เมื่อวานทางรายการ คมชัดลึก ช่องเนชั่นทีวี เชิญไปออกรายการเกี่ยวกับ ปัญหาของกระทรวงวิทย์ สวทช. และ รมต. เจ้ากระทรวงคนปัจจุบัน ผมไปพร้อมกับอาจารย์ศักรินทร์ (อดีต ผอ. สวทช.) และอาจารย์ปรีดา (ม.กรุงเทพฯ) ซึ่งสรุปว่า เราก็เรียกร้องให้ทั้ง รมต. และ สวทช. หันหน้ามาคุยกันมากๆ เพื่อให้วงการวิทยาศาสตร์ วงการวิจัย อยู่รอดและพัฒนาต่อไปได้ ไม่งั้นคงจะแตกหักทำงานกันลำบากต่อไปแน่ๆ
เผื่อๆ ปรับ ครม. งวดหน้า ห่วงท่านเจ้ากระทรวงจะถูกปรับย้าย หรือมีใครไปฟ้องท่านมาตรา 157 ละเว้นปฏิบัติหน้าที่ จะยิ่งไปกันใหญ่
----------------------------------------------------------------------
คมชัดลึกจัดถก : ไสยศาสตร์...กระทรวงวิทย์?
การแต่งดำของข้าราชการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อประท้วงนายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการ เกี่ยวกับเรื่องการดำเนินนโยบายต่างๆ กำลังเป็นปมปัญหาที่ทำให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ร้อนระอุ "คม ชัด ลึก" จัดเสวนา ตอนไสยศาสตร์...กระทรวงวิทย์?
นายศักรินทร์ ภูมิรัตน อดีตผอ.สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. กล่าวว่า เหตุประท้วงครั้งนี้แทบจะไม่เคยมีมาก่อน แต่โดยปกติสวทช.ยึดหลักการทำงานโดยยึดประเทศชาติเป็นหลัก ดังนั้นหากผู้ใหญ่ทำอะไรไม่ถูก นักวิทยาศาสตร์สามารถทักท้วงได้ ทั้งนี้ส่วนตัวมองว่าประเด็นที่สำคัญที่สุดคงเป็นเรื่องวิสัยทัศน์ของตัวรัฐมนตรีมากกว่าทั้งในเรื่องการประชุมบอร์ด สวทช. ที่น้อยลงโดย 8 เดือนประชุมแค่ 2 ครั้งทำให้งานต่างๆ ไม่ขับเคลื่อน อีกทั้งประเด็นการเรื่องการตัดงบประมาณที่หายไปค่อนข้างเยอะ รวมถึงแต่งตั้งคนใกล้ชิดเข้ามาบริหารโดยไม่ผ่านการพิจารณาของบอร์ด
ผศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ภาควิชา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า กระทรวงวิทยาศาตร์ฯ ไม่ใช่กระทรวงสั่งการ เป็นเหมือนหน่วยงานที่ช่วยต่อยอดการวิจัยให้แก่หน่วยงานอื่น แต่จากการสอบถามการทำงานของรัฐมนตรีท่านนี้กับรุ่นน้องทุกคนบอกว่า ทำงานแทบไม่ได้เลย ตอนนั้นไม่ได้คิดอะไรยังมองว่า เป็นเพราะรัฐมนตรีคนใหม่มีความกระตือรือร้นในการทำงานหรือเปล่า กระทั่งมีข่าวการแต่งดำประท้วงเกิดขึ้นมา ส่วนตัวมองว่า ท่านวรวัจน์มีวิสัยทัศน์น่าสนใจ แต่หลายอย่างมันไม่สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพียงช่วงข้ามคืน โดยเฉพาะเรื่องงบประมาณการวิจัยกว่า 30% ที่หายไปนั้นมองว่า มันหนักเกินไป
นายปรีดา ยังสุขสถาพร ผอ.สถาบันเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ กล่าวว่า ส่วนตัวขอมองต่างมุมว่า การที่การเมืองเข้ามายุ่ง และสนใจในกระทรวงวิทยาศาสตร์อาจเป็นเรื่องดีก็ได้ แต่จะถูก-ผิดหรือไม่อาจคงเป็นเรื่องของการสื่อสาร แต่สิ่งสำคัญมองว่า คนที่จะมาเป็นรัฐมนตรีต้องมีความรู้ความสามารถในการบริหารกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ โดยการเมืองต้องนำเอาวิทยาศาสตร์ไปเป็นนโยบายแห่งชาติ ซึ่งในวันนี้มองว่า ความขัดแย้งอาจเป็นเรื่องปฏิสัมพันธ์ที่ยังไม่เข้ากันในเรื่องการทำงานของฝ่ายการเมืองกับเจ้าหน้าที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ
------------------------------------------------------------------------------------------
ขอเอาคลิปข่าวจากช่อง Voice TV ที่ทำข่าวเกี่ยวกับเสวนาที่จุฬาฯ
"การเมืองกับธรรมาภิบาลของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา มาให้ชมด้วยครับ
วิทย์ฯไทยล้าหลัง เพราะนักการเมืองไม่สนใจ
นักวิชาการ ระบุ วิทยาศาสตร์ไทย ยังล้าหลังกลุ่มประเทศอาเซียน เนื่องจาก ฝ่ายการเมืองที่เข้ามาบริหารกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ยังไม่เห็นประโยชน์ของวิทยาศาสตร์ที่จะนำไปช่วยเหลือสังคม รวมทั้งยังไม่มีธรรมาภิบาลในการทำงาน จึงทำให้วิทยาศาสตร์ไทยไม่ก้าวหน้า
นักวิทยาศาสตร์และผู้ที่สนใจ เข้าร่วมงานเสวนาวิชาการ การเมืองกับธรรมาภิบาลของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดโดย ศูนย์จริยธรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นายเขมทัต สุคนธสิงห์ ประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ กล่าวว่า วิทยาศาสตร์ของประเทศไทยยังไม่พัฒนา เนื่องจากสังคมมองว่า เป็นเรื่องที่เข้าใจยาก และมีระบบการสอนที่ไม่ถูกต้อง จึงทำให้คนปฏิเสธการเรียนวิทยาศาสตร์ หันมาเรียนทางด้านสังคมมากกว่า นอกจากนี้ นักการเมืองที่เข้ามาบริหารกระทรวง ยังไม่เห็นถึงประโยชน์ของวิทยาศาสตร์ที่จะนำไปใช้ช่วยเหลือสังคม
รวมทั้งยังเห็นว่า ความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองกับนักวิทยาศาตร์ จะต้องมีธรรมาภิบาล เพื่อให้เกิดการพัฒนา คือ เมื่อมีนโยบาย ควรออกคำสั่งโดยการประกาศให้สาธารณชนรับทราบ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และปรับปรุงแก้ไข แต่ปัจจุบันยังไม่เกิดขึ้น
ด้าน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรีเจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย นักวิทยาศาสตร์ที่มีความสนใจด้านการเมืองกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีความเห็นสอดคล้องว่า วิทยาศาสตร์ของประเทศไทยพัฒนาไม่ถูกทาง เมื่อเทียบกับกลุ่มอาเซียน ประเทศไทยยังล้าหลังมาก เนื่องจากเป็นกระทรวงที่นักการเมืองไม่ค่อยมีบทบาทมากนัก และเมื่อเข้ามาบริหารก็ไม่มีความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ จึงทำให้วิทยาศาสตร์ไทยไม่ก้าวหน้า
---------------------------------------------------------------------
ส่วนนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย อาจารย์มหาลัย นิสิตนักศึกษา หรือใครๆ ที่รักวิทยาศาสตร์ แล้วสนใจเรื่องการร่วมรณรงค์ Fight For Science นี้ ลองพยายามติดต่อคนภายในของ สวทช. เพื่อร่วมใส่ wristband และ เสื้อ ของการรณรงค์นะ หรือจะแค่เปลี่ยนรูปใน profile ของท่านก็ได้ .... เสียดายไม่มีทำหน้ากาก ฮะฮะ
ล่าสุด ท่านสามารถเข้าไปร่วมแสดงความคิดเห็นได้ในเว็บที่ตั้งมาเป็นพิเศษนี้ครับ
https://www.change.org/petitions/สวทช-และการพัฒนาวิทยาศาสตร์-และเทคโนโลยีของชาติ-แสดงความไม่เห็นด้วยกับการแทรกแซง-วท-โดยนักการเมือง
ถ้ามีผู้ร่วมลงนามถึง 5,000 คน (ตอนนี้แค่พันกว่าคน) เราจะเอาจดหมายนี้ไปยื่นแก่ นายกปู ครับ
เรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
การแถลงนโยบายของรัฐบาลในเรื่องการสนับสนุนการวิจัยของประเทศโดยจะผลักดันให้มีงบประมาณสนับสนุนถึง 2% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) แสดงให้เห็นชัดว่า รัฐบาลให้ความสำคัญต่อการนำวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี มาใช้ในการพัฒนาประเทศ ให้มีศักยภาพในการแข่งขันกับนานาประเทศ และยังเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ จะนำประเทศไทยออกจาก “กับดักของประเทศรายได้ปาน กลาง” หรือ Middle income trap นโยบายดังกล่าว นับว่าเป็นข่าวดียิ่งสำหรับบุคลากรวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ที่จะเปิด โอกาสให้ใช้ความรู้ความสามารถของตนเองในการพัฒนาประเทศอย่างเต็มความสามารถ แต่หลังจากที่รัฐบาลชุดนี้ ได้เข้าบริหารประเทศเป็นเวลากว่า 2 ปี เป็นที่น่าผิดหวังเป็นอย่างยิ่งที่ความสำคัญของงานวิจัยของไทยจะดูเหมือน จะไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควรจากรัฐบาล และที่น่ากังวลยิ่งกว่านั้นคือ การแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองที่ทำให้ วงการวิทยาศาสตร์ของไทยเสื่อมถอยอย่างรุนแรง
ในฐานะบุคลากรที่มีส่วนร่วมกับงานวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์ ตลอดจนผู้สนับสนุนที่มีความกังวลเกี่ยวกับอนาคต ของงานวิจัยของชาติ เราขอเรียกร้องให้ท่านนายกรัฐมนตรีได้กรุณาพิจารณาข้อเสนอดังต่อไปนี้
1. บุคคลากรฝ่ายการเมืองที่ได้รับผิดชอบกำกับดูแลองค์กรวิจัยต้องตั้งอยู่ในธรรมาภิบาลโดยเคร่งครัด
ต้องมีการตรวจสอบอย่างจริงจังและเป็นกลางว่า บุคคลากรฝ่ายการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐมนตรีว่าการกระ ทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ใช้อำนาจหน้าที่ของตนเองอย่างมีธรรมาภิบาลหรือไม่ ข้อกล่าวหาต่างๆ เช่น การตัดงบประมาณวิจัยในงานวิจัยสำคัญของประเทศอย่างไม่มีเหตุผล, การแทรกแซงงานวิจัยโดยหวังผลสร้างคะ แนนเสียงในพื้นที่จังหวัดของตัวเอง, การแต่งตั้งบุคคลใกล้ชิดมาอยู่ในคณะกรรมการบริหารขององค์กรวิจัยต่างๆ และ การใช้อำนาจสั่งการโดยไม่ผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการบริหาร ต้องถูกตรวจสอบอย่างโปร่งใส ถ้าการ กระทำดังกล่าวเกิดขึ้นจริงเราเรียกร้องให้ ท่านนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล ควรพิจารณาสั่งการให้มีการ เปลี่ยนแปลงรัฐมนตรีกระทรวงวิทย์ฯ และให้ผู้กระทำผิดมารับผิดชอบในความผิดของตนเอง เพื่อรักษาความถูกต้อง และ แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลชุดนี้ทำเพื่อประชาชนมิใช่ผลประโยชน์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
2. ต้องดำเนินตามนโยบายของรัฐบาลที่ประกาศไว้ในการผลักดันงานวิจัยของประเทศ
เราเรียกร้องให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณสำหรับองค์กรวิจัยของชาติอย่างเป็นธรรม และทำตามที่ได้เสนอไว้ต่อ รัฐสภาในคราวที่แถลงนโยบายของรัฐบาล นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้รัฐบาลเข้าใจธรรมชาติของงานวิจัยทางวิทยา ศาสตร์ที่จำเป็นต้องใช้องค์ความรู้สั่งสมเป็นเวลานาน งานวิจัยไม่สามารถแก้ไขปัญหาทุกอย่างได้ในเวลาอันสั้น และเห็นผลเป็นรูปธรรมทันที การสนับสนุนงานวิจัยเปรียบเสมือนเป็นการลงทุนระยะยาวที่จะมีผลกำไรมหาศาล ต่อประเทศชาติในอนาคต ทัศนคติของผู้บริหารที่ว่างานวิจัยที่ทำวันนี้อีก 6 เดือนต้องใช้ได้ เป็นการมองงานวิจัย ที่ไม่ถูกต้องและทำให้ทิศทางของงานวิจัยไม่ตรงเป้าหมายที่วางไว้ ส่งผลโดยตรงต่อผลสัมฤทธิ์ของงานวิจัยไทยที่ ออกมาไม่ตรงเป้าหมายที่วางไว้
3. ควรให้ความเป็นอิสระแก่องค์กรและนักวิจัยในการทำงานวิจัยโดยปราศจากการแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง
รัฐบาลมีบทบาทสำคัญในการ “กำกับดูแล” แต่มิใช่ “บังคับสั่งการ” การทำงานของบุคลากรวิจัย การแทรกแซงของ ฝ่ายการเมืองทำให้อิสระของของการทำวิจัยลดลง การบังคับให้นักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องหนึ่งไปทำวิจัยใน อีกเรื่องหนึ่งที่ไม่มีความถนัด นอกจากจะทำให้งานที่ต้องการให้บรรลุผลไม่สามารถสำเร็จได้ งานวิจัยเดิมที่นักวิจัย เคยทำไว้ก็มิได้ถูกสานต่อจนใช้ประโยชน์ได้จริง เราเรียกร้องให้รัฐบาลมีวิสัยทัศน์ในการใช้บุคลากรวิจัยอย่างมีเหตุผล ไม่อิงผลประโยชน์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ให้อิสระในการทำงาน และสนับสนุนให้ผลงานเหล่านั้นนำไปใช้ประโยชน์ ได้จริงถึงแม้ว่าจะไม่ตรงกับที่รัฐบาลเคยหาเสียงไว้
เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ข้อเรียกร้องทั้งสามข้อข้างต้นจะได้รับการพิจารณาจากท่านนายกรัฐมนตรี และเชื่อว่าท่าน นายกรัฐมนตรีมีความเป็นห่วงเรื่องวิกฤติของงานวิจัยไทยไม่น้อยกว่าพวกเรา ในฐานะที่เราเป็นบุคคลากรที่ขับ เคลื่อนงานวิจัยของชาติให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมอารยะประเทศ เราเชื่อมั่นว่าถ้าท่านนายกรัฐมนตรีตัดสินใจเดิน ทางไปพร้อมกับเรา ประเทศไทยจะเจริญรุ่งเรืองด้วยผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างยั่งยืนแน่นอน
ขอแสดงความนับถืออย่างสูง
คณะผู้รณรงค์และผู้สนับสนุนโครงการรณรงค์
---------------------------------------------------------------------------
ปล. ถ้าเห็นด้วยกับเรื่องนี้ โปรดคลิ๊กโหวต เพื่อให้เป็นกระทู้แนะนำซักสัปดาห์ด้วยนะครับ ขอบพระคุณครับ
#Fight For Science - (รายการคมชัดลึก) การเมือง กระทบ กระทรวงวิทย์
เผื่อๆ ปรับ ครม. งวดหน้า ห่วงท่านเจ้ากระทรวงจะถูกปรับย้าย หรือมีใครไปฟ้องท่านมาตรา 157 ละเว้นปฏิบัติหน้าที่ จะยิ่งไปกันใหญ่
----------------------------------------------------------------------
คมชัดลึกจัดถก : ไสยศาสตร์...กระทรวงวิทย์?
การแต่งดำของข้าราชการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อประท้วงนายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการ เกี่ยวกับเรื่องการดำเนินนโยบายต่างๆ กำลังเป็นปมปัญหาที่ทำให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ร้อนระอุ "คม ชัด ลึก" จัดเสวนา ตอนไสยศาสตร์...กระทรวงวิทย์?
นายศักรินทร์ ภูมิรัตน อดีตผอ.สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. กล่าวว่า เหตุประท้วงครั้งนี้แทบจะไม่เคยมีมาก่อน แต่โดยปกติสวทช.ยึดหลักการทำงานโดยยึดประเทศชาติเป็นหลัก ดังนั้นหากผู้ใหญ่ทำอะไรไม่ถูก นักวิทยาศาสตร์สามารถทักท้วงได้ ทั้งนี้ส่วนตัวมองว่าประเด็นที่สำคัญที่สุดคงเป็นเรื่องวิสัยทัศน์ของตัวรัฐมนตรีมากกว่าทั้งในเรื่องการประชุมบอร์ด สวทช. ที่น้อยลงโดย 8 เดือนประชุมแค่ 2 ครั้งทำให้งานต่างๆ ไม่ขับเคลื่อน อีกทั้งประเด็นการเรื่องการตัดงบประมาณที่หายไปค่อนข้างเยอะ รวมถึงแต่งตั้งคนใกล้ชิดเข้ามาบริหารโดยไม่ผ่านการพิจารณาของบอร์ด
ผศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ภาควิชา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า กระทรวงวิทยาศาตร์ฯ ไม่ใช่กระทรวงสั่งการ เป็นเหมือนหน่วยงานที่ช่วยต่อยอดการวิจัยให้แก่หน่วยงานอื่น แต่จากการสอบถามการทำงานของรัฐมนตรีท่านนี้กับรุ่นน้องทุกคนบอกว่า ทำงานแทบไม่ได้เลย ตอนนั้นไม่ได้คิดอะไรยังมองว่า เป็นเพราะรัฐมนตรีคนใหม่มีความกระตือรือร้นในการทำงานหรือเปล่า กระทั่งมีข่าวการแต่งดำประท้วงเกิดขึ้นมา ส่วนตัวมองว่า ท่านวรวัจน์มีวิสัยทัศน์น่าสนใจ แต่หลายอย่างมันไม่สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพียงช่วงข้ามคืน โดยเฉพาะเรื่องงบประมาณการวิจัยกว่า 30% ที่หายไปนั้นมองว่า มันหนักเกินไป
นายปรีดา ยังสุขสถาพร ผอ.สถาบันเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ กล่าวว่า ส่วนตัวขอมองต่างมุมว่า การที่การเมืองเข้ามายุ่ง และสนใจในกระทรวงวิทยาศาสตร์อาจเป็นเรื่องดีก็ได้ แต่จะถูก-ผิดหรือไม่อาจคงเป็นเรื่องของการสื่อสาร แต่สิ่งสำคัญมองว่า คนที่จะมาเป็นรัฐมนตรีต้องมีความรู้ความสามารถในการบริหารกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ โดยการเมืองต้องนำเอาวิทยาศาสตร์ไปเป็นนโยบายแห่งชาติ ซึ่งในวันนี้มองว่า ความขัดแย้งอาจเป็นเรื่องปฏิสัมพันธ์ที่ยังไม่เข้ากันในเรื่องการทำงานของฝ่ายการเมืองกับเจ้าหน้าที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ
------------------------------------------------------------------------------------------
ขอเอาคลิปข่าวจากช่อง Voice TV ที่ทำข่าวเกี่ยวกับเสวนาที่จุฬาฯ "การเมืองกับธรรมาภิบาลของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา มาให้ชมด้วยครับ
วิทย์ฯไทยล้าหลัง เพราะนักการเมืองไม่สนใจ
นักวิชาการ ระบุ วิทยาศาสตร์ไทย ยังล้าหลังกลุ่มประเทศอาเซียน เนื่องจาก ฝ่ายการเมืองที่เข้ามาบริหารกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ยังไม่เห็นประโยชน์ของวิทยาศาสตร์ที่จะนำไปช่วยเหลือสังคม รวมทั้งยังไม่มีธรรมาภิบาลในการทำงาน จึงทำให้วิทยาศาสตร์ไทยไม่ก้าวหน้า
นักวิทยาศาสตร์และผู้ที่สนใจ เข้าร่วมงานเสวนาวิชาการ การเมืองกับธรรมาภิบาลของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดโดย ศูนย์จริยธรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นายเขมทัต สุคนธสิงห์ ประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ กล่าวว่า วิทยาศาสตร์ของประเทศไทยยังไม่พัฒนา เนื่องจากสังคมมองว่า เป็นเรื่องที่เข้าใจยาก และมีระบบการสอนที่ไม่ถูกต้อง จึงทำให้คนปฏิเสธการเรียนวิทยาศาสตร์ หันมาเรียนทางด้านสังคมมากกว่า นอกจากนี้ นักการเมืองที่เข้ามาบริหารกระทรวง ยังไม่เห็นถึงประโยชน์ของวิทยาศาสตร์ที่จะนำไปใช้ช่วยเหลือสังคม
รวมทั้งยังเห็นว่า ความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองกับนักวิทยาศาตร์ จะต้องมีธรรมาภิบาล เพื่อให้เกิดการพัฒนา คือ เมื่อมีนโยบาย ควรออกคำสั่งโดยการประกาศให้สาธารณชนรับทราบ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และปรับปรุงแก้ไข แต่ปัจจุบันยังไม่เกิดขึ้น
ด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรีเจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย นักวิทยาศาสตร์ที่มีความสนใจด้านการเมืองกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีความเห็นสอดคล้องว่า วิทยาศาสตร์ของประเทศไทยพัฒนาไม่ถูกทาง เมื่อเทียบกับกลุ่มอาเซียน ประเทศไทยยังล้าหลังมาก เนื่องจากเป็นกระทรวงที่นักการเมืองไม่ค่อยมีบทบาทมากนัก และเมื่อเข้ามาบริหารก็ไม่มีความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ จึงทำให้วิทยาศาสตร์ไทยไม่ก้าวหน้า
---------------------------------------------------------------------
ส่วนนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย อาจารย์มหาลัย นิสิตนักศึกษา หรือใครๆ ที่รักวิทยาศาสตร์ แล้วสนใจเรื่องการร่วมรณรงค์ Fight For Science นี้ ลองพยายามติดต่อคนภายในของ สวทช. เพื่อร่วมใส่ wristband และ เสื้อ ของการรณรงค์นะ หรือจะแค่เปลี่ยนรูปใน profile ของท่านก็ได้ .... เสียดายไม่มีทำหน้ากาก ฮะฮะ
ล่าสุด ท่านสามารถเข้าไปร่วมแสดงความคิดเห็นได้ในเว็บที่ตั้งมาเป็นพิเศษนี้ครับ
https://www.change.org/petitions/สวทช-และการพัฒนาวิทยาศาสตร์-และเทคโนโลยีของชาติ-แสดงความไม่เห็นด้วยกับการแทรกแซง-วท-โดยนักการเมือง
ถ้ามีผู้ร่วมลงนามถึง 5,000 คน (ตอนนี้แค่พันกว่าคน) เราจะเอาจดหมายนี้ไปยื่นแก่ นายกปู ครับ
เรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
การแถลงนโยบายของรัฐบาลในเรื่องการสนับสนุนการวิจัยของประเทศโดยจะผลักดันให้มีงบประมาณสนับสนุนถึง 2% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) แสดงให้เห็นชัดว่า รัฐบาลให้ความสำคัญต่อการนำวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี มาใช้ในการพัฒนาประเทศ ให้มีศักยภาพในการแข่งขันกับนานาประเทศ และยังเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ จะนำประเทศไทยออกจาก “กับดักของประเทศรายได้ปาน กลาง” หรือ Middle income trap นโยบายดังกล่าว นับว่าเป็นข่าวดียิ่งสำหรับบุคลากรวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ที่จะเปิด โอกาสให้ใช้ความรู้ความสามารถของตนเองในการพัฒนาประเทศอย่างเต็มความสามารถ แต่หลังจากที่รัฐบาลชุดนี้ ได้เข้าบริหารประเทศเป็นเวลากว่า 2 ปี เป็นที่น่าผิดหวังเป็นอย่างยิ่งที่ความสำคัญของงานวิจัยของไทยจะดูเหมือน จะไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควรจากรัฐบาล และที่น่ากังวลยิ่งกว่านั้นคือ การแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองที่ทำให้ วงการวิทยาศาสตร์ของไทยเสื่อมถอยอย่างรุนแรง
ในฐานะบุคลากรที่มีส่วนร่วมกับงานวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์ ตลอดจนผู้สนับสนุนที่มีความกังวลเกี่ยวกับอนาคต ของงานวิจัยของชาติ เราขอเรียกร้องให้ท่านนายกรัฐมนตรีได้กรุณาพิจารณาข้อเสนอดังต่อไปนี้
1. บุคคลากรฝ่ายการเมืองที่ได้รับผิดชอบกำกับดูแลองค์กรวิจัยต้องตั้งอยู่ในธรรมาภิบาลโดยเคร่งครัด
ต้องมีการตรวจสอบอย่างจริงจังและเป็นกลางว่า บุคคลากรฝ่ายการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐมนตรีว่าการกระ ทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ใช้อำนาจหน้าที่ของตนเองอย่างมีธรรมาภิบาลหรือไม่ ข้อกล่าวหาต่างๆ เช่น การตัดงบประมาณวิจัยในงานวิจัยสำคัญของประเทศอย่างไม่มีเหตุผล, การแทรกแซงงานวิจัยโดยหวังผลสร้างคะ แนนเสียงในพื้นที่จังหวัดของตัวเอง, การแต่งตั้งบุคคลใกล้ชิดมาอยู่ในคณะกรรมการบริหารขององค์กรวิจัยต่างๆ และ การใช้อำนาจสั่งการโดยไม่ผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการบริหาร ต้องถูกตรวจสอบอย่างโปร่งใส ถ้าการ กระทำดังกล่าวเกิดขึ้นจริงเราเรียกร้องให้ ท่านนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล ควรพิจารณาสั่งการให้มีการ เปลี่ยนแปลงรัฐมนตรีกระทรวงวิทย์ฯ และให้ผู้กระทำผิดมารับผิดชอบในความผิดของตนเอง เพื่อรักษาความถูกต้อง และ แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลชุดนี้ทำเพื่อประชาชนมิใช่ผลประโยชน์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
2. ต้องดำเนินตามนโยบายของรัฐบาลที่ประกาศไว้ในการผลักดันงานวิจัยของประเทศ
เราเรียกร้องให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณสำหรับองค์กรวิจัยของชาติอย่างเป็นธรรม และทำตามที่ได้เสนอไว้ต่อ รัฐสภาในคราวที่แถลงนโยบายของรัฐบาล นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้รัฐบาลเข้าใจธรรมชาติของงานวิจัยทางวิทยา ศาสตร์ที่จำเป็นต้องใช้องค์ความรู้สั่งสมเป็นเวลานาน งานวิจัยไม่สามารถแก้ไขปัญหาทุกอย่างได้ในเวลาอันสั้น และเห็นผลเป็นรูปธรรมทันที การสนับสนุนงานวิจัยเปรียบเสมือนเป็นการลงทุนระยะยาวที่จะมีผลกำไรมหาศาล ต่อประเทศชาติในอนาคต ทัศนคติของผู้บริหารที่ว่างานวิจัยที่ทำวันนี้อีก 6 เดือนต้องใช้ได้ เป็นการมองงานวิจัย ที่ไม่ถูกต้องและทำให้ทิศทางของงานวิจัยไม่ตรงเป้าหมายที่วางไว้ ส่งผลโดยตรงต่อผลสัมฤทธิ์ของงานวิจัยไทยที่ ออกมาไม่ตรงเป้าหมายที่วางไว้
3. ควรให้ความเป็นอิสระแก่องค์กรและนักวิจัยในการทำงานวิจัยโดยปราศจากการแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง
รัฐบาลมีบทบาทสำคัญในการ “กำกับดูแล” แต่มิใช่ “บังคับสั่งการ” การทำงานของบุคลากรวิจัย การแทรกแซงของ ฝ่ายการเมืองทำให้อิสระของของการทำวิจัยลดลง การบังคับให้นักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องหนึ่งไปทำวิจัยใน อีกเรื่องหนึ่งที่ไม่มีความถนัด นอกจากจะทำให้งานที่ต้องการให้บรรลุผลไม่สามารถสำเร็จได้ งานวิจัยเดิมที่นักวิจัย เคยทำไว้ก็มิได้ถูกสานต่อจนใช้ประโยชน์ได้จริง เราเรียกร้องให้รัฐบาลมีวิสัยทัศน์ในการใช้บุคลากรวิจัยอย่างมีเหตุผล ไม่อิงผลประโยชน์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ให้อิสระในการทำงาน และสนับสนุนให้ผลงานเหล่านั้นนำไปใช้ประโยชน์ ได้จริงถึงแม้ว่าจะไม่ตรงกับที่รัฐบาลเคยหาเสียงไว้
เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ข้อเรียกร้องทั้งสามข้อข้างต้นจะได้รับการพิจารณาจากท่านนายกรัฐมนตรี และเชื่อว่าท่าน นายกรัฐมนตรีมีความเป็นห่วงเรื่องวิกฤติของงานวิจัยไทยไม่น้อยกว่าพวกเรา ในฐานะที่เราเป็นบุคคลากรที่ขับ เคลื่อนงานวิจัยของชาติให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมอารยะประเทศ เราเชื่อมั่นว่าถ้าท่านนายกรัฐมนตรีตัดสินใจเดิน ทางไปพร้อมกับเรา ประเทศไทยจะเจริญรุ่งเรืองด้วยผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างยั่งยืนแน่นอน
ขอแสดงความนับถืออย่างสูง
คณะผู้รณรงค์และผู้สนับสนุนโครงการรณรงค์
---------------------------------------------------------------------------
ปล. ถ้าเห็นด้วยกับเรื่องนี้ โปรดคลิ๊กโหวต เพื่อให้เป็นกระทู้แนะนำซักสัปดาห์ด้วยนะครับ ขอบพระคุณครับ