http://www.dailynews.co.th/article/440/212540
เป็นความยินดีของพรรคประชาธิปัตย์ในรอบ 37 ปีที่สามารถกลับมาปักธงในเขตดอนเมืองได้อีกครั้ง หลังจาก นายแทนคุณ จิตต์อิสระ ชนะการเลือกตั้งซ่อม ส.ส.เขต 12 กรุงเทพมหานคร ทำคะแนนเฉือนนายยุรนันท์ ภมรมนตรี จากพรรคเพื่อไทยราว 2,000 คะแนน
ดูตัวเลขคะแนนย้อนหลังการเลือกตั้ง ส.ส.ทั่วไปในปี 2554 และการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. 2556 ก่อนจะมาถึงการเลือกตั้งซ่อม ส.ส.จากตารางที่ 1 จะพบว่า ในพื้นที่เขตดอนเมือง พรรคเพื่อไทยสามารถทำคะแนนนำพรรคประชาธิปัตย์มาตลอด และโดดเด่นที่สุดในการเลือกตั้งจนกระทั่งการเลือกตั้งซ่อม ส.ส.ครั้งนี้ กลับแพ้ 2,086 คะแนน หากคิดไป-กลับบนฐานของผู้มาใช้สิทธิเหมือนครั้งก่อน บอกให้รู้ว่า มีคนเปลี่ยนใจไม่ลงคะแนนให้พรรคเพื่อไทยและอยู่เฉย ๆ กับบ้าน ส่วนอีกกลุ่มย้ายไปเทเสียงให้กับพรรคประชาธิปัตย์ รวมทั้ง 2 กลุ่มแล้วประมาณ 13,000 คน
ดูภาพประกอบจากตารางที่ 1
แต่นั่นก็ยังไม่ใช่คำตอบ เมื่อมองให้ลึกจะพบว่า นี่ไม่ใช่ชัยชนะของพรรคประชาธิปัตย์ แต่เป็นความพ่ายแพ้ของพรรคเพื่อไทยโดยแท้ เมื่อพิจารณาจากตัวเลขคะแนนเพิ่ม-ลดของแต่ละพรรคดังนี้
ดูภาพประกอบจากตารางที่ 2
ตัวเลขจากการคำนวณเพื่อหาส่วนต่างในตารางที่ 2 พบว่า พรรคเพื่อไทยมีคะแนนลดลง 7,000-9,000 คะแนน ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์เพิ่มขึ้น 2,000-4,000 คะแนน หรือพรรคเพื่อไทยลด 2 ส่วน ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์เพิ่มแค่ 1 ส่วน
เท่านั้นยังไม่พอ เมื่อพิจารณาจากตัวเลขผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งเปรียบเทียบทั้ง 3 ครั้ง พบว่า การเลือกตั้ง ส.ส.2554 มีผู้ไปใช้สิทธิ 72.12 เปอร์เซ็นต์ ถัดมาเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ใช้สิทธิ 63.53 เปอร์เซ็นต์ และครั้งล่าสุด 61.18 เปอร์เซ็นต์
ตัวเลขผู้ใช้สิทธิลดลงบอกให้รู้ถึงอารมณ์ของประชาชนในเขตเลือกตั้งนั้น ซึ่งอาจจะสะท้อนไปถึงอารมณ์ของคนทั้งประเทศที่แสดงออกด้วยการกากบาทบัตรเลือกระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายค้าน หรือตัดสินใจไม่ออกไปใช้สิทธิเพราะเบื่อการเมือง หรือไม่มีตัวเลือกที่ดีกว่านี้จึงขออยู่กับบ้าน
จึงสะท้อนภาพออกมาผ่านคะแนนของพรรคประชาธิปัตย์ที่ไม่เพิ่มไม่ลด แตกต่างจากพรรคเพื่อไทยที่ลดวูบวาบ ซึ่งไปสอดคล้องกับจำนวนผู้ไปใช้สิทธิที่ลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด ตรงนี้บอกให้รู้ว่า ผู้ที่เคยเทคะแนนให้กับพรรคเพื่อไทยรู้สึกไม่พอใจรัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แต่ก็ไม่ปันใจไปเลือกพรรคประชาธิปัตย์
ทุกครั้งที่เสร็จศึกสงคราม ขุนพลจะต้องกลับมาประเมินบทเรียน นั่นคือต้อง เพียรหาความพ่ายแพ้ในชัยชนะ และเพียรหาชัยชนะในความพ่ายแพ้ สำหรับพรรคเพื่อไทยยังพอจะมองเห็นชัยชนะในความพ่ายแพ้อยู่บ้าง อย่างน้อยก็เป็นสัญญาณเตือนให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ หันกลับมาคิดทบทวนการทำงานของรัฐบาลตลอด 2 ปีที่ผ่านมา
ประเด็นที่ 1 มหาอุทกภัย 2554 ไม่ได้ทำให้คะแนนพรรคเพื่อไทยลดลง ดูจากคะแนนเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. เพราะยังสามารถครองคะแนนนิยมในพื้นที่ที่น้ำท่วมและเอาชนะพรรคประชาธิปัตย์ แสดงว่าประชาชนไม่ได้โกรธ น.ส.ยิ่งลักษณ์ จึงทำใจได้
ประเด็นที่ 2 ก่อนเลือกตั้งซ่อม ส.ส.เขต 12 ดอนเมือง รัฐบาลตกเป็นข่าวอื้อฉาวในเรื่องโครงการรับจำนำข้าวที่ไม่สามารถชี้แจงตัวเลขขาดทุน แถมยังถูกฝ่ายค้านอภิปรายโจมตีในสภากรณีเกิดทุจริตการแอบขายข้าวให้พรรคพวก แสดงว่า คนในเมืองซึ่งเสียภาษีมากกว่าคนในชนบท ไม่พอใจที่รัฐบาลเอาเงินภาษีของเขาไปใช้เพื่อหาเสียงโดยไม่คำนึงถึงความคุ้มค่าและความเสียหายต่อส่วนรวม
ประเด็นที่ 3 กลุ่มเสื้อแดงเชียงใหม่ไล่กระทืบหน้ากากขาว โดยตำรวจไม่เข้าสงบเหตุโดยเร็ว นอกจากนี้ยังมีการประกาศผ่านเฟซบุ๊กให้เสื้อแดงกลุ่มอื่น ๆ ยึดถือเป็นแบบอย่าง แสดงความกร่างจนผู้คนเกิดความหมั่นไส้ ที่สำคัญพรรคเพื่อไทยปฏิเสธความเกี่ยวพันกับเสื้อแดงไม่ได้ เพราะนางธิดา ถาวรเศรษฐ์ เคยระบุไว้ว่า ต้องเป็นขาซ้ายและขาขวา เดินประคองไปด้วยกัน ฉะนั้นเสื้อแดงทำอะไรย่อมส่งผลสะเทือนไปถึงพรรคเพื่อไทยด้วย
ประเด็นที่ 4 พรรคเพื่อไทยประเมินสถานการณ์ต่ำไป และสร้างความไม่พอใจลึก ๆ ให้กับคนดอนเมือง โดยให้นายยุรนันท์ ลาออกจาก ส.ส.บัญชีรายชื่อ มาลงสมัคร ส.ส.เขตดอนเมือง คล้ายกับย่ามใจเหมือนชนะตั้งแต่ในมุ้ง ไม่เห็นคุณค่าของผู้ใช้สิทธิ จึงมีคนบางส่วนที่เคยสนับสนุนไม่พอใจ เลิกสนับสนุน
ประเด็นที่ 5 การอุ้มฆ่านายเอกยุทธ อัญชันบุตร ซึ่งเป็นคู่ปฏิปักษ์กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ลามมาถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่บางคน ทำให้เกิดความรู้สึกสัมผัสได้ถึงบรรยากาศของรัฐตำรวจที่เริ่มหวนกลับมาอีกครั้ง กรณีการเสียชีวิตของนายเอกยุทธ ไม่ได้สร้างผลกระทบมาก แต่ก็มีผลต่อคะแนนนิยมของรัฐบาล
ก่อนหน้านี้พรรคเพื่อไทยเคยได้บทเรียนจาก “ปทุมธานีโมเดล” โดยให้ ว่าที่ ร.ต.สุเมธ ฤทธาคนี ลาออกจาก ส.ส.เขต ไปลงสมัครนายก อบจ.ปทุมธานี ผลลัพธ์ที่ได้คือความพ่ายแพ้และเสียหน้า แล้วก็มาซ้ำรอยใน “ดอนเมืองโมเดล” อีกครั้ง
ถ้า น.ส.ยิ่งลักษณ์ เก็บความพ่ายแพ้ไปทบทวนและปรับกระบวนของพรรคเพื่อไทย ก็พอจะมองเห็นชัยชนะและสามารถนำไปแก้ไขเพื่อตัดวงจร “กระแสขาลง”
เว้นเสียแต่ว่า ยังมัวแต่ไปหวาดหวั่นกับชัยชนะของพรรคประชาธิปัตย์ ก็จะพ่ายแพ้ตลอดไป
อุตส่าห์บอกใบ้ให้รู้ตระหนักกันถึงขนาดนี้ แต่จะเข้าใจลึกซึ้งได้แค่ไหน เรื่องนี้มันแล้วแต่บุญแต่กรรม.
ดินสอโดม
...............................
ขาลง ของรัฐบาลที่ไร้ฝีมือ
ขาลง ของรัฐบาลที่ทำนโยบายใช้แต่เงิน มีทั้งทุจริตและ..ขาดทุน
คุ้ยปมแพ้...เลือกตั้งซ่อมเขตดอนเมือง เพื่อไทย แพ้ ปชป.
http://www.dailynews.co.th/article/440/212540
เป็นความยินดีของพรรคประชาธิปัตย์ในรอบ 37 ปีที่สามารถกลับมาปักธงในเขตดอนเมืองได้อีกครั้ง หลังจาก นายแทนคุณ จิตต์อิสระ ชนะการเลือกตั้งซ่อม ส.ส.เขต 12 กรุงเทพมหานคร ทำคะแนนเฉือนนายยุรนันท์ ภมรมนตรี จากพรรคเพื่อไทยราว 2,000 คะแนน
ดูตัวเลขคะแนนย้อนหลังการเลือกตั้ง ส.ส.ทั่วไปในปี 2554 และการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. 2556 ก่อนจะมาถึงการเลือกตั้งซ่อม ส.ส.จากตารางที่ 1 จะพบว่า ในพื้นที่เขตดอนเมือง พรรคเพื่อไทยสามารถทำคะแนนนำพรรคประชาธิปัตย์มาตลอด และโดดเด่นที่สุดในการเลือกตั้งจนกระทั่งการเลือกตั้งซ่อม ส.ส.ครั้งนี้ กลับแพ้ 2,086 คะแนน หากคิดไป-กลับบนฐานของผู้มาใช้สิทธิเหมือนครั้งก่อน บอกให้รู้ว่า มีคนเปลี่ยนใจไม่ลงคะแนนให้พรรคเพื่อไทยและอยู่เฉย ๆ กับบ้าน ส่วนอีกกลุ่มย้ายไปเทเสียงให้กับพรรคประชาธิปัตย์ รวมทั้ง 2 กลุ่มแล้วประมาณ 13,000 คน
ดูภาพประกอบจากตารางที่ 1
แต่นั่นก็ยังไม่ใช่คำตอบ เมื่อมองให้ลึกจะพบว่า นี่ไม่ใช่ชัยชนะของพรรคประชาธิปัตย์ แต่เป็นความพ่ายแพ้ของพรรคเพื่อไทยโดยแท้ เมื่อพิจารณาจากตัวเลขคะแนนเพิ่ม-ลดของแต่ละพรรคดังนี้
ดูภาพประกอบจากตารางที่ 2
ตัวเลขจากการคำนวณเพื่อหาส่วนต่างในตารางที่ 2 พบว่า พรรคเพื่อไทยมีคะแนนลดลง 7,000-9,000 คะแนน ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์เพิ่มขึ้น 2,000-4,000 คะแนน หรือพรรคเพื่อไทยลด 2 ส่วน ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์เพิ่มแค่ 1 ส่วน
เท่านั้นยังไม่พอ เมื่อพิจารณาจากตัวเลขผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งเปรียบเทียบทั้ง 3 ครั้ง พบว่า การเลือกตั้ง ส.ส.2554 มีผู้ไปใช้สิทธิ 72.12 เปอร์เซ็นต์ ถัดมาเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ใช้สิทธิ 63.53 เปอร์เซ็นต์ และครั้งล่าสุด 61.18 เปอร์เซ็นต์
ตัวเลขผู้ใช้สิทธิลดลงบอกให้รู้ถึงอารมณ์ของประชาชนในเขตเลือกตั้งนั้น ซึ่งอาจจะสะท้อนไปถึงอารมณ์ของคนทั้งประเทศที่แสดงออกด้วยการกากบาทบัตรเลือกระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายค้าน หรือตัดสินใจไม่ออกไปใช้สิทธิเพราะเบื่อการเมือง หรือไม่มีตัวเลือกที่ดีกว่านี้จึงขออยู่กับบ้าน
จึงสะท้อนภาพออกมาผ่านคะแนนของพรรคประชาธิปัตย์ที่ไม่เพิ่มไม่ลด แตกต่างจากพรรคเพื่อไทยที่ลดวูบวาบ ซึ่งไปสอดคล้องกับจำนวนผู้ไปใช้สิทธิที่ลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด ตรงนี้บอกให้รู้ว่า ผู้ที่เคยเทคะแนนให้กับพรรคเพื่อไทยรู้สึกไม่พอใจรัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แต่ก็ไม่ปันใจไปเลือกพรรคประชาธิปัตย์
ทุกครั้งที่เสร็จศึกสงคราม ขุนพลจะต้องกลับมาประเมินบทเรียน นั่นคือต้อง เพียรหาความพ่ายแพ้ในชัยชนะ และเพียรหาชัยชนะในความพ่ายแพ้ สำหรับพรรคเพื่อไทยยังพอจะมองเห็นชัยชนะในความพ่ายแพ้อยู่บ้าง อย่างน้อยก็เป็นสัญญาณเตือนให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ หันกลับมาคิดทบทวนการทำงานของรัฐบาลตลอด 2 ปีที่ผ่านมา
ประเด็นที่ 1 มหาอุทกภัย 2554 ไม่ได้ทำให้คะแนนพรรคเพื่อไทยลดลง ดูจากคะแนนเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. เพราะยังสามารถครองคะแนนนิยมในพื้นที่ที่น้ำท่วมและเอาชนะพรรคประชาธิปัตย์ แสดงว่าประชาชนไม่ได้โกรธ น.ส.ยิ่งลักษณ์ จึงทำใจได้
ประเด็นที่ 2 ก่อนเลือกตั้งซ่อม ส.ส.เขต 12 ดอนเมือง รัฐบาลตกเป็นข่าวอื้อฉาวในเรื่องโครงการรับจำนำข้าวที่ไม่สามารถชี้แจงตัวเลขขาดทุน แถมยังถูกฝ่ายค้านอภิปรายโจมตีในสภากรณีเกิดทุจริตการแอบขายข้าวให้พรรคพวก แสดงว่า คนในเมืองซึ่งเสียภาษีมากกว่าคนในชนบท ไม่พอใจที่รัฐบาลเอาเงินภาษีของเขาไปใช้เพื่อหาเสียงโดยไม่คำนึงถึงความคุ้มค่าและความเสียหายต่อส่วนรวม
ประเด็นที่ 3 กลุ่มเสื้อแดงเชียงใหม่ไล่กระทืบหน้ากากขาว โดยตำรวจไม่เข้าสงบเหตุโดยเร็ว นอกจากนี้ยังมีการประกาศผ่านเฟซบุ๊กให้เสื้อแดงกลุ่มอื่น ๆ ยึดถือเป็นแบบอย่าง แสดงความกร่างจนผู้คนเกิดความหมั่นไส้ ที่สำคัญพรรคเพื่อไทยปฏิเสธความเกี่ยวพันกับเสื้อแดงไม่ได้ เพราะนางธิดา ถาวรเศรษฐ์ เคยระบุไว้ว่า ต้องเป็นขาซ้ายและขาขวา เดินประคองไปด้วยกัน ฉะนั้นเสื้อแดงทำอะไรย่อมส่งผลสะเทือนไปถึงพรรคเพื่อไทยด้วย
ประเด็นที่ 4 พรรคเพื่อไทยประเมินสถานการณ์ต่ำไป และสร้างความไม่พอใจลึก ๆ ให้กับคนดอนเมือง โดยให้นายยุรนันท์ ลาออกจาก ส.ส.บัญชีรายชื่อ มาลงสมัคร ส.ส.เขตดอนเมือง คล้ายกับย่ามใจเหมือนชนะตั้งแต่ในมุ้ง ไม่เห็นคุณค่าของผู้ใช้สิทธิ จึงมีคนบางส่วนที่เคยสนับสนุนไม่พอใจ เลิกสนับสนุน
ประเด็นที่ 5 การอุ้มฆ่านายเอกยุทธ อัญชันบุตร ซึ่งเป็นคู่ปฏิปักษ์กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ลามมาถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่บางคน ทำให้เกิดความรู้สึกสัมผัสได้ถึงบรรยากาศของรัฐตำรวจที่เริ่มหวนกลับมาอีกครั้ง กรณีการเสียชีวิตของนายเอกยุทธ ไม่ได้สร้างผลกระทบมาก แต่ก็มีผลต่อคะแนนนิยมของรัฐบาล
ก่อนหน้านี้พรรคเพื่อไทยเคยได้บทเรียนจาก “ปทุมธานีโมเดล” โดยให้ ว่าที่ ร.ต.สุเมธ ฤทธาคนี ลาออกจาก ส.ส.เขต ไปลงสมัครนายก อบจ.ปทุมธานี ผลลัพธ์ที่ได้คือความพ่ายแพ้และเสียหน้า แล้วก็มาซ้ำรอยใน “ดอนเมืองโมเดล” อีกครั้ง
ถ้า น.ส.ยิ่งลักษณ์ เก็บความพ่ายแพ้ไปทบทวนและปรับกระบวนของพรรคเพื่อไทย ก็พอจะมองเห็นชัยชนะและสามารถนำไปแก้ไขเพื่อตัดวงจร “กระแสขาลง”
เว้นเสียแต่ว่า ยังมัวแต่ไปหวาดหวั่นกับชัยชนะของพรรคประชาธิปัตย์ ก็จะพ่ายแพ้ตลอดไป
อุตส่าห์บอกใบ้ให้รู้ตระหนักกันถึงขนาดนี้ แต่จะเข้าใจลึกซึ้งได้แค่ไหน เรื่องนี้มันแล้วแต่บุญแต่กรรม.
ดินสอโดม
...............................
ขาลง ของรัฐบาลที่ไร้ฝีมือ
ขาลง ของรัฐบาลที่ทำนโยบายใช้แต่เงิน มีทั้งทุจริตและ..ขาดทุน