แผ่นดินไหวรอบประเทศไทย
ดาวเคราะห์ที่ยังไม่ตายจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาคล้ายสิ่งมีชีวิต ของเหลวร้อนใต้เปลือกโลกมีการเคลื่อนที่เป็นกระแสไหลแผ่นดินไหวจึงเป็นผลพวงมาจากการที่เปลือกโลกปรับตัวให้เข้ากับความดัน เพราะโลกมีชิ้นส่วนเป็นทวีปต่าง ๆ แบบเดียวกับจิ๊กซอว์ซึ่งมีความยืดหยุ่นสูง จึงสามารถเคลื่อนที่ได้ปรับตัวได้ ดังนั้นแผ่นดินไหวจึงเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุกๆ วัน ณ จุดใดจุดหนึ่งบนพื้นโลก และแผ่นดินไหวใกล้ตัวเรารอบ ๆ ประเทศไทยก็เกิดขึ้นอยู่ตลอดเช่นเดียวกัน หลาย ๆ คนอาจไม่ทราบข่าวเหล่านี้เพราะว่าสื่อต่าง ๆ ไม่ได้ตีแผ่รายงานให้ทราบเพราะยังไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตามการรับรู้ข้อมูลเหล่านี้ไว้ มีประโยชน์ในด้านที่เราต้องเตรียมพร้อม เตรียมตัวเพื่อรับกับสภาวะเหล่านั้นได้ทันท่วงทีเพราะแผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติที่เราไม่สามารถพยากรณ์ล่วงหน้าได้ ทำได้แค่แจ้งเตือนหลังจากขึ้นแล้ว มาดูตำแหน่งแผ่นดินไหวรอบประเทศไทยประกอบกับแผนที่ด้านล่าง
ตำแหน่งจุดเกิดแผ่นดินไหวนำมาจากที่นี่
http://www.ndwc.go.th/web/
วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2556 เวลา 03.08 น. แผ่นดินไหวบนบก 5.6 R. ความลึก 10 กม. บริเวณเกาะMindanao ประเทศฟิลิปปินส์ ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย
วันศุกร์ ที่ 7 มิถุนายน 2556 เวลา 00.01 น. แผ่นดินไหวบนบก 3.1 R. บริเวณ อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ รู้สึกสั่นไหวได้
วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556 เวลา 23.47 น. แผ่นดินไหวในทะเล 6.5 R. ความลึก 10 กม. บริเวณทางตอนใต้ของเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย
วันอาทิตย์ 16 มิ.ย. 56 เวลา 00.34 น. แผ่นดินไหวในทะเล 6.2 R. บริเวณใกล้ชายฝั่งของประเทศนิการากัว ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย
วันเสาร์ ที่ 15 มิถุนายน 2556 เวลา 18.20 น. แผ่นดินไหวในทะเล ขนาด 6.0 R. บริเวณทางตอนใต้ของหมู่เกาะ Kermadec ประเทศนิวซีแลนด์ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย
และจะสังเหตุได้ว่าช่วงนี้เกิดแผ่นดินไหวในระดับความรุนแรงที่สูงพอสมควรติดต่อกันและเกี่ยวเนื่องกันเมื่อเกิดจุดนึงก็กระทบถึงจุดอื่น ๆ ที่เคยไหวหรือเป็นรอยเลื่อนเช่น
ขนาดความรุนแรงตามมาตราริกเตอร์
1 - 2.9 ระดับเล็กน้อย ผู้คนเริ่มรู้สึกถึงการมาของคลื่น มีอาการวิงเวียนเพียงเล็กน้อยในบางคน
3 - 3.9 ระดับเล็กน้อย ผู้คนที่อยู่ในอาคารรู้สึกเหมือนมีอะไรมาเขย่าอาคารให้สั่นสะเทือน
4 - 4.9 ระดับปานกลาง ผู้ที่อาศัยอยู่ทั้งภายในอาคาร และนอกอาคาร รู้สึกถึงการ สั่นสะเทือน วัตถุห้อยแขวนแกว่งไกว
5 - 5.9 ระดับรุนแรง เครื่องเรือน และวัตถุมีการเคลื่อนที่
6 - 6.9 ระดับรุนแรงมาก อาคารเริ่มเสียหาย พังทลาย
7.0 ขึ้นไป ระดับวิกฤต เกิดการสั่นสะเทือนอย่างมากมาย ส่งผลทำให้อาคารและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เสียหายอย่างรุนแรง แผ่นดินแยก วัตถุบนพื้นถูกเหวี่ยงกระเด็น
รูปแบบรอยเลื่อนที่ทำให้แผ่นดินไหว
รอยเลื่อนปกติ
รอยเลื่อนย้อนขึ้น
รอยเลื่อนตามแนวระนาบ
สิ่งที่ต้องปฏิบัติก่อนการเกิดแผ่นดินไหว
ควรมีไฟฉายพร้อมถ่านและกระเป๋ายาเตรียมไว้ในบ้านและให้ทุกคนทราบว่าอยู่ที่ไหน
ศึกษาการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
เตรียมเครื่องมือดับเพลิงไว้ในบ้าน เช่น ถังดับเพลิง ถุงทราย
ควรทราบตำแหน่งของวาล์วน้ำ วาล์วปิดแก๊ส สะพานไฟฟ้า สำหรับตัดกระแสไฟฟ้า
อย่าวางของหนักบนชั้นหรือหิ้งสูง ๆ เพราะเมื่อเกิดแผ่นดินไหวอาจตกลงมาเป็นอันตราย
ผูกเครื่องใช้หนัก ๆ ให้แน่นกับพื้นผนังบ้าน
ควรมีการวางแผนเรื่องจุดนัดหมายเมื่อเกิดการพลัดหลงกัน
สร้างอาคารบ้านเรือนให้เป็นไปตามกำหนด สำหรับพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว
ผูกเครื่องใช้หนัก ๆ ให้แน่นกับพื้นผนังบ้าน
ผูกเครื่องใช้หนัก ๆ ให้แน่นกับพื้นผนังบ้าน
ผูกเครื่องใช้หนัก ๆ ให้แน่นกับพื้นผนังบ้าน
ระหว่างเกิดแผ่นดินไหวต้องทำอย่างไร
อย่าตื่นตกใจ พยายามควบคุมสติให้สงบ ถ้าอยู่ในบ้านก็ให้อยู่ในบ้าน ถ้าอยู่นอกบ้านก็ให้อยู่นอกบ้าน เพราะส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บเพราะวิ่งเข้าออกบ้าน
ถ้าอยู่ในบ้านให้ยืนหรือหมอบอยู่ในส่วนที่มีโครงสร้างแข็งแรง และให้อยู่ห่างจากประตู ระเบียง หน้าต่าง
ถ้าอยู่ในอาคารสูงควรรีบออกจากอาคารโดยเร็วและหนีห่างจากสิ่งที่อาจจะล้มทับได้
ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้งให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้าและสิ่งห้อยแขวนต่าง ๆ
ห้ามใช้เทียน ไม้ขีดไฟ ไฟแช้ก หรือสิ่งที่ทำให้เกิดประกายไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วและทำให้ติดไฟได้
หากกำลังขับรถอยู่ให้หยุดรถและอยู่ในรถ จนการสั่นสะเทือนหยุด
ห้ามใช้ลิฟต์โดยเด็ดขาดในขณะที่เกิดแผ่นดินไหว
หากอยู่ชายหาดให้อยู่ห่างจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง หลังจากเกิดแผ่นดินไหวแล้วต้องปฏิบัติตัวอย่างไร
หลังเกิดแผ่นดินไหวควรตรวจสอบดูว่าตนเองและคนข้างเคียงได้รับบาดเจ็บหรือไม่
หากบาดเจ็บให้ทำการปฐมพยาบาลในขั้นต้นจากนั้นให้นำตัวผู้บาดเจ็บส่งสถานพยาบาลหรือหน่วยแพทย์ที่ใกล้ที่สุด
หากอยู่ในอาคารที่ได้รับความเสียหายควรรีบออกจากอาคารทันที เพราะหากเกิดแผ่นดินไหวตามมาอาจทำให้อาคารพังลงมาทับ ทำให้ได้รับบาดเจ็บได้
ควรสวมใส่รองเท้าหุ้มส้น เพราะอาจมีเศษแก้วหรือวัตถุแหลมคมอื่น ๆ ทำให้ได้รับบาดเจ็บ
ตรวจสอบความเรียบร้อยของสายไฟ ท่อน้ำ ท่อแก๊ส ถ้าแก๊สรั่วให้ปิดวาล์วถังแก๊ส ยกสะพานไฟ และอย่าจุดไฟจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีแก๊สรั่ว
หากแก๊สรั่วภายในบ้านให้เปิดประตูหน้าต่างทุกบานเพื่อระบายอากาศ
ให้ออกจากบริเวณที่มีสายไฟขาดหรือสายไฟพาดถึง
ให้เปิดฟังวิทยุเพื่อฟังคำแนะนำฉุกเฉิน แต่อย่าใช้โทรศัพท์นอกจากมีความจำเป็น
สำรวจความเสียหายของท่อน้ำ ท่อน้ำทิ้ง ท่อส้วม ก่อนใช้
ห้ามเข้าไปมุงหรือเข้าไปในเขตที่มีความเสี่ยงหรือมีอาคารพัง
ห้ามเผยแพร่ข่าวลือ
การปฏิบัติตัวทั้งก่อนและหลังการเกิดแผ่นดินไหวเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ เรารอดพ้นจากอันตรายที่มากับแผ่นดินไหว แต่ควรเตรียมถุงยังชีพและยาที่ใช้ในการปฐมพยาบาลในเบื้องต้นไว้ด้วยเพื่อเอา ไว้ในยามจำเป็น
ที่มาเนื้อหาส่วน การปฏิบัติตนเมื่อเกิดแผ่นดินไหว : กรมทรัพยากรธรณี : เว็บไซต์ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
ที่มาของภาพประกอบ GoogleMap+ graphic, 3D โดย จขกท.
แผ่นดินไหวรอบประเทศไทย
ดาวเคราะห์ที่ยังไม่ตายจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาคล้ายสิ่งมีชีวิต ของเหลวร้อนใต้เปลือกโลกมีการเคลื่อนที่เป็นกระแสไหลแผ่นดินไหวจึงเป็นผลพวงมาจากการที่เปลือกโลกปรับตัวให้เข้ากับความดัน เพราะโลกมีชิ้นส่วนเป็นทวีปต่าง ๆ แบบเดียวกับจิ๊กซอว์ซึ่งมีความยืดหยุ่นสูง จึงสามารถเคลื่อนที่ได้ปรับตัวได้ ดังนั้นแผ่นดินไหวจึงเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุกๆ วัน ณ จุดใดจุดหนึ่งบนพื้นโลก และแผ่นดินไหวใกล้ตัวเรารอบ ๆ ประเทศไทยก็เกิดขึ้นอยู่ตลอดเช่นเดียวกัน หลาย ๆ คนอาจไม่ทราบข่าวเหล่านี้เพราะว่าสื่อต่าง ๆ ไม่ได้ตีแผ่รายงานให้ทราบเพราะยังไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตามการรับรู้ข้อมูลเหล่านี้ไว้ มีประโยชน์ในด้านที่เราต้องเตรียมพร้อม เตรียมตัวเพื่อรับกับสภาวะเหล่านั้นได้ทันท่วงทีเพราะแผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติที่เราไม่สามารถพยากรณ์ล่วงหน้าได้ ทำได้แค่แจ้งเตือนหลังจากขึ้นแล้ว มาดูตำแหน่งแผ่นดินไหวรอบประเทศไทยประกอบกับแผนที่ด้านล่าง
ตำแหน่งจุดเกิดแผ่นดินไหวนำมาจากที่นี่
http://www.ndwc.go.th/web/
วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2556 เวลา 03.08 น. แผ่นดินไหวบนบก 5.6 R. ความลึก 10 กม. บริเวณเกาะMindanao ประเทศฟิลิปปินส์ ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย
วันศุกร์ ที่ 7 มิถุนายน 2556 เวลา 00.01 น. แผ่นดินไหวบนบก 3.1 R. บริเวณ อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ รู้สึกสั่นไหวได้
วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556 เวลา 23.47 น. แผ่นดินไหวในทะเล 6.5 R. ความลึก 10 กม. บริเวณทางตอนใต้ของเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย
วันอาทิตย์ 16 มิ.ย. 56 เวลา 00.34 น. แผ่นดินไหวในทะเล 6.2 R. บริเวณใกล้ชายฝั่งของประเทศนิการากัว ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย
วันเสาร์ ที่ 15 มิถุนายน 2556 เวลา 18.20 น. แผ่นดินไหวในทะเล ขนาด 6.0 R. บริเวณทางตอนใต้ของหมู่เกาะ Kermadec ประเทศนิวซีแลนด์ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย
และจะสังเหตุได้ว่าช่วงนี้เกิดแผ่นดินไหวในระดับความรุนแรงที่สูงพอสมควรติดต่อกันและเกี่ยวเนื่องกันเมื่อเกิดจุดนึงก็กระทบถึงจุดอื่น ๆ ที่เคยไหวหรือเป็นรอยเลื่อนเช่น
ขนาดความรุนแรงตามมาตราริกเตอร์
1 - 2.9 ระดับเล็กน้อย ผู้คนเริ่มรู้สึกถึงการมาของคลื่น มีอาการวิงเวียนเพียงเล็กน้อยในบางคน
3 - 3.9 ระดับเล็กน้อย ผู้คนที่อยู่ในอาคารรู้สึกเหมือนมีอะไรมาเขย่าอาคารให้สั่นสะเทือน
4 - 4.9 ระดับปานกลาง ผู้ที่อาศัยอยู่ทั้งภายในอาคาร และนอกอาคาร รู้สึกถึงการ สั่นสะเทือน วัตถุห้อยแขวนแกว่งไกว
5 - 5.9 ระดับรุนแรง เครื่องเรือน และวัตถุมีการเคลื่อนที่
6 - 6.9 ระดับรุนแรงมาก อาคารเริ่มเสียหาย พังทลาย
7.0 ขึ้นไป ระดับวิกฤต เกิดการสั่นสะเทือนอย่างมากมาย ส่งผลทำให้อาคารและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เสียหายอย่างรุนแรง แผ่นดินแยก วัตถุบนพื้นถูกเหวี่ยงกระเด็น
รูปแบบรอยเลื่อนที่ทำให้แผ่นดินไหว
รอยเลื่อนปกติ
รอยเลื่อนย้อนขึ้น
รอยเลื่อนตามแนวระนาบ
สิ่งที่ต้องปฏิบัติก่อนการเกิดแผ่นดินไหว
ควรมีไฟฉายพร้อมถ่านและกระเป๋ายาเตรียมไว้ในบ้านและให้ทุกคนทราบว่าอยู่ที่ไหน
ศึกษาการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
เตรียมเครื่องมือดับเพลิงไว้ในบ้าน เช่น ถังดับเพลิง ถุงทราย
ควรทราบตำแหน่งของวาล์วน้ำ วาล์วปิดแก๊ส สะพานไฟฟ้า สำหรับตัดกระแสไฟฟ้า
อย่าวางของหนักบนชั้นหรือหิ้งสูง ๆ เพราะเมื่อเกิดแผ่นดินไหวอาจตกลงมาเป็นอันตราย
ผูกเครื่องใช้หนัก ๆ ให้แน่นกับพื้นผนังบ้าน
ควรมีการวางแผนเรื่องจุดนัดหมายเมื่อเกิดการพลัดหลงกัน
สร้างอาคารบ้านเรือนให้เป็นไปตามกำหนด สำหรับพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว
ผูกเครื่องใช้หนัก ๆ ให้แน่นกับพื้นผนังบ้าน
ผูกเครื่องใช้หนัก ๆ ให้แน่นกับพื้นผนังบ้าน
ผูกเครื่องใช้หนัก ๆ ให้แน่นกับพื้นผนังบ้าน
ระหว่างเกิดแผ่นดินไหวต้องทำอย่างไร
อย่าตื่นตกใจ พยายามควบคุมสติให้สงบ ถ้าอยู่ในบ้านก็ให้อยู่ในบ้าน ถ้าอยู่นอกบ้านก็ให้อยู่นอกบ้าน เพราะส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บเพราะวิ่งเข้าออกบ้าน
ถ้าอยู่ในบ้านให้ยืนหรือหมอบอยู่ในส่วนที่มีโครงสร้างแข็งแรง และให้อยู่ห่างจากประตู ระเบียง หน้าต่าง
ถ้าอยู่ในอาคารสูงควรรีบออกจากอาคารโดยเร็วและหนีห่างจากสิ่งที่อาจจะล้มทับได้
ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้งให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้าและสิ่งห้อยแขวนต่าง ๆ
ห้ามใช้เทียน ไม้ขีดไฟ ไฟแช้ก หรือสิ่งที่ทำให้เกิดประกายไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วและทำให้ติดไฟได้
หากกำลังขับรถอยู่ให้หยุดรถและอยู่ในรถ จนการสั่นสะเทือนหยุด
ห้ามใช้ลิฟต์โดยเด็ดขาดในขณะที่เกิดแผ่นดินไหว
หากอยู่ชายหาดให้อยู่ห่างจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง หลังจากเกิดแผ่นดินไหวแล้วต้องปฏิบัติตัวอย่างไร
หลังเกิดแผ่นดินไหวควรตรวจสอบดูว่าตนเองและคนข้างเคียงได้รับบาดเจ็บหรือไม่
หากบาดเจ็บให้ทำการปฐมพยาบาลในขั้นต้นจากนั้นให้นำตัวผู้บาดเจ็บส่งสถานพยาบาลหรือหน่วยแพทย์ที่ใกล้ที่สุด
หากอยู่ในอาคารที่ได้รับความเสียหายควรรีบออกจากอาคารทันที เพราะหากเกิดแผ่นดินไหวตามมาอาจทำให้อาคารพังลงมาทับ ทำให้ได้รับบาดเจ็บได้
ควรสวมใส่รองเท้าหุ้มส้น เพราะอาจมีเศษแก้วหรือวัตถุแหลมคมอื่น ๆ ทำให้ได้รับบาดเจ็บ
ตรวจสอบความเรียบร้อยของสายไฟ ท่อน้ำ ท่อแก๊ส ถ้าแก๊สรั่วให้ปิดวาล์วถังแก๊ส ยกสะพานไฟ และอย่าจุดไฟจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีแก๊สรั่ว
หากแก๊สรั่วภายในบ้านให้เปิดประตูหน้าต่างทุกบานเพื่อระบายอากาศ
ให้ออกจากบริเวณที่มีสายไฟขาดหรือสายไฟพาดถึง
ให้เปิดฟังวิทยุเพื่อฟังคำแนะนำฉุกเฉิน แต่อย่าใช้โทรศัพท์นอกจากมีความจำเป็น
สำรวจความเสียหายของท่อน้ำ ท่อน้ำทิ้ง ท่อส้วม ก่อนใช้
ห้ามเข้าไปมุงหรือเข้าไปในเขตที่มีความเสี่ยงหรือมีอาคารพัง
ห้ามเผยแพร่ข่าวลือ
การปฏิบัติตัวทั้งก่อนและหลังการเกิดแผ่นดินไหวเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ เรารอดพ้นจากอันตรายที่มากับแผ่นดินไหว แต่ควรเตรียมถุงยังชีพและยาที่ใช้ในการปฐมพยาบาลในเบื้องต้นไว้ด้วยเพื่อเอา ไว้ในยามจำเป็น
ที่มาเนื้อหาส่วน การปฏิบัติตนเมื่อเกิดแผ่นดินไหว : กรมทรัพยากรธรณี : เว็บไซต์ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
ที่มาของภาพประกอบ GoogleMap+ graphic, 3D โดย จขกท.