มหาประเทศ 4 กับ 1.ปฏิจจสมุทปบาทการก้าวสู่ครรภ์ 2.การเกิดในครรภ์ 3.สัตว์อยู่ในครรภ์อย่างไร 4.จิตดวงแรกในครรภ์

มหาประเทศ 4 กับ  1.ปฏิจจสมุทปบาทการก้าวสู่ครรภ์ 2.การเกิดในครรภ์ 3.สัตว์อยู่ในครรภ์อย่างไร 4.เกิดวิญญาณดวงแรก จิตดวงแรก ในการนับอายุ

   เมื่อประสงค์สนทนาทั้ง 4 หัวข้อนั้น จึงขอยก มหาปเทส 4 ขึ้นมาก่อน ดังมีใน  พระไตรปิฏกเล่มที่ 10
--------
                                     กถาว่าด้วยมหาปเทส ๔  
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จถึงโภคนคร  แล้ว ได้ยินว่า
พระผู้มีพระภาคประทับ ณ อานันทเจดีย์ ในโภคนครนั้น ณ ที่นั้น   พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง   มหาประเทศ ๔ เหล่านี้ พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจ
ให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น   ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัส
ดังต่อไปนี้
             [๑๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส  ข้อนี้ข้าพเจ้า
ได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า นี้เป็นธรรม  นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอน
ของพระศาสดา ดังนี้ พวกเธอไม่พึงชื่นชมไม่พึงคัดค้าน  คำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้วพึงเรียน
บทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วสอบสวน  ในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ถ้าสอบสวนใน
พระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรไม่ได้ เทียบเคียงในพระวินัยไม่ได้ พึงถึงความ
ตกลงในข้อนี้ว่า นี้มิใช่คำของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และภิกษุนี้จำมาผิดแล้ว ดังนั้น พวกเธอ
พึง  ทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงใน  พระสูตรได้
เทียบเคียงในพระวินัยได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำ สั่งสอนของพระผู้มีพระภาค
แน่นอน และภิกษุนี้จำมาถูกต้องแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย   พวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศข้อที่หนึ่ง
นี้ไว้ ฯ
          [๑๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า สงฆ์พร้อมทั้ง
พระเถระ พร้อมทั้งปาโมกข์ อยู่ในอาวาสโน้น ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า
นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของ   พระศาสดา ดังนี้ พวกเธอไม่พึงชื่นชมไม่พึง
คัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้ว  พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วสอบสวน
ในพระสูตร เทียบเคียง  ในพระวินัย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงใน
พระสูตร   ไม่ได้ ลงในพระวินัยไม่ได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้มิใช่คำสั่งสอนของ   พระผู้มี
พระภาคแน่นอน และภิกษุสงฆ์นั้นจำมาผิดแล้ว ดังนั้น พวกเธอพึงทิ้ง คำกล่าวนั้นเสีย ถ้าเมื่อ
สอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระ   สูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้
พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำสั่งสอนของ พระผู้มีพระภาคแน่นอน และภิกษุสงฆ์นั้นจำมา
ถูกต้องแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศข้อที่สองนี้ไว้ ฯ
           [๑๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุ  ผู้เป็นเถระ
มากรูปอยู่ในอาวาสโน้น เป็นพหูสูต มีอาคมอันมาถึงแล้ว เป็นผู้ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา
ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า นี้เป็น   ธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำ
สั่งสอนของพระศาสดา ดังนี้ พวกเธอไม่พึงชื่นชม ไม่พึง   คัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้ว
พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี   แล้วสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ถ้า
เมื่อสอบสวนในพระสูตร   เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรไม่ได้ ลงในพระวินัยไม่ได้
พึงถึงความ   ตกลงในข้อนี้ว่านี้มิใช่คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระเหล่านั้น
จำมาผิดแล้ว ดังนั้น พวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร   เทียบเคียง
ในพระวินัย ลงในพระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้ พึงถึงความตกลง  ในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำ
ของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระเหล่านั้น จำมาถูก  ต้องแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวก
เธอพึงทรงจำมหาประเทศข้อที่สามนี้ไว้ ฯ
           [๑๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุ  ผู้เป็นเถระ
อยู่ในอาวาสโน้น เป็นพหูสูต มีอาคมอันมาถึงแล้ว เป็นผู้ทรงธรรม ทรง   วินัย ทรงมาติกา
ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะหน้าพระเถระนั้นว่า นี้เป็นธรรม  นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอน
ของพระศาสดา ดังนี้ พวกเธอไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้าน   คำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้ว พึง
เรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วสอบ  สวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ถ้าเมื่อ
สอบสวนในพระสูตร เทียบเคียง   ในพระวินัย ลงในพระสูตรไม่ได้ ลงในพระวินัยไม่ได้ พึงถึง
ความตกลงในข้อนี้ว่า   นี้มิใช่คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระนั้นจำมาผิดแล้ว
ดังนั้น  พวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย   ลง
ในพระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำของ พระผู้มี
พระภาคแน่นอน และพระเถระนั้นจำมาถูกต้องแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย   พวกเธอพึงทรงจำมหา
ประเทศข้อที่สี่นี้ไว้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทรงจำ   มหาประเทศทั้ง ๔ เหล่านี้ไว้ ฉะนี้แล ฯ
-------

   อธิบาย >>>  เมื่อเกิดปัญหาทางธรรมบัญญัติ 4 ประการนั้น ต้องสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัยเสมอ ซึ่งข้อสรุปนั้นเหมือนกันตามแนวดังพุทธพจน์ที่สรุปดังนี้

แล้วสอบ  สวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ถ้าเมื่อ
สอบสวนในพระสูตร เทียบเคียง   ในพระวินัย ลงในพระสูตรไม่ได้ ลงในพระวินัยไม่ได้ พึงถึง
ความตกลงในข้อนี้ว่า   นี้มิใช่คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระนั้นจำมาผิดแล้ว
ดังนั้น  พวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย   ลง
ในพระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำของ พระผู้มี
พระภาคแน่นอน และพระเถระนั้นจำมาถูกต้องแล้ว


ต่อไปผมจะยกข้อความจากพระไตรปิฎก ที่เป็นพุทธพจน์เรื่องที่  1...

>>>1.ปฏิจจสมุทปบาทกับการก้าวสู่ครรภ์ <<<  ดังพระไตรปิฏกเล่มที่ 10
-------
     ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าว ไว้ว่า เพราะ
วิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป ดูกรอานนท์ ก็วิญญาณจักไม่หยั่งลง   ในท้องแห่งมารดา นามรูป
จักขาดในท้องแห่งมารดาได้บ้างไหม ฯ
  ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
  ดูกรอานนท์ ก็ถ้าวิญญาณหยั่งลงในท้องแห่งมารดาแล้วจักล่วงเลยไป  นามรูปจักบังเกิด
เพื่อความเป็นอย่างนี้ได้บ้างไหม ฯ
  ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
  ดูกรอานนท์ ก็ถ้าวิญญาณ ของกุมารก็ดี ของกุมาริกาก็ดี ผู้ยังเยาว์วัยอยู่  จักขาดความ
สืบต่อ นามรูปจักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ได้บ้างไหม ฯ
  ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
--------

    อธิบาย >>> พระพุทธเจ้าทรงตรัสอย่างชัดเจนถึง  วิญญาณหยั่งลงในท้องแห่งมารดา  และเรื่อง วิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิด นามรูป ที่เป็นปัจจัยกัน

>>> 2.การเกิดในครรภ์ <<< ดังในพระไตรปิฎกเล่มที่ 12
---------
                            เหตุแห่งการเกิดในครรภ์
            [๔๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความประชุมพร้อมแห่งปัจจัย ๓ ประการ ความเกิด
แห่งทารกก็มี ในสัตว์โลกนี้ มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน แต่มารดายังไม่มีระดู และทารกที่จะมาเกิด
ยังไม่ปรากฏ ความเกิดแห่งทารก ก็ยังไม่มีก่อน ในสัตว์โลกนี้ มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน มารดามี
ระดู แต่ทารกที่จะมาเกิดยังไม่ปรากฏ ความเกิดแห่งทารก ก็ยังไม่มีก่อน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อใดมารดาบิดาอยู่ร่วมกันด้วย มารดามีระดูด้วย ทารกที่จะมาเกิดก็ปรากฏด้วย เพราะความ
ประชุมพร้อมแห่งปัจจัย ๓ ประการอย่างนี้ ความเกิดแห่งทารกจึงมี
ดูกรภิกษุทั้งหลาย มารดา
ย่อมรักษาทารกนั้นด้วยท้องเก้าเดือนบ้าง สิบเดือนบ้าง เมื่อล่วงไปเก้าเดือน หรือสิบเดือน
มารดาก็คลอดทารกผู้เป็นภาระหนักนั้น ด้วยความเสี่ยงชีวิตมาก และเลี้ยงทารกผู้เป็นภาระหนัก
นั้นซึ่งเกิดแล้ว ด้วยโลหิตของตนด้วยความเสี่ยงชีวิตมาก.
--------

     อธิบาย >>>  เน้นพุทธพจน์ส่วนนี้
  ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อใดมารดาบิดาอยู่ร่วมกันด้วย มารดามีระดูด้วย ทารกที่จะมาเกิดก็ปรากฏด้วย เพราะความ
ประชุมพร้อมแห่งปัจจัย ๓ ประการอย่างนี้ ความเกิดแห่งทารกจึงมี


   ข้อสังเกตุ ตรง ทารกที่จะมาเกิดก็ปรากฏด้วย  เป็นประเด็นสำคัญ  คำว่า ปรากฏ ก็ย่อมไม่ใช่ว่า เดินมา วิ่งมา เหาะมา ปลิวมา หรือล่องลอยมา  ก็คือปรากฏขึ้นบังเกิดขึ้นทันทีตามเหตุปัจจัย นั้นเอง  
      เพราะอุปทาน(อุปทานขันธ์ หรือความยึดมั่นในธาตุ 6) เป็นปัจจัยจึงเกิด อวิชชา(ที่ไม่ได้เดินมา วิ่งมา เหาะมา ปลิวมาหรือล่องลอยมา คือปรากฏขึ้นทันทีตามเหตุปัจจัยนั้นเอง) เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงเกิด สังขาร(ในสังขตธาตุ ซึ่งธรรมมี 2 คือ สังขตธาตุ กับ อสังขตธาตุ) ซึงหมายถึง ทารกที่จะมาเกิดก็ปรากฏด้วย ต่อจากนั้น เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ (วิญญาณดวงแรกในครรภ์) เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป ดังพุทธพจน์ในเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท นั้นแล.

>>>3.สัตว์อยู่ในครรภ์อย่างไร<<< พระไตรปิฏกเล่มที่ 15
-------
                        ว่าด้วยสัตว์อยู่ในครรภ์ได้อย่างไร
            [๘๐๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่บนภูเขาอินทกูฏ ซึ่งอินทกยักษ์  ครอบครอง เขต
กรุงราชคฤห์ ฯ
            [๘๐๒] ครั้งนั้นแล อินทกยักษ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ  ครั้นแล้วได้
กราบทูลด้วยคาถาว่า
"[ถ้า] ท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวว่า รูปหาใช่ชีพไม่ สัตว์นี้จะประสพ
ร่างกายนี้ได้อย่างไรหนอ กระดูกและก้อนเนื้อ จะมาแต่ไหน สัตว์นี้จะ
ติดอยู่ในครรภ์ได้อย่างไร"
          [๘๐๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "รูปนี้เป็นกลละก่อนจากกลละเป็นอัพพุทะ
จากอัพพุทะเกิดเป็นเปสิ จากเปสิเกิดเป็นฆนะจากฆนะเกิดเป็น ๕ ปุ่ม
(ปัญจสาขา) ต่อจากนั้น มีผมขนและเล็บ (เป็นต้น) เกิดขึ้น มารดา
ของสัตว์ในครรภ์บริโภคข้าวน้ำโภชนาหารอย่างใด สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์
มารดา ก็ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยอาหารอย่างนั้นในครรภ์นั้น"

-------

     อธิบาย>>> พุทธพจน์นี้  ....
"รูปนี้เป็นกลละก่อนจากกลละเป็นอัพพุทะ
จากอัพพุทะเกิดเป็นเปสิ จากเปสิเกิดเป็นฆนะจากฆนะเกิดเป็น ๕ ปุ่ม
(ปัญจสาขา)
ต่อจากนั้น มีผมขนและเล็บ (เป็นต้น) เกิดขึ้น มารดา
ของสัตว์ในครรภ์บริโภคข้าวน้ำโภชนาหารอย่างใด สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์
มารดา ก็ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยอาหารอย่างนั้นในครรภ์นั้น"
      เป็นพุทธดำรัส ปรากฏเมื่อ ประมาณ 2600 ปีมาแล้ว ซึ่งไม่มีเทคโนโลยีแบบวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน แต่ใกล้เคียงหรือตรงกับวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน

>>>4. เกิดวิญญาณดวงแรก จิตดวงแรก ในอุทรมารดา<<<  ดังในพระไตรปิฏกเล่มที่ 4

                                            นับอายุ ๒๐ ปีทั้งอยู่ในครรภ์
                                            พระกุมารกัสสปเป็นตัวอย่าง
           [๑๔๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระกุมารกัสสปมีอายุครบ ๒๐ ปีทั้งอยู่ในครรภ์ จึงได้
อุปสมบท. ต่อมาท่านได้มีความดำริว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า บุคคลมีอายุหย่อน
๒๐ ปี ภิกษุไม่พึงอุปสมบทให้ ก็เรามีอายุครบ ๒๐ ทั้งอยู่ในครรภ์ จึงได้อุปสมบท จะเป็นอัน
อุปสมบทหรือไม่หนอ. ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาค
ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตดวงแรกใดเกิดแล้วในอุทรมารดา วิญญาณ
ดวงแรกปรากฏแล้ว อาศัยจิตดวงแรก วิญญาณดวงแรกนั้นนั่นแหละเป็นความเกิดของสัตว์นั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อุปสมบทกุลบุตรมีอายุครบ ๒๐ ปี ทั้งอยู่ในครรภ์.


  อธิบาย>>>  ซึ่งเป็นการกำหนดในพระวินัย  อนุญาตให้บวชพระ ได้ เมื่อ จิตดวงแรกใดเกิดแล้วในอุทรมารดา วิญญาณดวงแรกปรากฏแล้ว
      ซึ่งในพุทธพจน์นั้นได้เน้นที่ จิตดวงแรก วิญญาณดวงแรกที่ปรากฏครรภ์ นั้นเอง

สรุป ทั้ง 4 หัวข้อที่ผมเสนอนั้นล้วนอยู่ในพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นพระสูตรหรือพระวินัยทั้งสิ้น  ซึ่งก็ย่อมตรงกับมหาประเทศ 4  อย่างปฏิเสธไม่ได้

- ร่วมแสดงความเห็นต่างๆ ได้ ครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่