(ที่มา:มติชนรายวัน 13 มิ.ย.2556)
เมื่อกล่าวถึงเรื่องวิกฤตการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2540 และเรื่องคดีขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบ
สถาบันการเงิน (ปรส.) แล้ว ผู้อ่านหลายท่านอาจจะสงสัยว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นมานานแล้ว ทำไมจะต้อง
นำขึ้นมากล่าวถึงอีก
ทั้งนี้ก็เพราะเหตุการณ์ดังกล่าวได้ให้บทเรียนกับประเทศไทยในหลายเรื่อง ที่คนไทยรุ่นหลังจะได้เรียนรู้ เพื่อจะ
ได้ไม่ให้เกิดซ้ำขึ้นอีก นอกจากนี้ผลจากเหตุการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลกระทบมาให้กับประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน
เพราะได้สร้างหนี้สาธารณะให้กับประเทศไทยเพิ่มขึ้นถึง 1.4 ล้านล้านบาท โดยไม่ได้พัฒนาประเทศทางด้าน
ไหนเลย
อีกทั้งรัฐบาลไทยยังต้องชำระเงินจากงบประมาณ ปีละประมาณ 6 หมื่นล้านบาททุกปีมากว่าสิบปีแล้ว เพื่อชำระ
ดอกเบี้ยให้กับหนี้ก้อนนี้ ตามข้อตกลงที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร้องขอให้รัฐบาลช่วยรับผิดชอบเรื่อง
ดอกเบี้ย โดย ธปท.จะขอรับผิดชอบเฉพาะเรื่องเงินต้น
แต่ ธปท.ไม่เคยชำระคืนเงินต้นเลย
เหตุการณ์ในครั้งนั้นได้ให้บทเรียนในหลายเรื่อง โดยบทเรียนแรกเป็นเรื่องวิสัยทัศน์ของผู้นำของประเทศที่จะต้อง
ปรับประเทศให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยปัญหาของประเทศไทยในช่วงนั้นเป็นปัญหาที่หมักหมมมา
นานแล้ว โดยค่าเงินบาทในขณะนั้นมีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนคงที่กับดอลลาร์สหรัฐ มีมูลค่าที่แข็งเกินกว่าปัจจัย
พื้นฐานของประเทศมาก และเป็นมาหลายปีแล้ว ตั้งแต่หลายรัฐบาลก่อนหน้านี้ ไม่ใช่เฉพาะในสมัยรัฐบาลพลเอกชวลิต
ยงใจยุทธ ซึ่งแทนที่รัฐบาลก่อนหน้านี้จะได้ปรับอัตราแลกเปลี่ยนให้ลดลงแต่ไม่กล้าทำ เพราะกลัวจะเสียความนิยม
จึงปล่อยให้ปัญหานี้เรื้อรังต่อมา จนกระทั่งมาถึงรัฐบาลพลเอกชวลิต ที่ไม่สามารถจะแบกรับค่าเงินที่แข็งค่ามากได้
อีกต่อไป เพราะค่าเงินบาทที่แข็งทำให้สินค้าที่ผลิตในประเทศไทยไม่สามารถส่งออกไปแข่งขันได้ ดังนั้นบทเรียนนี้
จึงสอนให้รู้ว่า ผู้นำที่ดีจะต้องมีวิสัยทัศน์เห็นการเปลี่ยนแปลงในอนาคต และจะต้องยินยอมทำเรื่องที่ไม่ถูกใจประชาชน
บ้างเพื่อประโยชน์ในระยะยาวของประเทศ
ทั้งนี้รวมถึงเรื่องพลังงานที่เป็นปัญหาหมักหมมของประเทศนี้ด้วย
บทเรียนต่อมาเป็นเรื่องการสู้ค่าเงิน การที่ ธปท.นำเงินทุนสำรองของประเทศไปสู้กับกองทุนข้ามชาติขนาดใหญ่ที่มา
เก็งกำไรค่าเงินบาทในขณะนั้น ซึ่งทำให้ประเทศไทยต้องเสียเงินทุนสำรองไปทั้งหมด ข้อมูลและแนวคิดในการดำเนิน
การในขณะนั้น ผู้ที่น่าจะทราบดีที่สุดคนหนึ่งคือท่านอดีต รมว.คลัง คุณธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ซึ่งขณะนั้นท่านทำงาน
ที่ ธปท. และมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในเรื่องปริวรรตเงินตรานี้ โดยในเวลาต่อมา ได้มีการสัมภาษณ์ของผู้บริหาร
กองทุนข้ามชาติเหล่านี้ให้คนไทยได้ช้ำใจเพิ่มเติมว่า เหมือนกับเหล่าหมาป่าที่เห็นแกะฝูงใหญ่ที่วิ่งออกมาให้เลือกกัด
กินกันตามใจชอบ ซึ่งทำให้เห็นภาพขณะนั้นได้ชัดเจน
เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ไม่มีทางที่ประเทศไทยที่เงินสำรองในขณะนั้นจะไปสู้กับกองทุนขนาดใหญ่ของต่างชาติได้ จึงไม่
ทราบว่าในขณะนั้น ธปท.คิดกันอย่างไร
ทั้งนี้ต้องขอกล่าวถึงปัญหาของ ธปท.ในการตรวจสอบการบริหารงานของสถาบันการเงินหลายแห่งก่อนหน้านี้ ที่มีการ
ปล่อยเงินกู้กันอย่างหละหลวมให้กับผู้ถือ
หุ้นและพรรคพวกของตนจนทำให้เกิดหนี้เสียจำนวนมาก จนทำให้ ธปท.ต้องเข้ายึดสถาบันการเงินหลายแห่งในขณะนั้น
ซึ่งบั่นทอนความน่าเชื่อถือของทั้งสถาบันการเงินของไทยและ ธปท. ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจุดเริ่มต้นของปัญหา และใน
ปัจจุบัน ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐหลายแห่งก็มีพฤติกรรมการปล่อยกู้ที่คล้ายคลึงกันตั้งแต่หลายปีก่อน และมีปัญหา
หนี้เสียเป็นจำนวนมาก
ดังนั้น ก็หวังว่า ธปท.จะไม่ปล่อยให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยอีก
บทเรียนที่สาม เป็นเรื่องของการปิดสถาบันการเงิน 56 แห่ง ซึ่งส่งผลทำให้เกิดหนี้เสียเพิ่มขึ้นมากกว่าที่ควรจะเป็น
เพราะการปิดสถาบันการเงิน 56 แห่ง ก็เท่ากับเป็นการตัดเส้นเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงระบบเศรษฐกิจที่อาศัยเงินกู้จาก
สถาบันการเงินเหล่านี้ จริงอยู่ที่ว่ามีธุรกิจเป็นจำนวนมากเป็นมีหนี้เสียกับสถาบันการเงินเหล่านี้ แต่ไม่ใช่ธุรกิจทั้งหมด
แต่เมื่อมีการปิดสถาบันการเงินเหล่านี้แล้ว ทำให้ธุรกิจทั้งหมดทั้งที่เป็นหนี้ดีและหนี้เสียต้องกลายเป็นหนี้เสียทั้งหมด
ซึ่งหากมีการบริหารจัดการที่ดี หนี้เสียจะไม่มากถึงขนาดนั้น เรื่องนี้สอนให้รู้ว่าเมื่อเกิดวิกฤตการณ์แล้วต้องใช้
วิจารณญาณให้ดี พิจารณาผลกระทบให้ครบในทุกด้าน
บทเรียนที่สำคัญที่สุดคือ เรื่องขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ที่มีการจัดตั้งและคัดเลือกผู้บริหาร
โดยรัฐบาลในขณะนั้น โดยมีการดำเนินการที่ผิดปกติหลายประการ ซึ่งถ้าให้อธิบายหมดคงต้องใช้เวลานาน ดังนั้นจึง
ขอกล่าวถึงเรื่องที่สำคัญหลักๆ เช่น การจัดกองสินทรัพย์จำนวนอย่างต่ำ 5 พันล้านบาท โดยอ้างว่าเพื่อต้องการให้
ต่างประเทศนำเงินจากต่างประเทศมาลงทุน เพราะในภาวะเศรษฐกิจที่ล่มสลายขณะนั้นคงไม่มีคนไทยคนไหนสามารถจะ
หาเงินค้ำประกันจำนวนดังกล่าวได้
แต่ปรากฏว่าต่างประเทศไม่ได้นำเงินเข้ามาเลย แต่ใช้การระดมทุนในประเทศไทยเพื่อมาซื้อสินทรัพย์ในราคาถูก แล้วนำ
มาขายคืนให้กับคนไทยในราคาที่แพงและได้กำไรกันอย่างมหาศาล เหมือนกับเป็นการจับเสือมือเปล่า แทนที่จะให้คนไทย
ได้มาเจรจาประนอมหนี้เองโดยอ้างว่าจะเป็นการเพาะนิสัยที่ไม่ดี (Moral Hazard) แต่กลับปล่อยให้ต่างชาติตั้งโต๊ะเป็น
ตัวกลางกินส่วนต่างจากการประมูลซื้อสินทรัพย์และนำมาขายให้กับคนไทยกันเอง โดยทรัพย์สินกว่า 8 แสนล้านบาท
ถูกขายได้เพียง 2 แสนล้านบาทเท่านั้น เพื่อนำไปทำกำไรต่อ
และที่แย่กว่านั้นและเป็นคดีที่มีการตัดสินแล้วคือการเอื้อประโยชน์ให้ผู้ที่ประมูลได้ โดย ปรส.อนุญาตให้ผู้ประมูลได้นำ
กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นใหม่มาเซ็นสัญญาแทนชื่อผู้ที่ประมูลได้จริง ทั้งๆ ที่เลยกำหนดวันเซ็นสัญญาไปแล้ว ทั้งนี้เพื่อจะ
ได้ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ จากกำไรมหาศาลนี้ โดยรัฐบาลในขณะนั้นได้มีการออกกฎหมายใหม่เพื่ออนุญาตให้ละเว้น
ภาษีเงินได้แก่กองทุนรวมเหล่านี้ แต่ขณะนั้นกฎหมายยังออกไม่เสร็จในช่วงที่มีการประมูล จึงมีการอนุญาตให้นำกองทุน
รวมที่พึ่งตั้งใหม่นี้มาเซ็นสัญญาแทนได้ ทั้งที่เลยกำหนดเวลาไปแล้ว ซึ่งเป็นการเอื้อประโยชน์อย่างชัดเจน โดยมีข้อมูล
ในเบื้องลึกว่า มีนักการเมืองหลายคนในรัฐบาลขณะนั้น มีส่วนร่วมในการดำเนินการนี้ โดยแอบไปลงทุนข้างหลังร่วมกับ
กองทุนรวมเหล่านี้ และได้ประโยชน์ไปอย่างมหาศาล
คำถามที่ค้างคาใจคือ ถ้าศาลตัดสินว่า ผู้บริหารของ ปรส.ที่ตั้งโดยรัฐบาลขณะนั้น มีความผิดที่ทำรัฐเสียหาย โดยอนุญาต
ให้กองทุนรวมที่ตั้งใหม่และไม่ได้เป็นผู้ประมูลได้ เข้ามาเซ็นสัญญาแทนผู้ประมูลได้ ทั้งที่เลยเวลากำหนดแล้ว เพื่อไม่ต้อง
เสียภาษี แล้วรัฐบาลที่ออกกฎหมายใหม่ให้เว้นภาษีเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับกองทุนรวมเหล่านี้ และอาจจะมีการสั่งให้
ปรส.อนุญาตให้ใช้กองทุนรวมที่ตั้งใหม่นี้เซ็นสัญญาได้จะมีความผิดด้วยหรือไม่
นี่นับเป็นเพียงเรื่องเดียวในอีกหลายเรื่องที่มีดำเนินการที่ผิดปกติของ ปรส.
นับเป็นเรื่องที่ดี ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ออกมายืนยันว่า คดี ปรส.นี้ยังไม่
หมดอายุ และคณะกรรมการ ป.ป.ช.จะไม่ปล่อยให้หมดอายุโดยไม่ได้มีการพิจารณา โดยหากคณะกรรมการ ป.ป.ช.ตรวจ
สอบย้อนหลังกันอย่างจริงจังแล้ว ก็น่าจะทราบได้ว่ามีผู้ใดบ้างที่ได้ประโยชน์อย่างมากในเรื่องนี้ ซึ่งจะต้องเป็นผู้ที่มีความ
รู้ความชำนาญทางการเงินในระดับสูง
บทเรียนนี้เป็นเรื่องที่เจ็บปวดและยากที่จะให้อภัยกันได้ เพราะเป็นช่วงที่ประเทศไทยกำลังอยู่ในภาวะล่มสลาย ประชาชน
กำลังเดือดร้อนกันอย่างแสนสาหัส แต่กลับมีคนกลุ่มหนึ่งมาหาประโยชน์โดยการร่วมมือกับต่างประเทศ ในการนำซาก
ปรักหักพังของประเทศไปหากินบนความทุกข์ของคนทั้งประเทศ คอร์รัปชั่นที่ว่าเลวร้ายมากแล้ว ยังเทียบไม่ได้เลยกับ
ความเลวร้ายของเรื่องนี้
และก็หวังว่าคนไทยทุกคนจะจำทุกบทเรียนของเหตุการณ์นี้เพื่อไม่ให้เกิดขึ้นอีก
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1371116160&grpid=01&catid=&subcatid=
เก็บตกมาฝาก เพื่อนๆ ทีกำลังติดตามคดี ปรส. น่าสนใจที่เขียนแบบสั้นๆ มีบทสรุปให้เห็นแบบชัดเจน
ใครที่...คัดค้านเรื่องนี้ ก็มาแสดงคคห.กันหน่อย ... หยุดเรื่องข้าว กันสักวันนะคะ เพื่อนๆฝ่าย
ตรงกันรัฐบาลแบบ คุณคนชาย คุณ "ม้า" คุณวอน ...ที่ สาวเหลือน้อย เคารพ รวมถึง สมาชิก
nonแดง ผู้มากด้วยความคิดความอ่าน ทุกๆ ท่าน มาคุยกันเรื่องนี้ หน่อยปะไร .....
บทเรียนประเทศไทยจากคดี ปรส. .....โดย พิชัย นริพทะพันธุ์ อดีต รมว. พลังงาน ... มติชนออนไลน์
เมื่อกล่าวถึงเรื่องวิกฤตการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2540 และเรื่องคดีขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบ
สถาบันการเงิน (ปรส.) แล้ว ผู้อ่านหลายท่านอาจจะสงสัยว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นมานานแล้ว ทำไมจะต้อง
นำขึ้นมากล่าวถึงอีก
ทั้งนี้ก็เพราะเหตุการณ์ดังกล่าวได้ให้บทเรียนกับประเทศไทยในหลายเรื่อง ที่คนไทยรุ่นหลังจะได้เรียนรู้ เพื่อจะ
ได้ไม่ให้เกิดซ้ำขึ้นอีก นอกจากนี้ผลจากเหตุการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลกระทบมาให้กับประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน
เพราะได้สร้างหนี้สาธารณะให้กับประเทศไทยเพิ่มขึ้นถึง 1.4 ล้านล้านบาท โดยไม่ได้พัฒนาประเทศทางด้าน
ไหนเลย
อีกทั้งรัฐบาลไทยยังต้องชำระเงินจากงบประมาณ ปีละประมาณ 6 หมื่นล้านบาททุกปีมากว่าสิบปีแล้ว เพื่อชำระ
ดอกเบี้ยให้กับหนี้ก้อนนี้ ตามข้อตกลงที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร้องขอให้รัฐบาลช่วยรับผิดชอบเรื่อง
ดอกเบี้ย โดย ธปท.จะขอรับผิดชอบเฉพาะเรื่องเงินต้น
แต่ ธปท.ไม่เคยชำระคืนเงินต้นเลย
เหตุการณ์ในครั้งนั้นได้ให้บทเรียนในหลายเรื่อง โดยบทเรียนแรกเป็นเรื่องวิสัยทัศน์ของผู้นำของประเทศที่จะต้อง
ปรับประเทศให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยปัญหาของประเทศไทยในช่วงนั้นเป็นปัญหาที่หมักหมมมา
นานแล้ว โดยค่าเงินบาทในขณะนั้นมีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนคงที่กับดอลลาร์สหรัฐ มีมูลค่าที่แข็งเกินกว่าปัจจัย
พื้นฐานของประเทศมาก และเป็นมาหลายปีแล้ว ตั้งแต่หลายรัฐบาลก่อนหน้านี้ ไม่ใช่เฉพาะในสมัยรัฐบาลพลเอกชวลิต
ยงใจยุทธ ซึ่งแทนที่รัฐบาลก่อนหน้านี้จะได้ปรับอัตราแลกเปลี่ยนให้ลดลงแต่ไม่กล้าทำ เพราะกลัวจะเสียความนิยม
จึงปล่อยให้ปัญหานี้เรื้อรังต่อมา จนกระทั่งมาถึงรัฐบาลพลเอกชวลิต ที่ไม่สามารถจะแบกรับค่าเงินที่แข็งค่ามากได้
อีกต่อไป เพราะค่าเงินบาทที่แข็งทำให้สินค้าที่ผลิตในประเทศไทยไม่สามารถส่งออกไปแข่งขันได้ ดังนั้นบทเรียนนี้
จึงสอนให้รู้ว่า ผู้นำที่ดีจะต้องมีวิสัยทัศน์เห็นการเปลี่ยนแปลงในอนาคต และจะต้องยินยอมทำเรื่องที่ไม่ถูกใจประชาชน
บ้างเพื่อประโยชน์ในระยะยาวของประเทศ
ทั้งนี้รวมถึงเรื่องพลังงานที่เป็นปัญหาหมักหมมของประเทศนี้ด้วย
บทเรียนต่อมาเป็นเรื่องการสู้ค่าเงิน การที่ ธปท.นำเงินทุนสำรองของประเทศไปสู้กับกองทุนข้ามชาติขนาดใหญ่ที่มา
เก็งกำไรค่าเงินบาทในขณะนั้น ซึ่งทำให้ประเทศไทยต้องเสียเงินทุนสำรองไปทั้งหมด ข้อมูลและแนวคิดในการดำเนิน
การในขณะนั้น ผู้ที่น่าจะทราบดีที่สุดคนหนึ่งคือท่านอดีต รมว.คลัง คุณธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ซึ่งขณะนั้นท่านทำงาน
ที่ ธปท. และมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในเรื่องปริวรรตเงินตรานี้ โดยในเวลาต่อมา ได้มีการสัมภาษณ์ของผู้บริหาร
กองทุนข้ามชาติเหล่านี้ให้คนไทยได้ช้ำใจเพิ่มเติมว่า เหมือนกับเหล่าหมาป่าที่เห็นแกะฝูงใหญ่ที่วิ่งออกมาให้เลือกกัด
กินกันตามใจชอบ ซึ่งทำให้เห็นภาพขณะนั้นได้ชัดเจน
เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ไม่มีทางที่ประเทศไทยที่เงินสำรองในขณะนั้นจะไปสู้กับกองทุนขนาดใหญ่ของต่างชาติได้ จึงไม่
ทราบว่าในขณะนั้น ธปท.คิดกันอย่างไร
ทั้งนี้ต้องขอกล่าวถึงปัญหาของ ธปท.ในการตรวจสอบการบริหารงานของสถาบันการเงินหลายแห่งก่อนหน้านี้ ที่มีการ
ปล่อยเงินกู้กันอย่างหละหลวมให้กับผู้ถือ
หุ้นและพรรคพวกของตนจนทำให้เกิดหนี้เสียจำนวนมาก จนทำให้ ธปท.ต้องเข้ายึดสถาบันการเงินหลายแห่งในขณะนั้น
ซึ่งบั่นทอนความน่าเชื่อถือของทั้งสถาบันการเงินของไทยและ ธปท. ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจุดเริ่มต้นของปัญหา และใน
ปัจจุบัน ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐหลายแห่งก็มีพฤติกรรมการปล่อยกู้ที่คล้ายคลึงกันตั้งแต่หลายปีก่อน และมีปัญหา
หนี้เสียเป็นจำนวนมาก
ดังนั้น ก็หวังว่า ธปท.จะไม่ปล่อยให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยอีก
บทเรียนที่สาม เป็นเรื่องของการปิดสถาบันการเงิน 56 แห่ง ซึ่งส่งผลทำให้เกิดหนี้เสียเพิ่มขึ้นมากกว่าที่ควรจะเป็น
เพราะการปิดสถาบันการเงิน 56 แห่ง ก็เท่ากับเป็นการตัดเส้นเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงระบบเศรษฐกิจที่อาศัยเงินกู้จาก
สถาบันการเงินเหล่านี้ จริงอยู่ที่ว่ามีธุรกิจเป็นจำนวนมากเป็นมีหนี้เสียกับสถาบันการเงินเหล่านี้ แต่ไม่ใช่ธุรกิจทั้งหมด
แต่เมื่อมีการปิดสถาบันการเงินเหล่านี้แล้ว ทำให้ธุรกิจทั้งหมดทั้งที่เป็นหนี้ดีและหนี้เสียต้องกลายเป็นหนี้เสียทั้งหมด
ซึ่งหากมีการบริหารจัดการที่ดี หนี้เสียจะไม่มากถึงขนาดนั้น เรื่องนี้สอนให้รู้ว่าเมื่อเกิดวิกฤตการณ์แล้วต้องใช้
วิจารณญาณให้ดี พิจารณาผลกระทบให้ครบในทุกด้าน
บทเรียนที่สำคัญที่สุดคือ เรื่องขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ที่มีการจัดตั้งและคัดเลือกผู้บริหาร
โดยรัฐบาลในขณะนั้น โดยมีการดำเนินการที่ผิดปกติหลายประการ ซึ่งถ้าให้อธิบายหมดคงต้องใช้เวลานาน ดังนั้นจึง
ขอกล่าวถึงเรื่องที่สำคัญหลักๆ เช่น การจัดกองสินทรัพย์จำนวนอย่างต่ำ 5 พันล้านบาท โดยอ้างว่าเพื่อต้องการให้
ต่างประเทศนำเงินจากต่างประเทศมาลงทุน เพราะในภาวะเศรษฐกิจที่ล่มสลายขณะนั้นคงไม่มีคนไทยคนไหนสามารถจะ
หาเงินค้ำประกันจำนวนดังกล่าวได้
แต่ปรากฏว่าต่างประเทศไม่ได้นำเงินเข้ามาเลย แต่ใช้การระดมทุนในประเทศไทยเพื่อมาซื้อสินทรัพย์ในราคาถูก แล้วนำ
มาขายคืนให้กับคนไทยในราคาที่แพงและได้กำไรกันอย่างมหาศาล เหมือนกับเป็นการจับเสือมือเปล่า แทนที่จะให้คนไทย
ได้มาเจรจาประนอมหนี้เองโดยอ้างว่าจะเป็นการเพาะนิสัยที่ไม่ดี (Moral Hazard) แต่กลับปล่อยให้ต่างชาติตั้งโต๊ะเป็น
ตัวกลางกินส่วนต่างจากการประมูลซื้อสินทรัพย์และนำมาขายให้กับคนไทยกันเอง โดยทรัพย์สินกว่า 8 แสนล้านบาท
ถูกขายได้เพียง 2 แสนล้านบาทเท่านั้น เพื่อนำไปทำกำไรต่อ
และที่แย่กว่านั้นและเป็นคดีที่มีการตัดสินแล้วคือการเอื้อประโยชน์ให้ผู้ที่ประมูลได้ โดย ปรส.อนุญาตให้ผู้ประมูลได้นำ
กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นใหม่มาเซ็นสัญญาแทนชื่อผู้ที่ประมูลได้จริง ทั้งๆ ที่เลยกำหนดวันเซ็นสัญญาไปแล้ว ทั้งนี้เพื่อจะ
ได้ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ จากกำไรมหาศาลนี้ โดยรัฐบาลในขณะนั้นได้มีการออกกฎหมายใหม่เพื่ออนุญาตให้ละเว้น
ภาษีเงินได้แก่กองทุนรวมเหล่านี้ แต่ขณะนั้นกฎหมายยังออกไม่เสร็จในช่วงที่มีการประมูล จึงมีการอนุญาตให้นำกองทุน
รวมที่พึ่งตั้งใหม่นี้มาเซ็นสัญญาแทนได้ ทั้งที่เลยกำหนดเวลาไปแล้ว ซึ่งเป็นการเอื้อประโยชน์อย่างชัดเจน โดยมีข้อมูล
ในเบื้องลึกว่า มีนักการเมืองหลายคนในรัฐบาลขณะนั้น มีส่วนร่วมในการดำเนินการนี้ โดยแอบไปลงทุนข้างหลังร่วมกับ
กองทุนรวมเหล่านี้ และได้ประโยชน์ไปอย่างมหาศาล
คำถามที่ค้างคาใจคือ ถ้าศาลตัดสินว่า ผู้บริหารของ ปรส.ที่ตั้งโดยรัฐบาลขณะนั้น มีความผิดที่ทำรัฐเสียหาย โดยอนุญาต
ให้กองทุนรวมที่ตั้งใหม่และไม่ได้เป็นผู้ประมูลได้ เข้ามาเซ็นสัญญาแทนผู้ประมูลได้ ทั้งที่เลยเวลากำหนดแล้ว เพื่อไม่ต้อง
เสียภาษี แล้วรัฐบาลที่ออกกฎหมายใหม่ให้เว้นภาษีเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับกองทุนรวมเหล่านี้ และอาจจะมีการสั่งให้
ปรส.อนุญาตให้ใช้กองทุนรวมที่ตั้งใหม่นี้เซ็นสัญญาได้จะมีความผิดด้วยหรือไม่
นี่นับเป็นเพียงเรื่องเดียวในอีกหลายเรื่องที่มีดำเนินการที่ผิดปกติของ ปรส.
นับเป็นเรื่องที่ดี ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ออกมายืนยันว่า คดี ปรส.นี้ยังไม่
หมดอายุ และคณะกรรมการ ป.ป.ช.จะไม่ปล่อยให้หมดอายุโดยไม่ได้มีการพิจารณา โดยหากคณะกรรมการ ป.ป.ช.ตรวจ
สอบย้อนหลังกันอย่างจริงจังแล้ว ก็น่าจะทราบได้ว่ามีผู้ใดบ้างที่ได้ประโยชน์อย่างมากในเรื่องนี้ ซึ่งจะต้องเป็นผู้ที่มีความ
รู้ความชำนาญทางการเงินในระดับสูง
บทเรียนนี้เป็นเรื่องที่เจ็บปวดและยากที่จะให้อภัยกันได้ เพราะเป็นช่วงที่ประเทศไทยกำลังอยู่ในภาวะล่มสลาย ประชาชน
กำลังเดือดร้อนกันอย่างแสนสาหัส แต่กลับมีคนกลุ่มหนึ่งมาหาประโยชน์โดยการร่วมมือกับต่างประเทศ ในการนำซาก
ปรักหักพังของประเทศไปหากินบนความทุกข์ของคนทั้งประเทศ คอร์รัปชั่นที่ว่าเลวร้ายมากแล้ว ยังเทียบไม่ได้เลยกับ
ความเลวร้ายของเรื่องนี้
และก็หวังว่าคนไทยทุกคนจะจำทุกบทเรียนของเหตุการณ์นี้เพื่อไม่ให้เกิดขึ้นอีก
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1371116160&grpid=01&catid=&subcatid=
เก็บตกมาฝาก เพื่อนๆ ทีกำลังติดตามคดี ปรส. น่าสนใจที่เขียนแบบสั้นๆ มีบทสรุปให้เห็นแบบชัดเจน
ใครที่...คัดค้านเรื่องนี้ ก็มาแสดงคคห.กันหน่อย ... หยุดเรื่องข้าว กันสักวันนะคะ เพื่อนๆฝ่าย
ตรงกันรัฐบาลแบบ คุณคนชาย คุณ "ม้า" คุณวอน ...ที่ สาวเหลือน้อย เคารพ รวมถึง สมาชิก
nonแดง ผู้มากด้วยความคิดความอ่าน ทุกๆ ท่าน มาคุยกันเรื่องนี้ หน่อยปะไร .....