เพราะ อาศัยสัญญา
...........เพิ่มเติม 27 กพ 65...
เปรียบเทียบข้อที่ 10
คนบางคนบอกว่า สติ เกิด แต่กุศล เท่านั้น
แต่พระสูตร กล่าวชัด มิจฉาสติ
ผมตีความว่า สติและความเพียรของเทวทัต ทำสังฆเภท ก็มี
สติและความเพียรของพระเจ้าอชาตศัตรู กระทำปิตุฆาต ก็มี
--------------------------------------------------------------------------------
ผมหวังว่า ท่านจะเข้าใจ สิ่งที่ผมอธิบาย
ผมหวังว่า สิ่งที่ผมอธิบายจะถูกต้อง
ผิดถูกประการใด ผมรับผิด ถือว่าฟังไม่ได้ศัพท์ จับมากระเดียดเอง
เปรียบเทียบ คัมภีร์พระอภิธัมมัตถสังคหะฉบับภาษาไทยในประเทศไทย
เปรียบเทียบข้อที่ 1.คนที่เรียน คัมภีร์พระอภิธัมมัตถสังคหะฉบับภาษาไทย บางคนบอกว่า จิต คือ วิญญาณขันธ์
ซึ่งในตอนแรกผมก็เชื่อตาม แต่ตอนนี้ ผมสรุปว่า จิต ไม่ใช่วิญญาญขันธ์ แต่คล้ายกันมาก ตามเหตุผล ดังนี้
สายเกิด
สังขารเป็นปัจจัย ให้เกิดวิญญาณ
วิญญาณเป็นปัจจัย ให้เกิดนามรูป
นามรูปเป็นปัจจัย ให้เกิดสฟายตนะ6(ตาหูจมูกลิ้นกายใจ)
บางพระสูตร บอกว่า นามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ
และ ความเกิดแห่งจิตย่อมมี เพราะความเกิดแห่งนามรูป
สายดับ
สังขารดับ วิญญาณจึงดับ
วิญญาณ ดับ สฟายตนะ จึงดับ
บางพระสูตร บอกว่า นามรูปดับ วิญญาณ จึง ดับ
และความดับแห่งจิตย่อมมี เพราะความดับแห่งนามรูป
สรุปว่า จิต ไม่ใช่ วิญญาณ เพราะ ปัจจัยที่ทำให้ เกิดและดับ ต่างกัน แต่ใกล้เคียงกันมากจนเข้าใจผิดกันได้
เปรียบเทียบข้อที่ 2..คนที่เรียน คัมภีร์พระอภิธัมมัตถสังคหะฉบับภาษาไทย บางคนบอกว่า จิต เกิดพร้อมกับ เจตสิก
ผมบอกว่า เป็นไปไม่ได้ ที่จะมีสิ่งใดเกิดพร้อมกัน อย่างน้อยต้องห่างกัน 1ใน แสนโกฏิล้าน วินาทีเป็นอย่างน้อย
และ ขัดกับพระสูตร นี้
[๕๖] อกุศลธรรมทั้งหลายที่เป็นส่วนอกุศล ที่เป็นฝ่ายอกุศลทั้งหมด มีใจเป็น
หัวหน้า ใจเกิดก่อนธรรมเหล่านั้น อกุศลธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นร่วมกันภายหลัง
[๕๗] กุศลธรรมทั้งหลายที่เป็นส่วนกุศล ที่เป็นฝ่ายกุศลทั้งหมด มีใจเป็น
หัวหน้า ใจเกิดก่อนธรรมเหล่านั้น กุศลธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นร่วมกันภายหลัง
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=20&siri=6
เปรียบเทียบข้อที่ 3. เพียงอยากบอกว่า
ไม่มีความเป็นไปได้เลย ที่จะมีสิ่งใด เกิดพร้อมกัน
ผมท่องจำเสมอ เพราะมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย จึงมีสิ่งนี้
ผมไม่ท่องจำเด็ดขาดว่า เพราะสิ่งนี้ เกิดพร้อมกับสิ่งนี้
เปรียบเทียบข้อที่4.คนที่เรียน คัมภีร์พระอภิธัมมัตถสังคหะฉบับภาษาไทย บางคนบอกว่า ผัสสะ และ ชีวิตตินทรีย์ คือ เจตสิก
ผมบอกว่า ผัสสะ และ ชีวิตตินทรีย์ ไม่ได้เป็นขันธ์ ใด ๆ ไม่มีทางเป็น เจตสิก ได้เลย
เปรียบเทียบข้อที่5.คนที่เรียน คัมภีร์พระอภิธัมมัตถสังคหะฉบับภาษาไทย บางคนบอกว่า สรุปว่า พระอริยบุคคล มี แค่ 4 คน
แต่ผมท่องจำมาแต่เด็ก พระอริยะบุคคล มี 8 คน นับเรียงตัวได้ 8 คน สามารถ ทำบุญกับท่านได้ ทั้ง 8 คน
เปรียบเทียบข้อที่ 6.คนที่เรียน คัมภีร์พระอภิธัมมัตถสังคหะฉบับภาษาไทย บางคนบอกว่า สรุปว่า วิปัสนาญาณมี 16 ขั้น
ผมฟังหูไว้หูอีกตามเคย
เปรียบเทียบข้อที่ 7.การบอกว่า สิ่งนั้นปรมัตถ์ สิ่งนี้สมมุติ
ผมมองว่าใกล้เคียง อัพยากต ปัญหา ที่ว่า
"โลกเที่ยง นี้เท่านั้นเป็นความจริง สิ่งอื่นเปล่า"
ซึ่งพระพุทธองค์ ไม่ทรงตอบ
เป็นสุดโต่งความคิด ออกไปทาง มหายาน ด้วยซ้ำ.ตำราพวกนี้ ฟังหูไว้หู ก็พอ
http://www.dharma-gateway.com/ubasok/satien/ubasok-23.htm
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุไฉนพระองค์จึงทรงพยากรณ์ดังนั้น.
ดูกรโปฏฐปาทะ เพราะข้อนั้นประกอบด้วยอรรถ ประกอบด้วยธรรม เป็นเบื้องต้น
แห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ
เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เพราะเหตุนั้น เราจึงพยากรณ์ดังนั้น.
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนั้นต้องเป็นเช่นนี้ ข้าแต่พระสุคต ข้อนั้นต้องเป็นเช่นนี้
บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาคทรงทราบกาลอันควรเถิด.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จลุกจากอาสนะหลีกไปแล้ว.
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ บรรทัดที่ ๖๐๒๙ - ๖๗๗๖. หน้าที่ ๒๕๒ - ๒๘๒
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=9&A=6029&Z=6776&pagebreak=0
เปรียบเทียบข้อที่ 8.การบอกว่า สิ่งนั้นปรมัตถ์ สิ่งนี้สมมุติ
เทียบเท่าได้ว่า คือ การบอกสิ่งนั้นมี สิ่งนั้นไม่มี
เป็นความเห็นสุดโต่ง ตามพระสูตรนี้
[๔๔] ดูกรกัจจานะ ส่วนสุดข้อที่ ๑ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่ ส่วนสุด
ข้อที่ ๒ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่มี ตถาคตแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้
ส่วนสุดทั้ง ๒ นั้น......
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๓๘๕ - ๔๐๘. หน้าที่ ๑๖ - ๑๗.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=385&Z=408&pagebreak=0
แก้ไข เพิ่มเติม คิดได้ช่วงขณะ ถามตอบกระทู้
เหตุผลเปรียบเทียบ ข้อ ที่ 9 .
วิญญาณมี แค่ 6
จิตไม่ใช่ขันธ์ทั้ง5 แต่จะอื่นจากขันธ์5 ก็ไม่ใช่
จิตคือ ทั้งหมด การทำงานร่วมกัน ของนามรูป ของขันธ์ 5 จึงมี จิต
เพราะจิต วิจิตร มากมาย
แต่ วิญญาณ มีแค่ 6
ดังนั้น จิตไม่ใช่ วิญญาณ สังขาร เวทนา สัญญา
4 อย่างนี้ เป็นอาการของจิต อุปกรณ์ของจิต
จิตรู้ ได้เพราะ อาศัยวิญญาณ
จิตปรุงแต่งได้เพราะ อาศัยสังขาร
จิตรับรู้ สุข+ทุกข์+อทุกขมสุข ได้เพราะ อาศัยเวทนา
จิตจดจำได้เพราะ อาศัยสัญญา
...........เพิ่มเติม 27 กพ 65...
เปรียบเทียบข้อที่ 10
คนบางคนบอกว่า สติ เกิด แต่กุศล เท่านั้น
แต่พระสูตร กล่าวชัด มิจฉาสติ
ผมตีความว่า สติและความเพียรของเทวทัต ทำสังฆเภท ก็มี
สติและความเพียรของพระเจ้าอชาตศัตรู กระทำปิตุฆาต ก็มี
--------------------------------------------------------------------------------
ผมหวังว่า ท่านจะเข้าใจ สิ่งที่ผมอธิบาย
ผมหวังว่า สิ่งที่ผมอธิบายจะถูกต้อง
ผิดถูกประการใด ผมรับผิด ถือว่าฟังไม่ได้ศัพท์ จับมากระเดียดเอง