สภาวธรรมที่เป็น ญาณในสติปัฏฐาน 4 เป็นอย่างไร สภาวะของฌานเป็นอย่างไร การไม่สึก การเข้าใจผิดอย่างไร
กระทู้นี้ต่อเนื่องจากกระทู้
http://ppantip.com/topic/30602173 ที่ได้ยกพุทธพจน์เกี่ยวกับสภาวธรรมของ กายคตาสติ ให้ทราบแล้ว ซึ่งก็คือ สติปัฏฐาน 4 ข้อแรก คือพิจารณากายในกาย นั้นเอง เป็นดังนี้...
-----
[๒๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเดินอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังเดิน
หรือยืนอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังยืน หรือนั่งอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังนั่ง หรือนอนอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังนอน
หรือเธอทรงกายโดยอาการใดๆ อยู่ ก็รู้ชัดว่า กำลังทรงกายโดยอาการนั้นๆ เ
มื่อภิกษุนั้น
ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปใน ธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้
เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
[๒๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมเป็นผู้ทำความ รู้สึกตัวในเวลา
ก้าวไปและถอยกลับ ในเวลาแลดู และเหลียวดู ในเวลางอแขนและเหยียดแขน ในเวลา
ทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร ในเวลา ฉัน ดื่ม เคี้ยว และลิ้ม ในเวลาถ่ายอุจจาระและ
ปัสสาวะ ในเวลา เดิน ยืน นั่งนอนหลับ ตื่น พูด และนิ่ง
เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท
มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะ
ละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
-----
อธิบาย>>> เพื่อเน้นสภาวะธรรม ที่ปรากฏกับผู้ปฏิบัติธรรม ดังที่ได้ทำตัวหนาและขีดเส้นไต้ไว้ เป็นสภาวะธรรมของผลการปฏิบัติที่มี อาการ อารมณ์ เช่นเดียวกัน แม้กรรมฐานที่ปฏิบัติแตกต่างกัน ยกมาให้ทราบ และแยกให้ชัดขึ้นดังนี้
เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความ เพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้
ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้เพราะละความดำริพล่านนั้นได้
--- จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ---
--- ย่อมคงที่ ---
--- แน่นิ่งเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ---
--- ตั้งมั่น ---
จะเห็นพระภิกษุ เมื่อปฏิบัติธรรมได้ดังนั้น จะสึกลาเพศกลับมาเป็นฆราวาสนั้นย่อมเป็นไปได้ยากแล้วนั้นเอง ด้วยพุทธพจน์ส่วนนี้
ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้เพราะละความดำริพล่านนั้นได้
ต่อไปก็จะยกพุทธพจน์จากพระไตรปิฎก ในสภาวธรรมของ การบรรลุ ฌาน ดังในพระไตรปิฎกเล่มที่ 9 ดังนี้.
รูปฌาน ๔
[๑๒๗] เมื่อเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ ที่ละได้แล้วในตน ย่อมเกิดปราโมทย์
เมื่อปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น. เธอสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร
มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่
วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง
ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนาน หรือลูกมือพนักงานสรงสนานผู้ฉลาด
จะพึงใส่จุรณ์สีตัวลงในภาชนะสำริด แล้วพรมด้วยน้ำ หมักไว้ ตกเวลาเย็นก้อนจุรณ์สีตัวซึ่งยาง
ซึมไปจับติดกันทั่วทั้งหมด ย่อมไม่กระจายออก ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ทำกายนี้แหละให้
ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว
ที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า
ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.
[๑๒๘] ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง
ภิกษุบรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิต
ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตก วิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุข
เกิดแต่สมาธิอยู่ เธอทำกายนี้แหละ ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ
ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง. ดูกร
มหาบพิตร เปรียบเหมือนห้วงน้ำลึกมีน้ำปั่นป่วน ไม่มีทางที่น้ำจะไหลมาได้ ทั้งในด้านตะวันออก
ด้านใต้ ด้านตะวันตก ด้านเหนือ ทั้งฝนก็ไม่ตกเพิ่มตามฤดูกาล แต่สายน้ำเย็นพุขึ้นจากห้วง
น้ำนั้นแล้ว จะพึงทำห้วงน้ำนั้นแหละให้ชุ่มชื่นเอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็น ไม่มีเอกเทศไหนๆ
แห่งห้วงน้ำนั้นทั้งหมด ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้องฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมทำกายนี้แหละ
ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอ
ทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์
ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.
[๑๒๙] ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง
ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุข
ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยสุขอันปราศจากปีติ
ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง ดูกรมหาบพิตร
เปรียบเหมือนในกอบัวขาบ ในกอบัวหลวง หรือในกอบัวขาว ดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง
หรือดอกบัวขาว บางเหล่าซึ่งเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ น้ำหล่อเลี้ยงไว้
ดอกบัวเหล่านั้น ชุ่มชื่นเอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็นตลอดยอด ตลอดเง่า ไม่มีเอกเทศไหนๆ
แห่งดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว ทั่วทุกส่วน ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้อง ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยสุขปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศ
ไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง ดูกรมหาบพิตร นี้แหละ
สามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.
-----
อธิบาย >>> ตามที่ทำตัวหนาไว้ จะเห็นในพุทธพจน์นั้น สภาวธรรมของ กายคตาสติ หรือสติปัฏฐาน 4 หรือญาณ นั้นมีความแตกต่างกันกับ รูปฌาน อยู่ในระดับหนึ่ง แต่ที่จะทำให้เกิดความสับสนก็คือใน ฌานที่ 2 คือ...
ภิกษุบรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิต
ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตก วิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุข
เกิดแต่สมาธิอยู่
ตรงที่เกิด
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น นั้นเอง นี้แหละเป็นปัญหาระดับลึก สำหรับปุถุชนผู้ที่เข้าใจผิด ปฏิบัติธรรมเป็นสมถะบรรลุ ตั้งแต่รูปฌานที่ 2 ขึ้นไป แล้วเข้าใจผิดว่า ตนเองบรรลุมรรคผลนิพพานไปแล้วได้ เพราะแม้แต่ในพุทธพจน์ก็ยังใช้ ประโยคเหมือนกันคือ
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เช่นเดียวกันนั้นเอง.
แต่ความจริงแล้วปุถุชน ผู้จะเข้าใจผิดหรือหลงว่าเป็น มรรคผลนิพพาน ก็เป็นได้ตั้งแต่ปฏิบัติธรรมกลายเป็นสมถะ จนปรากฏ อุปจารสมาธิ(สมาธิเฉียดฌาน 1) หรือบรรลุ ฌานที่ 1 แล้วก็ได้ เพราะเป็นสภาวธรรมที่มหัศจรรย์ ที่ไม่เคยเกิดในชีวิตมาก่อน ได้ปรากฏขึ้นครั้งแรก นั้นเอง.
แต่ก็ไม่ใช่ว่า ต้องปฏิบัติสมาธิ จนได้ฌานอย่างนั้นแล้วหลงผิด แม้แต่ผู้ได้ศึกษาธรรมและปฏิบัติธรรมทั่วไป ก็เกิดเข้าใจผิดได้ ก็ด้วยแค่เกิดความสงบ เพียงแค่ในการคิดพิจารณาธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้แล้วเกิดการเข้าใจในระดับจินตะ ก็สามารถเข้าใจผิด เมื่อมากเข้าจนถึงขั้นหลงว่าเป็นมรรคผลนิพพานได้เช่นกัน แต่ความเห็นในใจตนนั้นก็จะกลับไปกลับมาว่า ใช่ หรือไม่ใช่ ก็ด้วยกิเลสตนที่ยังปรากฏชัดและทุกข์อยู่กับมันยังชัดเจนมากนั้นเอง.
ต่างกับผู้ได้ฌาน แล้วหลงผิดเข้าใจผิดว่าเป็นมรรคผลนิพพาน จะฝังแน่นติดลึกนัก แม้แต่กิเลสปรากฏรุ่นแรงทางใจ แล้วปรากฏทางกายวาจาจนก้าวล่วงศีลไปแล้ว ก็ยังมองคลาดเคลื่อนไปว่านั้นไม่ใช่กิเลส ไปได้ เพราะยึดมั่นจนเป็นอัตตาเหนียวแน่นนั้นเอง.
ต่อไปมาดู พุทธพจน์ที่กล่าวถึง
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ในกายคตาสติ กับ ฌาน นั้นเป็นอย่างไร ทำไม? จึงพุทธพจน์เหมือนแต่ไม่เหมือนกัน จากพระไตรปิฎกเล่ม 14
-----
[๓๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก
ภิกษุเข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจ
ภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจารไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติ
และสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอยังกายนี้แล ให้คลุกเคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิด
แต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง ดูกร
ภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนห้วงน้ำพุ ไม่มีทางระบายน้ำทั้งในทิศตะวันออก ทั้งในทิศตะวันตก
ทั้งในทิศเหนือ ทั้งในทิศใต้เลย และฝนก็ยังไม่หลั่งสายน้ำโดยชอบตามฤดูกาล ขณะนั้นแล
ธารน้ำเย็นจะพุขึ้นจากห้วงน้ำนั้น แล้วทำห้วงน้ำนั้นเอง ให้คลุกเคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วย
น้ำเย็น ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งห้วงน้ำทุกส่วนนั้นที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมยังกายนี้แล ให้คลุก เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยปีติและสุข
เกิดแต่สมาธิไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง
เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัย
เรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลายแม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
[๓๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ
มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย ย่อมเข้าตติยฌานที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่า
ผู้วางเฉย มีสติ อยู่เป็นสุขอยู่ เธอยังกายนี้แล ให้คลุก เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยสุข
ปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนดอกบัวขาบ หรือดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว แต่ละชนิด
ในกอบัวขาบหรือในกอบัวหลวง หรือในกอบัวขาว เกิดแล้วในน้ำ เนื่องอยู่ในน้ำ ขึ้นตามน้ำ
จมอยู่ในน้ำ อันน้ำเลี้ยงไว้ คลุก เคล้า บริบูรณ์ ซึมซาบด้วยน้ำเย็นจนถึงยอดและเง่า ไม่มี
เอกเทศไรๆ แห่งดอกบัวขาบ หรือดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาวทุกส่วนที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง
ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแลภิกษุย่อมยังกายนี้แล ให้คลุก เคล้า บริบูรณ์
ซาบซ่านด้วยสุขปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่สุขปราศจากปีติจะไม่
ถูกต้อง
เมื่อ ภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริ
พล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่
แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลายแม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ
----
อธิบาย >>> จะเห็นว่ามีความแตกต่างกันระหว่าง ฌาน 2 กับ สภาวธรรมของกายคตาสติหรือสติปัฏฐาน 4 ดังนี้
สภาวธรรมของฌาน 2 คือ
มีความผ่องใสแห่งใจภายใน
มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจารไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
สภาวธรรมของกายคตาสติหรือ สติปัฏฐาน 4 คือ
จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
สภาวธรรมที่ต่างกันอย่างชัดเจนตรง
จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง
ตามที่เข้าใจคือ คงทีแน่นิ่ง หมายความว่า คงที่แน่นิ่ง(คือคงที่อย่างชัดเจนแล้วนิ่งจนหมดไปสิ้นไป) จึงเกิดธรรมเอกผุดขึ้น ในภายหลัง
สุดท้ายได้เสนอ พุทธพจน์ แล้วอธิบายดังที่ทราบแล้ว ส่วนท่านผู้ใดจะเสนอ อย่างไรก็ตามควรครับ
สภาวธรรมที่เป็น ญาณ ในสติปัฏฐาน 4 เป็นอย่างไร สภาวะของ ฌาน เป็นอย่างไร การไม่สึกอย่างไร การเข้าใจผิดเป็นอย่างไร
กระทู้นี้ต่อเนื่องจากกระทู้ http://ppantip.com/topic/30602173 ที่ได้ยกพุทธพจน์เกี่ยวกับสภาวธรรมของ กายคตาสติ ให้ทราบแล้ว ซึ่งก็คือ สติปัฏฐาน 4 ข้อแรก คือพิจารณากายในกาย นั้นเอง เป็นดังนี้...
-----
[๒๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเดินอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังเดิน
หรือยืนอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังยืน หรือนั่งอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังนั่ง หรือนอนอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังนอน
หรือเธอทรงกายโดยอาการใดๆ อยู่ ก็รู้ชัดว่า กำลังทรงกายโดยอาการนั้นๆ เมื่อภิกษุนั้น
ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปใน ธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้
เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
[๒๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมเป็นผู้ทำความ รู้สึกตัวในเวลา
ก้าวไปและถอยกลับ ในเวลาแลดู และเหลียวดู ในเวลางอแขนและเหยียดแขน ในเวลา
ทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร ในเวลา ฉัน ดื่ม เคี้ยว และลิ้ม ในเวลาถ่ายอุจจาระและ
ปัสสาวะ ในเวลา เดิน ยืน นั่งนอนหลับ ตื่น พูด และนิ่ง เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท
มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะ
ละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
-----
อธิบาย>>> เพื่อเน้นสภาวะธรรม ที่ปรากฏกับผู้ปฏิบัติธรรม ดังที่ได้ทำตัวหนาและขีดเส้นไต้ไว้ เป็นสภาวะธรรมของผลการปฏิบัติที่มี อาการ อารมณ์ เช่นเดียวกัน แม้กรรมฐานที่ปฏิบัติแตกต่างกัน ยกมาให้ทราบ และแยกให้ชัดขึ้นดังนี้
เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความ เพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้
ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้เพราะละความดำริพล่านนั้นได้
--- จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ---
--- ย่อมคงที่ ---
--- แน่นิ่งเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ---
--- ตั้งมั่น ---
จะเห็นพระภิกษุ เมื่อปฏิบัติธรรมได้ดังนั้น จะสึกลาเพศกลับมาเป็นฆราวาสนั้นย่อมเป็นไปได้ยากแล้วนั้นเอง ด้วยพุทธพจน์ส่วนนี้
ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้เพราะละความดำริพล่านนั้นได้
ต่อไปก็จะยกพุทธพจน์จากพระไตรปิฎก ในสภาวธรรมของ การบรรลุ ฌาน ดังในพระไตรปิฎกเล่มที่ 9 ดังนี้.
รูปฌาน ๔
[๑๒๗] เมื่อเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ ที่ละได้แล้วในตน ย่อมเกิดปราโมทย์
เมื่อปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น. เธอสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร
มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่
วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง
ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนาน หรือลูกมือพนักงานสรงสนานผู้ฉลาด
จะพึงใส่จุรณ์สีตัวลงในภาชนะสำริด แล้วพรมด้วยน้ำ หมักไว้ ตกเวลาเย็นก้อนจุรณ์สีตัวซึ่งยาง
ซึมไปจับติดกันทั่วทั้งหมด ย่อมไม่กระจายออก ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ทำกายนี้แหละให้
ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว
ที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า
ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.
[๑๒๘] ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิต
ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตก วิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุข
เกิดแต่สมาธิอยู่ เธอทำกายนี้แหละ ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ
ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง. ดูกร
มหาบพิตร เปรียบเหมือนห้วงน้ำลึกมีน้ำปั่นป่วน ไม่มีทางที่น้ำจะไหลมาได้ ทั้งในด้านตะวันออก
ด้านใต้ ด้านตะวันตก ด้านเหนือ ทั้งฝนก็ไม่ตกเพิ่มตามฤดูกาล แต่สายน้ำเย็นพุขึ้นจากห้วง
น้ำนั้นแล้ว จะพึงทำห้วงน้ำนั้นแหละให้ชุ่มชื่นเอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็น ไม่มีเอกเทศไหนๆ
แห่งห้วงน้ำนั้นทั้งหมด ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้องฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมทำกายนี้แหละ
ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอ
ทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์
ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.
[๑๒๙] ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุข
ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยสุขอันปราศจากปีติ
ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง ดูกรมหาบพิตร
เปรียบเหมือนในกอบัวขาบ ในกอบัวหลวง หรือในกอบัวขาว ดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง
หรือดอกบัวขาว บางเหล่าซึ่งเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ น้ำหล่อเลี้ยงไว้
ดอกบัวเหล่านั้น ชุ่มชื่นเอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็นตลอดยอด ตลอดเง่า ไม่มีเอกเทศไหนๆ
แห่งดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว ทั่วทุกส่วน ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้อง ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยสุขปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศ
ไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง ดูกรมหาบพิตร นี้แหละ
สามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.
-----
อธิบาย >>> ตามที่ทำตัวหนาไว้ จะเห็นในพุทธพจน์นั้น สภาวธรรมของ กายคตาสติ หรือสติปัฏฐาน 4 หรือญาณ นั้นมีความแตกต่างกันกับ รูปฌาน อยู่ในระดับหนึ่ง แต่ที่จะทำให้เกิดความสับสนก็คือใน ฌานที่ 2 คือ...
ภิกษุบรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิต
ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตก วิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุข
เกิดแต่สมาธิอยู่
ตรงที่เกิด เป็นธรรมเอกผุดขึ้น นั้นเอง นี้แหละเป็นปัญหาระดับลึก สำหรับปุถุชนผู้ที่เข้าใจผิด ปฏิบัติธรรมเป็นสมถะบรรลุ ตั้งแต่รูปฌานที่ 2 ขึ้นไป แล้วเข้าใจผิดว่า ตนเองบรรลุมรรคผลนิพพานไปแล้วได้ เพราะแม้แต่ในพุทธพจน์ก็ยังใช้ ประโยคเหมือนกันคือ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เช่นเดียวกันนั้นเอง.
แต่ความจริงแล้วปุถุชน ผู้จะเข้าใจผิดหรือหลงว่าเป็น มรรคผลนิพพาน ก็เป็นได้ตั้งแต่ปฏิบัติธรรมกลายเป็นสมถะ จนปรากฏ อุปจารสมาธิ(สมาธิเฉียดฌาน 1) หรือบรรลุ ฌานที่ 1 แล้วก็ได้ เพราะเป็นสภาวธรรมที่มหัศจรรย์ ที่ไม่เคยเกิดในชีวิตมาก่อน ได้ปรากฏขึ้นครั้งแรก นั้นเอง.
แต่ก็ไม่ใช่ว่า ต้องปฏิบัติสมาธิ จนได้ฌานอย่างนั้นแล้วหลงผิด แม้แต่ผู้ได้ศึกษาธรรมและปฏิบัติธรรมทั่วไป ก็เกิดเข้าใจผิดได้ ก็ด้วยแค่เกิดความสงบ เพียงแค่ในการคิดพิจารณาธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้แล้วเกิดการเข้าใจในระดับจินตะ ก็สามารถเข้าใจผิด เมื่อมากเข้าจนถึงขั้นหลงว่าเป็นมรรคผลนิพพานได้เช่นกัน แต่ความเห็นในใจตนนั้นก็จะกลับไปกลับมาว่า ใช่ หรือไม่ใช่ ก็ด้วยกิเลสตนที่ยังปรากฏชัดและทุกข์อยู่กับมันยังชัดเจนมากนั้นเอง.
ต่างกับผู้ได้ฌาน แล้วหลงผิดเข้าใจผิดว่าเป็นมรรคผลนิพพาน จะฝังแน่นติดลึกนัก แม้แต่กิเลสปรากฏรุ่นแรงทางใจ แล้วปรากฏทางกายวาจาจนก้าวล่วงศีลไปแล้ว ก็ยังมองคลาดเคลื่อนไปว่านั้นไม่ใช่กิเลส ไปได้ เพราะยึดมั่นจนเป็นอัตตาเหนียวแน่นนั้นเอง.
ต่อไปมาดู พุทธพจน์ที่กล่าวถึง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ในกายคตาสติ กับ ฌาน นั้นเป็นอย่างไร ทำไม? จึงพุทธพจน์เหมือนแต่ไม่เหมือนกัน จากพระไตรปิฎกเล่ม 14
-----
[๓๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจ
ภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจารไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติ
และสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอยังกายนี้แล ให้คลุกเคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิด
แต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง ดูกร
ภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนห้วงน้ำพุ ไม่มีทางระบายน้ำทั้งในทิศตะวันออก ทั้งในทิศตะวันตก
ทั้งในทิศเหนือ ทั้งในทิศใต้เลย และฝนก็ยังไม่หลั่งสายน้ำโดยชอบตามฤดูกาล ขณะนั้นแล
ธารน้ำเย็นจะพุขึ้นจากห้วงน้ำนั้น แล้วทำห้วงน้ำนั้นเอง ให้คลุกเคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วย
น้ำเย็น ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งห้วงน้ำทุกส่วนนั้นที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมยังกายนี้แล ให้คลุก เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยปีติและสุข
เกิดแต่สมาธิไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง
เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัย
เรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลายแม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
[๓๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ
มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย ย่อมเข้าตติยฌานที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่า
ผู้วางเฉย มีสติ อยู่เป็นสุขอยู่ เธอยังกายนี้แล ให้คลุก เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยสุข
ปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนดอกบัวขาบ หรือดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว แต่ละชนิด
ในกอบัวขาบหรือในกอบัวหลวง หรือในกอบัวขาว เกิดแล้วในน้ำ เนื่องอยู่ในน้ำ ขึ้นตามน้ำ
จมอยู่ในน้ำ อันน้ำเลี้ยงไว้ คลุก เคล้า บริบูรณ์ ซึมซาบด้วยน้ำเย็นจนถึงยอดและเง่า ไม่มี
เอกเทศไรๆ แห่งดอกบัวขาบ หรือดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาวทุกส่วนที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง
ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแลภิกษุย่อมยังกายนี้แล ให้คลุก เคล้า บริบูรณ์
ซาบซ่านด้วยสุขปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่สุขปราศจากปีติจะไม่
ถูกต้อง เมื่อ ภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริ
พล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่
แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลายแม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ
----
อธิบาย >>> จะเห็นว่ามีความแตกต่างกันระหว่าง ฌาน 2 กับ สภาวธรรมของกายคตาสติหรือสติปัฏฐาน 4 ดังนี้
สภาวธรรมของฌาน 2 คือ
มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจารไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
สภาวธรรมของกายคตาสติหรือ สติปัฏฐาน 4 คือ
จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
สภาวธรรมที่ต่างกันอย่างชัดเจนตรง จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง
ตามที่เข้าใจคือ คงทีแน่นิ่ง หมายความว่า คงที่แน่นิ่ง(คือคงที่อย่างชัดเจนแล้วนิ่งจนหมดไปสิ้นไป) จึงเกิดธรรมเอกผุดขึ้น ในภายหลัง
สุดท้ายได้เสนอ พุทธพจน์ แล้วอธิบายดังที่ทราบแล้ว ส่วนท่านผู้ใดจะเสนอ อย่างไรก็ตามควรครับ