26 ธันวาคม 2019
มาเรียม-ยามีล พะยูนน้อยผู้ปลุกกระแสอนุรักษ์ทะเลไทย
“มาเรียม” ลูกพะยูนเพศเมียขึ้นเกยตื้นใน จ.กระบี่ ช่วงปลายเดือน เม.ย. มันได้รับความช่วยเหลือจากชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ก่อนจะถูกเคลื่อนย้ายมายังเกาะลิบง จ.ตรัง มาเรียมนับเป็นลูกพะยูนตัวแรกที่มีมนุษย์เป็นแม่นมและได้รับการอนุบาลในพื้นที่เปิดใกล้ชายฝั่ง จนกลายเป็นขวัญใจของเจ้าหน้าที่และประชาชนที่หลงใหลในความน่ารักของเจ้าลูกพะยูน
แต่อาการป่วยของมันก็ทรุดลงเรื่อย ๆ และจากไปในวันที่ 17 ส.ค. ทำให้แฟนคลับของมาเรียมใจสลาย การผ่าพิสูจน์ซากพบเศษพลาสติกขนาดเล็ก 8-10 เซนติเมตร จำนวน 8 ชิ้นขวางลำไส้ ส่งผลให้เกิดการอุดตันที่ปลายลำไส้และมีแก๊สสะสมในทางเดินอาหาร
ก่อนหน้าที่มาเรียมจะตายไม่นาน มีลูกพะยูนอีกตัวหนึ่งเกยตื้นและได้รับการช่วยเหลือใน จ.กระบี่ มันเป็นลูกเพศผู้ อายุแค่ประมาณ 3 เดือน ซึ่งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงพระราชทานชื่อว่า “ยามีล”
พะยูนยามีลเป็นที่ชื่นชอบของบรรดาคนรักสัตว์ไม่แพ้มาเรียม แต่ไม่นานนักทีมสัตวแพทย์พบว่ายามีลมีอาการเกร็งท้อง เอ็กซเรย์พบลำไส้เล็กมีการสะสมของแก๊สจำนวนมาก และมีหญ้าทะเลอุดตันในกระเพาะอาหาร ยามีลอาการแย่ลงเรื่อย จนท้ายสุดวันที่ 22 ส.ค. พะยูนน้อยเกิดภาวะช็อก หัวใจหยุดเต้น และตายหลังจากมาเรียมไม่ถึงสัปดาห์ สร้างความสะเทือนใจซ้ำสองให้กับผู้ที่ติดตาม
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งรายงานว่าในรอบปี 2562 มีพะยูนเกยตื้นตายมากถึง 23 ตัว นับเป็นจำนวนที่มากที่สุดในรอบหลายปี สาเหตุหลักมาจากกิจกรรมของมนุษย์ รองลงมาคือการเจ็บป่วยโดยธรรมชาติ
การตายของพะยูน โดยเฉพาะลูกพะยูนมาเรียมและยามีลทำให้เจ้าหน้าที่ อาสาสมัครและคนทั่วไปเศร้าใจอย่างมาก แต่พวกมันก็ได้ปลุกกระแสอนุรักษ์ทะเลไทยให้กลับมามีชีวิตชีวา ประเด็นเรื่องการอนุรักษ์พะยูน การลดขยะพลาสติก การลดผลกระทบของการทำประมงต่อสัตว์ทะเล ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอีกครั้ง ชุมชนท้องถิ่นหันมาร่วมมือกับรัฐในการดูแลทะเลควบคุมการทำประมงในเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำ ตรวจสอบการใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมาย ตลอดจนการเพิ่มพื้นที่หญ้าทะเล
นอกจากพะยูนแล้วปีที่ผ่านมายังสูญเสียสัตว์ทะเลอีกหลายเหตุการณ์ เช่น วันที่ 2 ม.ค. พบวาฬความยาวกว่า 10 เมตรเกยตื้นตายบนหาดแหลมตะลุมพุก จ.นครศรีธรรมราช และต่อมาในวันที่ 28 พ.ค. พบซากวาฬบรูด้า เพศเมีย ยาว 10 เมตรในฝังอ่าวไทย
(
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10157565422112752&set=a.161811767751&type=3&theater)
ความตายของช่วงช่วง ปิดตำนานเรียลลิตี้แพนด้า
(AFP ช่วงช่วง แพนด้ายักษ์เพศผู้ เกิดเมื่อปี 2543 ที่ศูนย์วิจัยและอนุรักษ์แพนด้ายักษ์ เขตอนุรักษ์วู่หลง เมืองเฉินตู มณฑลเสฉวนสาธารณรัฐประชาชนจีน เดินทางมาถึงไทยเมื่อปี 2546)
การเดินทางมาถึงของ “ช่วงช่วง” และ “หลินฮุ่ย” แพนด้ายักษ์ที่รัฐบาลจีนมอบให้ไทยจัดแสดงที่สวนสัตว์เชียงใหม่ในฐานะทูตสันถวไมตรีเมื่อปี 2546 ทำให้เกิดกระแสแพนด้าฟีเวอร์ในเมืองไทยยิ่งเมื่อถึงช่วงวัยเจริญพันธุ์ ทุกคนต่างเฝ้าลุ้นทั้งคู่จนให้กำเนิดลูกน้อยที่ได้ชื่อว่า “หลินปิง” ที่ทำให้ความนิยมแพนด้าเพิ่มขึ้นถึงขั้นมีรายการถ่ายทอดสดชีวิตครอบครัวแพนด้าตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ว่าจะนอน เดิน มุดใต้โต๊ะ กินใบไผ่ ก็ดูจะน่ารักถูกใจเหล่าคนรักสัตว์ไปเสียหมด ยังไม่นับนักท่องเที่ยวจำนวนมากที่เดินทางไปเยี่ยมครอบครัวแพนด้ายักษ์ที่สวนสัตว์เชียงใหม่ตลอด 10 กว่าปีที่ผ่านมา
แต่แล้วในวันที่ 16 ก.ย. คนไทยก็ได้รับแจ้งข่าวร้ายว่าช่วงช่วงได้ตายลงอย่างกะทันหัน โดยนายวุฒิชัย ม่วงมัน ผอ. สวนสัตว์เชียงใหม่และทีมสัตวแพทย์แถลงข่าวว่า เจ้าหน้าที่เลี้ยงอาหารช่วงช่วงตามปกติในเวลาประมาณ 15.00 น. ต่อมาในเวลาราว 16.28 น. ช่วงช่วงได้ลุกขึ้นเดินมีอาการเดินเซไปมาและสะบัดคอ ก่อนล้มลงภายในส่วนจัดแสดงและไม่ลุกขึ้นมาอีก ซึ่งเจ้าหน้าที่ให้การช่วยเหลือแต่ไม่สามารถยื้อชีวิตไว้ได้
ต่อมาทางสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ส่งคณะผู้เชี่ยวชาญเพื่อสืบหาสาเหตุการตาย พบภาวะหัวใจล้มเหลว ส่งผลให้อวัยวะภายในทั่วร่างกายขาดออกซิเจน โดยไม่พบบาดแผลภายนอก หรือสิ่งแปลกปลอมในหลอดลมแต่อย่างใด
การสูญเสียช่วงช่วงในครั้งนี้จึงน่าเศร้ามาก และไม่รู้ว่าจะมีโอกาสต้อนรับแพนด้าตัวใหม่อีกเมื่อไหร่ ด้วยตั้งแต่ปี 2527 เป็นต้นมาทางการจีนไม่มีการใช้หมีแพนด้าในฐานะทูตสันถวไมตรี เป็นเพียงให้ยืมและต้องจ่ายค่าธรรมเนียมรายปี และมีข้อกำหนดว่าลูกของแพนด้ายักษ์ใด ๆ ที่เกิดระหว่างการยืมนั้น ถือเป็นทรัพย์สินของจีน
โศกนาฏกรรมช้างป่าตกเหวนรก
(GETTY IMAGES หนึ่งในซากช้าง 11 ตัวที่ตกน้ำตกเหวนรกตายเมื่อ 6 ต.ค. 2562)
ช่วงฤดูฝนปีนี้เกิดเหตุสลดใจที่น้ำตกเหวนรก ซึ่งเป็นน้ำตกขนาดใหญ่เป็นหน้าผาสูงชัน อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เมื่อช้างป่าพลัดตกหน้าผาลงไปถึง 11 ตัว เหตุเกิดเมื่อวันที่ 6 ต.ค.
ภาพซากช้างป่าลอยอืดอยู่ในน้ำตกสร้างความสะเทือนใจอย่างมาก หลายคนตั้งคำถามว่านี่เป็นอุบัติเหตุตามธรรมชาติล้วน ๆ หรือการกระทำของมนุษย์มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย โดยมีคนตั้งข้อสังเกตว่า สาเหตุที่ทำให้ช้างป่าตกเหวนรกครั้งนี้อาจมาจากสิ่งก่อสร้างและร้านค้าในพื้นที่อุทยานฯ เขาใหญ่ ที่อาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงและจำกัดเส้นทางเดินของช้างป่า
นายครรชิต ศรีนพวรรณ หัวหน้าอุทยานฯ เขาใหญ่ ไม่ได้ตอบคำถามนี้โดยตรง แต่อธิบายว่า เนื่องจากเขาใหญ่เป็นอุทยานแห่งชาติซึ่งเปิดให้ประชาชนมาท่องเที่ยวศึกษาธรรมชาติ ต่างจากพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ดังนั้นอุทยานฯ จึงต้องบริหารพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อการดูแลสัตว์ป่า รวมถึงช้างป่าและกิจกรรมนันทนาการและการค้า
ที่ผ่านเจ้าหน้าที่ได้ติดตั้งเพนียดซึ่งมีลักษณะเป็นเสาปูนขนาดใหญ่บริเวณจุดเสี่ยงในเส้นทางเดินของช้างเพื่อป้องกันไม่ให้มันพลัดตกลงไป แต่ก็ไม่สามารถป้องกันได้ทั้งหมด
ทรงธรรม สุขสว่าง ผู้อำนวยการสำนักอุทยานแห่งชาติกล่าวว่า บริเวณดังกล่าวเป็นเส้นทางเดินปกติของช้างที่จะใช้เวลาออกหาอาหาร ประกอบกับฤดูนี้ จะมี “เต่าร้าง” พืชซึ่งเป็นอาหารโอชะของช้างที่หากินได้เพียงปีละครั้ง ยิ่งทำให้เพิ่มโอกาสเกิดอันตราย
“พอเราสร้างเพนียด ช้างก็ไม่ตกลงไปตรงนั้น แต่ช้างก็มาใช้พื้นที่บนถนนมากขึ้น เขาก็มีโอกาสเผชิญหน้ากับคน ก็เกิดปัญหาเรื่องช้างมาเบียดรถ ช้างเข้ามาในลักษณะไล่มอเตอร์ไซค์” นายทรงธรรมอธิบาย
( Getty Images บริเวณจุดที่เกิดเหตุเป็นเส้นทางเดินหากินของช้างป่าเขาใหญ่)
นอกจากอุบัติเหตุช้างตกเหวนรกแล้ว สถิติคดีเกี่ยวกับการป่าไม้ ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ปีงบประมาณ พ.ศ.2562 ยังพบปัญหาการล่าช้างเอางาอยู่ โดยพบงาช้าง 8 กิ่ง เป็นของกลางในคดี
กวางป่าอุทยาน ผู้รับเคราะห์จากขยะพลาสติก
(สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13คำบรรยายภาพเจ้าหน้าที่อุทยานฯ รวบรวมขยะที่พบในท้องกวางป่า)
กวางป่าเป็นสัตว์ที่นักท่องเที่ยวคุ้นเคยมากที่สุดชนิดหนึ่งในเขตอุทยานแห่งชาติ พวกมันจะคอยมาหานักท่องเที่ยวเพื่อขอของกินหรือไม่ก็หาเศษอาหารกิน กวางป่าอาจสร้างความเพลิดเพลินให้นักท่องเที่ยว โดยเฉพาะเด็ก ๆ แต่เบื้องหลังความเพลิดเพลินนั้น กวางป่ากำลังเผชิญกับภัยเงียบที่ไม่มีใครรู้ เช่น
เดียวกับที่เกิดขึ้นในอุทยานแห่งชาติขุนสถาน จ.น่าน
เมื่อวันที่ 25 พ.ย. เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติขุนสถานพบซากกวางป่าเพศผู้ น้ำหนักประมาณ 200 กก. อายุมากกว่า 10 ปี ลักษณะซากผอม ขนหลุดร่วง และบาดเจ็บบริเวณกีบหน้าซ้าย ความตายของมันว่าน่าเสียใจแล้ว แต่สาเหตุที่ทำให้มันตายยิ่งเศร้าใจกว่า เมื่อผลการผ่าพิสูจน์พบขยะพลาสติกและขยะอื่น ๆ จำนวนถึง 7 กก. ทั้งซองกาแฟ ซองเครื่องปรุงบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ถุงพลาสติกจำนวนมาก ถุงดำ ถุงมือยาง กางเกงในผู้ชาย อยู่ในท้องของมัน
ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 21 ส.ค. ที่อุทยานฯ เขาใหญ่ ก็มีกวางป่าตายในลักษณะคล้ายกัน การผ่าพิสูจน์ก็พบมีขยะพลาสติกจำนวนมาก อาทิ ช้อนพลาสติก ถุงพลาสติก อัดแน่นในกระเพาะกวางไม่ต่ำกว่า 3 กก. คำถามที่ตามมาคือของพวกนี้ไปอยู่ในท้องของมันได้อย่างไร
ภัทรพล มณีอ่อน หรือ “หมอล็อต” นายสัตวแพทย์ประจำกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัวในประเด็นนี้ไว้ว่า การจัดการขยะในพื้นที่อุทยานดีขึ้นอย่างน่าชื่นชม แต่พฤติกรรมที่มนุษย์หยิบยื่นอาหารให้กวางมาอย่างยาวนาน ได้เปลี่ยนลูกกวางแสนน่ารักเป็น “ซอมบี้วัยใส” ไปเสียแล้ว
(สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13คำบรรยายภาพซากกวางป่าเพศผู้ที่อุทยานแห่งชาติขุนสถาน จ.น่าน)
หมอล็อตอธิบายเพิ่มเติมว่าอาหารสัตว์ป่ากินพืชอย่างกวาง ได้แก่ ใบไม้ ต้นไม้อ่อน ผลไม้ รวมถึงดินโป่ง ซึ่งเป็นแหล่งเกลือแร่สำคัญให้ร่างกายเจริญเติบโต แต่เมื่อได้รับของกินจากมนุษย์โป่งดินจึงไม่จำเป็นอีกต่อไป เมื่อคนเราปรับพฤติกรรมเลิกให้อาหาร แต่กวางติดใจไปเสียแล้ว จากการเดินมาขอจึงกลายเป็นแย่ง รื้อถังขยะ เพื่อค้นหาความเค็มและกลิ่นเค็มจากเศษอาหาร และของใช้ของคน นี่จึงเป็นเหตุที่พบขยะอยู่เต็มท้องซากกวางที่ตาย
กรณีเหล่านี้เป็นแค่ส่วนหนึ่งของสัตว์ป่าที่ตายลงซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าการกระทำของมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดความสูญเสีย ความตายของสัตว์อาจไม่ใช่สถิติที่น่าจดจำ แต่เป็นสถิติที่ควรนำมาเป็นบทเรียนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยอีกในปีต่อ ๆ ไป
Cr.
https://www.khaosod.co.th/bbc-thai/news_3271575
Cr.
https://www.bbc.com/thai/thailand-50754463
(โดย สมิตานัน หยงสตาร์ผู้สื่อข่าวพิเศษบีบีซีไทย)
บันทึกน้ำตาคนรักสัตว์จากความสูญเสียในรอบปี 2562
มาเรียม-ยามีล พะยูนน้อยผู้ปลุกกระแสอนุรักษ์ทะเลไทย
“มาเรียม” ลูกพะยูนเพศเมียขึ้นเกยตื้นใน จ.กระบี่ ช่วงปลายเดือน เม.ย. มันได้รับความช่วยเหลือจากชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ก่อนจะถูกเคลื่อนย้ายมายังเกาะลิบง จ.ตรัง มาเรียมนับเป็นลูกพะยูนตัวแรกที่มีมนุษย์เป็นแม่นมและได้รับการอนุบาลในพื้นที่เปิดใกล้ชายฝั่ง จนกลายเป็นขวัญใจของเจ้าหน้าที่และประชาชนที่หลงใหลในความน่ารักของเจ้าลูกพะยูน
แต่อาการป่วยของมันก็ทรุดลงเรื่อย ๆ และจากไปในวันที่ 17 ส.ค. ทำให้แฟนคลับของมาเรียมใจสลาย การผ่าพิสูจน์ซากพบเศษพลาสติกขนาดเล็ก 8-10 เซนติเมตร จำนวน 8 ชิ้นขวางลำไส้ ส่งผลให้เกิดการอุดตันที่ปลายลำไส้และมีแก๊สสะสมในทางเดินอาหาร
ก่อนหน้าที่มาเรียมจะตายไม่นาน มีลูกพะยูนอีกตัวหนึ่งเกยตื้นและได้รับการช่วยเหลือใน จ.กระบี่ มันเป็นลูกเพศผู้ อายุแค่ประมาณ 3 เดือน ซึ่งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงพระราชทานชื่อว่า “ยามีล”
พะยูนยามีลเป็นที่ชื่นชอบของบรรดาคนรักสัตว์ไม่แพ้มาเรียม แต่ไม่นานนักทีมสัตวแพทย์พบว่ายามีลมีอาการเกร็งท้อง เอ็กซเรย์พบลำไส้เล็กมีการสะสมของแก๊สจำนวนมาก และมีหญ้าทะเลอุดตันในกระเพาะอาหาร ยามีลอาการแย่ลงเรื่อย จนท้ายสุดวันที่ 22 ส.ค. พะยูนน้อยเกิดภาวะช็อก หัวใจหยุดเต้น และตายหลังจากมาเรียมไม่ถึงสัปดาห์ สร้างความสะเทือนใจซ้ำสองให้กับผู้ที่ติดตาม
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งรายงานว่าในรอบปี 2562 มีพะยูนเกยตื้นตายมากถึง 23 ตัว นับเป็นจำนวนที่มากที่สุดในรอบหลายปี สาเหตุหลักมาจากกิจกรรมของมนุษย์ รองลงมาคือการเจ็บป่วยโดยธรรมชาติ
การตายของพะยูน โดยเฉพาะลูกพะยูนมาเรียมและยามีลทำให้เจ้าหน้าที่ อาสาสมัครและคนทั่วไปเศร้าใจอย่างมาก แต่พวกมันก็ได้ปลุกกระแสอนุรักษ์ทะเลไทยให้กลับมามีชีวิตชีวา ประเด็นเรื่องการอนุรักษ์พะยูน การลดขยะพลาสติก การลดผลกระทบของการทำประมงต่อสัตว์ทะเล ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอีกครั้ง ชุมชนท้องถิ่นหันมาร่วมมือกับรัฐในการดูแลทะเลควบคุมการทำประมงในเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำ ตรวจสอบการใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมาย ตลอดจนการเพิ่มพื้นที่หญ้าทะเล
นอกจากพะยูนแล้วปีที่ผ่านมายังสูญเสียสัตว์ทะเลอีกหลายเหตุการณ์ เช่น วันที่ 2 ม.ค. พบวาฬความยาวกว่า 10 เมตรเกยตื้นตายบนหาดแหลมตะลุมพุก จ.นครศรีธรรมราช และต่อมาในวันที่ 28 พ.ค. พบซากวาฬบรูด้า เพศเมีย ยาว 10 เมตรในฝังอ่าวไทย
(https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10157565422112752&set=a.161811767751&type=3&theater)
ความตายของช่วงช่วง ปิดตำนานเรียลลิตี้แพนด้า
(AFP ช่วงช่วง แพนด้ายักษ์เพศผู้ เกิดเมื่อปี 2543 ที่ศูนย์วิจัยและอนุรักษ์แพนด้ายักษ์ เขตอนุรักษ์วู่หลง เมืองเฉินตู มณฑลเสฉวนสาธารณรัฐประชาชนจีน เดินทางมาถึงไทยเมื่อปี 2546)
การเดินทางมาถึงของ “ช่วงช่วง” และ “หลินฮุ่ย” แพนด้ายักษ์ที่รัฐบาลจีนมอบให้ไทยจัดแสดงที่สวนสัตว์เชียงใหม่ในฐานะทูตสันถวไมตรีเมื่อปี 2546 ทำให้เกิดกระแสแพนด้าฟีเวอร์ในเมืองไทยยิ่งเมื่อถึงช่วงวัยเจริญพันธุ์ ทุกคนต่างเฝ้าลุ้นทั้งคู่จนให้กำเนิดลูกน้อยที่ได้ชื่อว่า “หลินปิง” ที่ทำให้ความนิยมแพนด้าเพิ่มขึ้นถึงขั้นมีรายการถ่ายทอดสดชีวิตครอบครัวแพนด้าตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ว่าจะนอน เดิน มุดใต้โต๊ะ กินใบไผ่ ก็ดูจะน่ารักถูกใจเหล่าคนรักสัตว์ไปเสียหมด ยังไม่นับนักท่องเที่ยวจำนวนมากที่เดินทางไปเยี่ยมครอบครัวแพนด้ายักษ์ที่สวนสัตว์เชียงใหม่ตลอด 10 กว่าปีที่ผ่านมา
แต่แล้วในวันที่ 16 ก.ย. คนไทยก็ได้รับแจ้งข่าวร้ายว่าช่วงช่วงได้ตายลงอย่างกะทันหัน โดยนายวุฒิชัย ม่วงมัน ผอ. สวนสัตว์เชียงใหม่และทีมสัตวแพทย์แถลงข่าวว่า เจ้าหน้าที่เลี้ยงอาหารช่วงช่วงตามปกติในเวลาประมาณ 15.00 น. ต่อมาในเวลาราว 16.28 น. ช่วงช่วงได้ลุกขึ้นเดินมีอาการเดินเซไปมาและสะบัดคอ ก่อนล้มลงภายในส่วนจัดแสดงและไม่ลุกขึ้นมาอีก ซึ่งเจ้าหน้าที่ให้การช่วยเหลือแต่ไม่สามารถยื้อชีวิตไว้ได้
ต่อมาทางสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ส่งคณะผู้เชี่ยวชาญเพื่อสืบหาสาเหตุการตาย พบภาวะหัวใจล้มเหลว ส่งผลให้อวัยวะภายในทั่วร่างกายขาดออกซิเจน โดยไม่พบบาดแผลภายนอก หรือสิ่งแปลกปลอมในหลอดลมแต่อย่างใด
การสูญเสียช่วงช่วงในครั้งนี้จึงน่าเศร้ามาก และไม่รู้ว่าจะมีโอกาสต้อนรับแพนด้าตัวใหม่อีกเมื่อไหร่ ด้วยตั้งแต่ปี 2527 เป็นต้นมาทางการจีนไม่มีการใช้หมีแพนด้าในฐานะทูตสันถวไมตรี เป็นเพียงให้ยืมและต้องจ่ายค่าธรรมเนียมรายปี และมีข้อกำหนดว่าลูกของแพนด้ายักษ์ใด ๆ ที่เกิดระหว่างการยืมนั้น ถือเป็นทรัพย์สินของจีน
โศกนาฏกรรมช้างป่าตกเหวนรก
(GETTY IMAGES หนึ่งในซากช้าง 11 ตัวที่ตกน้ำตกเหวนรกตายเมื่อ 6 ต.ค. 2562)
ช่วงฤดูฝนปีนี้เกิดเหตุสลดใจที่น้ำตกเหวนรก ซึ่งเป็นน้ำตกขนาดใหญ่เป็นหน้าผาสูงชัน อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เมื่อช้างป่าพลัดตกหน้าผาลงไปถึง 11 ตัว เหตุเกิดเมื่อวันที่ 6 ต.ค.
ภาพซากช้างป่าลอยอืดอยู่ในน้ำตกสร้างความสะเทือนใจอย่างมาก หลายคนตั้งคำถามว่านี่เป็นอุบัติเหตุตามธรรมชาติล้วน ๆ หรือการกระทำของมนุษย์มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย โดยมีคนตั้งข้อสังเกตว่า สาเหตุที่ทำให้ช้างป่าตกเหวนรกครั้งนี้อาจมาจากสิ่งก่อสร้างและร้านค้าในพื้นที่อุทยานฯ เขาใหญ่ ที่อาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงและจำกัดเส้นทางเดินของช้างป่า
นายครรชิต ศรีนพวรรณ หัวหน้าอุทยานฯ เขาใหญ่ ไม่ได้ตอบคำถามนี้โดยตรง แต่อธิบายว่า เนื่องจากเขาใหญ่เป็นอุทยานแห่งชาติซึ่งเปิดให้ประชาชนมาท่องเที่ยวศึกษาธรรมชาติ ต่างจากพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ดังนั้นอุทยานฯ จึงต้องบริหารพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อการดูแลสัตว์ป่า รวมถึงช้างป่าและกิจกรรมนันทนาการและการค้า
ที่ผ่านเจ้าหน้าที่ได้ติดตั้งเพนียดซึ่งมีลักษณะเป็นเสาปูนขนาดใหญ่บริเวณจุดเสี่ยงในเส้นทางเดินของช้างเพื่อป้องกันไม่ให้มันพลัดตกลงไป แต่ก็ไม่สามารถป้องกันได้ทั้งหมด
ทรงธรรม สุขสว่าง ผู้อำนวยการสำนักอุทยานแห่งชาติกล่าวว่า บริเวณดังกล่าวเป็นเส้นทางเดินปกติของช้างที่จะใช้เวลาออกหาอาหาร ประกอบกับฤดูนี้ จะมี “เต่าร้าง” พืชซึ่งเป็นอาหารโอชะของช้างที่หากินได้เพียงปีละครั้ง ยิ่งทำให้เพิ่มโอกาสเกิดอันตราย
“พอเราสร้างเพนียด ช้างก็ไม่ตกลงไปตรงนั้น แต่ช้างก็มาใช้พื้นที่บนถนนมากขึ้น เขาก็มีโอกาสเผชิญหน้ากับคน ก็เกิดปัญหาเรื่องช้างมาเบียดรถ ช้างเข้ามาในลักษณะไล่มอเตอร์ไซค์” นายทรงธรรมอธิบาย
( Getty Images บริเวณจุดที่เกิดเหตุเป็นเส้นทางเดินหากินของช้างป่าเขาใหญ่)
นอกจากอุบัติเหตุช้างตกเหวนรกแล้ว สถิติคดีเกี่ยวกับการป่าไม้ ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ปีงบประมาณ พ.ศ.2562 ยังพบปัญหาการล่าช้างเอางาอยู่ โดยพบงาช้าง 8 กิ่ง เป็นของกลางในคดี
กวางป่าอุทยาน ผู้รับเคราะห์จากขยะพลาสติก
(สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13คำบรรยายภาพเจ้าหน้าที่อุทยานฯ รวบรวมขยะที่พบในท้องกวางป่า)
กวางป่าเป็นสัตว์ที่นักท่องเที่ยวคุ้นเคยมากที่สุดชนิดหนึ่งในเขตอุทยานแห่งชาติ พวกมันจะคอยมาหานักท่องเที่ยวเพื่อขอของกินหรือไม่ก็หาเศษอาหารกิน กวางป่าอาจสร้างความเพลิดเพลินให้นักท่องเที่ยว โดยเฉพาะเด็ก ๆ แต่เบื้องหลังความเพลิดเพลินนั้น กวางป่ากำลังเผชิญกับภัยเงียบที่ไม่มีใครรู้ เช่น
เดียวกับที่เกิดขึ้นในอุทยานแห่งชาติขุนสถาน จ.น่าน
เมื่อวันที่ 25 พ.ย. เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติขุนสถานพบซากกวางป่าเพศผู้ น้ำหนักประมาณ 200 กก. อายุมากกว่า 10 ปี ลักษณะซากผอม ขนหลุดร่วง และบาดเจ็บบริเวณกีบหน้าซ้าย ความตายของมันว่าน่าเสียใจแล้ว แต่สาเหตุที่ทำให้มันตายยิ่งเศร้าใจกว่า เมื่อผลการผ่าพิสูจน์พบขยะพลาสติกและขยะอื่น ๆ จำนวนถึง 7 กก. ทั้งซองกาแฟ ซองเครื่องปรุงบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ถุงพลาสติกจำนวนมาก ถุงดำ ถุงมือยาง กางเกงในผู้ชาย อยู่ในท้องของมัน
ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 21 ส.ค. ที่อุทยานฯ เขาใหญ่ ก็มีกวางป่าตายในลักษณะคล้ายกัน การผ่าพิสูจน์ก็พบมีขยะพลาสติกจำนวนมาก อาทิ ช้อนพลาสติก ถุงพลาสติก อัดแน่นในกระเพาะกวางไม่ต่ำกว่า 3 กก. คำถามที่ตามมาคือของพวกนี้ไปอยู่ในท้องของมันได้อย่างไร
ภัทรพล มณีอ่อน หรือ “หมอล็อต” นายสัตวแพทย์ประจำกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัวในประเด็นนี้ไว้ว่า การจัดการขยะในพื้นที่อุทยานดีขึ้นอย่างน่าชื่นชม แต่พฤติกรรมที่มนุษย์หยิบยื่นอาหารให้กวางมาอย่างยาวนาน ได้เปลี่ยนลูกกวางแสนน่ารักเป็น “ซอมบี้วัยใส” ไปเสียแล้ว
(สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13คำบรรยายภาพซากกวางป่าเพศผู้ที่อุทยานแห่งชาติขุนสถาน จ.น่าน)
หมอล็อตอธิบายเพิ่มเติมว่าอาหารสัตว์ป่ากินพืชอย่างกวาง ได้แก่ ใบไม้ ต้นไม้อ่อน ผลไม้ รวมถึงดินโป่ง ซึ่งเป็นแหล่งเกลือแร่สำคัญให้ร่างกายเจริญเติบโต แต่เมื่อได้รับของกินจากมนุษย์โป่งดินจึงไม่จำเป็นอีกต่อไป เมื่อคนเราปรับพฤติกรรมเลิกให้อาหาร แต่กวางติดใจไปเสียแล้ว จากการเดินมาขอจึงกลายเป็นแย่ง รื้อถังขยะ เพื่อค้นหาความเค็มและกลิ่นเค็มจากเศษอาหาร และของใช้ของคน นี่จึงเป็นเหตุที่พบขยะอยู่เต็มท้องซากกวางที่ตาย
กรณีเหล่านี้เป็นแค่ส่วนหนึ่งของสัตว์ป่าที่ตายลงซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าการกระทำของมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดความสูญเสีย ความตายของสัตว์อาจไม่ใช่สถิติที่น่าจดจำ แต่เป็นสถิติที่ควรนำมาเป็นบทเรียนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยอีกในปีต่อ ๆ ไป
Cr. https://www.khaosod.co.th/bbc-thai/news_3271575
Cr. https://www.bbc.com/thai/thailand-50754463
(โดย สมิตานัน หยงสตาร์ผู้สื่อข่าวพิเศษบีบีซีไทย)