ถามผู้รู้ พอดีเจอบทความนี้ ก็เลยสงสัยค่ะว่าจริงไหมที่เจ้าชายสิทธัตถะ มิได้หนีออกบวชกลางคืนกับนายฉันนะ หากออกบวชกลางวัน ต่อหน้าพระราชบิดาและพระราชมารดา
บทความพิเศษ
เสฐียรพงษ์ วรรณปก
ผมเคยพูดกับเพื่อนๆ หลายคนว่า คนที่ศึกษาพุทธศาสนา ถ้ามีภูมิหลังเป็นนักประวัติศาสตร์แล้วจะศึกษาได้ลึกซึ้งและกว้างขวางกว่าคนที่บวชเรียนนักธรรมบาลีโดยตรงอย่างผมแน่นอน
เหตุผลหรือครับ ศาสดาใดก็ตาม จะบัญญัติหลักคำสอนหรือคิดค้นเทคนิคการสอนไปแนวไหน อย่างไร แบ๊กกราวนด์ของศาสดานั้นมีส่วนในการกำหนดไม่น้อย
ยกตัวอย่างพระพุทธเจ้า เมื่อ เมื่อพระองค์ตั้งคณะสงฆ์ขึ้นแล้ว พระองค์มอบอำนาจทางการปกครองให้พระสงฆ์จัดการกันเอง การตัดสินปัญหาต่างๆ พระพุทธองค์มิได้เป็นผู้บงการหรือชี้นำ พระสงฆ์ตัดสินกันเอง โดยระบบ "ถือเสียงข้างมาก"
หรือที่ภาษาเทคนิคเขาเรียกว่า เยภุยยสิกา
สังฆกรรมของสงฆ์จึงดำเนินไปโดยระบบประชาธิปไตย ไม่มีอภิสิทธิ์ ไม่มีเผด็จการ
เช่น ใครจะเข้ามาบวช อุปัชฌาย์ จะใช้สิทธิ์รับเข้ามาเอง โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากพระสงฆ์ทั้งหมดไม่ได้
ผู้ที่ไม่สนใจประวัติศาสตร์อินเดียโบราณ ก็จะสรุปเอาง่ายๆ ว่า พระพุทธเจ้าทรงคิดค้นวิธีปกครองแบบประชาธิปไตยพระพุทธศาสนาเท่านั้นมีการปกครองแบบประชาธิปไตยก่อนใครทั้งหมด
แต่ถ้ามองจากสายตาของนักประวัติศาสตร์ เราก็จะทราบว่า ระบบเยภุยยสิกาของพระพุทธเจ้า พระองค์มิได้คิดค้นมาจากไหน พระองค์ก็เอามาจากภูมิหลังที่พระองค์เคยประสบพบเห็นอยู่ก่อนเสด็จออกบรรพชานั่นเอง
อินเดียสมัยนั้นกว้างใหญ่ไพศาล ภูมิภาคแถบเชิงเขาหิมาลัยมีกลุ่มหรือเผ่าชนที่มีระบบการปกครองไม่เหมือนเผ่าอื่นจำนวนหนึ่ง เท่าที่นักประวัติศาสตร์ยืนยันก็มี พวกลิจฉวีแห่งไพศาลี มัลละ แห่งปาวาและกุสินารา ศากยะแห่งกบิลพัสดุ์ โกลิยะแห่งเทวทหะ พวกนี้จะเลือกตั้งผู้ปกครองขึ้นมาโดยการลงคะแนนเสียงรัฐสภา ซึ่งเรียกกันสมัยนันว่า "สัณฐาคาร"
คนที่ได้รับเลือกตั้งโดยผ่านเสียงข้างมาก เรียกตามศัพท์เทคนิคว่า "กษัตริย์" กษัตริย์จะบริหารประเทศโดยทางรัฐสภา มีปัญหาอะไรจะต้องหารือวินิจฉัยในสภา เสียงข้างมากออกมาอย่างไร ก็เป็นไปตามนั้นและกษัตริย์มีเทอม (มากน้อยแล้วแต่กำหนด) หมดเทอมแล้วก็เลือกตั้งกษัตริย์องค์ใหม่ทำหน้าที่สืบต่อไป
ไม่ใช่ว่า กษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจสิทธิ์ขาด ในความหมายที่เราเข้าใจกัน
กษัตริย์ปกครองศากยะสมัยนั้นชื่อ สุทโธทนะ
สุทโธทนะได้รับเลือกให้เป็นประมุขชาวศากยะ มีเทอมหรือกำหนดเวลาหมดเทอมคนอื่นก็ขึ้นมาแทน คนที่ขึ้นมาแทนอาจมิใช่เจ้าชายสิทธัตถะ พระโอรสของท่านก็ได้
เพราะเขามิได้ใช้ระบบสืบรัชทายาทอย่างที่เราเข้าใจกัน ที่เราเรียนพุทธประวัติตอนหนึ่งว่า พอเจ้าชายสิทธัตถะประสูติ โหรทำนายว่า ถ้าพระกุมารเสด็จออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอกในโลก แต่ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระจักรพรรดิมีแสนยานุภาพมากมายไพศาลนั้น ไม่แน่เสมอไป หรอกครับ เจ้าชายสิทธัตถะท่านอาจไม่ได้รับเลือกเป็นกษัตริย์ต่อจากสุทโธทนะเลยก็ได้
เพราะทั้งหมดขึ้นอยู่กับมติของที่ประชุมรัฐสภา
เมื่อมองในแง่ประวัติศาสตร์แล้ว ก็ขอมองต่อไปอีกสาเหตุให้พระองค์ออกบวช ข้อมูลทางประวัติศาสตร์จะชี้ข้อเท็จจริงออกมาดังนี้ครับ
1. เจ้าชายสิทธัตถะ มิได้เสด็จหนีออกบวชเวลากลางคืนโดยที่ใครๆ ไม่รู้เห็นเหมือนดังที่พุทธประวัติเขียนกัน
2. เจ้าชายสิทธัตถะ เสด็จออกบวชเพราะแรงผลักดันทางการเมือง
ทั้งสองข้อนี้ออกจะกลับ "ตาลปัตร" กับที่เคยรู้เคยเรียนมา บางท่านคงจะรับไม่ได้ ไม่เป็นไรครับ รับไม่ได้ก็อย่ารับ
แต่ขอเรียนว่า ข้อสรุปข้างต้นนี้ผมมิได้นั่งเทียนเขียนเอาเองนะครับ มีหลักฐานอ้างอิงอย่างหนักแน่นเชียวแหละ (อ่านจบ จะรู้เอง ผมได้หลักฐานมาจากไหน)
พุทธประวัติเขียนไว้ เจ้าชายเสด็จหนีกลางคืนพร้อมนายฉันนะมหาดเล็กคนสนิท แต่พุทธประวัติก็ดี ปฐมสมโพธิก็ดี อาจารย์รุ่นหลังเขียนกันทั้งนั้น พระไตรปิฎก ซึ่งเป็นตำราชั้นต้นจริงๆ ไม่มีที่ไหนพูดว่าเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จหนีบวชตอนกลางคืน
ในพระสูตรสูตรหนึ่ง พระพุทธเจ้าตรัสถึงการออกบวชของพระองค์ว่า พระองค์ทรงคำนึงถึงความเกิด แก่ เจ็บ ตาย แล้วคิดหาทางหลุดพ้น จึงถือเพศบรรพชิตออกบวช ในขณะที่พระบิดามารดา มีน้ำตานองหน้า ร้องไห้คร่ำครวญอยู่
สังเกตคำที่เขียนนั้นไหมครับ ตัวท่านเองตรัสว่าท่านมิได้หนีพ่อแม่ไปบวช บวชทั้งๆ ที่พ่อแม่เห็นๆ อยู่ ร้องห่มร้องไห้อาลัยอาวรณ์
และสังเกตท่านพูดถึง "แม่" ท่านด้วย อาจหมายถึงว่าพระนางสิริมายา ยังไม่ทิวงคตหลังจากเจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้เจ็ดวันดั่งที่เราเรียนมาก็ได้
หรือ "แม่" ในที่นี้อาจหมายถึงแม่เลี้ยงก็ได้
แต่ช่างเถิด เราละประเด็นนี้ไปก่อน ขอพูดถึงการหนีบวชไม่หนีบวชกันดีกว่า
ถ้าตามพระดำรัสนี้ แสดงว่าเจ้าชายสิทธัตถะมิได้เสด็จหนีบวชในเวลากลางคืนแน่ แต่บวชขณะที่พระราชบิดา (และ พระราชมารดา) รู้เห็นอยู่ แต่ไม่อยู่ในฐานะทัดทานได้
เรื่องนี้มีพระสูตรจากพระไตรปิฎก 8 แห่งข้อความตรงกันกับที่ขีดเส้นใต้ข้างบนคือ
1. ปราสิสูตร (พระไตรปิฎกเล่มที่ 12)
2. มหาสัจจกสูตร (พระไตรปิฎกเล่มที่ 12)
3. โพธิราชกุมารสูตร (พระไตรปิฎกเล่มที่ 13)
4. จังกีสูตร (พระไตรปิฎกเล่มที่ 13)
5. สังคารวสูตร (พระไตรปิฎกเล่มที่ 13)
6. โลณทัณฑสูตร (พระไตรปิฎกเล่มที่ 9)
7. กูฏทันตสูตร (พระไตรปิฎกเล่มที่ 9)
8. สารีปุตตนิทเทส (พระไตรปิฎกเล่มที่ 19)
("ในกาลต่อมา เราตถาคตยังหนุ่มแน่น แข็งแรง เกศาดำสนิท อยู่ในปฐมวัย เมื่อพระราชมารดา (พระมารดาเลี้ยง) และพระราชบิดาไม่ทรงปรารถนาให้ผนวช มีพระพักตร์นองด้วยน้ำพระเนตร ทรงกรรแสงอยู่ จึงโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากวังบวชเป็นบรรพชิต")
ถ้าถามต่อไปว่า ทำไมจึงทัดทานไม่ได้ ทั้งๆ ที่ไม่อยากให้โอรสบวชก็ต้องตอบตามสมมุติฐานข้อสอง นั้นคือเจ้าชายสิทธัตถะถูกผลักดันให้ออกไปจากประเทศ พระเจ้าสุทโธทนะจึงจะเป็นกษัตริย์ประมุขชาวศากยะในขณะนั้น ก็ไม่อยู่ในฐานะช่วยโอรสตนเองได้ ในเมื่อเป็นมติของนภาตัดสินออกมา
ถามต่อไปว่า เรื่องอะไรล่ะ ที่ทำให้ชาวศากยะถึงต้องลงมติผลักดันให้เจ้าชายสิทธัตถะออกจากเมือง ก็ต้องโยงถึงเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ของศากยวงศ์เรื่องหนึ่ง คือ "ศึกชิงน้ำ"
เชื้อสายของพระพุทธเจ้าแบ่งเป็นสองกลุ่มตั้งเมืองอยู่สองฟากฝั่งแม่น้ำเล็กๆ สายหนึ่งชื่อ "โรหิณี" ศากยะแห่งกบิลพัสดุ์อยู่ฟากหนึ่ง โกลิยะแห่งเทวทหะอยู่อีกฟากหนึ่ง ทั้งสองตระกูลเป็นพวกที่หยิ่งในสายเลือดของตัวเองมากจึงแต่งงานในระหว่างญาติพี่น้องกันเอง (ซึ่งผิดกฎเมนเดลเป็นอย่างมากอาจเพราะเหตุนี้ก็ได้ที่ทำให้ชาติพันธุ์ของพระพุทธเจ้าสูญไปจากหน้าประวัติศาสตร์เร็วกว่ากำหนด นอกเหนือไปจากทำสงครามล้างผลาญกันเอง ซึ่งจะกล่าวข้างหน้า)
ทั้งสองตระกูลนี้มีอาชีพหลักคือกสิกรรมอาศัยน้ำในแม่น้ำโรหิณีทำนามีการกระทบกระทั่งกันเกี่ยวกับการแย่งทดน้ำไปทำนาบ่อยครั้ง เป็นปัญหาเรื้อรังมานมนาน จนกระทั่งถึงสมัยที่เจ้าชายสิทธัตถะอยู่ในวัยฉกรรจ์ ความวิวาทบาดหมางได้ทวีความรุนแรงขึ้น ถึงขั้นศากยะแห่งกบิลพัสดุ์เรียกประชุมตัดสินชี้ขาดในสภา
เสียงส่วนมากในที่ประชุมเสนอว่า สมควรใช้มาตรการสุดท้ายคือยกทัพไปรบกับ โกลิยะแห่งเทวหะให้รู้แล้วรู้รอดกันเสียที
แต่เจ้าชายสิทธัตถะ (อาจมีสมาชิกอื่นด้วย) ไม่เห็นด้วยกับที่พี่น้องกันเองจะล้างผลาญกัน เมื่อโหวตเสียงปรากฏว่าแพ้มติที่ประชุม ทั้งๆ ที่แพ้มติที่ประชุมเจ้าชายไม่ยอมเลิกลา ยืนขึ้นคัดค้านกระต่ายขาเดียวอยู่นั่นแล้ว
นับว่าปฏิบัติผิดระเบียบข้อบังคับของสภาอย่างร้ายแรง จึงถูกขับออกไปในที่สุด
แต่การให้เจ้าชายสิทธัตถะออกจากเมืองมิใช่เรื่องเล็กน้อย พวกศากยะเป็นประเทศราชขึ้นอยู่กับพระเจ้าปเสนทิโกศล แห่งรัฐโกศลอีกต่อหนึ่ง (มิได้เป็นประเทศอิสระใหญ่โต อย่างที่ชาวพุทธไทยเราเชื่อกัน) พวกเขากลัวว่า ถ้าปเสนทิโกศลเจ้านายเหนือหัวทราบเรื่องเข้า อาจยื่นมือเข้ามาเกี่ยวข้องได้ จึงตกลงกันให้ระงับศึกชิงน้ำไว้สักพักหนึ่งก่อน และขอคำมั่นจากเจ้าชายสิทธัตถะว่าจะต้องไม่ให้ปเสนทิโกศลรู้เรื่องนี้เป็นอันขาด
สิทธัตถะรับปาก และเพื่อให้พวกศากยะวางใจยิ่งขึ้น จึงถือเพศบรรพชิตออกไปให้เห็นประจักษ์กับตาเลยทีเดียว
(ไม่ว่าสมัยนั้น หรือสมัยไหน เพศบรรพชิตถือว่าไม่มีพิษภัยกับใครในประวัติศาสตร์ไทย ผู้ที่หนีราชภัยออกบวช ย่อมไม่ได้รับการรบกวนจากกษัตริย์ผู้มีอำนาจ นี่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาแต่โบราณกาล)
ดูตามแผนที่เมืองกบิลพัสดุ์อยู่ไม่ไกลจากเมืองสาวัตถีเมืองหลวงของแคว้นโกศลเท่าไหร่ แต่เจ้าชายสิทธัตถะไม่เสด็จไปทางนั้น กลับมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกผ่านแคว้นมัลละของมัลลกษัตริย์ ข้ามแม่น้ำอโนมาเข้าไปยังเขตมคธรัฐซึ่งมีมหาราชชื่อพิมพิสารปกครองอยู่ ทรงบำเพ็ญเพียรที่นั่นตรัสรู้ที่นั่นและวางรากฐานพระพุทธศาสนาที่นั่นเช่นกัน
หลังจากนั้นหลายปี พระองค์จึงเหยียบย่างไปยังแคว้นโกศล ทั้งหมดนี้ อาจเพราะว่าพระองค์ทรงรักษาคำมั่นที่ให้ไว้กับพวกศากยะอย่างเคร่งครัดก็ได้
เมื่อพระพุทธองค์ทรงวางรากฐานพุทธศาสนาที่แคว้นมคธมั่นคงแล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงเข้าไปหาพระพุทธเจ้า ได้ฟังธรรมจากพระองค์แล้วเกิดเลื่อมใส มอบตนเป็นสาวกคนหนึ่ง
พอถึงตอนนี้พวกศากยะซึ่งแต่เดิมดูถูกเหยียดหยามพระองค์ พลอยเห็นความสำคัญของพระพุทธเจ้าขึ้นมาบ้าง
ศึกแย่งน้ำปะทุขึ้นอีกครั้งหนึ่ง พระญาติทั้งสองฝ่ายยกพลมาหมายขยี้ให้แหลกไปข้างหนึ่ง พระพุทธเจ้าทรงทราบเรื่องเสด็จมาห้ามทัพไว้ทัน เทศนาสอนให้พวกเขาเห็นโทษในการล้างผลาญสายเลือดเดียวกันจนยุติเลิกรากันได้ในที่สุด
การห้ามสงครามเลือดครั้งนี้เป็นเหตุสำคัญในประวัติศาสนา จึงมีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นปางหนึ่งเป็นอนุสรณ์ เป็นรูปยืนยกพระหัตถ์ขวาขึ้นในท่าห้ามปราม เรียกว่า พระพุทธรูปปางห้ามญาติ
เข้าใจว่า เผ่าศากยะสมัยนั้น คงมีจำนวนไม่มากมายเท่าไรนัก ศึกล้างโคตรกันเอง โดยวิฑูฑภะครั้งนั้น คงไม่สามารถฆ่าได้หมดทุกคน ที่หลบหนีภัยครั้งนั้นก็คงมีไม่น้อย ได้แตกลูกแตกหลานสืบกันมาเป็นจำนวนมาก
แม้ปัจจุบันนี้ที่ประเทศเนปาล ถิ่นมาตุภูมิของพระพุทธเจ้า ก็ยังมีตระกูล "ซาเกีย" ซึ่งเป็นตระกูลที่ใหญ่มากตระกูลหนึ่ง เขาอ้างว่าสืบมาจาก ศากยะสมัยพุทธกาลนั่นเอง
ดูหน้าตาคนเนปาลแล้วอดแปลกใจไม่ได้ ไม่มีเค้า "อารยัน" หรือ "ฝรั่ง" เอาเสียเลย พวกนี้ผิวเหลือง (คล้ายคนไทย) เป็นเชื้อสายมองโกเลีย
ถ้าพระพุทธเจ้าเป็นบรรพบุรุษของคนเนปาลปัจจุบันนี้ พระองค์ก็ต้องเป็นมองโกเลีย
หมายเหตุ : ทัศนะที่ว่าพระพุทธเจ้าเป็นชาวมองโกล อ่าน เดช ตุลวรรธนะ เรียนพระพุทธศาสนาอย่างปัญญาชน เล่ม 3 พุทธประวัติฉบับมองโกล, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรมยุทธศึกษาทหารบก, 2525 และที่ว่าเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบวชด้วยเหตุผลทางการเมือง โปรดอ่าน B.R. Ambedkar. The Buddha and His Dhamma. Bombay: Siddharth College Publication I. 1957 และ เสฐียร พันธรังสี, พุทธประวัติมหายาน (พุทธประวัติฉบับค้นพบใหม่) กรุงเทพฯ : แพร่พิทยา, 2525 น่าสังเกตว่า ในพระสูตรกล่าวถึงมหาปุรสลักษณะ 32 ประการข้อหนึ่งว่า "สุวณฺณวณฺโณ" พระพุทธเจ้าทรงมีสีผิวดั่งทอง (ผิวเหลือง)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1317203606&grpid=no&catid&subcatid
เห็นมันต่างกับที่รู้และเรียนมา
ก็เลยอยากทราบข้อเท็จจริงค่ะ
ขอบคุณค่า
เจ้าชายสิทธัตถะ มิได้หนีออกบวชกลางคืนกับนายฉันนะ หากออกบวชกลางวัน ต่อหน้าพระราชบิดาและพระราชมารดา
บทความพิเศษ
เสฐียรพงษ์ วรรณปก
ผมเคยพูดกับเพื่อนๆ หลายคนว่า คนที่ศึกษาพุทธศาสนา ถ้ามีภูมิหลังเป็นนักประวัติศาสตร์แล้วจะศึกษาได้ลึกซึ้งและกว้างขวางกว่าคนที่บวชเรียนนักธรรมบาลีโดยตรงอย่างผมแน่นอน
เหตุผลหรือครับ ศาสดาใดก็ตาม จะบัญญัติหลักคำสอนหรือคิดค้นเทคนิคการสอนไปแนวไหน อย่างไร แบ๊กกราวนด์ของศาสดานั้นมีส่วนในการกำหนดไม่น้อย
ยกตัวอย่างพระพุทธเจ้า เมื่อ เมื่อพระองค์ตั้งคณะสงฆ์ขึ้นแล้ว พระองค์มอบอำนาจทางการปกครองให้พระสงฆ์จัดการกันเอง การตัดสินปัญหาต่างๆ พระพุทธองค์มิได้เป็นผู้บงการหรือชี้นำ พระสงฆ์ตัดสินกันเอง โดยระบบ "ถือเสียงข้างมาก"
หรือที่ภาษาเทคนิคเขาเรียกว่า เยภุยยสิกา
สังฆกรรมของสงฆ์จึงดำเนินไปโดยระบบประชาธิปไตย ไม่มีอภิสิทธิ์ ไม่มีเผด็จการ
เช่น ใครจะเข้ามาบวช อุปัชฌาย์ จะใช้สิทธิ์รับเข้ามาเอง โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากพระสงฆ์ทั้งหมดไม่ได้
ผู้ที่ไม่สนใจประวัติศาสตร์อินเดียโบราณ ก็จะสรุปเอาง่ายๆ ว่า พระพุทธเจ้าทรงคิดค้นวิธีปกครองแบบประชาธิปไตยพระพุทธศาสนาเท่านั้นมีการปกครองแบบประชาธิปไตยก่อนใครทั้งหมด
แต่ถ้ามองจากสายตาของนักประวัติศาสตร์ เราก็จะทราบว่า ระบบเยภุยยสิกาของพระพุทธเจ้า พระองค์มิได้คิดค้นมาจากไหน พระองค์ก็เอามาจากภูมิหลังที่พระองค์เคยประสบพบเห็นอยู่ก่อนเสด็จออกบรรพชานั่นเอง
อินเดียสมัยนั้นกว้างใหญ่ไพศาล ภูมิภาคแถบเชิงเขาหิมาลัยมีกลุ่มหรือเผ่าชนที่มีระบบการปกครองไม่เหมือนเผ่าอื่นจำนวนหนึ่ง เท่าที่นักประวัติศาสตร์ยืนยันก็มี พวกลิจฉวีแห่งไพศาลี มัลละ แห่งปาวาและกุสินารา ศากยะแห่งกบิลพัสดุ์ โกลิยะแห่งเทวทหะ พวกนี้จะเลือกตั้งผู้ปกครองขึ้นมาโดยการลงคะแนนเสียงรัฐสภา ซึ่งเรียกกันสมัยนันว่า "สัณฐาคาร"
คนที่ได้รับเลือกตั้งโดยผ่านเสียงข้างมาก เรียกตามศัพท์เทคนิคว่า "กษัตริย์" กษัตริย์จะบริหารประเทศโดยทางรัฐสภา มีปัญหาอะไรจะต้องหารือวินิจฉัยในสภา เสียงข้างมากออกมาอย่างไร ก็เป็นไปตามนั้นและกษัตริย์มีเทอม (มากน้อยแล้วแต่กำหนด) หมดเทอมแล้วก็เลือกตั้งกษัตริย์องค์ใหม่ทำหน้าที่สืบต่อไป
ไม่ใช่ว่า กษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจสิทธิ์ขาด ในความหมายที่เราเข้าใจกัน
กษัตริย์ปกครองศากยะสมัยนั้นชื่อ สุทโธทนะ
สุทโธทนะได้รับเลือกให้เป็นประมุขชาวศากยะ มีเทอมหรือกำหนดเวลาหมดเทอมคนอื่นก็ขึ้นมาแทน คนที่ขึ้นมาแทนอาจมิใช่เจ้าชายสิทธัตถะ พระโอรสของท่านก็ได้
เพราะเขามิได้ใช้ระบบสืบรัชทายาทอย่างที่เราเข้าใจกัน ที่เราเรียนพุทธประวัติตอนหนึ่งว่า พอเจ้าชายสิทธัตถะประสูติ โหรทำนายว่า ถ้าพระกุมารเสด็จออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอกในโลก แต่ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระจักรพรรดิมีแสนยานุภาพมากมายไพศาลนั้น ไม่แน่เสมอไป หรอกครับ เจ้าชายสิทธัตถะท่านอาจไม่ได้รับเลือกเป็นกษัตริย์ต่อจากสุทโธทนะเลยก็ได้
เพราะทั้งหมดขึ้นอยู่กับมติของที่ประชุมรัฐสภา
เมื่อมองในแง่ประวัติศาสตร์แล้ว ก็ขอมองต่อไปอีกสาเหตุให้พระองค์ออกบวช ข้อมูลทางประวัติศาสตร์จะชี้ข้อเท็จจริงออกมาดังนี้ครับ
1. เจ้าชายสิทธัตถะ มิได้เสด็จหนีออกบวชเวลากลางคืนโดยที่ใครๆ ไม่รู้เห็นเหมือนดังที่พุทธประวัติเขียนกัน
2. เจ้าชายสิทธัตถะ เสด็จออกบวชเพราะแรงผลักดันทางการเมือง
ทั้งสองข้อนี้ออกจะกลับ "ตาลปัตร" กับที่เคยรู้เคยเรียนมา บางท่านคงจะรับไม่ได้ ไม่เป็นไรครับ รับไม่ได้ก็อย่ารับ
แต่ขอเรียนว่า ข้อสรุปข้างต้นนี้ผมมิได้นั่งเทียนเขียนเอาเองนะครับ มีหลักฐานอ้างอิงอย่างหนักแน่นเชียวแหละ (อ่านจบ จะรู้เอง ผมได้หลักฐานมาจากไหน)
พุทธประวัติเขียนไว้ เจ้าชายเสด็จหนีกลางคืนพร้อมนายฉันนะมหาดเล็กคนสนิท แต่พุทธประวัติก็ดี ปฐมสมโพธิก็ดี อาจารย์รุ่นหลังเขียนกันทั้งนั้น พระไตรปิฎก ซึ่งเป็นตำราชั้นต้นจริงๆ ไม่มีที่ไหนพูดว่าเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จหนีบวชตอนกลางคืน
ในพระสูตรสูตรหนึ่ง พระพุทธเจ้าตรัสถึงการออกบวชของพระองค์ว่า พระองค์ทรงคำนึงถึงความเกิด แก่ เจ็บ ตาย แล้วคิดหาทางหลุดพ้น จึงถือเพศบรรพชิตออกบวช ในขณะที่พระบิดามารดา มีน้ำตานองหน้า ร้องไห้คร่ำครวญอยู่
สังเกตคำที่เขียนนั้นไหมครับ ตัวท่านเองตรัสว่าท่านมิได้หนีพ่อแม่ไปบวช บวชทั้งๆ ที่พ่อแม่เห็นๆ อยู่ ร้องห่มร้องไห้อาลัยอาวรณ์
และสังเกตท่านพูดถึง "แม่" ท่านด้วย อาจหมายถึงว่าพระนางสิริมายา ยังไม่ทิวงคตหลังจากเจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้เจ็ดวันดั่งที่เราเรียนมาก็ได้
หรือ "แม่" ในที่นี้อาจหมายถึงแม่เลี้ยงก็ได้
แต่ช่างเถิด เราละประเด็นนี้ไปก่อน ขอพูดถึงการหนีบวชไม่หนีบวชกันดีกว่า
ถ้าตามพระดำรัสนี้ แสดงว่าเจ้าชายสิทธัตถะมิได้เสด็จหนีบวชในเวลากลางคืนแน่ แต่บวชขณะที่พระราชบิดา (และ พระราชมารดา) รู้เห็นอยู่ แต่ไม่อยู่ในฐานะทัดทานได้
เรื่องนี้มีพระสูตรจากพระไตรปิฎก 8 แห่งข้อความตรงกันกับที่ขีดเส้นใต้ข้างบนคือ
1. ปราสิสูตร (พระไตรปิฎกเล่มที่ 12)
2. มหาสัจจกสูตร (พระไตรปิฎกเล่มที่ 12)
3. โพธิราชกุมารสูตร (พระไตรปิฎกเล่มที่ 13)
4. จังกีสูตร (พระไตรปิฎกเล่มที่ 13)
5. สังคารวสูตร (พระไตรปิฎกเล่มที่ 13)
6. โลณทัณฑสูตร (พระไตรปิฎกเล่มที่ 9)
7. กูฏทันตสูตร (พระไตรปิฎกเล่มที่ 9)
8. สารีปุตตนิทเทส (พระไตรปิฎกเล่มที่ 19)
("ในกาลต่อมา เราตถาคตยังหนุ่มแน่น แข็งแรง เกศาดำสนิท อยู่ในปฐมวัย เมื่อพระราชมารดา (พระมารดาเลี้ยง) และพระราชบิดาไม่ทรงปรารถนาให้ผนวช มีพระพักตร์นองด้วยน้ำพระเนตร ทรงกรรแสงอยู่ จึงโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากวังบวชเป็นบรรพชิต")
ถ้าถามต่อไปว่า ทำไมจึงทัดทานไม่ได้ ทั้งๆ ที่ไม่อยากให้โอรสบวชก็ต้องตอบตามสมมุติฐานข้อสอง นั้นคือเจ้าชายสิทธัตถะถูกผลักดันให้ออกไปจากประเทศ พระเจ้าสุทโธทนะจึงจะเป็นกษัตริย์ประมุขชาวศากยะในขณะนั้น ก็ไม่อยู่ในฐานะช่วยโอรสตนเองได้ ในเมื่อเป็นมติของนภาตัดสินออกมา
ถามต่อไปว่า เรื่องอะไรล่ะ ที่ทำให้ชาวศากยะถึงต้องลงมติผลักดันให้เจ้าชายสิทธัตถะออกจากเมือง ก็ต้องโยงถึงเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ของศากยวงศ์เรื่องหนึ่ง คือ "ศึกชิงน้ำ"
เชื้อสายของพระพุทธเจ้าแบ่งเป็นสองกลุ่มตั้งเมืองอยู่สองฟากฝั่งแม่น้ำเล็กๆ สายหนึ่งชื่อ "โรหิณี" ศากยะแห่งกบิลพัสดุ์อยู่ฟากหนึ่ง โกลิยะแห่งเทวทหะอยู่อีกฟากหนึ่ง ทั้งสองตระกูลเป็นพวกที่หยิ่งในสายเลือดของตัวเองมากจึงแต่งงานในระหว่างญาติพี่น้องกันเอง (ซึ่งผิดกฎเมนเดลเป็นอย่างมากอาจเพราะเหตุนี้ก็ได้ที่ทำให้ชาติพันธุ์ของพระพุทธเจ้าสูญไปจากหน้าประวัติศาสตร์เร็วกว่ากำหนด นอกเหนือไปจากทำสงครามล้างผลาญกันเอง ซึ่งจะกล่าวข้างหน้า)
ทั้งสองตระกูลนี้มีอาชีพหลักคือกสิกรรมอาศัยน้ำในแม่น้ำโรหิณีทำนามีการกระทบกระทั่งกันเกี่ยวกับการแย่งทดน้ำไปทำนาบ่อยครั้ง เป็นปัญหาเรื้อรังมานมนาน จนกระทั่งถึงสมัยที่เจ้าชายสิทธัตถะอยู่ในวัยฉกรรจ์ ความวิวาทบาดหมางได้ทวีความรุนแรงขึ้น ถึงขั้นศากยะแห่งกบิลพัสดุ์เรียกประชุมตัดสินชี้ขาดในสภา
เสียงส่วนมากในที่ประชุมเสนอว่า สมควรใช้มาตรการสุดท้ายคือยกทัพไปรบกับ โกลิยะแห่งเทวหะให้รู้แล้วรู้รอดกันเสียที
แต่เจ้าชายสิทธัตถะ (อาจมีสมาชิกอื่นด้วย) ไม่เห็นด้วยกับที่พี่น้องกันเองจะล้างผลาญกัน เมื่อโหวตเสียงปรากฏว่าแพ้มติที่ประชุม ทั้งๆ ที่แพ้มติที่ประชุมเจ้าชายไม่ยอมเลิกลา ยืนขึ้นคัดค้านกระต่ายขาเดียวอยู่นั่นแล้ว
นับว่าปฏิบัติผิดระเบียบข้อบังคับของสภาอย่างร้ายแรง จึงถูกขับออกไปในที่สุด
แต่การให้เจ้าชายสิทธัตถะออกจากเมืองมิใช่เรื่องเล็กน้อย พวกศากยะเป็นประเทศราชขึ้นอยู่กับพระเจ้าปเสนทิโกศล แห่งรัฐโกศลอีกต่อหนึ่ง (มิได้เป็นประเทศอิสระใหญ่โต อย่างที่ชาวพุทธไทยเราเชื่อกัน) พวกเขากลัวว่า ถ้าปเสนทิโกศลเจ้านายเหนือหัวทราบเรื่องเข้า อาจยื่นมือเข้ามาเกี่ยวข้องได้ จึงตกลงกันให้ระงับศึกชิงน้ำไว้สักพักหนึ่งก่อน และขอคำมั่นจากเจ้าชายสิทธัตถะว่าจะต้องไม่ให้ปเสนทิโกศลรู้เรื่องนี้เป็นอันขาด
สิทธัตถะรับปาก และเพื่อให้พวกศากยะวางใจยิ่งขึ้น จึงถือเพศบรรพชิตออกไปให้เห็นประจักษ์กับตาเลยทีเดียว
(ไม่ว่าสมัยนั้น หรือสมัยไหน เพศบรรพชิตถือว่าไม่มีพิษภัยกับใครในประวัติศาสตร์ไทย ผู้ที่หนีราชภัยออกบวช ย่อมไม่ได้รับการรบกวนจากกษัตริย์ผู้มีอำนาจ นี่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาแต่โบราณกาล)
ดูตามแผนที่เมืองกบิลพัสดุ์อยู่ไม่ไกลจากเมืองสาวัตถีเมืองหลวงของแคว้นโกศลเท่าไหร่ แต่เจ้าชายสิทธัตถะไม่เสด็จไปทางนั้น กลับมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกผ่านแคว้นมัลละของมัลลกษัตริย์ ข้ามแม่น้ำอโนมาเข้าไปยังเขตมคธรัฐซึ่งมีมหาราชชื่อพิมพิสารปกครองอยู่ ทรงบำเพ็ญเพียรที่นั่นตรัสรู้ที่นั่นและวางรากฐานพระพุทธศาสนาที่นั่นเช่นกัน
หลังจากนั้นหลายปี พระองค์จึงเหยียบย่างไปยังแคว้นโกศล ทั้งหมดนี้ อาจเพราะว่าพระองค์ทรงรักษาคำมั่นที่ให้ไว้กับพวกศากยะอย่างเคร่งครัดก็ได้
เมื่อพระพุทธองค์ทรงวางรากฐานพุทธศาสนาที่แคว้นมคธมั่นคงแล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงเข้าไปหาพระพุทธเจ้า ได้ฟังธรรมจากพระองค์แล้วเกิดเลื่อมใส มอบตนเป็นสาวกคนหนึ่ง
พอถึงตอนนี้พวกศากยะซึ่งแต่เดิมดูถูกเหยียดหยามพระองค์ พลอยเห็นความสำคัญของพระพุทธเจ้าขึ้นมาบ้าง
ศึกแย่งน้ำปะทุขึ้นอีกครั้งหนึ่ง พระญาติทั้งสองฝ่ายยกพลมาหมายขยี้ให้แหลกไปข้างหนึ่ง พระพุทธเจ้าทรงทราบเรื่องเสด็จมาห้ามทัพไว้ทัน เทศนาสอนให้พวกเขาเห็นโทษในการล้างผลาญสายเลือดเดียวกันจนยุติเลิกรากันได้ในที่สุด
การห้ามสงครามเลือดครั้งนี้เป็นเหตุสำคัญในประวัติศาสนา จึงมีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นปางหนึ่งเป็นอนุสรณ์ เป็นรูปยืนยกพระหัตถ์ขวาขึ้นในท่าห้ามปราม เรียกว่า พระพุทธรูปปางห้ามญาติ
เข้าใจว่า เผ่าศากยะสมัยนั้น คงมีจำนวนไม่มากมายเท่าไรนัก ศึกล้างโคตรกันเอง โดยวิฑูฑภะครั้งนั้น คงไม่สามารถฆ่าได้หมดทุกคน ที่หลบหนีภัยครั้งนั้นก็คงมีไม่น้อย ได้แตกลูกแตกหลานสืบกันมาเป็นจำนวนมาก
แม้ปัจจุบันนี้ที่ประเทศเนปาล ถิ่นมาตุภูมิของพระพุทธเจ้า ก็ยังมีตระกูล "ซาเกีย" ซึ่งเป็นตระกูลที่ใหญ่มากตระกูลหนึ่ง เขาอ้างว่าสืบมาจาก ศากยะสมัยพุทธกาลนั่นเอง
ดูหน้าตาคนเนปาลแล้วอดแปลกใจไม่ได้ ไม่มีเค้า "อารยัน" หรือ "ฝรั่ง" เอาเสียเลย พวกนี้ผิวเหลือง (คล้ายคนไทย) เป็นเชื้อสายมองโกเลีย
ถ้าพระพุทธเจ้าเป็นบรรพบุรุษของคนเนปาลปัจจุบันนี้ พระองค์ก็ต้องเป็นมองโกเลีย
หมายเหตุ : ทัศนะที่ว่าพระพุทธเจ้าเป็นชาวมองโกล อ่าน เดช ตุลวรรธนะ เรียนพระพุทธศาสนาอย่างปัญญาชน เล่ม 3 พุทธประวัติฉบับมองโกล, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรมยุทธศึกษาทหารบก, 2525 และที่ว่าเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบวชด้วยเหตุผลทางการเมือง โปรดอ่าน B.R. Ambedkar. The Buddha and His Dhamma. Bombay: Siddharth College Publication I. 1957 และ เสฐียร พันธรังสี, พุทธประวัติมหายาน (พุทธประวัติฉบับค้นพบใหม่) กรุงเทพฯ : แพร่พิทยา, 2525 น่าสังเกตว่า ในพระสูตรกล่าวถึงมหาปุรสลักษณะ 32 ประการข้อหนึ่งว่า "สุวณฺณวณฺโณ" พระพุทธเจ้าทรงมีสีผิวดั่งทอง (ผิวเหลือง)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1317203606&grpid=no&catid&subcatid
เห็นมันต่างกับที่รู้และเรียนมา ก็เลยอยากทราบข้อเท็จจริงค่ะ
ขอบคุณค่า