คาด3ปี 'โลมาอิรวดี' ทะเลสาบสงขลา สูญพันธุ์

กระทู้ข่าวMr.H หงอยMr.H หงอยMr.H หงอย


ทช.คาดอีก 3 ปีโลมาอิรวดีน้ำจืดทะเลสาบสงขลาสูญพันธุ์แน่ หลังพบตายเฉลี่ย 5 ตัวต่อปี เหลือทั้งฝูงแค่ 15 ตัว


ปัญหาขยะในทะเล กำลังกลายเป็นสิ่งที่คร่าชีวิตสัตว์ทะเลหายากที่อาศัยในมหาสมุทรทั่วโลก จนองค์การสหประชาชาติ ต้องประกาศให้ทุกวันที่ 8 มิ.ย. ของทุกปีเป็นวันทะเลโลก เพื่อกระตุ้นให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้ตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรทางทะเลขึ้น โดยปีนี้กรมทรัพยากรทางทะเลและชาย ฝั่ง (ทช.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เปิดเผยถึงสถาน การณ์ภัยคุกคามของกลุ่มสัตว์ทะเลหายากในน่านน้ำไทยขึ้น โดยมีตัวเลขที่น่าตกใจว่าโลมาอิรวดีจำนวน 15 ตัวที่อาศัยในทะเลสาบสงขลาของไทยอาจจะสูญพันธ์ุภายในอีก 1-2 ปีข้างหน้า เช่นเดียวกับพะยูนในทะเลตรังก็ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว

นายก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ หัวหน้ากลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพนากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน จังหวัดภูเก็ต กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เผยว่า ปัจจุบันสัตว์ทะเลหายากของ ไทย มีจำนวนลดลงอย่างต่อนื่อง โดยจากสถิติในช่วง 10 ปีระหว่าง 2546-2555 ซึ่งพบสัตว์ทะเลเกยตื้นรวมทั้งสิ้น 1,539 ตัว ได้แก่ เต่าทะเล 509 ตัวเฉลี่ยปีละ 12 ตัวหรือร้อยละ 33 ปลาโลมาและวาฬ 907 ตัว หรือเฉลี่ยปีละ91 ตัวหรือร้อยละ 59 ส่วนพะยูน 123 ตัว หรือปีละ 51 ตัวหรือคิดเป็นร้อยละ 8 ซึ่งใน 3 กลุ่มนี้มีตัวเลขสถิติที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากการได้รับแจ้งข่าวสารจากคนและความตระหนักในการรับรู้ของชุมชนชายฝั่งมีมากขึ้น อย่างไรก็ตาม น่ากังวลส่วนใหญ่เมื่อมีการแจ้งว่าพบสัตว์ทะเลหายากพวกนี้เข้ามาเกยตื้น มักจะได้รับบาดเจ็บ และตายมากกว่ายังมีชีวิตอยู่

นักวิชาการ กล่าวอีกว่า ส่วนสาเหตุหลักที่ทำให้สัตว์ทะเลตายยังคงมาจากกิจกรรมการประมง โดยพบว่าพะยูนเป็นกลุ่มที่ติดเครื่องมือประมงสูงถึง 89% และมักจะตายในระหว่างการรักษาถึง 20% ส่วนกลุ่มเต่าทะเล เช่น เต่าตนุ พบติดเครื่องมือประมงสูงถึง74% กินขยะ2% และติดป่วย22% แต่ส่วนใหญ่จะตายระหว่างการรักษา 20% เช่นกัน แต่หากรอดชีวิตแต่จะพิการไม่สามารถปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ 11% เช่นเดียวกับกลุ่มโลมา ที่ติดเครื่องมือประมง 30% กินขยะ 3% และมักจะตายในระหว่างการรักษาถึง 75%

" ในภาพรรวม75% ของสัตว์ที่มาเกยตื้นมักจะตาย ดังนั้นแนวทางแก้ป้ญหาสำคัญคือต้องลดภัยคุกคามจากเครื่องมือประมง รวมทั้งต้องลดปริมาณขยะและน้ำเสียที่ปล่อยลงทะเล ซึ่งพบว่าเป็นปัญหาใหญ่ของทะเลทั่วโลกที่ต้องเผชิญกับประมาณขยะถึงวันละ 8 ล้านชิ้นหรือราว 1 ตร.กม.ต่อปริมาณขยะ 1 แสนชิ้นที่เป็นสาเหตุอันดับรองที่เรามักจะเจอในท้องของโลมา เต่าที่มีทั้งถุงพลาสติก เศษอวน ดังนั้นจึงต้องขอความร่วมมือกับชุมชนอยู่ริมฝั่ง ปากแม่น้ำ และในชายหาดท่องเที่ยวต้องช่วยกันเก็บและลดปริมาณขยะอันตรายเหล่านี้" นายก้องเกียรติ กล่าว

นอกจากนี้ หัวหน้ากลุ่มสัตว์ทะเลหายาก ทช. ยังแสดงความเป็นห่วงต่อประชากรโลมาอิรวดี ในทะเลสาบสงขลาว่า เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อย่างมาก ทั้งนี้จากการสำรวจล่าสุดของทช.ในปีนี้พบว่าเหลือเพียงแค่15 ตัวเท่านั้นและพบว่ามีแนวโน้มการตายสูงถึงปีละ 5 ตัว ดังนั้นคาดว่าอีห 3-5 ปีถ้ายังไม่สามารถลดอันตราการตายลง โลมาอิรวดีน้ำจืดในทะเลสาบที่ถือว่าเป็น 1ใน5 ของโลกจะสูญพันธ์ุลง หากไม่มีการอนุรักษ์ที่ดีพอ ซึ่งตอนนี้ทช.อยู่ระหว่างศึกษาร่วมกับชุมชนให้ร่วมกันอนุรักษ์ ขณะเดียวกันในส่วนของประชากรพะยูนจังหวัดตรัง ที่นับว่าเป็น ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทยก็พบแนวโน้มน่าเป็นห่วง เพราะในช่วง 3 ปีที่ผ่านมามีอัตราการตาย 10 ตัวต่อปีจนปัจจุบันเหลือเพียง125 ตัวเท่านั้น


http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/life/20130603/509025/%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%943%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%8D%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C.html
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่