จั่วหัวแรงขนาดนี้ ผมว่าแฟนๆ หุ้นค้าปลีกหลายคนคงเตรียมไม้หน้าสามมาตีกบาลผมแล้วล่ะ
ใจเย็นๆ ก่อนนะครับ
ก่อนหน้านี้ผมเคยแปะบทความยาวๆ แล้วระบบตั้งกระทู้ของพันทิปมันแฮ้งค์ไปเลยครับ คราวนี้ขอแปะแค่เรียกน้ำย่อยก็แล้วกัน แต่รับรองว่า "ฉะ" กับหุ้นค้าปลีกชนิดไม่เกรงใจใคร เพราะงั้นคนที่รักใคร่หุ้นกลุ่มนี้มากๆ อาจไม่อยากฟังก็ได้ ... ไม่ว่ากันครับ
----------------------------------------
...ทุกสิ่งล้วนเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ความรุ่งเรืองของธุรกิจค้าปลีกก็เช่นเดียวกัน ผมไม่อาจรับรองได้ว่าธุรกิจค้าปลีกจะ "เลิกดี" เมื่อไหร่ แต่ที่แน่ๆ ถ้าสรรพสิ่งในโลกใบนี้เป็นอนิจจัง (เป็นสิ่งไม่เที่ยง ย่อมมีวันแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา) เราก็จะได้เห็นวันที่ความเฟื่องฟูนี้จบลง
ทีนี้มันก็ขึ้นอยู่กับว่าจะจบแบบเบาๆ คือ อัตราการเติบโตค่อยๆ ลดลงทีละน้อยจนเหลือปีละ 3-4% พอๆ กับอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโดยรวมในระยะยาว (long term GDP growth) หรือว่าจะจบแบบแรงๆ คือ ทรุดลงมาแบบตกสวรรค์? อันนี้ผมก็ไม่แน่ใจนะครับ แต่ถ้าถามว่าทำไมถึงต้องมี "จุดจบ" ทำไมไม่เติบโตตลอดไป อย่างนี้ผมมีคำตอบให้
อย่างแรก คือ เรื่องของทำเล ผมขอให้ทุกคนลองหลับตาจินตนาการดูก่อน สมมติตัวเองว่าเป็น CEO หรือผู้จัดการใหญ่ของกิจการค้าปลีกซักราย ในช่วงแรกๆ ที่เราจะเปิดสาขาใหม่ เราจะเลือกทำเลตรงไหนครับ
แน่นอน เราคงจะเลือก "ทำเลที่ดีที่สุด" เป็นการเปิดเอาฤกษ์เอาชัย เลือกทำเลที่แน่ใจว่ามีกำลังซื้อสุดยอด คู่แข่งน้อย ฯลฯ ต่อเมื่อเปิดแล้วรอด ยอดขายดี เราถึงค่อยขยับไปเปิดสาขาอื่นในทำเลที่ดีรองๆ ลงไป ถูกไหมครับ นั่นแปลว่าทำเลที่ดีจะถูกใช้ก่อน และสาขาที่เปิดหลังก็จะได้ทำเลแย่ลงเรื่อยๆ ผมจึงมองว่าการเปิดสาขาเพิ่มแม้จะช่วยในเรื่อง economy of scale แต่มันก็ถูกหักลบด้วยทำเลที่แย่ลง ซึ่งถ้าบริษัทใดหลับหูหลับตาเปิดสาขามากๆ ในตอนท้ายพวกเขาก็จะต้องมานั่งปิดสาขาที่ไม่ทำกำไร
อย่างที่สอง ลองหันมาดูเรื่องของ economy of scale จริงอยู่ว่าการมีสาขามากขึ้นส่งผลให้มีการประหยัดอันเนื่องมาจากขนาด สาขาที่มากขึ้นอาจช่วยในการแชร์ต้นทุน เช่น เรามีต้นทุนคงที่เดือนละ 300,000 บาท ถ้าเปิด 3 สาขา ก็คิดเป็นต้นทุนเฉลี่ยสาขาละ 1 แสนบาท แต่ถ้าเปิด 30 สาขา ต้นทุนเฉลี่ยจะเหลือเพียง 1 หมื่นบาท
สิ่งที่ผมอยากชี้ให้เห็น คือ แม้เราจะเดินหน้าเปิดเพิ่มเป็น 60 สาขา ต้นทุนเฉลี่ยอาจลดลงเหลือ 5 พันบาทได้จริง แต่การลดจาก 10,000 บาทเหลือ 5,000 บาท ก็คงช่วยอะไรไม่ได้มาก ไม่เหมือนกับตอนเปิดสาขาแรกๆ พูดอีกอย่างก็คือ economy of scale สามารถทำงานได้ถึงระดับหนึ่ง แต่พอหลังจากนั้นแล้ว มันก็ไม่ได้ช่วยอะไรมากนัก ซึ่งเรื่องนี้ก็รวมไปถึงพลังในการต่อรองกับซับพลายเออร์ด้วยเช่นกัน
ธุรกิจค้าปลีกที่ทำหน้าที่เป็น "หน้าร้าน" สามารถต่อรองกับซับพลายเออร์ได้มากขึ้น หากว่ามีจำนวนยอดสั่งซื้อสินค้ามากๆ อย่างไรก็ตาม ซับพลายเออร์สามารถอดทนจนหน้าเขียวหน้าเหลืองได้แค่ระดับหนึ่งเท่านั้น เมื่อส่วนต่างกำไรของเขาถูกกัดกินไปจนไม่เหลือหลอ เขาก็อยู่ไม่ได้ ดังนั้นถ้าใครคิดว่าจะ "ผูกขาด" และโขกสับซับพลายเออร์ได้โดยไม่มีขีดจำกัดแล้วล่ะก็ ขอให้คิดเสียใหม่...
บทความเต็ม
http://www.monkeyfreetime.com/2013/06/blog-post.html
จุดจบของฟองสบู่หุ้นค้าปลีก
ก่อนหน้านี้ผมเคยแปะบทความยาวๆ แล้วระบบตั้งกระทู้ของพันทิปมันแฮ้งค์ไปเลยครับ คราวนี้ขอแปะแค่เรียกน้ำย่อยก็แล้วกัน แต่รับรองว่า "ฉะ" กับหุ้นค้าปลีกชนิดไม่เกรงใจใคร เพราะงั้นคนที่รักใคร่หุ้นกลุ่มนี้มากๆ อาจไม่อยากฟังก็ได้ ... ไม่ว่ากันครับ
----------------------------------------
...ทุกสิ่งล้วนเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ความรุ่งเรืองของธุรกิจค้าปลีกก็เช่นเดียวกัน ผมไม่อาจรับรองได้ว่าธุรกิจค้าปลีกจะ "เลิกดี" เมื่อไหร่ แต่ที่แน่ๆ ถ้าสรรพสิ่งในโลกใบนี้เป็นอนิจจัง (เป็นสิ่งไม่เที่ยง ย่อมมีวันแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา) เราก็จะได้เห็นวันที่ความเฟื่องฟูนี้จบลง
ทีนี้มันก็ขึ้นอยู่กับว่าจะจบแบบเบาๆ คือ อัตราการเติบโตค่อยๆ ลดลงทีละน้อยจนเหลือปีละ 3-4% พอๆ กับอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโดยรวมในระยะยาว (long term GDP growth) หรือว่าจะจบแบบแรงๆ คือ ทรุดลงมาแบบตกสวรรค์? อันนี้ผมก็ไม่แน่ใจนะครับ แต่ถ้าถามว่าทำไมถึงต้องมี "จุดจบ" ทำไมไม่เติบโตตลอดไป อย่างนี้ผมมีคำตอบให้
อย่างแรก คือ เรื่องของทำเล ผมขอให้ทุกคนลองหลับตาจินตนาการดูก่อน สมมติตัวเองว่าเป็น CEO หรือผู้จัดการใหญ่ของกิจการค้าปลีกซักราย ในช่วงแรกๆ ที่เราจะเปิดสาขาใหม่ เราจะเลือกทำเลตรงไหนครับ
แน่นอน เราคงจะเลือก "ทำเลที่ดีที่สุด" เป็นการเปิดเอาฤกษ์เอาชัย เลือกทำเลที่แน่ใจว่ามีกำลังซื้อสุดยอด คู่แข่งน้อย ฯลฯ ต่อเมื่อเปิดแล้วรอด ยอดขายดี เราถึงค่อยขยับไปเปิดสาขาอื่นในทำเลที่ดีรองๆ ลงไป ถูกไหมครับ นั่นแปลว่าทำเลที่ดีจะถูกใช้ก่อน และสาขาที่เปิดหลังก็จะได้ทำเลแย่ลงเรื่อยๆ ผมจึงมองว่าการเปิดสาขาเพิ่มแม้จะช่วยในเรื่อง economy of scale แต่มันก็ถูกหักลบด้วยทำเลที่แย่ลง ซึ่งถ้าบริษัทใดหลับหูหลับตาเปิดสาขามากๆ ในตอนท้ายพวกเขาก็จะต้องมานั่งปิดสาขาที่ไม่ทำกำไร
อย่างที่สอง ลองหันมาดูเรื่องของ economy of scale จริงอยู่ว่าการมีสาขามากขึ้นส่งผลให้มีการประหยัดอันเนื่องมาจากขนาด สาขาที่มากขึ้นอาจช่วยในการแชร์ต้นทุน เช่น เรามีต้นทุนคงที่เดือนละ 300,000 บาท ถ้าเปิด 3 สาขา ก็คิดเป็นต้นทุนเฉลี่ยสาขาละ 1 แสนบาท แต่ถ้าเปิด 30 สาขา ต้นทุนเฉลี่ยจะเหลือเพียง 1 หมื่นบาท
สิ่งที่ผมอยากชี้ให้เห็น คือ แม้เราจะเดินหน้าเปิดเพิ่มเป็น 60 สาขา ต้นทุนเฉลี่ยอาจลดลงเหลือ 5 พันบาทได้จริง แต่การลดจาก 10,000 บาทเหลือ 5,000 บาท ก็คงช่วยอะไรไม่ได้มาก ไม่เหมือนกับตอนเปิดสาขาแรกๆ พูดอีกอย่างก็คือ economy of scale สามารถทำงานได้ถึงระดับหนึ่ง แต่พอหลังจากนั้นแล้ว มันก็ไม่ได้ช่วยอะไรมากนัก ซึ่งเรื่องนี้ก็รวมไปถึงพลังในการต่อรองกับซับพลายเออร์ด้วยเช่นกัน
ธุรกิจค้าปลีกที่ทำหน้าที่เป็น "หน้าร้าน" สามารถต่อรองกับซับพลายเออร์ได้มากขึ้น หากว่ามีจำนวนยอดสั่งซื้อสินค้ามากๆ อย่างไรก็ตาม ซับพลายเออร์สามารถอดทนจนหน้าเขียวหน้าเหลืองได้แค่ระดับหนึ่งเท่านั้น เมื่อส่วนต่างกำไรของเขาถูกกัดกินไปจนไม่เหลือหลอ เขาก็อยู่ไม่ได้ ดังนั้นถ้าใครคิดว่าจะ "ผูกขาด" และโขกสับซับพลายเออร์ได้โดยไม่มีขีดจำกัดแล้วล่ะก็ ขอให้คิดเสียใหม่...
บทความเต็ม http://www.monkeyfreetime.com/2013/06/blog-post.html