นที่ 09 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ปีที่ 23 ฉบับที่ 8228 ข่าวสดรายวัน
อนาคต"แอร์พอร์ตลิงก์" ในอุ้งมือ"ประภัสร์-พีรกันต์"
คอลัมน์ รายงานพิเศษ
วิวาทะเดือด ระหว่าง นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศ ไทย (รฟท.) และ นายพีรกันต์ แก้ววงศ์วัฒนา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด (แอร์พอร์ตเรลลิงก์) สร้างความสนใจให้กับสังคมเป็นอย่างมาก
เพราะจู่ๆ ซีอีโอของแอร์พอร์ตลิงก์ ซึ่งเป็นเสมือนบริษัทลูก ก็เปิดฉากตำหนิ ผู้ว่าฯ รฟท. ผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานที่เปรียบเสมือนบริษัทแม่ ว่าเป็นสาเหตุทำให้แอร์พอร์ตลิงก์ถังแตก จนกำลัง จะไม่มีเงินเดือนจ่ายพนักงานในเดือนมิถุนายนนี้
น่าแปลกใจอย่างยิ่งทั้งที่นายพีรกันต์เข้ามารับตำแหน่งได้เพียง 10 วัน ก็ออกมาประกาศว่าแอร์พอร์ตลิงก์ไม่เหลือเงินงบประมาณที่จะจ่ายเงินเดือนพนักงานในเดือนมิ.ย. หลังจากได้นำทุนจดทะเบียนการจัดตั้งบริษัทจำนวน 140 ล้านบาท จ่ายให้กับพนักงานตลอดระยะเวลาที่ดำเนินงานมาประมาณ 2 ปี 8 เดือนที่ผ่านมา ในเดือนพ.ค.2556 จะเป็นเดือนสุดท้ายที่จ่ายเงินเดือนพนักงานได้
แถมยังซัดเต็มปากว่าสาเหตุที่บริษัท ถังแตกเป็นเพราะแต่ละปีแอร์พอร์ตลิงก์ต้องนำรายได้ทั้งหมดประมาณ 600 ล้านบาทต่อปี ส่งให้ รฟท.ตามข้อสัญญาจ้างเดินรถ แต่ รฟท.ไม่เคยแบ่งเงินค่าจ้างกลับมาให้บริษัทเพื่อจ่ายเงินเดือนให้พนักงานที่มีอยู่ 400 คนเลย ถ้า รฟท.ไม่ให้เงิน ก็ไม่สามารถรับรองอนาคตของพนักงานแอร์พอร์ตลิงก์ได้ว่าจะเป็นอย่างไร
พลันที่นายประภัสร์ทราบข่าวถึงกับควันออกหู ออกมาพูดกับสื่อว่า รู้สึกโกรธและไม่พอใจอย่างมากที่นายพีรกันต์ออกมาพูดเช่นนี้ เพราะทำให้พนักงานแอร์พอร์ตลิงก์เกิดความปั่นป่วน ระส่ำระสาย พร้อมยืนยันกับสื่อว่าที่นายพีรกันต์พูดนั้นไม่ใช่เรื่องจริง ทั้งเหน็บว่าพูดไปเพราะอยากได้คะแนนเสียงครองใจพนักงาน
ส่วนกรณีที่กล่าวหาว่า รฟท.ไม่ยอมโอนเงินเพื่อจ่ายเงินดือนพนักงานแอร์พอร์ตลิงก์นั้น นายประภัสร์ชี้แจงว่า อยู่ระหว่างแก้ไขสัญญาจ้างระหว่าง รฟท.กับแอร์พอร์ตลิงก์ เพื่อจะจ่ายเงิน 200 ล้านบาทให้นำไปใช้เป็นค่าบริหารจัดการภายในบริษัท เพราะสัญญาจ้างเดิมเป็นลักษณะการจ้างทำของ ซึ่งไม่สอดคล้องกับลักษณะงาน จึงต้องปรับเป็นสัญญาจ้างบริการ ซึ่งสอดคล้องมากกว่า พร้อมยืนยันว่าจะโอนเงินให้ทันจ่ายเงินเดือนให้พนักงานในเดือนมิ.ย.นี้แน่นอน
แต่การชี้แจงของนายประภัสร์ก็ไม่สามารถเบรกนายพีรกันต์ได้ เมื่อยังออกมาย้ำว่า แอร์พอร์ตลิงก์เจ๊งไม่มีเงินจ่ายพนักงาน
นั่นเท่ากับทำให้บาดแผลแห่งความขัดแย้งขยายกว้างออกไป ถึงขั้นทำให้นายประภัสร์ ฟิวส์ขาด และได้นำปัญหาและพฤติกรรมของนายพีรกันต์รายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการรฟท. และใช้มาตรการตอบโต้ ด้วยการส่งหนังสือภาคทัณฑ์ไปยังนายพีรกันต์ เพื่อ ตักเตือน ในฐานะที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมออกมาปล่อยข่าวอันเป็นเท็จ ให้พนักงานในองค์กรระส่ำ ระสายจนเกิดปัญหาภายในองค์กรโดยไม่จำเป็น
"ผมโกรธ และโมโหมาก ที่นายพีรกันต์ออกมาพูดเรื่องไม่จริง แล้วทำให้องค์กรปั่นป่วน ไม่รู้ว่าพูดแบบนี้ เพราะต้องการเป็นขวัญใจพนักงานหรืออย่างไร ทั้งที่เพิ่งเข้ามาทำงานได้ไม่กี่วัน คงคิดว่าที่นี่เป็นอาณาจักรของคุณแล้ว ที่ผ่านมาควรรู้ว่าอำนาจหน้าที่ของตัวเองคืออะไร" นาย ประภัสร์ระบุ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้หลายๆ ฝ่ายวิเคราะห์ว่า สาเหตุของวิวาทะเดือดครั้งนี้ อาจเกิดขึ้นจากประเด็นที่นายประภัสร์เสนอแนวคิดเรื่องการยุบรวมแอร์พอร์ตลิงก์กลับมาเป็นหน่วยธุรกิจ เพราะหากบอร์ด รฟท.มีความเห็นด้วย นายพีรกันต์จะต้องหลุดออกจากตำแหน่งซีอีโอทันที จึงต้องออกมาดับเครื่องชน ด้วยการแสดงความเห็นคัดค้านแบบสุดขั้ว เพื่อรักษาเก้าอี้ตัวเองเอาไว้
ในช่วงที่บอร์ด รฟท.ยังไม่ได้สรุปผลว่า จะยุบแอร์พอร์ตลิงก์หรือไม่ แต่การออกมาเปิดแผลแอร์พอร์ตลิงก์ใกล้เจ๊งเพราะ รฟท. ไม่ยอมจ่ายเงินเดือนของนายพีรกันต์ ผ่านสาธารณชน นัยว่าต้องการปรามๆ นายประภัสร์ ที่กำลังจะเลื่อยขาเก้าอี้ตัวเอง
เกมนี้หากมองเผินๆ ก็เหมือนกับเกมการแย่งชิงอำนาจของ 2 ฝ่าย แต่ความ ขัดแย้งภายในที่เกิดขึ้นครั้งนี้ ทำลาย ความเชื่อมั่นการทำงานภายในกระทรวงคมนาคมเป็นอย่างมาก
จนในที่สุด นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม ต้องออกมาหย่าศึก ยกหูไปพูดคุยทำความเข้าใจกับนายพีรกันต์ และนายประภัสร์
ส่วนเรื่องการยุบไม่ยุบแอร์พอร์ตลิงก์ ซึ่งหลายคนมองว่าเป็นต้นตอปัญหานั้น นาย ชัชชาติพูดชัดว่า เป็นเรื่องที่บอร์ด รฟท. และคณะรัฐมนตรี (ครม.) จะเป็นผู้พิจารณาตัดสินเอง
รวมทั้งมองว่ายังไม่ใช่ประเด็นเร่งด่วนที่รัฐบาลจะต้องพิจารณาในขณะนี้
นั่นเท่ากับว่าชัชชาติได้ส่งสัญญาณไปยังบอร์ด รฟท. ต้องพิจารณาข้อเสนอการยุบรวมแอร์พอร์ตลิงก์ด้วยความรอบคอบเป็นพิเศษและไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน เพราะข้อเสนอของนายประภัสร์ ตรงกันข้ามกับความเห็นของกระทรวงการคลัง ที่เสนอให้มีการแยกออกเป็นบริษัทลูก เพื่อความคล่องตัวในการบริหารงาน เนื่องจากที่ผ่านมา รฟท.ไม่มีประสบการณ์พอที่บริหารการเดินรถรถไฟฟ้าได้ด้วยตนเอง
คำพูดของนายชัชชาติ คงทำให้นาย พีรกันต์ใจชื้นขึ้น และช่วยลดกระแสความร้อนแรงกรณีปัญหานี้ได้พอสมควร
ต่อมาสถานการณ์เริ่มคลี่คลายโดยล่าสุด ทั้งผู้ว่าฯ นายประภัสร์ และ พีรกันต์ ก็ออกมาจูบปาก ตกลงเปิดแถลงข่าวเคลียร์ใจผ่านสื่อเป็นที่เรียบร้อย นายพีรกันต์ออกมายอมขอโทษเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และให้คำมั่นสัญญาต่อจากนี้ จะดำเนินการเรื่องอะไรก็จะหารือกับนายประภัสร์ก่อน ส่วนการยุบรวมเป็นหน่วยธุรกิจ ไม่ใช่อำนาจของตน เป็นเป็นเรื่องระดับนโยบาย ตนจะปฏิบัติงานในหน้าให้ดีที่สุด และจะกระตุ้นให้พนักงานทำงานเพื่อให้รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์มีบริการที่ดี คือปลอดภัย ตรงเวลา ประหยัด และสะดวกสบาย
พร้อมบอกว่าหากมีการยุบแอร์พอร์ตลิงก์ ตนก็ยินดีน้อมรับ เพราะไม่ได้ยึดติดกับตำแหน่ง แต่ก็ยังยืนยันว่าไม่เห็นด้วยกับการยุบรวม โดยได้เสนอความแตกต่างไปแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ระดับนโยบายเป็น ผู้พิจารณา
ขณะที่นายประภัสร์แสดงความพอใจที่นายพีรกันต์ยอมขอโทษ โดยประกาศผ่านสื่อว่าจะก้าวข้ามไป ปัญหาวิวาทะเดือดเรื่องบริษัทเจ๊ง ไม่มีเงินเดือนพนักงานไป จะ เดินหน้าร่วมกันทำงานต่อไป
ส่วนประเด็นการยุบรวมแอร์พอร์ตลิงก์ นายประภัสร์ก็ยังคงจุดยืนเดิมว่าจำเป็นต้องยุบรวมแอร์พอร์ตลิงก์เพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ เพราะการยุบมารวมเป็นหน่วยธุรกิจของ รฟท. จะเป็นองค์ความรู้เพื่อต่อยอดการเดินรถไฟความเร็วสูงได้ และยืนยันว่าแนวคิดนี้มีมาก่อนที่นาย พีรกันต์จะเข้ามารับตำแหน่ง ไม่ได้คิดจะกลั่นแกล้งแต่อย่างใด เพราะไม่ได้มีปัญหาส่วนตัวระหว่างกันมาก่อน
แม้ทั้งคู่จะออกมาบอกว่าความขัดแย้งยุติ แต่ถ้ามองถึงแนวนโยบายการบริหารงานของทั้งสองคนจะเห็นชัดเจนว่ามีความเห็นที่ต่างกัน โดยเฉพาะการยุบ หรือไม่ยุบรวมแอร์พอร์ตลิงก์ ซึ่งคงต้องรอให้รัฐบาลเป็นผู้ฟันธง
แต่ในระหว่างที่ยังไม่มีความชัดเจนด้านนโยบาย การบริหารภายในแอร์พอร์ตลิงก์จะเดินไปอย่างไร พนักงานจะฟังและปฏิบัติตามฝ่ายไหน อย่างไร เป็นเรื่องที่น่าปวดหัว
และยิ่งบั่นทอนภาพลักษณ์ที่ย่ำแย่ของการบริหารงานในแอร์พอร์ตลิงก์ไปอีกนานแค่ไหนไม่มีใครตอบได้
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFkyOHlOVEE1TURZMU5nPT0=§ionid=TURNd05RPT0=&day=TWpBeE15MHdOaTB3T1E9PQ==
อนาคต"แอร์พอร์ตลิงก์" ในอุ้งมือ"ประภัสร์-พีรกันต์" .......................วิวาทะเดือด อะไร คือ ต้นเหตุลมออกหู
อนาคต"แอร์พอร์ตลิงก์" ในอุ้งมือ"ประภัสร์-พีรกันต์"
คอลัมน์ รายงานพิเศษ
วิวาทะเดือด ระหว่าง นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศ ไทย (รฟท.) และ นายพีรกันต์ แก้ววงศ์วัฒนา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด (แอร์พอร์ตเรลลิงก์) สร้างความสนใจให้กับสังคมเป็นอย่างมาก
เพราะจู่ๆ ซีอีโอของแอร์พอร์ตลิงก์ ซึ่งเป็นเสมือนบริษัทลูก ก็เปิดฉากตำหนิ ผู้ว่าฯ รฟท. ผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานที่เปรียบเสมือนบริษัทแม่ ว่าเป็นสาเหตุทำให้แอร์พอร์ตลิงก์ถังแตก จนกำลัง จะไม่มีเงินเดือนจ่ายพนักงานในเดือนมิถุนายนนี้
น่าแปลกใจอย่างยิ่งทั้งที่นายพีรกันต์เข้ามารับตำแหน่งได้เพียง 10 วัน ก็ออกมาประกาศว่าแอร์พอร์ตลิงก์ไม่เหลือเงินงบประมาณที่จะจ่ายเงินเดือนพนักงานในเดือนมิ.ย. หลังจากได้นำทุนจดทะเบียนการจัดตั้งบริษัทจำนวน 140 ล้านบาท จ่ายให้กับพนักงานตลอดระยะเวลาที่ดำเนินงานมาประมาณ 2 ปี 8 เดือนที่ผ่านมา ในเดือนพ.ค.2556 จะเป็นเดือนสุดท้ายที่จ่ายเงินเดือนพนักงานได้
แถมยังซัดเต็มปากว่าสาเหตุที่บริษัท ถังแตกเป็นเพราะแต่ละปีแอร์พอร์ตลิงก์ต้องนำรายได้ทั้งหมดประมาณ 600 ล้านบาทต่อปี ส่งให้ รฟท.ตามข้อสัญญาจ้างเดินรถ แต่ รฟท.ไม่เคยแบ่งเงินค่าจ้างกลับมาให้บริษัทเพื่อจ่ายเงินเดือนให้พนักงานที่มีอยู่ 400 คนเลย ถ้า รฟท.ไม่ให้เงิน ก็ไม่สามารถรับรองอนาคตของพนักงานแอร์พอร์ตลิงก์ได้ว่าจะเป็นอย่างไร
พลันที่นายประภัสร์ทราบข่าวถึงกับควันออกหู ออกมาพูดกับสื่อว่า รู้สึกโกรธและไม่พอใจอย่างมากที่นายพีรกันต์ออกมาพูดเช่นนี้ เพราะทำให้พนักงานแอร์พอร์ตลิงก์เกิดความปั่นป่วน ระส่ำระสาย พร้อมยืนยันกับสื่อว่าที่นายพีรกันต์พูดนั้นไม่ใช่เรื่องจริง ทั้งเหน็บว่าพูดไปเพราะอยากได้คะแนนเสียงครองใจพนักงาน
ส่วนกรณีที่กล่าวหาว่า รฟท.ไม่ยอมโอนเงินเพื่อจ่ายเงินดือนพนักงานแอร์พอร์ตลิงก์นั้น นายประภัสร์ชี้แจงว่า อยู่ระหว่างแก้ไขสัญญาจ้างระหว่าง รฟท.กับแอร์พอร์ตลิงก์ เพื่อจะจ่ายเงิน 200 ล้านบาทให้นำไปใช้เป็นค่าบริหารจัดการภายในบริษัท เพราะสัญญาจ้างเดิมเป็นลักษณะการจ้างทำของ ซึ่งไม่สอดคล้องกับลักษณะงาน จึงต้องปรับเป็นสัญญาจ้างบริการ ซึ่งสอดคล้องมากกว่า พร้อมยืนยันว่าจะโอนเงินให้ทันจ่ายเงินเดือนให้พนักงานในเดือนมิ.ย.นี้แน่นอน
แต่การชี้แจงของนายประภัสร์ก็ไม่สามารถเบรกนายพีรกันต์ได้ เมื่อยังออกมาย้ำว่า แอร์พอร์ตลิงก์เจ๊งไม่มีเงินจ่ายพนักงาน
นั่นเท่ากับทำให้บาดแผลแห่งความขัดแย้งขยายกว้างออกไป ถึงขั้นทำให้นายประภัสร์ ฟิวส์ขาด และได้นำปัญหาและพฤติกรรมของนายพีรกันต์รายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการรฟท. และใช้มาตรการตอบโต้ ด้วยการส่งหนังสือภาคทัณฑ์ไปยังนายพีรกันต์ เพื่อ ตักเตือน ในฐานะที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมออกมาปล่อยข่าวอันเป็นเท็จ ให้พนักงานในองค์กรระส่ำ ระสายจนเกิดปัญหาภายในองค์กรโดยไม่จำเป็น
"ผมโกรธ และโมโหมาก ที่นายพีรกันต์ออกมาพูดเรื่องไม่จริง แล้วทำให้องค์กรปั่นป่วน ไม่รู้ว่าพูดแบบนี้ เพราะต้องการเป็นขวัญใจพนักงานหรืออย่างไร ทั้งที่เพิ่งเข้ามาทำงานได้ไม่กี่วัน คงคิดว่าที่นี่เป็นอาณาจักรของคุณแล้ว ที่ผ่านมาควรรู้ว่าอำนาจหน้าที่ของตัวเองคืออะไร" นาย ประภัสร์ระบุ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้หลายๆ ฝ่ายวิเคราะห์ว่า สาเหตุของวิวาทะเดือดครั้งนี้ อาจเกิดขึ้นจากประเด็นที่นายประภัสร์เสนอแนวคิดเรื่องการยุบรวมแอร์พอร์ตลิงก์กลับมาเป็นหน่วยธุรกิจ เพราะหากบอร์ด รฟท.มีความเห็นด้วย นายพีรกันต์จะต้องหลุดออกจากตำแหน่งซีอีโอทันที จึงต้องออกมาดับเครื่องชน ด้วยการแสดงความเห็นคัดค้านแบบสุดขั้ว เพื่อรักษาเก้าอี้ตัวเองเอาไว้
ในช่วงที่บอร์ด รฟท.ยังไม่ได้สรุปผลว่า จะยุบแอร์พอร์ตลิงก์หรือไม่ แต่การออกมาเปิดแผลแอร์พอร์ตลิงก์ใกล้เจ๊งเพราะ รฟท. ไม่ยอมจ่ายเงินเดือนของนายพีรกันต์ ผ่านสาธารณชน นัยว่าต้องการปรามๆ นายประภัสร์ ที่กำลังจะเลื่อยขาเก้าอี้ตัวเอง
เกมนี้หากมองเผินๆ ก็เหมือนกับเกมการแย่งชิงอำนาจของ 2 ฝ่าย แต่ความ ขัดแย้งภายในที่เกิดขึ้นครั้งนี้ ทำลาย ความเชื่อมั่นการทำงานภายในกระทรวงคมนาคมเป็นอย่างมาก
จนในที่สุด นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม ต้องออกมาหย่าศึก ยกหูไปพูดคุยทำความเข้าใจกับนายพีรกันต์ และนายประภัสร์
ส่วนเรื่องการยุบไม่ยุบแอร์พอร์ตลิงก์ ซึ่งหลายคนมองว่าเป็นต้นตอปัญหานั้น นาย ชัชชาติพูดชัดว่า เป็นเรื่องที่บอร์ด รฟท. และคณะรัฐมนตรี (ครม.) จะเป็นผู้พิจารณาตัดสินเอง
รวมทั้งมองว่ายังไม่ใช่ประเด็นเร่งด่วนที่รัฐบาลจะต้องพิจารณาในขณะนี้
นั่นเท่ากับว่าชัชชาติได้ส่งสัญญาณไปยังบอร์ด รฟท. ต้องพิจารณาข้อเสนอการยุบรวมแอร์พอร์ตลิงก์ด้วยความรอบคอบเป็นพิเศษและไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน เพราะข้อเสนอของนายประภัสร์ ตรงกันข้ามกับความเห็นของกระทรวงการคลัง ที่เสนอให้มีการแยกออกเป็นบริษัทลูก เพื่อความคล่องตัวในการบริหารงาน เนื่องจากที่ผ่านมา รฟท.ไม่มีประสบการณ์พอที่บริหารการเดินรถรถไฟฟ้าได้ด้วยตนเอง
คำพูดของนายชัชชาติ คงทำให้นาย พีรกันต์ใจชื้นขึ้น และช่วยลดกระแสความร้อนแรงกรณีปัญหานี้ได้พอสมควร
ต่อมาสถานการณ์เริ่มคลี่คลายโดยล่าสุด ทั้งผู้ว่าฯ นายประภัสร์ และ พีรกันต์ ก็ออกมาจูบปาก ตกลงเปิดแถลงข่าวเคลียร์ใจผ่านสื่อเป็นที่เรียบร้อย นายพีรกันต์ออกมายอมขอโทษเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และให้คำมั่นสัญญาต่อจากนี้ จะดำเนินการเรื่องอะไรก็จะหารือกับนายประภัสร์ก่อน ส่วนการยุบรวมเป็นหน่วยธุรกิจ ไม่ใช่อำนาจของตน เป็นเป็นเรื่องระดับนโยบาย ตนจะปฏิบัติงานในหน้าให้ดีที่สุด และจะกระตุ้นให้พนักงานทำงานเพื่อให้รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์มีบริการที่ดี คือปลอดภัย ตรงเวลา ประหยัด และสะดวกสบาย
พร้อมบอกว่าหากมีการยุบแอร์พอร์ตลิงก์ ตนก็ยินดีน้อมรับ เพราะไม่ได้ยึดติดกับตำแหน่ง แต่ก็ยังยืนยันว่าไม่เห็นด้วยกับการยุบรวม โดยได้เสนอความแตกต่างไปแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ระดับนโยบายเป็น ผู้พิจารณา
ขณะที่นายประภัสร์แสดงความพอใจที่นายพีรกันต์ยอมขอโทษ โดยประกาศผ่านสื่อว่าจะก้าวข้ามไป ปัญหาวิวาทะเดือดเรื่องบริษัทเจ๊ง ไม่มีเงินเดือนพนักงานไป จะ เดินหน้าร่วมกันทำงานต่อไป
ส่วนประเด็นการยุบรวมแอร์พอร์ตลิงก์ นายประภัสร์ก็ยังคงจุดยืนเดิมว่าจำเป็นต้องยุบรวมแอร์พอร์ตลิงก์เพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ เพราะการยุบมารวมเป็นหน่วยธุรกิจของ รฟท. จะเป็นองค์ความรู้เพื่อต่อยอดการเดินรถไฟความเร็วสูงได้ และยืนยันว่าแนวคิดนี้มีมาก่อนที่นาย พีรกันต์จะเข้ามารับตำแหน่ง ไม่ได้คิดจะกลั่นแกล้งแต่อย่างใด เพราะไม่ได้มีปัญหาส่วนตัวระหว่างกันมาก่อน
แม้ทั้งคู่จะออกมาบอกว่าความขัดแย้งยุติ แต่ถ้ามองถึงแนวนโยบายการบริหารงานของทั้งสองคนจะเห็นชัดเจนว่ามีความเห็นที่ต่างกัน โดยเฉพาะการยุบ หรือไม่ยุบรวมแอร์พอร์ตลิงก์ ซึ่งคงต้องรอให้รัฐบาลเป็นผู้ฟันธง
แต่ในระหว่างที่ยังไม่มีความชัดเจนด้านนโยบาย การบริหารภายในแอร์พอร์ตลิงก์จะเดินไปอย่างไร พนักงานจะฟังและปฏิบัติตามฝ่ายไหน อย่างไร เป็นเรื่องที่น่าปวดหัว
และยิ่งบั่นทอนภาพลักษณ์ที่ย่ำแย่ของการบริหารงานในแอร์พอร์ตลิงก์ไปอีกนานแค่ไหนไม่มีใครตอบได้
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFkyOHlOVEE1TURZMU5nPT0=§ionid=TURNd05RPT0=&day=TWpBeE15MHdOaTB3T1E9PQ==