แนวทาง เป็นคุณ แปรศัสตรา สู่แพรพรรณ อนาคต ประเทศ .....วิเคราะห์....มติชนออนไลน์

กระทู้สนทนา
ไม่เพียงแต่ นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล จะนำทีมโครงการบริหารทรัพยากรน้ำและอุทกภัยเข้าพบ
และขอคำปรึกษาจาก ป.ป.ช.

หาก นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ ยังเล่นบท "ท้าวมาลีวราช" นั่งตรงกลางระหว่าง นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กับ นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท

ยกทำเนียบรัฐบาลเป็นเหมือน "เวทีกลาง"

แม้ที่ ป.ป.ช. นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธาน ป.ป.ช. จะแถลงด้วยน้ำเสียงขึงขัง "การหารือครั้งนี้
ไม่ได้หมายความว่า ป.ป.ช.จะไปรับรองโครงการทั้งหมดว่าถูกต้อง เราทำไม่ได้และ ป.ป.ช.จะไม่ส่งตัว
แทนเข้าไปพิจารณาโครงการร่วมกับรัฐบาล"

แต่ก็ยังดีกว่าการตั้งป้อมค่ายระหว่างกันและกัน

เหมือนกับภาพที่ปรากฏระหว่าง นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ กับ นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ
บทสรุปที่ออกมาตรงกัน

นั่นคือ หากถือว่าเป็นชัยชนะก็คือชัยชนะของประชาชน เพราะในที่สุด คนที่จะได้ประโยชน์คือประชาชน

นี่ย่อมเป็น "จุดร่วม" ในลักษณะ "สมารมณ์"



ความจริงแล้ว ก่อนหน้าการหันหน้าเข้าหากันระหว่างกระทรวงสาธารณสุขกับแพทย์ชนบท
ระหว่างการตั้งป้อมของ ป.ป.ช.กับโครงการบริหารทรัพยากรน้ำและอุทกภัยเคยมี "ตัวอย่าง"
ดีมาให้เป็น "บทเรียน" แล้ว

ตัวอย่าง 1 คือท่าทีของ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งมีบทบาท
อย่างสูงในการเสนอร่าง พ.ร.บ.การให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
ด้านคมนาคมของประเทศ เป็นท่าทีอัน 2 มือพนมไปทุกทิศ ไม่ว่าภาคีเครือข่ายต่อต้านทุจริต
คอร์รัปชั่นภาคเอกชน ก็เดินเข้าหาและพร้อมลงสัตยาบันเป็นสัญญาประชาคม

ไม่ว่าคำถามอันมาจากฝ่ายค้าน ก็ไม่เคยปฏิเสธที่จะชี้แจงที่จะตอบท่าทีของ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์
ทำให้เกิดความเข้าใจอย่างถ้วนทั่วและลดคลายความหวาดระแวงลงเป็นลำดับ



แม้จำนวนเงินจะสูงถึง 2.2 ล้านล้านบาท จึงมิได้เป็นเรื่องอันชวนให้ขัดเขินแต่อย่างใด หากโครงการ
บริหารจัดการน้ำและอุทกภัยจะอาศัยความสำเร็จนี้มาเป็นบทเรียนแปร "ศัสตรา" เป็น "แพรพรรณ"



ทุกอย่างไม่น่าจะเป็นปัญหา ไม่น่าจะเป็นอุปสรรค หากดำเนินไปบนพื้นฐานทางความคิดดังที่
นายธงทอง จันทรางศุ กรรมการคนหนึ่งแห่งโครงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและอุทกภัยกล่าว นั่นก็คือ

"คณะกรรมการได้ดำเนินการตามกรอบที่ ป.ป.ช.เสนอแนะมาจึงมารายงานให้ทราบและหารือว่ามี
ข้อบกพร่องอะไรที่ต้องปรับแก้หรือไม่ เพราะรัฐบาลและ ป.ป.ช.มีเป้าหมายเดียวกัน คือต้องการ
ใช้เงินภาษีของประชาชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ต้องการให้มีการรั่วไหล"

เมื่อรัฐบาลก็คิดเช่นนี้ย่อมตรงกับแนวทางของ ป.ป.ช.

เมื่อชมรมแพทย์ชนบทก็คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชน จึงไม่มีอะไรที่ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์
ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข จะต้องกังวล

เมื่อทุกอย่างล้วนเอาประชาชนเป็นศูนย์กลาง เอาประชาชนเป็นเป้าหมาย

ไม่ว่าเรื่องโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศล้วนทำให้โปร่งใสได้ ไม่ว่าโครงการ
บริหารจัดการทรัพยากรน้ำและอุทกภัยล้วนทำให้วางแบ ณ เบื้องหน้าประชาชนได้ ไม่จำเป็นต้องปิดบัง
ไม่จำเป็นต้องลับๆ ล่อๆ

กระบวนการในแบบของ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ น่าส่งเสริมน่าสนับสนุน กระบวนการในแบบของ
นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล น่าส่งเสริมน่าสนับสนุน

ขจัด "ปัญหา" เดินหน้า "โครงการ"



คํากล่าวในกาลอดีตของ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายกรัฐมนตรี เมื่อปี 2522-2523 น่าศึกษา

"เราไม่มีเวลาจะทะเลาะกัน"

เพราะหากยังมัวแต่ทะเลาะ ยังมัวแต่ตั้งป้อมค่ายเข้าต่อตีกันโอกาสของการพัฒนาประเทศ
โอกาสของการเดินหน้าก็งันชะงัก หรือต้องหยุดและถอยหลัง

ไม่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ ไม่เป็นคุณต่อประชาชน

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1370669637&grpid=&catid=02&subcatid=0200


แบบนี้ไง ....ที่เขาเรียกว่า  การเมืองคือการประสานประโยชน์  ไม่ใช่เอาแต่
ด่าทอ  กล่าวหา  เสียดสี   ถากถางกัน  
ชืนชมคุณ สุรนันท์ เวชชาชีวะ   นักการเมืองท่านนี้  ดีใจที่รัฐบาลนี้มีคนดีๆ มาช่วยทำงาน

กระทู้  ...  อวยปู ....    มีเรื่องดีๆ  ก็ต้องเอามาบอกกัน
     หัวเราะ


สาวแว่น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่