เหตุที่มาการทำบุญให้ศาสนจักร ( ผมใช้คำนี้นะครับ เพราะศาสนาอื่นๆ ก็ทำแบบเรา )
รัฐบาลไม่ว่าสมัยไหนก็ตาม ไม่มีทางเลยที่จะมีปัญญาไปดูแลประชาชนได้ทุกคน ทุกกลุ่ม ( และรัฐบาลมันก็เป็นเรื่องของชนชั้นนำ จะกลุ่มไหนก็ช่าง ต่อให้มาจากการเลือกตั้ง ก็ต้องเอื้อประโยชน์กับชนชั้นนำด้วยกันอยู่ดี )
กลไกสังคมจึงออกแบบคณะบุุคคลอื่นๆ ที่ไม่ใช่อำนาจรัฐ มาเพื่ออุดช่องว่างดังกล่าว บ้างเป็นศาสนจักร บ้างก็เป็นองค์กรการกุศล เพื่อรวบรวมปัจจัยต่างๆ ไปช่วยเหลือมนุษย์ผู้ตกทุกข์ได้ยาก ที่รัฐไม่มีวันเหลียวแลได้ทั่วถึง
ในองค์กรรูปแบบต่างๆ เหล่านี้
"ศาสนจักร" เข้มแข็งที่สุด ถึงไม่มีอำนาจทหารหรืออำนาจการเมือง แต่มี
"อำนาจทางใจ" ในการโน้มน้าวประชาชนให้ร่วมทำ หรือไม่ทำสิ่งใดๆ ( แน่นอนรวมถึงการบริจาคด้วย )
เพราะมนุษย์ส่วนใหญ่อ่อนแอและเปราะบาง จึงต้องการ
"อำนาจเหนือธรรมชาติ" ( สวดมนต์ขอพร บนบานศาลกล่าวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จะเรียกพระเจ้า เทพเจ้า ฯลฯ หรืออะไรก็ตาม ) มาเป็นแรงบันดาลใจในการกระทำสิ่งต่างๆ รวมถึงช่วยแบกรับความรู้สึกปวดร้าว เมื่อสิ่งที่มนุษย์ตั้งใจทำแล้วไม่ได้ดังที่หวัง
นักบวชทั้งหลาย เป็นบุคลากรที่เิกิดมาเพื่อรับใช้กลไกทางสังคมดังกล่าว โดยสังคมยกอำนาจให้ในรูปของ
"ความไว้วางใจในฐานะผู้รับใช้ของสิ่งศักดิ์สิทธิ์" เป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบในศีลในธรรมของศาสนา จึงได้ดูแลทรัพย์มากมายที่ฆราวาสบริจาคให้ เพื่อนำไปจัดสรรช่วยเหลือคนด้อยโอกาสต่อไป
เรายังคงพบเห็นเด็กยากจน ได้ปัจจัย ( เงินทุนการศึกษา ) จากวัด เช่นเดียวกับบุตรชายในครอบครัวด้อยโอกาส ก็ยังเป็นเด็กวัด หรือบวชเณร เพื่อให้มีโอกาสเรียนหนังสือแบบเดียวกับเด็กคนอื่นๆ ( หลักสูตรพระ - เณรของศาสนาพุทธ ทุกวันนี้สอนทั้งวิชาศาสนาและวิชาสามัญ สามารถเทียบโอนกับระบบโรงเรียนปกติได้เมื่อสึกออกไปแล้ว ) อยู่เสมอ ทั้งในชุมชนเมืองและชุมชนชนบท แน่นอนศาสนาอื่นก็ทำเ่ช่นกัน เช่นภารกิจสอนหนังสือพร้อมๆ กับเผยแพร่ศาสนาของเหล่ามิชชันนารีของชาวคริสต์
ทั้งที่ตามศีลแล้ว นักบวชพุทธไม่สามารถรับ หรือสะสมเงินทองได้ แต่ก็จำเป็นต้องทำ เพราะรัฐไม่มีวันดูแลประชาชนได้ทั่วถึง ( โดยเฉพาะรัฐไทย )
แน่นอน ระบบมันดี แต่คนน่ะไม่ดี จึงไม่ต้องแปลกใจ ที่มีบางคนบวชเข้ามาหาผลประโยชน์ เกินกว่าที่คนๆ หนึ่งสมควรได้
ถามว่าระบบผิดหรือ? แล้วถ้าคนสมัยนี้ที่เชื่อในบทบาทของรัฐ พยายามทำลายระบบความเชื่อดังกล่าว ( เห็นเยอะแยะ พวกหัวก้าวหน้าไม่อยากให้ทำบุญกับวัด ว่าเขางมงายบ้างละ อ่อนแอสยบยอมต่อบุญกรรมที่เหลวไหล พิสูจน์ไม่ได้บ้างละ ) ถามว่าแ้ล้วคนที่รัฐไม่สามารถดูแลได้ทั่วถึง จะไปขอความช่วยเหลือตรงไหน?
ดังนั้นแทนที่จะไปเย้ยหยัน ต่อว่าระบบ เราเปลี่ยนมาดูว่า..เราจะทำยังไงกับนักบวช หรือคนที่เข้าไปหากินกับศาสนา ที่เกินกว่าความต้องการพื้นฐานดีกว่าไหม?
ปล.ผมไม่เชื่อว่ารัฐไทยจะมีปัญญาทำสวัสดิการสังคมได้แบบยุโรป เพราะ GDP เราไม่สูงแบบเขาเนื่องจากเราไม่มีสินค้าเทคโนโลยีชั้นสูงเป็นของตัวเองเลยแม้แต่น้อย ( รับจ้างผลิตทั้งนั้น ) และคนไทยไม่ยอมเสียภาษีมากๆ แบบสแกนดิเนเวียแน่ๆ
นักบวชสะสมเกินความจำเป็น..ใครผิด? คนหรือระบบ?
รัฐบาลไม่ว่าสมัยไหนก็ตาม ไม่มีทางเลยที่จะมีปัญญาไปดูแลประชาชนได้ทุกคน ทุกกลุ่ม ( และรัฐบาลมันก็เป็นเรื่องของชนชั้นนำ จะกลุ่มไหนก็ช่าง ต่อให้มาจากการเลือกตั้ง ก็ต้องเอื้อประโยชน์กับชนชั้นนำด้วยกันอยู่ดี )
กลไกสังคมจึงออกแบบคณะบุุคคลอื่นๆ ที่ไม่ใช่อำนาจรัฐ มาเพื่ออุดช่องว่างดังกล่าว บ้างเป็นศาสนจักร บ้างก็เป็นองค์กรการกุศล เพื่อรวบรวมปัจจัยต่างๆ ไปช่วยเหลือมนุษย์ผู้ตกทุกข์ได้ยาก ที่รัฐไม่มีวันเหลียวแลได้ทั่วถึง
ในองค์กรรูปแบบต่างๆ เหล่านี้ "ศาสนจักร" เข้มแข็งที่สุด ถึงไม่มีอำนาจทหารหรืออำนาจการเมือง แต่มี "อำนาจทางใจ" ในการโน้มน้าวประชาชนให้ร่วมทำ หรือไม่ทำสิ่งใดๆ ( แน่นอนรวมถึงการบริจาคด้วย )
เพราะมนุษย์ส่วนใหญ่อ่อนแอและเปราะบาง จึงต้องการ "อำนาจเหนือธรรมชาติ" ( สวดมนต์ขอพร บนบานศาลกล่าวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จะเรียกพระเจ้า เทพเจ้า ฯลฯ หรืออะไรก็ตาม ) มาเป็นแรงบันดาลใจในการกระทำสิ่งต่างๆ รวมถึงช่วยแบกรับความรู้สึกปวดร้าว เมื่อสิ่งที่มนุษย์ตั้งใจทำแล้วไม่ได้ดังที่หวัง
นักบวชทั้งหลาย เป็นบุคลากรที่เิกิดมาเพื่อรับใช้กลไกทางสังคมดังกล่าว โดยสังคมยกอำนาจให้ในรูปของ "ความไว้วางใจในฐานะผู้รับใช้ของสิ่งศักดิ์สิทธิ์" เป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบในศีลในธรรมของศาสนา จึงได้ดูแลทรัพย์มากมายที่ฆราวาสบริจาคให้ เพื่อนำไปจัดสรรช่วยเหลือคนด้อยโอกาสต่อไป
เรายังคงพบเห็นเด็กยากจน ได้ปัจจัย ( เงินทุนการศึกษา ) จากวัด เช่นเดียวกับบุตรชายในครอบครัวด้อยโอกาส ก็ยังเป็นเด็กวัด หรือบวชเณร เพื่อให้มีโอกาสเรียนหนังสือแบบเดียวกับเด็กคนอื่นๆ ( หลักสูตรพระ - เณรของศาสนาพุทธ ทุกวันนี้สอนทั้งวิชาศาสนาและวิชาสามัญ สามารถเทียบโอนกับระบบโรงเรียนปกติได้เมื่อสึกออกไปแล้ว ) อยู่เสมอ ทั้งในชุมชนเมืองและชุมชนชนบท แน่นอนศาสนาอื่นก็ทำเ่ช่นกัน เช่นภารกิจสอนหนังสือพร้อมๆ กับเผยแพร่ศาสนาของเหล่ามิชชันนารีของชาวคริสต์
ทั้งที่ตามศีลแล้ว นักบวชพุทธไม่สามารถรับ หรือสะสมเงินทองได้ แต่ก็จำเป็นต้องทำ เพราะรัฐไม่มีวันดูแลประชาชนได้ทั่วถึง ( โดยเฉพาะรัฐไทย )
แน่นอน ระบบมันดี แต่คนน่ะไม่ดี จึงไม่ต้องแปลกใจ ที่มีบางคนบวชเข้ามาหาผลประโยชน์ เกินกว่าที่คนๆ หนึ่งสมควรได้
ถามว่าระบบผิดหรือ? แล้วถ้าคนสมัยนี้ที่เชื่อในบทบาทของรัฐ พยายามทำลายระบบความเชื่อดังกล่าว ( เห็นเยอะแยะ พวกหัวก้าวหน้าไม่อยากให้ทำบุญกับวัด ว่าเขางมงายบ้างละ อ่อนแอสยบยอมต่อบุญกรรมที่เหลวไหล พิสูจน์ไม่ได้บ้างละ ) ถามว่าแ้ล้วคนที่รัฐไม่สามารถดูแลได้ทั่วถึง จะไปขอความช่วยเหลือตรงไหน?
ดังนั้นแทนที่จะไปเย้ยหยัน ต่อว่าระบบ เราเปลี่ยนมาดูว่า..เราจะทำยังไงกับนักบวช หรือคนที่เข้าไปหากินกับศาสนา ที่เกินกว่าความต้องการพื้นฐานดีกว่าไหม?
ปล.ผมไม่เชื่อว่ารัฐไทยจะมีปัญญาทำสวัสดิการสังคมได้แบบยุโรป เพราะ GDP เราไม่สูงแบบเขาเนื่องจากเราไม่มีสินค้าเทคโนโลยีชั้นสูงเป็นของตัวเองเลยแม้แต่น้อย ( รับจ้างผลิตทั้งนั้น ) และคนไทยไม่ยอมเสียภาษีมากๆ แบบสแกนดิเนเวียแน่ๆ